‘เดือนเด่น’ชี้ถือหุ้นชินคอร์ปเป็นเงินต่างชาติ

ปี2013-01-11

bbn20130111p
คำต่อคำ : “ดร.เดือนเด่น” ถือหุ้นชินคอร์ปหลายๆชั้นผ่านซีดาร์โฮลดิ้งส์ เงินลงทุนเป็นต่างชาติ คนไทยเป็นแค่นอมินี

กรุงเทพธุรกิจทีวี สัมภาษณ์ ดร.เดือนเด่น นิคมบริรักษ์ ผู้อำนวยการวิจัย ด้านการบริหารจัดการระบบเศรษฐกิจ ทีดีอาร์ไอ วิเคราะห์กรณี “เทมาเส็ก” ขายอินทัชออกมา10.3%

ถาม ปรากฏการณ์ทางด้านซีดาร์ โฮลดิ้งส์ ขายหุ้นบิ๊กล็อตออกมาในอินทัช ซึ่งก็ถือว่าไม่ใช่ครั้งแรกการขายออกมาล่าสุด 10 .3 % มองหลายทางไม่ว่าจะเป็น การเพิ่มฟรีโฟลตหรือที่ลดข้อกังวลในเรื่องของการเป็นนอมินี อาจารย์มองอย่างไร

ตอบ คงทราบดีว่าคสตช.เองก็มีเกณฑ์ เรื่องของการครอบงำของกิจการคนต่างด้าวซึ่งค่อนข้างเข้มงวด ไม่ได้ดูเฉพาะการถือหุ้นโดยตรงของผู้ถือหุ้นเป็นดูถึง ถือหุ้นทางอ้อม ดูถึงกรรมการ ถึงสัญชาติ น่าลงนามอะไรเยอะแยะไปหมด ส่วนหนึ่งอาจเป็นเพราะเหตุนั้นต้องการที่่จะแสดงให้เห็นว่าเป็นบริษัทไทยโดยแท้จริง ส่วนหนึ่ง แต่ในเรื่องของสภาพคล่องก็มีความเป็นไปได้ เป็นเรื่องทางธุรกิจของเราของเขาแหละ

ถาม ถ้าจะเตรียมตัว เพื่อที่จะบริหารจัดการตัวเองให้พร้อมลดปัญหาเรื่องการเป็นนอมินีเพื่อที่จะเข้าประมูลธุรกิจทีวีดิทัล หรือธุรกิจที่มีโอกาสมหาศาลใน อนาคตนั้นจะเป็นไปได้มากน้อยแค่ไหน

ตอบ คือเรื่องนอมินีก็คงเป็นไปได้ เพราะว่าคงทราบดีว่าในอดีตก็มีการเกี่ยวเนื่องของการถือหุ้นของตลาด ของกระทรวงพาณิชย์ก็พบว่าเป็นนอมินีจริง ก็คง ไม่ลืมกัน อีกครั้งหนึ่งก็เช่นกัน ถ้าเพื่อมีการสืบสาวเรื่องของเส้นทางของเงินแล้วเงินทุนจริงๆ ว่ามาจากไหน อย่างไร เป็นทุนของคนไทยที่แน่นอนหรือเปล่า ถ้าเพื่อมีการสืบสาวเรื่องราวจริงๆ ก็อาจจะเป็นจุดเสี่ยง

ถาม ซึ่งเรื่องของนอมินีพูดถึงกันมาหลายปี โดยเฉพาะของชินคอร์ปเป็นกรณีศึกษาเลยก็ว่าได้ ในฐานะที่อาจารย์คลุกคลีและก็ติดตามเรื่องนี้มานานอยาก จะให้ขยายความให้ผู้ชมได้ฟังมองย้อนรอยตรงที่เป็นนอมินีของชินคอร์ปว่าปมตรงไหนที่เป็นปัญหากับที่ต้องมีการบริหารจัดการการปรับโครงสร้างหุ้นครั้งนี้

ตอบ คือประเทศไทยมีกฎหมายว่าต่างชาติห้ามถือหุ้นเกิน 49 % แล้วตอนนั้นก็มีการถกเถียงกันว่าการถือหุ้นหลายๆ ชั้นผ่านซีดาร์โฮลดิ้งส์ผ่านเป็นโฮลดิ้งส์ สุดท้ายคนที่ถือหุ้นจริงๆ เป็นคนไทยหรือไม่ หรือว่าฝรั่งมาเอาชื่อคนไทยแอบอ้าง คำว่านอมินีหมายถึงว่า เงินฝรั่งคนไทยเป็นคนซื้ออันนั้นก็เลยเป็นที่มาที่ไป ซึ่งจะเป็นชื่อไทยหรือเทศจริงๆ ต้องไปสืบสาวเส้นทางการเดินของเงิน ว่าเงินที่แท้จริงที่ออกมาจากคนไทยเป็นเงินของเขาหรือของบริษัทฝรั่ง ซึ่งในกรณีของ ชินคอร์ปก็มีการสืบสวนโดยกรมการพาณิชย์ กรมทะเบียนการค้าในสมัยนั้่นก็คือกระทรวงพาณิชย์ ก็มีข้อสรุปว่าเส้นทางการเงินไม่ใช่เงินของคนไทยเป็นเงิน ของต่างชาติ ก็เลยมีข้อสรุปว่าคนไทยเป็นแค่นอมินีแต่ไม่ได้ใช้เงินของตัวเอง เรื่องที่สำคัญกว่าเรื่องที่จะไปไล่กับนอมินีทุกวี่ทุกวันคิดว่ามันไม่มีประโยชน์หรอก มันใช้กำลังและเวลาทรัพยากรเยอะในการตรวจสอบเส้นทางการเดินเงินนี่ใช้ทรัพยากรสูง เราต้องไปเทคมา แต่สิ่งที่สำคัญคิดว่าคนไทยคงจะมาพิจารณาว่า ธุรกิจโทรคมนาคมของเรา มันต้องการเงินต่างชาติหรือเปล่า ต้องการทุนต่างชาติหรือเปล่าตรงนั้นดีกว่า ถ้าเราต้องการทุนต่างชาติต้องการให้ต่างชาติเข้ามาลง ทุนในด้านเทคโนโลยี พัฒนาโครงข่าย เราก็ควรไม่ต้องไปติดอยู่กับกฎหมายระเบียบซึ่งมันไม่สร้างสรรค์ ส่งเสริมการพัฒนาโทรคมนาคมไทย

ถาม ด้านหนึ่งตามความเห็นของอาจารย์ในธุรกิจโทรคมนาคมไทยมูลค่ามหาศาล แต่ก็มีการผูกขาดอยู่เพียงไม่กี่ราย ในความเห็นของอาจารย์ควรเปิดเสรีไปให้ กับต่างชาติเข้ามาเลยจะกระทบไหม กับผลประโยชน์ผู้ประกอบการไทย ของผู้บริโภคไทย หรือเรื่องของความมั่นคง

ตอบ เรื่องความมั่นคงดิฉันคิดว่าไม่มีนะคะ ในหลายประเทศก็เปิดไปหมดแล้ว ไทยในอาเซียนนับว่าล้าหลังสุดแล้ว อินโดฯ เขาก็เปิดไปหมดแล้ว ต่างชาติ เข้ามาถือหุ้น แล้วคนไทยก็ยังไปถือหุ้นในธุรกิจอินโดฯ เทเลคอม เรื่องมั่นคงคงไม่ใช่เป็นประเด็นหลัก เรื่องการลงทุน การเทคโนโลยี ซึ่งตอนนี้เราก็คงทราบดี ว่า ผู้ประกอบการไทยเองก็มี แปซิฟิกพาร์ทเนอร์ที่เป็นต่างชาติ ดังนั้น จริงๆ แล้วไม่ใช่ไทยแท้ 100% มีไทยที่มีฝรั่งอยู่แล้วดังนั้นการที่ให้ต่างชาติเข้ามาไม่ใช่ ว่าเราสู้ไม่ได้ เราก็มีแปซิฟิกพาร์ทเนอร์ที่เป็นฝรั่ง ผลกระทบไม่มี แล้วก็ทุนไทยก็ไม่ใช่เล็กๆ เป็นทุนใหญ่ โดยพูดถึงชินคอร์ป พูดถึงซีพี ดีแทค ซึ่งก็มีแบ็คอัพอยู่ ดังนั้น คิดว่าไม่น่าจะเป็นปัญหา

ถาม ในแง่มุมของผู้บริโภคถ้าแนวคิดของอาจารย์ในการเปิดเสรีจริงๆ ผู้ประกอบการเราอาจไม่ต้องเป็นห่วงเพราะว่าเป็นทุนใหญ่ ผู้บริโภคจะได้สิทธิ ประโยชน์อะไรในการแข่งขันที่เปิดให้ต่างชาติเข้ามาลงทุนได้เต็มที่

ตอบ ก็ได้รับประโยชน์อยู่แล้ว ในฐานะผู้ใช้บริการแน่นอนโอกาสที่เขาจะผูกขาดเขาจะฮั้วกันก็ต้องลดลง จาก 3 ราย เป็น 4 ราย เป็น 5 ราย มันต้องลดลงอยู่ แล้ว ตอนนี้การแข่งขันยังไม่เต็มที่อย่าคิดว่าธุรกิจโทรคมนาคมไทยเราแข่งขัน จริงๆ เราต้องบอกไม่แข่ง ต้นทุนอะไรหลายอย่างยังสูงอยู่ อย่างเช่นค่าเชื่อมต่อ โครงข่ายนี้ก็แพงมาก 1 บาท ค่าเชื่อมโครงข่ายทำให้ค่าโทรศัพท์มือถือเราแพง เพราะว่าโทรข้ามเครือข่ายทีไรก็ถูกเก็บ 1 บาท ทั้งที่วิชาการบอกว่าควรเหลือ แค่สลึงเดียวแต่เขาก็ตกลงกันจะเอาบาทหนึ่ง ยังมีหลักฐานค่อนข้างมากว่าการแข่งขันยังไม่เต็มที่ ดังนั้นถ้าเราปล่อยให้มีการแข่งขันมากขึ้น ผู้บริโภคจะ สามารถได้ใช้บริการที่ถูกลงอย่างแน่นอน แล้วเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่เรามีเคลื่อน 3 จีแล้ว 4 จี จะตามมาปีหน้าก็เป็นช่วงระยะเวลาที่มีการลงทุนสูง ดังนั้นก็ควร ให้ทุนต่างชาติเข้ามา

ถาม ถ้าการแข่งขันยังไม่เต็มที่ยังมีการผูกขาดในบางกลุ่มเท่านั้นเอง ถ้าลองเปรียบเทียบกับตลาดอาเซียนที่มีการเปิดเสรีแล้ว บรรยากาศในตลาดเป็นอย่าง ไรบ้าง การแข่งขัน หรือทำโปรโมชั่นและประโยชน์ของผู้บริโภค

ตอบ คือในอาเซียนเคยไปดูว่าการโทรคมนาคมของเขาใครเปิดใครปิดบ้าง มีที่เปิดเปิดมากกว่าเราก็มีกัมพูชา ลาว ก็มีอินโดฯ ด้านสิงคโปร์ไม่ต้องพูดถึงส่วนมาก จะเป็นเปิดมากกว่าเรา เราจะเป็นค่อนข้างปิดจะติดอยู่ที่พ.ร.บ.ต่างด้าวที่ 49 % ค่าใช้จ่ายเราเคยมีการเทียบ ไอทียูเองก็เทียบค่าใช้จ่ายด้านโทรคมนาคมของ ไทยก็พบว่าสูงเป็นที่ 3 หรือ 4 ของอาเซียนเมื่อเทียบกับประเทศอื่น ทั้งๆ ที่เราเป็นประเทศที่พัฒนามากที่สุดเป็นอันดับที่ 3 รองจากสิงคโปร์ มาเลย์ ในด้าน คมนาคมเรากลับแพ้ประเทศอื่น ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่านโยบายที่เราปิดกลั้นการลงทุนของต่างชาติก็มีผลกระทบต่อต้นทุน ในการใช้บริการโทรคมนาคมของเรา


ตีพิมพ์ครั้งแรก: เว็บไซต์กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ วันที่ 11 มกราคม 2556 ในชื่อ ‘เดือนเด่น’ชี้ถือหุ้นชินคอร์ปเป็นเงินต่างชาติ