TDRI Factsheet 09 “ราคากระบวนการทางอาญาของไทย”
“ระบบกฏหมายไทยเน้นการลงโทษอาญามากเกินไป มีจำนวนบทบัญญัติที่มีโทษทางอาญามากถึง 350 ฉบับ”
“กฎหมายที่มีบทลงโทษทางอาญามักจะลงโทษด้วยการจำคุกมากกว่าการปรับ และในปัจจุบันโทษปรับก็ไม่สอดคล้องกับความเสียหายและต้นทุนในการบังคับใช้กฎหมาย”
“การลงโทษด้วยการปรับไม่ได้เพิ่มต้นทุน แต่การลงโทษด้วยการจับกุมเพิ่มต้นทุนให้รัฐ”
“ต้นทุนเฉลี่ยของการดำเนินการคดีอาญาของรัฐประมาณ 76,600 บาท/คดี “
“งบประมาณและบุคลากรของระบบยุติธรรมทางอาญาของไทยไม่ได้มีปัญหา เพราะเมื่อเปรียบเทียบงบประมาณและบุคลากรแล้ว ไทยไม่ได้มีงบประมาณและบุคลากรแตกต่างกับประเทศอื่นเท่าใดนัก”
ข้อเสนอที่น่าสนใจ คือ “การปรับโทษตามรายได้ (Day fines) มาใช้แทนโทษปรับแบบตายตัว (Fixed sum fines) จะช่วยแก้ปัญหาความเหลี่อมล้ำและความเปลี่ยนแปลงบทลงโทษตามสภาพเศรษฐกิจ
“โทษจำคุกให้ใช้เฉพาะที่มีความผิดร้ายแรงและไม่สามารถใช้การลงโทษอื่นได้เท่านั้น
การปฏิรูปกระบวนการยุติธรรมทางอาญาบางประเภทช่วยประหยัดต้นทุนให้รัฐได้ถึง 2,600 ล้านบาท/ปี
อ่านรายละเอียดเรื่องนี้เพิ่มเติมได้ในงานวิจัยโครงการการวิเคราะห์กฎหมายและกระบวนการยุติธรรมทางอาญาด้วยเศรษฐศาสตร์ (Economic Analysis of Criminal Laws) เรื่อง “นิติเศรษฐศาสตร์ของระบบยุติธรรมทางอาญาของไทย” หรือคลิ้กที่นี่