ในช่วง 50 ปีที่ผ่านมา สังคมเศรษฐกิจไทยมีการพัฒนามากขึ้นในหลายๆ ด้าน GDP ของไทยมีอัตราการเติบโตเฉลี่ยกว่าร้อยละ 6 คนไทยมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น คนไทยสามารถหลุดพ้นความยากจนไม่ต่ำกว่าร้อยละ 80 และเมื่อ 2 ปีที่ผ่านมา ธนาคารโลกได้ยกระดับให้ไทยจากเดิมเป็นประเทศรายได้ปานกลางระดับต่ำเป็นประเทศรายได้ปานกลางระดับสูง
อย่างไรก็ตามจากการพัฒนาเศรษฐกิจของไทยในช่วงที่ผ่านที่เน้นการใช้แรงงานราคาถูกเป็นหลัก การไม่สามารถผลิตแรงงานที่มีคุณภาพให้ตรงกับความต้องการของตลาด การพัฒนาอุตสาหกรรมที่ไม่มีการพัฒนาเทคโนโลยีไปพร้อมกันด้วย รวมทั้งปัญหาทรัพยากรธรรมชาติที่ถูกใช้ไปเกือบหมด จากสภาพการณ์นี้ ทำให้หลายฝ่ายเกรงว่าประเทศไทยจะตกอยู่ในกับดักรายได้ปานกลาง ไม่สามารถยกระดับเป็นประเทศรายได้สูงได้
วันนี้ รายการสถานีทีดีอาร์ไอ จะชวนท่านผู้ชมมาพูดคุยกับ ดร. นณริฎ พิศลยบุตร นักวิชาการจากทีดีอาร์ไอ ในประเด็นที่ว่าด้วย “กับดักประเทศรายได้ปานกลาง”
เพื่อตอบคำถามว่า
– กับดักประเทศรายได้ปานกลางคืออะไร
– ประเทศไทยตกอยู่ในกับดักประเทศรายได้ปานกลางแล้วหรือยัง
– ผลกระทบต่อไทยหากตกอยู่ในกับดักประเทศรายได้ปานกลาง
– และไทยจะก้าวพ้นกับดักประเทศรายได้ปานกลางได้อย่างไร