นิพนธ์ พัวพงศกร – วิโรจน์ ณ ระนอง – อธิบดีกรมการค้าข้าวภายใน และ อธิบดีกรมการข้าว ร่วมวงทีดีอาร์ไอเสวนาสาธารณะถกทบวนโครงการรับจำนำข้าว มองหาอนาคตข้าวไทย กับข้อเสนอเชิงนโยบาย ในหัวข้อ “คิดใหม่อนาคตข้าวไทย”
16 ส.ค.56 สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย(ทีดีอาร์ไอ) จัดเสวนาสาธารณะ หัวข้อ “คิดใหม่อนาคตข้าวไทย” โดยมีวิทยากรประกอบด้วย วิบูลย์ลักษณ์ ร่วมรักษ์ อธิบดีกรมการค้าข้าวภายใน กระทรวงพาณิชย์ ชัยฤทธิ์ ดํารงเกียรติ อธิบดีกรมการข้าว กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ รศ.ดร.นิพนธ์ พัวพงศกร นักวิชาการเกียรติคุณ ทีดีอาร์ไอ และ ดร.วิโรจน์ ณ ระนอง ผู้อํานวยการวิจัยดานเศรษฐศาสตร์สาธารณสุขและการเกษตร ทีดีอาร์ไอ
0000
รศ.ดร.นิพนธ์ พัวพงศกร
ประเด็นที่นำเสนอเกี่ยวกับนโยบายจำนำข้าว ทักษิณคิด เพื่อไทยทำ ขณะที่เพื่อไทยบางส่วนกำลังคิดหาทางถอย รวมถึงข้อเสนอต่างๆ จะเกิดผลต่อราคาข้าวเปลือก สิ่งที่ต้องรีบหาทางแก้ไข และอนาคตข้าวไทยจะเป็นอย่างไร
ใครได้ประโยชน์จากโครงการจำนำข้าว ชาวนา โรงสี-โกดัง-เซอร์เวย์เยอร์ ผู้บริโภค พ่อค้าทีมีเส้นซื้อข้าวจากรัฐ เจ้าของที่ดิน พ่อค้าปุ๋ย-ยา-เมล็ดพันธุ์ เจ้าของเครื่องจักรกลเกษตร ตารางนี้(ดูกราฟค่าเช่าทางเศรษฐกิจด้านล่างประกอบ)เป็นการคิดออกมาว่าแต่ละคนในนาปี นาปรัง ปี 54-55 แต่ละส่วนได้เท่าไหร่
เรื่องที่ทำมา เป็นเรื่องที่ทักษิณ ชินวัตรคิด เพื่อไทยทำ ซึ่งทักษิณก็พูดอยู่ตลอดเวลา โดยทักษิณคิดว่าโครงการรับจำนำข้าวจะขาดทุนน้อย เพราะจะขายได้ในราคาต้นทุน 660 เหรียญ ชัดเจนว่าทักษิณเป็นคนคิด และ “คาดการณ์ว่าโครงการรับจำนำข้าวปีนี้จะขาดทุนประมาณ 6 หมืนล้านบาท โดยอิงต้นทุนซื้อ ณ ระดับราคา 660 ดอลลาร์ต่อตัน” จากบทสัมภาษณ์ใน Bloomberg, 24 ก.ย. 55
ข้อมูลจากอนุกรรมการปิดบัญชี ขาดทุน 136,896.80 ล้านบาท โดยทักษิณคิดต่อไปว่า “อย่างไรก็ตาม ตอนนี้ราคาข้าวเพิ่มขึ้นเป็น 600 ดอลลาร์ต่อตัน เพิมขึ้น 50% ดังนั้นข้าวในสต๊อกของเราเริมมีมูลค่าขึ้นมาแล้ว ถ้าคุณเทขาย คุณสามารถขายได้อย่างรวดเร็วแน่ แต่ก็จะขาดทุนเยอะเช่นกัน” จาก Forbes, 30 ต.ค. 55
ทักษิณว่าราคาตลาดโลกจะปรับตัวสูงขึ้น โดยเขากล่าวว่า “หากควบคุมกลไก (ตลาด) สัก 2-3 ปี หลังจากนั้นสิ่งต่างๆ จะขับเคลื่อนไปตามธรรมชาติ (หมายความว่า ราคาจะสูงขึ้น) ขณะนี้ราคาข้าวในตลาดโลกกำลังปรับตัวสูงขึ้น” จาก บทสัมภาษณ์ใน Bloomberg, 24 ก.ย.55
นี่คือความผันแปรในตลาดโลก(ดูกราฟประกอบ) ตอนที่ทักษิณพูดนั้นราคาสูงแล้วก็ปรับลงมาเรื่อยๆ
การผันแปรในตลาดโลก มีอินเดีย ดับฝันของทักษิณ เพราะผลผลิตของอินเดียล้นโกดังก็ต้องระบายข้าว เวียดนามหั่นราคาแข่งอินเดีย ผลก็คือราคาเฉลี่ยทั่ว โลกลดลง ไม่ใช่สูงขึ้น
แผนภูมิ ราคาข้าวในตลาดโลกลดลงในปี พ.ศ. 2555
ทักษิณคิดว่าไทยยังคงเป็นทีหนึงด้านส่งออกข้าว โดยทักษิณ ให้สัมภาษณ์ กับ Bloomberg เมื่อ 24 ก.ย.55 ว่า “ไทยยังคงเป็นที่หนึ่งด้านการส่งออกด้วยราคาที่ดีขึ้น สำหรับปีนี้รัฐบาลได้ตั้งเป้าหมายส่งออกไว้ที 8.5 ล้านตัน โดยขายให้กับบังคลาเทศ จีนและอินโดนีเซีย”
ตัวเลขส่งออกข้าวของไทยไปยังบังคลาเทศ จีนและอินโดนีเซียตั้งแต่ปี 54 –56 ผลก็คือว่า 3 ประเทศส่งออกได้หมด ส่วนการจัดอันดับการส่งออกข้าวเวลานี้กลายเป็นอินเดียเป็นอันดับ 1 และเพื่อไทยคุยว่าปี 55 จะส่งออกให้ 6 ประเทศ แบบรัฐต่อรัฐได้ 1.76 ล้านตัน แต่การส่งออกทั้ง รัฐ-เอกชน มีแค่ 0.89 ล้านตัน
ทักษิณคิด “ให้คนอื่นขายก่อน เราสามารถขายทีหลัง..เวียดนามเพิ่มผลผลิตไม่ได้” โดยที่ทักษิณกล่าวใน Forbes เมื่อ 30 ต.ค. 55 ว่า “ท้ายที่สุด เวียดนามจะไม่ยอมโง่ ขายข้าวในราคาถูก อีกอย่างเวียดนามก็ไม่สามารถเพิ่มผลผลิตได้มากกว่านี้ ปริมาณในขณะนี้คือสิ่งที่เขาผลิตได้ทั้งหมด ในขณะที่เราผลิตได้ในปริมาณเท่ากับทีโลกบริโภค ถ้าเขารีบก็ปล่อยให้เขาขายไป เราสามารถขายทีหลังได้” แต่สิ่งที่เกิดขึ้นคือความผันแปรในตลาด เวียดนานเพิ่มผลผลิตมากขึ้น
ราคาตลาดข้าวของโลกผันแปรเร็วมา เวียดนามผลิตมากขึ้น เพราะผลจากการเพิมผลิตภาพการผลิต และมีแนวโน้มบริโภคลดลงปีละ 1.4% ในช่วงปี 41-51 การบริโภคต่อหัวลดลงมาก ขณะนี้อยู่ไม่ถึง 135 กก/คน ในเมือง 100 กก./คน ทำให้การส่งออกเพิ่ม และรัฐบาลเวียดนามจำเป็นต้องขายข้าวและขาดดุลเพราะต้องรับผิดชอบฐานะการคลัง รวมไปถึงถ้าราคาตลาดโลกสูงขึ้น ชาวนาทั่วโลก 144 ล้านครัวเรือนจะเพิ่มผลผลิต เพราะฉะนั้นราคาก็จะลง ดังนั้นจะเอาอะไรไปคุมราคาตลาดโลก
และเพื่อไทยทำ โดยการขายข้าวตัดราคาบริษัทไชยพร ซึ่งอันนี้ก็มีข่าวขายข้าวให้อิรักว่าขายข้าวตัดราคา บ.ไชยพร และทักษิณก็วิจารณ์ ผ่าน Facebook เมื่อ 7 ส.ค. 56 ว่า “เมื่อ 2 วันก่อน มีเพื่อนต่างชาติคนหนึ่งโทรมาหาผมบอกว่า อิรักยกเลิกการประมูลข้าวจากไทยเพราะไม่มั่นใจในคุณภาพ เหตุเกิดเนื่องมาจากเมื่อ 3 ปี ที่แล้วที่เขาซื้อข้าวไทย ข้าวขาวชั้นดีแล้วส่งมอบข้าวคุณภาพต่ำให้เขา ผมก็เลยเชิญเขามาพบเพื่อเล่าข้อเท็จจริงให้ฟัง เขาตำหนิ Surveyors (ผู้ตรวจสอบ)ของไทยทีไม่จริงจังในการตรวจสอบคุณภาพของที่จะส่งมอบตามที่ตกลงกันไว้ แต่เขายังซื้อข้าวหอมมะลิต่อไปเพราะการควบคุมคุณภาพทีส่งมอบไม่มีปัญหา อิรัคซื้อข้าวไทยปีละ 1 ล้านตัน ทำให้ตลาดหายไปดื้อๆ เขาบอกผมว่าไทยไม่ต้องมาตัดราคาขายข้าวถูกๆ แล้วเอาของไม่ดีให้เขา เขาพร้อมจ่าย premium เพราะข้าวไทยรสชาติดีกว่าของข้าวเวียดนาม เขาไม่แคร์ทีจะจ่ายเพิ่มเพราะประเทศเขารวยแล้ว คนของเขาควรได้กินข้าวมีคุณภาพจากไทย ก็เลยรีบบอกไปยังกระทรวงพาณิชย์ให้ไปรับรองกับทางการอิรัคเลย เขาพร้อมจะซื้อในราคาสูงกว่าตลาดโลกด้วยซ้า”
ทำไมอิรักปฏิเสธข้าวไทย ปกติอิรักซื้อข้าวคุณภาพสูง และยินดีจ่ายราคาแพง อันนี้คุณทักษิณก็วิจารณ์เอง แต่ไชยพรเป็นผู้ขายประจำเพราะขายข้าวใหม่ คุณภาพสูง ปัญหาเซอร์เวย์หรือปัญหาข้าวในโกดังนั้น มีคุณภาพต่ำ เวลาไปขายก่อนหน้านี้ไม่เคยเอาข้าวเก่าไปขาย แต่เวลานี้กลับเอาข้าวในโกดังไปขาย จึงไม่อย่าจะเชื่อว่าบริษัทไทยที่อยู่เบื้องหลังอันนี้จะไม่รู้ปัญหาคุณภาพข้าวในโกดัง
ทักษิณประสบความสำเร็จทางธุรกิจ เพราะทำธุรกิจผูกขาด จึงใช้วิธีให้บริษัทรายหนึ่งผูกขาดการขายข้าว ในรัฐบาลในยุคทักษิณ และพยายามชวนเวียดนามมาฮั้วราคากันอีก ส่วนสิ่งที่เพื่อไทยทำนั้นคือจงใจระบายข้าวผ่านประตูแคบๆ ไม่กี่บริษัท แถมยังปกปิดราคาขายและปริมาณขาย ทั้งๆ ที่ส่วนใหญ่เป็นการขายภายในประเทศไม่มีความลับทางการค้าใดๆ ทั้งสิ้น เหตุผล คือ จะได้ขายข้าวในราคาต่ำกว่าตลาดให้พ่อค้าพรรคพวกขอตนเองได้กำไร
รัฐขายข้าวราคาต่ำกว่าตลาดมาก จึงไม่เปิดเผยราคา ทำให้ขาดทุนหนัก กราฟราคาระบายในโครงการฯ เทียบกับราคาขายส่งข้าวสารในตลาด ส่วนต่างตรงนั้นภาษานักเศษฐศาสตร์เรียกว่า “ค่าเช่าทาเศรษฐกิจ” หรือ ค่าเก๋าเจี๊ยะ ซึ่งนี่คือส่วนต่าง และเป็นเหตุผลหรือเปล่าที่ไม่เปิดเผยราคาและปริมาณการขายข้าวในประเทศ
ตารางการคำนวณหา ”ราคาข้าว” และ การขาดทุนต่อตัน
เพราะฉะนั้นโดยสรุปถ้าทักษิณคิดผิด เพื่อไทยจะทำผิดต่อไปอีกหรือเปล่า นักการเมืองบางส่วนในเพื่อไทยกำลังคิดหาทางถอย ขณะนี้จึงมีข้อเสนอนโยบายหลายอย่าง โดยเพื่อไทยกำลังคิดทำอะไร ขณะนี้ พาณิชย์ประกาศเป้าหมายการระบายข้าวเดือนละ 1 ล้านตัน ซึ่งอันนี้ไม่ควรทำ เพราะเกิดผลกระทบต่อราคาอย่างมโหฬาร มีผลกระทบต่อราคาตลาดมากกว่าการเปิดเผยสต๊อค เพราะแม้รัฐบาลเปิดเผยก็ไม่มีผลต่อราคาแล้วเพราะทุกคนในตลาดรู้แล้ว คาดคะเนเอาไว้แล้วว่าสต๊อคมีอยู่เท่าไหร่ เพราะตลาดดีดลูกคิด “ลดราคาตลาด” จากผลของสต๊อคไปแล้ว แต่ข่าวใหม่คือรัฐบาลประกาศว่าจะขายข้าวเดือนละ 1 ล้านตัน อีนนี้มีผลและอาจเป็นเหตุให้มีคนซื้อแค่ 2 แสนตัน เวลาประมูล เพราะคาดว่าไม่ต้องซื้อวันนี้ แต่ซื้อทีหลังราคาจะถูกลงอีก เพราะฉะนั้นนัยคือว่าไม่ควรประกาศจำนวนและราคาทีต้องการขาย แต่ประกาศวิธีขายที่โปร่งใสพอแล้ว
ทำไมการประมูลข้าวโปร่งใสจึงขายข้าวได้ราคาต่ำ เพราะ พ่อค้ารู้ว่ารัฐบาลร้อนเงิน และต้องมีการขายข้าวอีก พ่อค้าทุกคนรู้ดังนั้นรอซื้อวันหน้าราคาจะถูกลงอีก รวมทั้งการขายข้าวแบบ “เหมาเข่ง” รวมคละคุณภาพและบังคับให้ผู้ประมูลได้ต้องยอมรับสภาพข้าวไม่มีทางขายข้าวราคาที่สูง ประการต่อมาคือพ่อค้าเชือว่าข้าวในโกดังมีคุณภาพต่ำเพราะหลายเหตุผล เช่น ปัญหาการตรวจรับ วิธีบำรุงรักษาข้าวในโกดัง เป็นต้น
ทางออกคือ รัฐบาลเพื่อไทยจะต้องไม่ขายข้าวเก่าหรือข้าวเน่าโดยเด็ดขาด แต่ถ้าไม่ขายเอาไปทิ้งทะเลก็ติดคุก เพราะถือว่าทำให้ทรัพย์สมบัติของประเทศหาย เมื่อเป็นเช่นนี้ก็ต้องต้องหาทางออกกฎหมายเรื่องการ “write off” ให้ถูกกฎหมาย แล้วเน้นขายข้าวทีมีคุณภาพชัดเจน โดยอาศัยอาศัยตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้าประมูลขายแบบ “ประมูลส่วนต่าง basis” จากราคาล่วงหน้าของตลาด
ส่วนการลดราคาจำนำและจำกัดปริมาณจำนำ ผลจะเป็นอย่างไรนั้นขึ้นกับการเจรจากับชาวนา และขั้วอำนาจในพรรคเพื่อไทย ชาวนาอีสานอาจยอมให้จำนำ 1 ครั้ง แต่ขอยืนราคา 15,000 บาท ฯลฯ สิ่งที่จะเกิดขึ้นต้องลดราคาและจำกัดปริมาณแน่นอน แต่จะต้องคิดถึงผลกระทบสำคัญและหาทางแก้ไข ปัญหาบางอย่าง เพราะการลดราคาจำนำและจำกัดปริมาณนั้นจะเกิด 2 ตลาดสองราคา ระหว่างข้าวตลาดในราคาโครงการจำนำกับนอกจำนำ ซึ่งราคานอกจำนำราคาจะต่ำมาก ชาวนาในอิสานและจังหวัดทีมีโรงสีน้อยจะถูกกดราคาเป็นพิเศษ
สำหรับมาตราการโซนนิ่ง รัฐบาลจะมีปัญญาบังคับเกษตรกรนอกเขต จะไม่ให้ปลูกข้าวได้อย่างไร จะใช้เครืองมืออะไร เพราะลำพังแค่ขาดทะเบียนเกษตรกรก็ยังไม่สามารถทำให้ถูกต้องได้ รวมทั้งการโซนนิงเป็นการจำกัดสิทธิเสรีภาพของเกษตรกรด้วย
อนาคตข้าวไทยจะเป็นอย่างไร
ต้องยกเลิกการจำนำ แล้วหาวิธีอื่นๆในการช่วยเหลือชาวนา แต่ถ้าไม่ยกเลิกก็คงไม่มีอนาคตที่จะพูดถึง วิธีของสหรัฐอเมริกา-เกาหลีใต้ “Enhanced Income Policy” โดยรัฐบาลจ่ายชดเชย 70-85% ของส่วนต่างระหว่าง “ราคาเป้าหมายกับ “ราคาตลาด ราคาเป้าหมายกำหนดจากราคาตลาด การชดเชยโดยตรง ความผันผวนของราคา โดยใช้ค่าเฉลี่ย 3-5 ปีในอดีต
หรือใช้วิธีญี่ปุ่น เช่น จ่ายเงินชดเชยในอัตราชดเชยตายตัวต่อไร่ แก่พืชชนิดต่างๆ จ่ายเงินชดเชยส่วนต่างระหว่างราคาตลาดกับต้นทุนการผลิต การประกันความเสี่ยงราคาลดต่ำกว่าต้นทุน โดยรัฐอุดหนุนเบี้ยประกันบางส่วน การประกันดัชนีดินเป้าอากาศ แต่ยังมีปัญหา อาจเลียนแบบญี่ปุ่นชั่วคราว มีการประกันต่อหลายช่วงๆ สุดท้ายเป็นการประกันต่อกับกระทรวงเกษตรฯ รัฐบาลอุดหนุนเบี้ยประกันบางส่วนและค่าใช้จ่ายดำเนินการบางส่วนของบริษัทประกันต่อ รวมไปถึงนโยบายคูปองซื้อสินค้าและบริการสำคัญคนจน เป็นต้น
อนาคตข้าวไทยจะต้องห่วงเรื่องอะไร
ปัญหาน่าห่วงชาวนาไทยแก่ตัวรวดเร็ว 32% ของหัวหน้าครัวเรือนอายุเกิน 60 ปี แต่ส่วนใหญ่ไม่มีประกันสังคมหรือบำนาญ มีแต่ที่ดินเป็นหลักประกัน
แผนภูมิโครงสร้างอายุเกษตรกรไทย 15-59 ปี
แม้ความสามารถในการแข่งขันทรงตัว (RCA)แต่แนวโน้มแย่ลง ต้นทุนสูงขึ้น คู่แข่งปรับปรุงความสามารถรวดเร็ว การขายข้าวขาวคุณภาพต่ำและขาดทุน อนาคตลาดข้าวไม่แจ่มใสอีกเพราะประชากรโลกกินข้าวน้อยลง ยกเว้นอาฟริกา ผู้นำเข้ารายใหญ่ใช้นโยบายเลี้ยงตัวเอง ทำให้ราคามีแนวโน้มลดลง รวมถึงการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศและการย่างเข้าสู่วัฏจักร El Nino จะแล้งมากขึ้น จึ่งมีผลกระทบต่อผลผลิตข้าวค่อนข้างมาก
โจทย์นโยบายสำคัญสำหรับชาวนาไทย คืออะไร
เพิ่มผลิตภาพแรงงาน (labor productivity)ไม่ใช่ ผลผลิตต่อไร่ (yield) เนื่องจากไทยมีที่ดินเหลือเฟือ แปลงนาใหญ่ขึ้น แต่ขาดแรงงาน รายได้ต่อหัวแรงงานเกษตรต่ำกว่านอกภาคเกษตร เพิ่มมูลค่าข้าวและผลิตภัณฑ์ข้าว ย้ายคนออกจากเกษตร สร้างงานในชนบท ที่ดินเกษตรจะทำอะไร การรับมือกับการเปลียนแปลงภูมิอากาศและศัตรูพืช และกรณีชาวนาที่เกษียณจะมีชีวิตอยู่อย่างไร
รวมไปถึงเพิ่มผลิตภาพแรงงาน เทคโนโลยีการผลิตและหลังเก็บเกียว นโยบาย land consolidation หรือ กฎหมายค่าเช่านา กฎหมาย ภาษีที่ดินป้องกันเก็งกำไร การเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ข้าว การวิจัยการตลาดคู่กับการปรับปรุงพันธุ์ การรับมือกับความผันแปรภูมิอากาศและศัตรูพืช เช่นพันธุ์ข้าวทนน้ำท่วม-น้ำแล้ง รวมทั้งชาวนานิยมใช้พันธุ์ข้าว 4-5 พันธุ์และเป็นพันธุ์อายุกว่า 10 ปี ปัญหาการขาด maintenance research นโยบายการรวมกลุ่มเกษตรกรที่รัฐทำไม่สำเร็จ เพราะปัญหาการสร้างผลงานแบบผักชีโรยหน้า NGO ทำได้ แต่แค่กลุ่มเล็ก เพราะรังเกียจภาคธุรกิจ ต้องมี 4 ประสาน โดยให้ NGO เป็นหัวหอก นโยบายรักษาสิ่งแวดล้อมและระบบนิเวศ นโยบายภาษีสารเคมีเกษตร วิจัยระบบนิเวศของข้าวป่าและการทำข้าวไร่ของชาวเขา การสร้างแรงจูงใจการทำไร่นาเพื่อรักษานิเวศ รวมไปถึงการมีนโยบายประกันสังคมที่ประชาชนมีส่วนร่วมสมทบ เป็นต้น
0000
วิโรจน์ ณ ระนอง
ปัญหาเราไม่ได้อยู่แค่ข้าว ปัญหาใหญ่ รัฐมีความหวังเก็บเลขผสมน้อย เพื่อลดขนาดการจำนำข้าวลงมา รวมถึงให้เกษตรกรไปหาพืชอื่น ทางออกนี้ไม่ได้ช่วยแก้ปัญหาเท่าไหร มาตรการยกระดับราคาสินค้าเกษตรให้สูงกว่าตลาดโลก โดยเฉพาะในประเทศส่งออกอย่างไทย มีปัญหาทุกมาตรการ ข้อเสนอสำหรับอนาคต เลิกใช้นโยบายทีพยายามดันให้ราคาสินค้าเกษตรสูงกว่าตลาดโลก มาตรการทีจะช่วย(หรือจะขายประกันราคา ควรตั้งราคาเป้าหมายที่สะท้อนราคาในอดีตเพื่อช่วยเกษตรกรรับมือกับกรณีทีราคาตกต่ำจริงๆ เท่านั้น เลิกนโยบายและมาตรการจูงใจให้เกษตรกรอยู่กับภาคเกษตร ส่วนข้อเสนออาจทำได้ยาก หรือแทบเป็นไปไม่ได้ ในทางการเมือง แต่ถ้าไม่ยอมหรือไม่กล้าคิดใหม่ทำใหม่กันจริงๆ ปัญหาก็ทับถมขึ้นเรื่อยๆ
บทเรียนตอนนี้ ปัญหาการแทรกแซงสินค้าเกษตรของเราไม่ได้อยู่แค่ข้าว1.มันสำปะหลังที่อาจยังไม่เป็นข่าวใหญ่ แต่ปัญหาแทบไม่ต่างกัน เพราะมันวิ่งมาทีรัฐการระบายผ่านเอกชนรายเดียวหรือน้อยราย สต๊อกทีไม่ชัดเจน ผู้ส่งออกหาสินค้าไม่ได้และคาดว่ารัฐจะเสียหายหลายหมื่นล้านบาทต่อปี
2.ยางพารา แทรกแซงราคาสูง ใช้เงินไปหลายหมื่นล้าน และสต๊อกที่รอเสื่อม
3.รัฐบาลยังฝากความหวังกับอ้อย และคิดว่าอาจแก้ปัญหาส่วนหนึ่งได้จากการให้เกษตรกรโยกย้ายไปปลูกอ้อยแทน
3.1. แต่อ้อยก็มีปัญหาในตัวเองอยู่ไม่น้อย และความพยายามปฏิรูประบบก็อาจจะไม่เกิดขึ้นจริงในเร็วๆ นี้ ทั้งที่เป็นมติ ครม. มาตลอดตั้งแต่ต้นปี 55
3.2. และการตั้งราคาข้าวที่ยังสูงก็จะสร้างแรงจูงใจในการขยายพื้นทีปลูกข้าวต่อไป ถึงแม้จะเปลี่ยนมาเป็นรับจำนำปีละครังก็ตาม
ปัญหาโครงการจำนำข้าวจะยังคงย้อนรอยเดิม
แม้ว่าการแก้ปัญหาจำนำข้าวคงจะดีขึ้นกว่าเดิมบ้าง แต่ปัญหาใหญ่ๆ จะยังย้อนรอยเดิม เพราะการลดการรับจำนำครั้งเดียว ก็ยังจะต้องใช้เงินปีละประมาณสามแสนล้าน ตามที่รัฐบาลประมาณการ ซึ่งคงไม่พลาดมาก ซึ่งใกล้เคียงกับจำนำในปีแรก โดยสมัยก่อนจำนำ 20-30% ก็มีปัญหาการขายข้าว ดังนั้น ถึงต่อไปข้าวจะเข้ามาแค่ 50-67% ซึ่งไม่ทุกเมล็ด การขายข้าวก็ยังเป็นปัญหาที่ใหญ่มากอยู่ดี เนื่องจากการประมูลข้าวในปัจจุบันก็ยังมีปัญหา ทั้งความไม่เชื่อมั่นและการเก็งว่าราคาจะลงอีก จึงมีการเสนอราคาที่ต่ำ รวมทั้งมาตรการทางกฎหมาย เช่น ตรวจโกดังผู้ส่งออก คงไม่ช่วยอะไรมาก นอกจากสต๊อกข้าวเก่า 17 ล้านตัน แล้ว ถ้าจำนำข้าวต่อแบบนี้จะยังมีข้าวใหม่เข้ามาทีรัฐปี ละ 10 ล้านตัน เฉลี่ยเดือนละ 1 ล้านตัน ดังนั้นถึงตั้งแต่นี้ไปจะระบายข้าวได้เดือนละล้านตัน ซึงยังไม่เห็นแนวโน้ม สต๊อกก็จะยังไม่ลดลง
การตั้งราคาที่สูงกว่าตลาดมากๆ เช่น 15,000 บาทต่อตัน หรือแม้กระทั่ง13,500 นอกจากรัฐจะมีต้นทุนสูงกว่าตลาดโลกมากแล้ว ก็ยังสร้างปัญหาต่อไปในระยะยาว จากแรงจูงใจในการปลูกข้าวเพิ่ม แรงจูงใจในการสวมสิทธิ และการนำข้าวข้ามแดน และต้องตามมาปิดกั้นไม่ให้นำข้าวข้ามแดน ซึ่งขัดเจตนารมณ์ของ AEC ด้วย อีกทั้งมาตรการควบคุมต่างๆ นอกจากจะใช้ทรัพยากรจำนวนมากแล้ว รวมทั้ง ข้าราชการ เกษตร พาณิชย์ และต่อไปคงรวมมหาดไทย ซึ่งส่วนนี้ยังไม่ได้คิดต้นทุนจริงเต็มที่เกิดจากข้าราชการไม่ได้ไปทำงานในหน้าที่ประจำของตัวเอง แต่ก็ยังมีปัญหาใน การอุดช่องโหว่สำคัญๆ ที่มีอยู่เต็มไปหมด กลายเป็นว่าเราสร้างโครงการที่ก่อให้เกิดแรงจูงใจในการทุจริต แล้วต้องคอยตามมาอุดช่องโหว่ไม่ให้เกิดการทุจริตเหล่านั้น
แต่มาตรการอื่นจะช่วยแก้ปัญหาได้ไม่มาก
มาตรการสำคัญอีกอันทีรัฐบาลนี้ฝากความหวังคือโซนนิ่ง (zoning) ซึ่งเป็นมาตรการที่พูดกันมาหลายสิบปีแล้ว แต่ถึงทำได้เต็มรูปแบบ มาตรการนี้ก็จะไม่ได้ช่วยแก้ปัญหาราคาสินค้าเกษตร เนื่องจากพื้นที่เกษตรส่วนใหญ่ของประเทศไทยอยู่นอกเขตชลประทาน ซึ่งควบคุมน้ำไม่ได้ กระทั่งในเขตชลประทานเอง หลายครั้งก็ไม่มีน้ำหรือเจอน้ำท่วม ดังนั้น ถึงจำกัดหรือกำหนดพื้นที่ได้ก็ไม่ได้ทำให้สามารถกำหนดปริมาณการผลิตได้ และถึงแม้จะกำหนดปริมาณการผลิตของไทยได้ แต่ราคาสินค้าเกษตรส่วนใหญ่ขึ้นกับผลผลิตของทั้งโลกมากกว่า โดยสินค้าหลักๆ ผลผลิตของเราน้อยมากเมื่อเทียบกับทั้งโลก เช่น ข้าวประมาณ 7% น้ำตาล น้อยกว่า 5% แม้กระทั่งยางพาราที่เราเป็นผู้ผลิตรายใหญ่ก็ไม่สามารถกำหนดราคาในตลาดโลกได้ และในทางปฏิบัติคงจะมีผลไม่มาก เพราะรัฐบาลจะทำแค่แนะนำและส่งเสริม” ไม่ใช่ห้าม โดยรัฐบาลบอกว่าจะ “ช่วย” เฉพาะเกษตรกรใน zone ซึ่งถ้าทำจริงก็อาจมีปัญหาพอสมควร รวมทั้งการกำหนดโซนอาจกลายมาเป็นประเด็นถกเถียงสำคัญ
ยกระดับราคาสินค้าเกษตรให้สูงกว่าตลาดโลกทำในประเทศส่งออกได้ยากกว่าในประเทศที่นำเข้า
สำหรับประเทศที่นำเข้าสินค้าเกษตร การทำให้ราคาในประเทศสูงนั้นง่ายกว่ามาก เช่น กำหนดโควต้าและเก็บภาษีสินค้านำเข้า และจะมีรายได้จากภาษีนำเข้าทีสามารถเอามาอุดหนุนเกษตรกรในประเทศด้วย แต่แม้กระทั่งในประเทศเหล่านี้ มาตรการกีดกันการนำเข้าก็ทำได้ยากขึ้นเรื่อยๆ จากข้อตกลงการค้าระหว่างประเทศ อย่างไรก็ตามมาตรการเหล่านี้จะอยู่ได้ก็ต่อเมื่อราคาที่สูงไม่ได้จูงใจให้มีการผลิตมากจนสินค้าล้นตลาดในประเทศ หรืออีกนัยหนึ่งเกษตรกรมีช่องทางที่จะหารายได้ที่ดีกว่าจากการหันไปประกอบอาชีพอื่น หรือมีมาตรการควบคุมอละจำกัดว่าแต่ละปีใครหรือพื้นที่ไหนปลูกพืชนั้นได้บ้าง เช่น มีมาตรการหมุนเวียนพื้นที่ที่มีสิทธิปลูกหรือพื้นที่ที่จะได้รับน้ำชลประทาน
แต่สำหรับประเทศที่ยังจะพึ่งหรือขยายการส่งออกสินค้าเกษตร หรือตั้งเป้าเป็น “ครัวของโลก” ถ้าจะยกราคาก็คงต้องใช้วิธีอุดหนุน และมาตรการอุดหนุนมักจะใช้เงินมาก เพราะต้องอุดหนุนสินค้าส่วนที่ส่งไปขายต่างประเทศด้วย
การยกระดับราคาไม่ใช่คำตอบสำหรับเกษตรกรในระยะยาว
แม้ว่าการยกราคาจะช่วยเกษตรกรจำนวนหนึ่ง ทำให้มีกำไรเพิ่ม “ลืมตาอ้าปาก” ได้จริง แต่ราคาที่สูงขึ้นก็จูงใจให้เกษตรกรอีกจำนวนหนึ่ง ซึ่งมีต้นทุนสูงกว่า ให้เข้ามาผลิต สินค้านั้นก็จะเพิ่ม โดยเกษตรกรเหล่านี้ก็จะมีกำไรไม่มากอยู่ดี ดังนั้นการที่มีคนหันมาปลูกข้าวมากขึ้น ดึงให้ต้นทุนของเกษตรกร รวมทั้งกลุ่มแรกที่ปลูกก่อนด้วยนั้น สูงขึ้น
เจ้าของที่ดิน ซึ่งรวมเกษตรกรบางส่วนด้วย จะมีรายได้เพิ่มจากค่าเช่าที่สูงขึ้น ผลในทีสุดก็คือ ราคาที่สูงขึ้นทำให้ต้นทุนสูงขึ้นไปด้วย แสดงว่า ในความเป็นจริง “ราคากำหนดต้นทุน” ไม่ใช่และไม่สามารถ “กำหนดราคาที่เป็นธรรมจากต้นทุน” ตามที่หลายฝ่ายเรียกร้อง ถ้าราคาปัจจัยการผลิตและค่าเช่านั้นขึ้นง่ายกว่าลง การปรับราคาจำนำหรือประกันลงก็อาจสร้างปัญหาให้เกษตรกรได้มากอีกเช่นกัน
“ประกันรายได้” สร้างปัญหาคล้ายกันถ้าเอามาใช้เพื่อยกระดับราคาให้สูงกว่าตลาด
เดิมโครงการประกันรายได้นี้ถูกออกแบบให้เป็นโครงการประกันความเสี่ยง ไม่ใช่การอุดหนุนราคา ซึ่งข้อดีที่สำคัญ ซึ่งตอกย้ำให้เห็นจากปัญหาในโครงการจำนำนั้น คือรัฐไม่ต้องยุ่งและไม่ต้องสูญเสียจากการสต๊อกและขายข้าว ซึ่งเป็นสองข้ันตอนที่มีปัญหามากมาตลอด แต่ถ้าทำเป็นโครงการอุดหนุนเพื่อยกระดับราคาอย่างชัดเจน เงินอุดหนุนส่วนหนึ่งก็จะถูกแบ่งไปให้ผู้ซื้อ เช่น มีเกษตรกรเข้ามาผลิตแข่งกันมากขึ้น ผู้ซื้อก็ย่อมมีอำนาจต่อรองและกดราคารับซื้อลงได้ส่วนหนึ่ง โดยเป็นกลไกตรงกันข้ามกับการเก็บภาษีสรรพสามิตจากผู้ผลิต ที่ผู้ขายจะสามารถผลักภาระภาษีที่ถูกเก็บส่วนหนึ่งไปให้ให้ผู้ซื้อ โดยปัญหาจะรุนแรงขึ้นตามการอุดหนุนที่เพิมขึ้น และจะชักนำให้คนมาทำนามากขึ้นด้วย และยิงถ้าตั้งเป้าว่าจะอุดหนุนให้ได้ราคาเป้าหมายที่กำหนดขึ้นมาเองให้สูงกว่าตลาดอย่างชัดเจน ในระยะยาวก็จะมีปัญหาแรงจูงใจที่รุนแรง โดยที่ราคาตลาดอาจต่ำลงเพราะทั้งผู้ซื้อและผู้ขายรู้ว่ารัฐบาลจะต้องชดเชยให้ได้ตามเป้านั่นเอง
ปัญหาของโครงการ “ประกันรายได้” ทีตั้งราคาสูงกว่าตลาด ข้อเสียอีกประการในภาคปฏิบัติทีผ่านมาคือปัญหาชาวนาปลอมเพราะลงทะเบียนแล้วมีแต่ได้และมีโอกาสได้แทบทุกปี ไม่ใช่เฉพาะเมื่อราคาตกต่ำกว่าปกติ และเจ้าของที่ดินก็อ้างสิทธิ อย่างไรก็ตามข้อที่ถูกยกว่าเป็นข้อดีประการหนึ่งคือช่วยชาวนารายเล็ก ที่ปลูกข้าวไว้กินเองเป็นหลักด้วย แต่ก็มีคำถามถึงเหตุผลทางเศรษฐกิจ ยกเว้นเราจะเชื่อว่ารัฐควรจ่ายเงินอุดหนุนให้ประชาชนปลูกข้าวไว้กินเอง หรือประเทศเราควรมีชาวนาจำนวนมาก
การผูกขาดตลาดสินค้าเกษตรไม่เคยทำได้จริง
สำหรับประเทศทีต้องพึงการส่งออกสินค้าเกษตร มาตรการสร้างอำนาจผูกขาดเหนือตลาดโลกไม่เคยได้ผลจริง แม้ในทางทฤษฏีอาจทำได้ถ้าเป็นสินค้าทีไม่มีคู่แข่งที่มาทดแทนได้ แต่ในปัจจุบันไม่มีสินค้าที่ว่านั้น แม้กระทั่งข้าวหอมมะลิ ส่วนมาตรการ “จับมือประเทศผู้ผลิตอื่น” สร้าง cartel ก็ไม่เคยได้ผล แม้กระทั่ง ในกรณียางพาราที่ไทย อินโดฯ มาเลย์ มีผลผลิตรวมกันเป็นส่วนใหญ่ของผลผลิตโลก มาจับมือกันตั้ง IRCo
การตั้งราคาสินค้าเกษตรให้สูงกว่าตลาดโลก สามารถทำได้ง่ายกว่าสำหรับประเทศผู้นำเข้าที่สามารถจำกัดปริมาณการนำเข้าด้วย แต่ไม่ควรพยายามใช้นโยบายนี้ กับสินค้าที่เรายังมีสถานะเป็นผู้ส่งออกรายสำคัญ การนำเงินภาษีมาอุดหนุนราคาในประเทศให้สูงกว่าตลาดโลกมีปัญหามาก เพราะทำให้เกษตรกรไม่ปรับตัวตามสัญญาณของตลาดจริง แต่เกิดแรงจูงใจที่จะผลิตมากขึ้นเรื่อยๆ ทำให้ภาระค่าใช้จ่ายของโครงการเพิมขึ่นตามอย่างรวดเร็ว ดังนั้นรัฐไม่ควรพยายามฝืนตลาดในระยะยาว แต่ควรมีมาตรการช่วยเกษตรกรรับมือกับความเสี่ยงด้านราคาในระยะสั้น เช่น ในกรณีที่ราคาในฤดูนั้นตกลงมามากเมื่อเทียบกับแนวโน้มราคาในอดีต ซึ่งเกษตรกรอาจจะไม่อยู่ในวิสัยที่จะคาดการณ์ได้ล่วงหน้า และเกษตรกรที่มีฐานะไม่ดีมากอาจจะไม่สามารถรับมือกับราคาที่ผันผวนมากได้ด้วยตัวเอง แต่ในกรณีพืชที่มีมูลค่าสูงควรให้เกษตรกรร่วมรับภาระอย่างมีนัยสำคัญ เช่น เก็บภาษีส่งออกยางพาราในช่วงทีราคาสูงกว่าแนวโน้ม และนำเงินมาอุดหนุนเมื่อราคาตก
เกษตรกรรมไม่ใช่คำตอบหรือทางออกจากความยากจนของคนส่วนใหญ่ของประเทศ
ในเชิงเศรษฐกิจ เกษตรกรรมหรือเกษตรกร-กสิกร-ชาวนา หมดบทบาทในการเป็นกระดูกสันหลังของชาติมานานแล้ว เพราะสัดส่วนของผลผลิตภาคเกษตรต่อผลผลิตมวลรวมของประเทศลดลงจากประมาณ 20% ในปี 2522 เหลือ 7.7% ในปี 2538 เพิ่มกลับไปอยู่ที่ 9-10% หลังวิกฤต 40 แล้วลดกลับมาเป็น 7.7 ในปี 2554 ซึ่งแนวโน้มที่ลดลงเป็นทิศทางเดียวกับประเทศพัฒนาแล้ว และสัดส่วนรายได้จากเกษตรมักไม่เกิน 3-7% ของ GDP และมีสัดส่วนของเกษตรกรพอๆ กับสัดส่วนรายได้ แต่ประเทศไทยยังมีคนอยู่ในภาคเกษตรเป็นจำนวนมาก ถึง 25-40% แม้กระทั้งเมื่อเทียบกับประเทศกำลังพัฒนาที่มีรายได้ต่อหัวใกล้เคียงกัน โดยเฉลี่ยแล้วเกษตรกรไทยจึงมีรายได้สุทธิที่ไม่ถึงครึ่งของคนที่ไม่ใช่เกษตรกร ดังนั้นภาคเกษตรจึงไม่สามารถเป็นแหล่งรายได้หลักของคนจำนวนมาก หรือไม่เช่นนั้นเกษตรกรก็จะเป็นอาชีพทีต้องอยู่คู่กับความยากจนไปอีกนาน
ตาราง สัดส่วนสินค้าเกษตร
เกษตรกรจำนวนมากเข้าใจสภาพปัญหาดีและโหวตให้ตัวเองหรือลูกหลานค่อยๆออกจากภาคเกษตร จนมีจำนวนลดลงมาพอสมควร รวมทั้งปรับตัวโดยไปทำงานอื่นนอกฟาร์ม (off-farm & non-farm) ทั้งถาวรและตามฤดูกาล รวมทั้งขับแท็กซี ขายของ ฯลฯ ซึ่งรวมแล้วมีรายได้ดีกว่าทำเกษตรอยู่กับที ในขณะที่ภาครัฐ NGO และ “ปราชญ์” ชาวบ้าน กลับพยายามส่งเสริมและผลักดันให้เกษตรกรอยู่กับเกษตรต่อไปด้วยหลายมาตรการ เช่น สัญญาว่าจะทำให้ราคาดีขึ้น ให้อยู่อย่างพอเพียง ที่รายได้และรายจ่ายต่ำ ให้ปรับเปลี่ยนวิธีหรือวิถีการเกษตรให้ได้ผลผลิตสูงโดยมีต้นทุนต่ำ แต่ภาคเกษตรเองมักไม่มีงานเต็มเวลาที่สามารถรองรับคนจำนวนมากได้ทั้งปี จะเห็นได้จากการเกิดอาชีพรับเหมาดำนาหรือหว่านกล้า ฉีดยา ก็เป็นตัวอย่างที่สะท้อนปัญหานี้
การมีคนอยู่ในภาคเกษตรมากเกินก็เป็นตัวกำหนดผลิตภาพ จะเห็นได้จากก่อนปี 40 ผลิตภาพการปลูกข้าวของไทย ที่วัดด้วยผลผลิตต่อแรงงาน มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น เป็นลำดับ แต่หลังวิกฤตปี 40 ที่คนจำนวนมากกลับบ้านไปพึ่งเกษตร ผลิตภาพการปลูกข้าวปี 40/41 ตกลง แล้วค่อยกระเตื้องกลับขึ้นมาในปี 41/42 (ดูกราฟ) และผลิตภาพสวนทางกับจำนวนชาวนา (ดูตาราง)
กราฟผลผลิตข้าวนาปีต่อแรงงาน
ตารางแสดงผลิตภาพที่สวนทางกับจำนวนชาวนา
การลดลงของเกษตรกรไม่ใช่ปัญหา แต่เป็นทางออก
กรณีจำนวนเกษตรกรที่ลดลงนั้น ไม่ได้ก่อให้เกิดปัญหาความมั่นคงทางอาหารทั้งของไทยและของโลก จึงไม่จำเป็นต้องหามาตรการที่พยายามเก็บรักษาคนไว้ในภาคเกษตรมากกว่าที่เขาสมัครใจอยู่เอง และจะยังมีเกษตรกรจำนวนมากที่มีเงื่อนไขที่ทำให้เหมาะที่จะอยูในภาคเกษตรต่อไป เช่น มีที่ดินอยู่แล้ว รวมทั้งรายที่ทำไว้กินเองเป็นหลัก และเกษตรกรที่มีรายได้หลักจากทางอื่น เกษตรกรจำนวนมากมีขนาดฟาร์มใหญ่ขึ้นและมีรายได้และผลผลิตเพิ่มขึ้นมากเพราะตราบที่ยังมีเกษตรกรหรือคนที่พร้อมกลับเข้ามาทำเกษตร เป็นจำนวนมากโอกาสที่เกษตรกรโดยรวมจะมีรายได้ดีก็เป็นไปได้ยาก ในหลายประเทศทีสินค้าเกษตรมีมูลค่า 3-7% ของ GDP ก็มีเกษตรกรในสัดส่วนที่พอๆกัน เกษตรกรจะมีฐานะดีได้ก็ต่อเมือคนส่วนใหญ่ของประเทศสามารถหารายได้ทีดีได้จากอาชีพอื่น จนไม่สนใจมาเป็นเกษตรกรอีกต่อไป ถึงแม้คนที่อยู่จะได้รับการอุดหนุนพอสมควรก็ตาม
ข้อเสนอนโยบายแทรกแซงราคาในอนาคต
ทำไมเราจึงควรเลิกนโยบายหรือมาตรการ“ยกระดับราคาให้สูงกว่าตลาด” เพราะนอกจากมาตรการอุดหนุนราคาในประเทศให้สูงกว่าตลาดโลกมักจะมีภาระค่าใช้จ่ายสูงแล้ว ผลกระทบที่สำคัญกว่านั้นก็คือทำให้เกษตรกรเลิกปรับตัวตามสัญญาณของตลาด แต่หันมาปรับตัวตามสัญญาณจากรัฐบาลแทน ในกรณีนี้ ถ้าโครงการอุดหนุนทำได้อย่างเป็นระบบพอสมควร เช่น ทั้งโครงการประกันรายได้ของรัฐบาลประชาธิปัตย์และโครงการรับจำนำทุกเมล็ดของ เพื่อไทย ก็จะเกิดแรงจูงใจในการขยายการผลิต ซึ่งจะกลายเป็นแรงกดดันทีกลับมาสร้างปัญหาให้กับโครงการในระยะยาว โดยที่งบอุดหนุนที่ใช้ในโครงการของประชาธิปัตย์นั้นก็เพิมขึ้นมากในปีเดียว สาเหตุสำคัญประการหนึ่งคือจำนวนชาวนาที่ลงทะเบียนเพิมขึ้นและคาดว่าน่าจะเพิ่มเป็นประมาณแสนล้าน ถ้าประชาธิปัตย์เข้ามาเป็นรัฐบาล และ “เพิ่มกำไรเป็น 40%” ตามทีหาเสียงไว้
ขณะที่โครงการจำนำข้าวปีหน้าที่จะรับจำนำปีละครั้งและจำกัดวงเงินต่อราย ก็ยังคาดว่าจะใช้เงิน 300,000 ล้าน ซึ่งพอๆ กับโครงการรับจำนำทุกเมล็ดในสองปีที่ผ่านมา และเมื่อประกอบกับข้อเท็จจริงที่ว่าราคาที่สูงขึ้น จากการนำเงินภาษีมาอุดหนุน จะทำให้ต้นทุนสูงขึ้นตามและในที่สุดประโยชน์ก็จะไปตกกับเจ้าของทีดินและชาวนาที่มีที่ดินเองในขณะที่จะยังมีชาวนาที่มีต้นทุนสูงที่แทบจะไม่มีกำไรในจำนวนที่แทบจะไม่ต่างจากเดิม
โดยในระยะยาว โครงการ “ช่วยเหลือ” เกษตรกรจึงควรล้มเลิกเป้าหมายที่จะยกราคาในประเทศให้สูงกว่าราคาตลาดโลก โดยให้เกษตรกรตัดสินใจเองจากสัญญาณที่เขาได้รับจากแนวโน้มราคาตลาด แต่ควรเป็นโครงการที่ช่วยเกษตรกรรับมือกับความเสียงจากการผันผวนของราคาในระยะสั้น และช่วยให้เกษตรกรมีเวลาปรับตัวพอสมควร เช่น 2-3 ปี ในกรณีทีเกษตรกรจะเปลี่ยนไปทำอย่างอื่น โดยที่โครงการอาจทำได้หลายรูปแบบ แต่หัวใจของโครงการคือการกำหนดราคาเป้าหมายที่สะท้อนแนวโน้มราคาตลาดในอดีต
ถ้าต้องการลดปัญหา “ชาวนาปลอม” อาจทำโครงการในรูปการประกันภัย โดยเรียกเก็บเบี้ยประกันต่อไร่ในอัตราต่ำ โดยคำนวณเบี้ยประกันแล้วให้รัฐหรือ ธกส. เรียกเก็บในอัตราไม่เกิน 20-50% ซึ่งแม้ว่าจะเก็บไม่เต็มที่ แต่ก็น่าจะลดการรายงานพื้นที่ทีเกินจริงลงได้อย่างมีนัยสำคัญ จริงๆจะทำเป็นโครงการรับจำนำก็ยังได้ เช่น รับจำนำในราคา 90%ของราคาเป้าหมาย ซึ่งผลกระทบจะน้อยกว่าโครงการในปัจจุบันมาก ในปีที่ราคาไม่ได้ตกต่ำมากเกษตรกรก็จะไม่ค่อยมาจำนำ ซึ่งต่างกับปัจจุบันที่ตั้งราคาจำนำสูงกว่าราคาตลาดอย่างชัดเจน แต่เมื่อคำนึงถึงปัญหาการระบายข้าวของรัฐที่ผ่านมา การทำโครงการโดยสองวิธีแรกจะมีความเสียงต่อรัฐน้อยกว่ามาก
ถ้าต้องการให้เกษตรกรมีเวลาปรับตัวนานขึ้น การตั้งราคาเป้าหมายอาจเป็นค่าเฉลี่ยทียาวกว่าสามปี เช่น 5 ปี แต่ก็จะทำให้ระบบอาจยืดหยุ่นน้อยลงและปรับตัวตามความเปลี่ยนแปลงของตลาดได้ได้ช้าลง และอาจทำให้บางช่วงรัฐอาจมีภาระค่าใช้จ่ายที่สูงขึ้น วิธีหนึ่งที่จะสร้างหลักประกันว่าระบบจะทำงานตามที่ออกแบบไว้ ก็ด้วยการออกกฎหมายมารองรับ เพื่อไม่ให้สามารถเปลี่ยนแปลงตามดุลยพินิจของผู้บริหารฝ่ายการเมืองหรือข้าราชการ
0000
วิบูลย์ลักษณ์ ร่วมรักษ์
‘จำนำข้าว’ ไม่ได้มุ่งที่กำไร-ขาดทุน แต่มุ่งยกระดับชีวิตชาวนา
เริ่มต้นด้วยการกล่าวว่าน่าจะมีชาวนาในเวทีเสวนานี้ ในฐานะผู้มีส่วนได้เสียหลัก โครงการจำนำข้าวไม่ได้มุ่งที่กำไร-ขาดทุน เป้าหมายอยู่ที่ช่วยเกษตรกร ยกระดับฐานะของเกษตรกร เราจะเห็นว่าชาวนาไทย เป็นชาวนาที่ยากจนมานาน และไม่สามารถหลุดพ้นวงจรจากความยากจน การประกันรายได้หรือจำนำก็เป็นโครงการที่เข้ามายกระดับชีวิตของเกษตรกร และโครงการจำนำข้าว ในช่วงที่ผ่านมาจากการติดตาม ไม่อาจปฏิสเธได้ว่า ทำให้ชาวนามีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นกว่าในอดีต
ประเด็นรที่ 2 เป็นการลงทุนในกับภาคการเกษตร เหมือนรัฐบาลอื่นที่ลงทุนกับสุขภาพหรือการศึกษา หรือโครงสร้างพื้นฐาน
ประเด็นที่ 3 กลไกตลาดสินค้าเกษตร มันไม่มีทางเดินหน้าโดยตลาดสมบูรณ์ ดังนั้นมันจะมีการดูแลของรัฐหรือกลุ่มอำนาจดต่างๆ ในตลาดโลก โดยมีรัฐหรือองค์กรต่างๆเข้ามาแทรกแซง
ราคาข้าวไทยถูกกำหนดโดยผู้ค้าตลาดโลก
หลายส่วนในโครงสร้างตลาดข้าวของไทย เมื่อเทียบกับเวทีโลกแล้วเราต้องมองพอว่าผู้ผลิตไม่สามารถควบคุมอุปทานได้ ยังขึ้นกับดินฟ้าอากาศ โรงสี พ่อค้าคนกลาง โดยที่ยังไม่ได้เป็นคนที่ไม่ได้กำหนดอะไรได้ ยังต้องรอคำสั่งผู้ส่งออกที่ดูกลไกตลาดโลก ดังนั้นราคาข้าวไทยนั้น คนที่มีอำนาจในการกำหนดราคาข้าวคือผู้ค้าในต่างประเทศทมากกว่า การปล่อยให้เป็นไปตามกลไกอย่างต่อเนื่องอาจไม่สามารถแก้ปัญหาได้
จากโครงการจำนำ ทำให้ราคาข้าวสูงขึ้นในตลาดโลก มีการยกระดับสูงขึ้นยิ่งเวทีข้าวต่างประเทศ ราคาข้าวของไทยเป็นราคาข้าวที่เริ่มขยับเข้ากับของสหรัฐฯ มากขึ้น และราคาที่เหนือกว่าข้าวของเวียดนามและอินเดีย และข้าวหอมมะลิเราสามารถดีดราคาของตัวเองขึ้นไปได้ อยู่ในระดับประมาณ พันสองร้อยกว่าเหรียญสหรัฐฯ
การระบาย น่าจะเริ่มได้ในเดือน ก.ย. นี้ ที่จะเริ่มประมูลได้ เป็นวิธีการระบายที่โปร่งใสชัดเจน ตอนนี้อยู่ในขั้นทำความเข้าใจผู้ร่วมในตลาดซื้อขายสินค้าเกษตรล่วงหน้า โดยมีการซอยให้เล็กขึ้น และในตลาดซื้อขายล่วงหน้านั้นก็ต้องการให้มีผู้ค้าที่หลากหลาย
สำหรับโครงการใหม่ หลายท่านกังวล จากที่มีการพูดถึงความเท่าเทียบมกันของเกษตรกรนภาคต่างๆ โดยตั้งแต่การจัดโครงร่างที่หารือนั้น ก็ทำความเข้าใจ อย่างกรณีข้าวหอมฯ ชาวนาอีสานปลูกได้ครั้งเดียว ดังนั้นราคาที่รัฐบาลเสนอก็เป็นราคาที่เดิมอยู่ สำหรับข้าวที่มีปัญหาค่อนข้างมากนั้นคือข้าวขาว เพราะมีคู่แข่งมาก ราคาในตลาดโลกค่อนข้างต่ำ จำเป็นที่จะปรับปรุงโครงการใหม่เพื่อโน้มน้าวให้เกษตรกรไปปลูกข้าวที่มีคุณภาพมากขึ้น เช่น จากข้าวขาวไปปลุกข้าวหอมแทน
ต้องมองทั้งอุตสาหกรรมข้าวเป็นยุทธศาสตร์หนึ่งของไทย ต้องมองทั้งต้น, กลางและปลายน้ำ เห็นด้วยเรื่อง R&D ที่จะทำให้เรายืนอยู่ต่อไปได้ ซึ่งต้องเป็นการวิจัยทั้งระบบ ตั้งแต่เกษตรกรเกี่ยวข้าวมาแล้วมันมีรั่วไหลต่อลอดจนถึงโรงสี คุณภาพข้าวมาที่โรสีมีความหลากหลายความชื้น ทำให้ถูกตัดราคา ดังนั้นโครงสร้างพื้นฐานการขนส่งนี้ก็ต้องพัฒนา มีโรงสีที่เป็นการผลิตดั้งเดิมจนถึงโรสีสมัยใหม่ที่คุณภาพข้าวที่ดี สิ่งที่สำคัญคือภูมิอากาศเราไม่เอื้อต่อการเก็บ คลังสินค้าเราก็ไม่เอื้อที่จะเก็บได้
เรื่องการตลาด มียุทธศาสตร์เยอะมากทั้งในและต่างประเทศ ส่วนใหญ่แล้วเน้นเรื่องตลาดเฉพาะมาก เน้นข้าวมีคุณภาพ มีลักษณะเฉพาะ พยายามพลักดันให้มีการยอมรับหรือขึ้นทะเบียนข้าวที่มีสิ่งบงชี้ทางภูมิศาสตร์ เช่น ข้าวหอมสุรินทร์ แม้ด้อยด้านการผลิต แต่มีความเฉพาะของข้าว เมื่อเทียบกับข้าวขาว มันจะมีความแตกต่างกับข้าวแบรนด์หรือข้าวที่มีลักษณะเฉพาะ ทำน้อยได้มาก
สร้างเครือข่ายข้าวประชาคมอาเซียน
อีกส่วนที่อยากให้มองอนาคตข้าวไทย ไกลกว่าประเทศไทย กระทรวงพาณิชย์ทำงานมากในส่วนของประชาคมอาเซียน ถ้าดูเรื่องของข้าวในอาเซียน ศักยภาพของเราที่จะแข่งนอกอาเซียน จะดึงเครือข่ายอย่างไร มีความร่วมมือในอาเซียนทุกระดับชั้่น มีระดับชาวนา โรงสี ผู้ส่งออก หน่วยรายชการของอาเซียน สิ่งที่มองเห็นคู่แข่งได้คือสหรัฐฯ ที่เป็นตลาดส่งออกสำคัญๆ
0000
ชัยฤทธิ์ ดํารงเกียรติ
การวิจัยและพัฒนาที่สัมพันธ์กันทุกภาคส่วน
กรมการข้าวเน่นการทำงานในภาคการผลิต ดังนั้นการจำนำข้าวไม่ได้เกี่ยวข้องโดยตรง ประเด็นที่กรมฯ ยอมรับอยู่คือสิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคตคือเรื่องคุณภาพข้าว สิ่งที่เราเป็นห่วงหากไม่มีการส่งเสริมหรือใช้เทคโนโลยีที่ถูกต้อง ปัญหาในอนาคตเราจะมีปัญหาการแข่งขัน
สิ่งที่เราเป็นห่วงคือต้นทุนในการผลิตข้าวจะสูงขึ้น ดังนั้นต้องมีการพัฒนาข้าวและชาวนาไทยอย่างยั่งยืน โดยการพัฒนาข้าวแก้เฉพาะนาก็จะไม่สิ้นสุด ในเรื่องการมองเรามองทั้งระบบ ทั้งต้น-กลาง-ปลายน้ำ ถ้าทำงานไม่เชื่อมโยงกันความสำเร็จจะเกิดขึ้นยาก เรื่องวิจัยและพัฒนาจึงเป็นเรื่องที่สำคัญสุด เราต้องเชื่อมโยง ภาคการผลิตที่หัวใจอยู่ที่การวิจัยและพัฒนา
ทำไมการวิจัยถูกแยกกันไปอย่างหลายมหาลัยฯ มีความซ้ำซอน และวิจัยไปแล้วไม่ได้นำไปใช้ ดังนั้นจึงมีการจับมือกัน ทำให้การวิจัยพัฒนาที่มีการจัดระเบียบ โดยที่กรมการข้าวจะรับงานวิจัยส่งต่อไปยังเกษตรกร ภาคชาวนา เกี่ยวข้องกับหลายส่วน จึงคิดว่าทำอย่างไรที่จะทำให้องค์กรเหล่านี้มีเอกภาพดังนั้นเราจึงพยายามให้จับมือกันเพื่อมีสมาพันธ์ชาวนาในอนาคต เช่นในการทำงานภาคการตลาดนั้นต้องบอกภาคการผลิต ที่ผ่านมาเราแยกส่วนการทำงาน เชื่อว่าการทำงานข้าวของประเทศ ต้องบูรณาการ 3 ภาคส่วนเข้าด้วยกัน เพื่อให้สามารถรู้ว่าจะทำอย่างไร วิจัยอะไรด้วย
เมล็ดพันธ์พันธ์ข้าวที่ดีและทั่วถึง
ปัญหาเรื่องเมล็ดพันธ์พันธ์ข้าว ปัจจัยส่งหนึ่งที่นำไปสู่ความสำเร็จคือเมล็ดพันธ์ ดังนั้นต้องผลิตมล็ดพันธ์ข้าวให้ดีและทั่วถึง แต่กรมการข้าวมีคนไม่เพียงพอก็ไม่สามารถทำได้ ดังนั้นทำอย่างไรที่จะให้มีเมล็ดพันธ์ที่ดีและเพียงพอ ขณะนี้การผลิตใกล้ความจริงแล้ว แต่ต้องใช้เวลา เพราะถ้าเป็นพันธุ์ข้าวที่ดี ผลผลิตเพิ่มขึ้น 10-20 % โดยที่เมล็ดพันธ์ถ้าปลูกไว้หลายครั้งคุณภาพจะไม่ดี เราสร้างกลไกสมาคมผู้รวบรวมและจำหน่ายเมล็ดพันธุ์ และจังหวัดควรมีบทบาทในบริหารจัดการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวด้วย
สถิติต้นทุนการผลิตข้าวของไทย ตั้งแต่ปี 38 ต้นทุนการผลิตข้าวเราสูงมาโดยตลอด กรมการข้าวได้สร้างหมู่บ้านต้นแบบการลดต้นทุนการผลิตเพื่อเป็นแนวทางในการผลิต และปัญหาออีกอย่างคือทำอย่างไรที่จะให้เทคโนโลยีนี้ถึงชาวบ้าน สิ่งที่จะต้องทำต่อ “ลด ละ เลิก” สามเหลี่ยมพีระมิดกระบวนการยกระดับคุณภาพข้าว (ดูภาพประกอบ)
สามเหลี่ยมพีระมิดกระบวนการยกระดับคุณภาพข้าว
เราต้องดูภาวะภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง เราต้องทำข้าวหอมฯที่ดีกว่าที่เป็นอยู่ แต่กรมการข้าวฯ หน่วยเดียวนั้นทำไม่ได้ เรื่องข้าวหอมปทุมฯ ที่เป็นข้าวหอมที่รองลงมานั้น เป็นตลาดกลาง แต่มีปัญหาเพลี้ยกระโดด และมีการไปทำวิจัยเพื่อต้านเพลี้ย แต่ก็ต้องทราบว่าพ่อค้าเอาข้าวนี้หรือไม่ ไม่เช่นนั้นเมื่อวิจัยออกมาแต่พ่อค้าไม่เอาก็จะเสียโอกาส
เราต้องหนีชาติอื่นไปให้ไกล กรมฯเสนอ การเปลี่ยนแปลง เมล็ดพันธ์ข้าวเป็นหัวใจ 22 ปีมาแล้วไม่มีการเปลี่ยนแปลง จากการเปลี่ยนครั้งนั้นเมื่อ 22 ปีที่แล้ว ทำให้เรามีข้าวคุณภาพ แต่ข้าวเก็บไว้นานมันก็จะไม่เป็นข้าวหอมมะลิแล้ว
ตีพิมพ์ครั้งแรก: เว็บไซต์ประชาไท วันที่ 25 สิงหาคม 2556 ในชื่อ รายงานเสวนาทีดีอาร์ไอ หัวข้อ “คิดใหม่อนาคตข้าวไทย”