ปัญหาการช่วงชิงแรงงานมากับประชาคมอาเซียน

ปี2014-05-02

ยงยุทธ แฉล้มวงษ์ ผู้อำนวยการวิจัยการพัฒนาสังคม ฝ่ายการวิจัยทรัพยากรมนุษย์และพัฒนาสังคม มูลนิธิสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) วิเคราะห์ สถานการณ์การเติบโตของกำลังแรงงานใน 5 ปีจากนี้ ถือว่ายังอยู่ในระดับทรงตัว คือ เติบโตเล็กน้อย แต่ด้วยฐานประชากรวัยแรงงานที่ค่อนข้างกว้างถึง 40 ล้านคน แม้จะเติบโตเพียงร้อยละ 0.4 ก็ยังไม่น่าจะทำให้ช่วง 5 ปีจากนี้เกิดการชิงตัวแรงงานกันอย่างรุนแรง

ช่วง 5-6 ปีหลังจากนั้น (2564-2569) การเติบโตของแรงงานไทยจะอยู่ในภาวะทรุดตัว คือมีอัตราเติบโตติดลบอย่างชัดเจน

เป็นปัญหาที่ต้องเร่งแก้ไข ถ้าประชากรเกิดน้อยกำลังแรงงานเพิ่มน้อย ก็ต้องใช้เรื่องนี้ให้เป็นประโยชน์ด้วยการยกระดับคุณภาพของเด็กในปัจจุบันควบคู่ไปกับการส่งเสริมคุณภาพแรงงานที่อยู่ในตลาดแล้วขณะนี้

ปัญหานี้เป็นปัจจัย 1 ให้เกิดการเคลื่อนย้ายแรงงานระหว่างประเทศ จากประเทศที่กำลังแรงงานเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง เข้าสู่ประเทศที่กำลังแรงงานเพิ่มขึ้นน้อย

ภาคธุรกิจที่น่าเป็นห่วงคือ ภาคบริการและภาคธุรกิจท่องเที่ยว เนื่องจากเป็นภาคธุรกิจที่ต่างชาติสามารถเข้ามาทดแทนได้ง่าย

เป็นปัญหาในยุคที่ก้าวเข้าสู่ “ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน”

 


ตีพิมพ์ครั้งแรก: มติชนสุดสัปดาห์ ฉบับวันที่ 2-8 พฤษภาคม 2557