โอกาสอุตสาหกรรมไทยหลังเข้าสู่เออีซี

ปี2014-10-06

เมื่อวันที่ 30 กันยายน  สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทยหรือ ทีดีอาร์ไอ จัดสัมมนาเรื่อง “อยู่หรือไป อนาคตอุตสาหกรรมไทยหลังการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน” ที่ โรงแรมสวิสโซเทล เลอคองคอร์ท  มีการนำเสนอผลการศึกษาโครงการวิจัย “การเพิ่มขีดความสามารถภาคอุตสาหกรรม ภายใต้นโยบายเศรษฐกิจระหว่างประเทศของไทย(ระยะที่5) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลกระทบต่อภาคอุตสาหกรรมไทยและแนวทางในการช่วยเหลือให้ผู้ประกอบการสามารถปรับตัวตามความท้าทายของการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนได้อย่างทันท่วงที

ภาพประกอบ
(จากซ้ายไปขวา) ดร.สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์, ดร.เชษฐา อินทรพิทักษ์, นายณัฐวุฒิ ลักษณาปัญญากุล, นายสุนทร ตันมันทอง

ดร.สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ ประธานสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย กล่าวว่า ปัจจุบันไทยกำลังอยู่ภายใต้สิ่งแวดล้อมทางเศรษฐกิจใหม่ มีการรวมกลุ่มในประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนเกิดขึ้นแล้วในความเป็นจริงก่อนที่จะเปิดอย่างเป็นทางการในปี 2558  โดยภาครัฐยังปรับตัวเข้าสู่เออีซีช้ากว่าภาคเอกชน  มีอุปสรรคเกี่ยวกับกฎระเบียบต่าง ๆ และการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานยังไม่สามารถพัฒนาได้ทัน  เป็นปัญหาต่อการเข้าสู่เออีซีของภาคเอกชน จะทำให้เอกชนของไทยเสียโอกาสการแข่งขัน  ที่ผ่านมามีความตกลงทางการค้าเกิดขึ้นจำนวนมาก ไม่ว่าจะเป็น FTA WTO TPP และเทรนด์ใหม่ที่เกิดขึ้นตอนนี้คือMEGA FTA Blocs  เป็นการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจขนาดใหญ่ข้ามภูมิภาค  ยุโรปและอเมริกากำลังเดินหน้าความตกลงกรอบการค้าเสรีระหว่างกันเป็น Blocs FTA ที่ใหญ่ที่สุดในโลก   อย่างไรก็ตามการเจรจาการค้าระหว่างประเทศแม้จะมีความล่าช้าแต่หากเกิดขึ้นจะเป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่  และหากไทยตกขบวนไปจะเป็นการเสียโอกาสอย่างน่าเสียดาย ซึ่งปัจจุบันไทยอยู่ในกลุ่มความตกลงขนาดใหญ่ความตกลงเดียวคือ ASEAN+6

การรวมตัวในประชาคมอาเซียนที่เกิดขึ้นแล้วในความเป็นจริงนั้นทำให้เกิดการเชื่อมโยงด้านการค้า การลงทุน การเคลื่อนย้ายแรงงาน แม้ยังเหลืออุปสรรคหลายเรื่องทั้งด้านภาษีและไม่ใช่ภาษี การขนส่ง  พิธีการศุลกากร เป็นช่องว่างที่ยังทำให้เชื่อมโยงกันไม่ได้ดีนัก    เสน่ห์ของเออีซีคือมีโอกาสเข้าถึงตลาดที่มีขนาดใหญ่ขึ้นอีกเกือบ 10 เท่า มีแรงงานที่มีจำนวนมากขึ้นอีก 9 เท่า  โอกาสเข้าถึงทรัพยากรธรรมชาติและพลังงานหลายชนิด  ทำให้มีนักลงทุนเข้ามาลงทุนในอาเซียนอย่างก้าวกระโดด โดยเฉพาะในกลุ่มประเทศ CLMV    ซึ่งญี่ปุ่นถึงกับมียุทธศาสตร์การลงทุนที่เรียกว่า Thailand+1  บริษัทญี่ปุ่นเริ่มขยายฐานการผลิตสิ้นส่วนที่ใช้แรงงานเข้มข้นไปประเทศกัมพูชาและลาว โดยแรงจูงใจสำคัญในการย้ายฐานการผลิตคือ เรื่องค่าจ้างแรงงาน ในประเทศเพื่อนบ้านที่ถูกกว่าไทย และมีกำลังแรงงานเพียงพอ   รวมถึงการอยู่ใกล้กับฐานการผลิตและการส่งออกของไทยโดยการขนส่งทางถนน   ขณะที่ไทยเริ่มใช้ยุทธศาสตร์การค้าที่เรียกว่า ASEAN AS ONE เริ่มมีอุตสาหกรรมไทยเข้าไปลงทุนในกลุ่มประเทศอาเซียนหลายรูปแบบทั้งการเป็นเจ้าของเองทั้งหมด  การร่วมทุน และจ้างผลิต  เช่น ในอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม โดยประเทศที่มีการเข้าไปลงทุนอาทิ กัมพูชา ลาวเวียดนาม และในอนาคตน่าจะเป็นพม่า

นายณัฐวุฒิ ลักษณาปัญญากุล   แจกแจงรายละเอียดความท้าทายของอุตสาหกรรมไทยในการเชื่อมโยงภายในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้นั้นมีหลายประการ เช่น  ประเทศ CLMV จะลดภาษีศุลกากรตามที่ไดผูกพันไวหรือไม่  ความตื่นตัวของผู้ประกอบการในการใช้ประโยชน์ทางภาษีที่ลดลงและการทำตลาดเชิงรุก  บทบาทภาครัฐในการนําระบบการรับรองถิ่นกําเนิดสินคาดวยตนเอง (self-certification) มาใชอยางเต็มรูปแบบเพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการ รวมถึงการพัฒนาคลังขอมูลเกี่ยวกับกฎระเบียบดานการคาของแตละประเทศ (national trade repository) การนําระบบศุลกากรอิเล็กทรอนิกส ณ จุดเดียวมาใชอยางแพรหลาย  ความพรอมของดานชายแดน  ปญหาคอรรัปชั่นของเจาหนาที่ประจําดานชายแดน  การรวมมืออยางจริงจังของแตละประเทศในการอํานวยความสะดวกในการขนสงสินคา  การจัดหางบประมาณในการกอสรางและซอมบํารุงระบบคมนาคมขนสง

นายสุนทร ตันมันทอง  นำเสนอกรณีศึกษาอุตสาหกรรมยานยนตและชิ้นสวน โดยชี้ให้เห็นว่า ในช่วงสิบปีที่ผ่านมา ไทยมีบทบาทมากขึ้นในการผลิตชิ้นส่วนและป้อนให้แก่แหล่งผลิตรถยนต์ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยไทยและอินโดนีเซีย ได้ก้าวขึ้นเป็นผู้ผลิตขนาดใหญ่ในภูมิภาค  ซึ่งอุตสาหกรรมยานยนต์ในอาเซียน มีโอกาสเติบโตมากขึ้นในอนาคต จากโครงการEco car II ของไทยอาจเพิ่มกําลังการผลิตไดอีกประมาณ 1.5 ลานคัน  ส่วนโครงการ Low Cost Green Car project (LCGC) ของอินโดนีเซีย     ตั้งแต่ปี 2556 เพิ่มยอดขายรถยนตในอินโดนีเซียไดประมาณ 1 แสนคันตอป (GAIKINDO)  ซึ่งจะเพิ่มอุปสงค์ต่อชิ้นส่วนจากกัมพูชา เนื่องจากฐานการผลิตในกัมพูชารับยอดคำส่งผลิตที่ล้นเกินจากกำลังการผลิตในไทย และอาจรับจากเวียดนาม อินโดนีเซีย และพิลิปปินส์ เป็นต้น ขณะที่เมียนมาร์อาจเป็นฐานการผลิตต่อไป

บทบาทใหมของไทยในเครือขายการผลิตรถยนตของอาเซียน คือ การเป็น linkage เชื่อมโยงวัตถุดิบ และชิ้นส่วนประกอบโดยส่งการผลิตชิ้นส่วนที่ใช้ทักษะไม่สูงและต้องใช้แรงงานมากไปยังฐานผลิตกัมพูชา และลาว  มีการแลกเปลี่ยนชิ้นส่วนส่งกลับมาประกอบและส่งออกในไทยซึ่งมีโครงสร้างพื้นฐานที่พร้อมมากกว่า  เชื่อมโยงเครือข่ายการบริหารจัดการรับหน้าที่บริหารจัดการเครือข่ายการผลิตในอนุภูมิภาค การเป็นผู้ฝึกอบรมและระบบบริหารจัดการผลิต เป็นต้น

ดร.เชษฐา  อินทรพิทักษ์  นำเสนอกรณีศึกษาอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม โดยระบุว่า   โครงขายการผลิตที่เกิดขึ้นในปจจุบันและแนวโนมตาง ๆ ในอุตสาหกรรม สะทอนถึงความเรงดวนที่อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุงหมไทยตองใหความสําคัญกับเรื่องการเปนผูผลิตเครื่องนุงหมที่ตองใชทักษะสูงและให้ความสําคัญของการทํา lean manufacturingเป็นสิ่งจำเป็น  กลุ่มSMEs ตองเรงปรับตัว   เพิ่มบทบาทในการบริหาร/จัดการโครงขายการผลิต หัวใจสำคัญของอุตสาหกรรมสิ่งทอ/เครื่องนุ่งหนุ่มคือการทำวิจัยและพัฒนา  โดยเฉพาะการพัฒนา brand ในระดับลึกและการพัฒนาตลาด technical/functional/eco textiles   ในอนาคตอาจตองมีกิจกรรมในลักษณะ trading business มากขึ้น  อย่างไรก็ตามเชื่อว่าจะมีผู้ประกอบการบางส่วนที่สามารถ upgrade มีการพัฒนาและแก้ปัญหาในด้านต่าง ๆ ได้ดีจะอยู่รอดได้ในตลาดเออีซี  ขณะที่บางส่วนอาจย้ายฐานการผลิตไปประเทศรอบข้างที่มีแรงงานและค่าจ้างถูกกว่า

ข้อเสนอสำหรับผู้ผลิตเครื่องนุ่งห่มไทย คือ ด้านการผลิตต้องให้น้ำหนักกับผลิตภัณฑ์ที่ต้องใช้ทักษะสูงและมีมูลค่าสูง  มีการปรับปรุงประสิทธิภาพการถ่ายทอดความรู้จากผู้ผลิตรายใหญ่ให้รายเล็ก การปรับตัวและเร่งหาทางออกของกลุ่มเอสเอ็มอี    ด้านการบริหารจัดการผู้ผลิตเครื่องนุ่งห่มไทยต้องพัฒนาตนเองเป็นผู้เสนองานแบบ Full-package service ไม่ใช่เป็นเพียงผู้รับการสั่งผลิต  ต้องพัฒนาระบบการผลิตและการบริหารงานให้เป็นมาตรฐาน เพื่อสามารถนำไปใช้ในการผลิตในประเทศอื่นที่ค่าแรงยังไม่แพง และ upgrade อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มด้วยการวิจัยและพัฒนาโดยเน้นด้านวัสดุศาสตร์ การมีระบบ patent ที่ดี การมีห้องทดสอบโดยเฉพาะ spinning pilot plant การพัฒนาบุคลากรที่มีความรู้ด้านเทคนิคสิ่งทอ   รวมถึงแก้ไขกฎระเบียบเกี่ยวกับอุตสาหกรรมฟอกย้อม เป็นต้น  ขณะที่ประเทศในกลุ่ม CLMV โดยเฉพาะกัมพูชา ลาว เวียดนาม จะมีบทบาทหลักในฐานะผู้ผลิตผลิตภัณฑ์ที่ใช้แรงงานเข้มข้น แต่เมื่อค่าแรงปรับตัวสูงขึ้นก็จะย้ายไปเมียนมาร์  ในด้านตลาดก็ต้องแก้ไขปัญหาด้านแรงงานและค่าจ้าง การปรับปรุงระบบขนส่ง คมนาคมและพิธีการศุลกากร  และปรับปรุงการทำงานของหน่วยงานภาครัฐให้มีประสิทธิภาพ

ดร.สมเกียรติ กล่าวเพิ่มเติมว่า  ท่ามกลางสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจใหม่นี้ จะเห็นรูปแบบของการผลิตแบบเครือข่ายกระจายการผลิตไปในประเทศต่าง ๆ   ดังนั้นสิ่งที่ไทยและผู้ประกอบการไทยต้องเปลี่ยน คือ ต้องไม่เน้นการผลิตอย่างเดียวแต่ต้องยกระดับไปเป็นผู้จัดการเครือข่ายการผลิต(Network Manager)  อุตสาหกรรมไทยต้องขยายการมองตลาดและฐานการผลิตไปยังประเทศเพื่อนบ้านอาเซียนและประเทศที่ไกลออกไป และในระยะยาวไทยควรพัฒนาตนเองจากประเทศที่เน้นการผลิตตามการว่าจ้างเป็น  “Trading Nation” เน้นกิจกรรมการผลิตที่มีมูลค่าเพิ่มสูง  เช่น การวิจัยและพัฒนา การออกแบบ และการตลาด  มีความสามารถในการบริหารเครือข่ายการผลิตโลจิสติกส์และการตลาด  รวมถึงต้องปรับโครงสร้างพื้นฐานและกฎระเบียบให้รองรับจึงจะสร้างโอกาสที่ดีของไทยในเออีซีได้.

—————

เอกสารประกอบการสัมมนา:  Icon_PPT