สพ.สธ.ยื่นหนังสือผู้ว่าฯ ทั่วประเทศให้ประชาชนร่วมหวงแหนสมบัติ
“ทีดีอาร์ไอ”เร่งรัฐปรับปรุงกฎหมายขึ้นทะเบียนพันธุ์พืชดั้งเดิม พร้อมเสนอให้คุ้มครองทั่ว เออีซี หวั่นต่างชาติหยิบไปใช้ประโยชน์ ผูกขาดโดยเอกชน กระทบความหลากหลายทางชีวภาพพืชเขตร้อน
นายจักรกฤษณ์ ควรพจน์ นักวิจัยสถาบัน วิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย(ทีดีอาร์ไอ) กล่าวถึงการประชุมโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาสยามบรมราชกุมารี (สพ.สธ.) ว่า จากที่ไทยได้เข้าร่วมอนุสัญญา ความหลากหลายทางชีวภาพหรือ CBD ทำให้ไทยต้องเห็นชอบเข้าร่วมสนธิสัญญาระหว่างประเทศ ว่าด้วยทรัพยากรพันธุกรรมเพื่ออาหารและเกษตร 2544 หรือ ITPGR ซึ่งเกี่ยวข้องกับทรัพยากรพืชอาหารและการเกษตรกว่า 64 สกุล ประมาณ 3,300 ชนิด จะตกเป็นของพหุภาคี ซึ่งรวมไปถึงข้อมูลต่างๆ ที่อยู่ในหน่วยงานรัฐ ปัจจุบันอยู่ระหว่างชะลอการ ลงนามในสัตยาบัน
ดังนั้นจึงเสี่ยงที่ไทยจะสูญเสียทรัพยากรของประเทศ เมื่อต่างชาตินำไปวิจัยพัฒนาแล้ว สามารถนำไปจดสิทธิบัตรเป็นพันธุ์พืชใหม่ ไทยจะไม่ได้รับสิทธิประโยชน์ใดๆจากพืช ชนิดนั้นๆ เนื่องจากต่างชาติได้จดสิทธิบัตรไปแล้ว จึงเป็นอันตรายอย่างยิ่ง เรื่องของการสูญเสียความรู้และภูมิปัญญาพื้นบ้าน ในขณะที่ไทยยัง ไม่มีความพร้อมของการพัฒนามาตรการเพื่อ การอนุรักษ์ และใช้ประโยชน์ความหลากหลายอย่างยั่งยืน และการเข้าถึงทรัพยากรพันธุกรรมพืช
“ไทยมีความเสี่ยงสูงมากที่ตามข้อตกลงในสนธิสัญญานี้จะทำให้ต่างชาติฉกฉวยเอาพืชพื้นบ้านของที่ไทยมีความหลากหลายมาก มีประโยชน์ทั้งด้านอาหารและสมุนไพร ถูกต่างชาติหยิบไปวิจัยและจดลิขสิทธิ์ ซึ่งไทยจะไม่ได้ผลประโยชน์เลย ในขณะที่ไทยไม่สามารถจดลิขสิทธิ์พันธุ์พืชดั้งเดิมได้ เพราะติดพ.ร.บ.คุ้มครองพันธุ์พืช พ.ศ.2542 ที่ระบุ ให้จดลิขสิทธิ์ได้เฉพาะพืชที่ปรับปรุงใหม่เท่านั้น อีกทั้งยังมีส่วนของพืชสมุนไพร ที่จด ลิขสิทธิ์ไม่ได้ตามพ.ร.บ.การคุ้มครองการแพทย์แผนไทย”นายจักรกฤษณ์ กล่าวแนะรัฐเร่งแก้ก.ม.กันต่างชาติ
นายจักกฤษณ์ กล่าวว่า เพื่อเป็นการ ป้องกันต่างชาติแอบหยิบพืชดั้งเดิมของไทยไปวิจัยต่อ นั้นรัฐบาลควรแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้องให้ไทยสามารถจดลิขสิทธิ์ แสดงความเป็นเจ้าของและได้ประโยชน์จากการวิจัยพัฒนา โดยระยะ 32 ปีที่ผ่านมาที่ไทยเข้าร่วม CBD นั้น ไทยเสียผลประโยชน์หลายกรณีแล้ว เช่นการวิจัยข้าวหอมมะลิของสหรัฐ กลายเป็นจัสมินไรท์ เต้าน้อย ที่ญี่ปุ่นนำไปวิจัยและ จดลิขสิทธิ์เป็นอาหารเพื่อสุขภาพ เป็นต้น
“ปัจจุบันผมมั่นใจว่า ต้องมีต่างชาติเข้ามาวิจัยพืชพื้นเมืองของไทย แต่ไม่รู้เพราะเขา ไม่บอก จึงเป็นหน้าที่ของประชาชน คนในพื้นที่ ที่ต้องรักและหวงแหนพืชและความรู้ภูมิปัญญาเหล่านี้ องค์การบริหารส่วนท้องถิ่นเป็นอีกส่วนที่ต้องใส่ใจ คอยสอดส่องดูแลไม่หลงกลต่างชาติ ที่เข้ามาหลอกล่อ”นายจักรกฤษณ์ กล่าว ระบุต้องครอบคลุมทั่วอาเซียน
นายจักรกฤษณ์ กล่าวว่า การแก้ไขปัญหาอันเนื่องมาจาก CBD นั้น ต้องมองให้ครอบคลุมทุกประเทศอาเซียนหรือเออีซี ด้วยที่ยังไม่มีกฎหมายความหลากหลายทางชีวภาพ เพราะทุกประเทศในกลุ่มนี้ได้เข้าร่วมใน CBD ทั้งหมดแล้ว ยกเว้นพม่าที่ไม่แน่ใจว่าจะเข้าร่วม แล้วหรือไม่ ประเทศต่างๆ เหล่านี้ล้วนมีความหลากหลายทางพันธุ์พืชเขตร้อน มากที่สุดคือ อินโดนีเซีย มาเลเซีย ไทย ดังนั้นจึงคาดว่าจะมีหลายประเทศเห็นด้วย ยกเว้นสิงคโปร์ที่เป็นผู้ใช้อาจไม่ยินยอม
กฎหมายความหลากหลายทางชีวภาพของ เออีซีนี้ ไทยสามารถเข้าไปมีบทบาทหรือเสนอให้จัดทำไปพร้อมๆ กับการแก้ไขกฎหมายคุ้มครองพันธุ์พืชของไทย โดยจะต้องครอบคลุมถึงการพิสูจน์สิทธิความเป็นเจ้าของ สามารถพิจารณาได้จากระบบความหลากหลายทางชีวภาพ ครอบคลุมถึงความปลอดภัยทางด้านอาหาร การเคลื่อนย้ายสินค้าดัดแปรพันธุกรรม ที่จะต้องเกิดขึ้นหลังเปิดเสรีไปแล้วตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. 2559 จะเป็นอันตรายต่อความหลากหลายทาง ชีวภาพได้ นอกจากนี้จะต้องครอบคลุมถึงการผูกขาดตลาดของภาคเอกชนที่จดสิทธิบัตร ซึ่งจะกระทบกับเกษตรกรยื่นหนังสือผู้ว่าฯเป็นนโยบายทุกพื้นที่
สำหรับโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช อันเนื่องมาจากพระราชดำริฯใน 5 ปีที่ผ่านมา ได้รณรงค์สร้างจิตสำนึกไปตามชนบทต่างๆ เพื่อเตรียมความพร้อม ก่อนที่ไทยจะต้องเข้าร่วมสัตยาบัน ITPGR การปฏิเสธจะทำให้พืชต่างๆถูกบริหารโดยองค์กรบริหารระหว่างประเทศ ดังนั้นจำเป็นที่ไทยต้องขึ้นทะเบียนทรัพยากรของประเทศเร่งด่วน และช่วยกันทำ ตามหลักการ สมบัติบ้านใครเป็นของผู้นั้น เพื่อรักษาสิทธิ ว่าด้วยทรัพยากรความหลากหลายทางชีวภาพเป็นของไทย
ขณะนี้กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ได้เข้าร่วมสนองพระราชดำริในโครงการอนุรักษ์พันธุกรรม อันเนื่องมาจากพระราชดำริฯมีหนังสือ ไปถึงผู้ว่าราชการทุกจังหวัดแล้ว เพื่อให้เป็น นโยบายองค์กรปกครองท้องถิ่นทุกตำบล
——————
หมายเหตุ: ตีพิมพ์ครั้งแรกในหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ วันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2558 ในคอลัมน์ “ทีดีอาร์ไอจี้รัฐรื้อก.ม.ขึ้นทะเบียน’พันธุ์พืช’”