tdri logo
tdri logo
11 มิถุนายน 2015
Read in Minutes

Views

ภาคธุรกิจและประชาชนจะช่วยหรือซ้ำเติมสังคม

ดร.วิรไท สันติประภพ
ที่ปรึกษาสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย

ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา ประเทศไทยมีปัญหาด้านความเหลื่อมล้ำ ความขัดแย้ง คอร์รัปชัน รวมถึงระบบการศึกษา ขณะที่ความเข้งแข็งของภารัฐ ประสิทธิภาพของระบบราชการ และนักการเมืองยังไม่สามารถแก้ปัญหาดังกล่าวได้ ดังนั้นองค์กรหลักของประเทศจึงควรทำหน้าที่ยกระดับและกระจายผลประโยชน์อย่างเป็นธรรมเพื่อให้เกิดเกณฑ์ที่ปฏิบัติอย่างตรงไปมาได้อย่างเข้มแข็ง

ภาคธุรกิจเป็นภาคที่สำคัญในการขับเคลื่อนประเทศ ทักษะการบริการมีทรัพยากรคือ ทุนและบุคลากร รวมถึงการหวังผลในระยะยาวจึงคำนึงถึงความยั่งยืนและคุณภาพของสังคมซึ่งต้องมองการณ์ไกล และมุ่งพัฒนาประเทศให้ดีขี้นในช่วง 5-10 ปีข้างหน้า

หากมองเรื่องนี้ในระดับสากลที่ไกลกว่าประเทศไทย หรือภูมิภาคเอเชีย จะเห็นว่ายุโรปได้ก้าวหน้าไปมาก เพราะภาคธุรกิจไม่ใช่แค่การขอใบอนุญาตในการประกอบธุรกิจเพื่อทำกำไรเท่านั้น แต่รวมถึงการมีสิทธิและหน้าที่ในการตอบแทนสังคมในฐานะที่เป็นบุคคลในสังคม

นอกจากนี้ การพูดถึงเรื่อง ESG ซึ่งอาจเป็นมาตรฐานเชิงรับที่ถูกนักลงทุนประเมินผลลัพธ์ของบริษัทคือ การเป็นพลเมืองที่ดี ปฏิบัติดีต่อสิ่งแวดล้อม คำนึงถึงผลกระทบจากการดำเนินธุรกิจต่อสังคม และมีหลักบรรษัทภิบาลหรือธรรมาภิบาลที่ดี

ขณะที่ภาคธุรกิจชั้นนำในระดับโลกเขาจะทำเชิงรุกเพื่อจะช่วยให้สังคมดีขึ้นอย่างไรที่จะมองเรื่อง “การพัฒนาอย่างยั่งยืน” หรือ Sustainability เป็นสำคัญ ด้วยความคิดที่ว่า “ทำให้ธุรกิจของคุณแตกต่างจากคู่แข่งให้ได้” ซึ่งหากเราไม่สามารถตอบโจทย์ก่อนคู่แข่ง เมื่อถึงเวลาที่เกิดปัญหาทางเศรษฐกิจจะส่งผลเสียต่อธุรกิจของเรามากกว่า เพราะฉะนั้นความยั่งยืนคือ หัวใจสำคัญของการจัดการความเสี่ยงด้านกลยุทธ์ทางธุรกิจ

เราเห็นปัญหาตามหน้าหนังสือพิมพ์ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการใช้แรงงานผิดกฎหมาย หรือการค้ามนุษย์ แม้กระทั้งปัญหาเรื่องสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากการปลูกข้าวโพด หรือการเผาป่า ซึ่งขณะนี้ธุรกิจไทยส่วนใหญ่อยู่ในสภาวะตั้งรับ แต่หากเราเกิดความตระหนัก ตื่นตัว และเอาเรื่องเหล่านี้ไปเป็นส่วนหนึ่งของกลยุทธ์ มีหลายเรื่องมากที่จะเป็นประโยชน์ต่อทุกฝ่าย สามารถทำให้การทำดีของธุรกิจกลายเป็นการทำดีต่อสังคมด้วย รวมถึงได้ยกระดับสังคมไปพร้อมกับความสามารถในการแข่งขัน การฉีกตัวเองออกจากคู่แข่ง อันนี้เป็นหลักคิดของความยั่งยืนในโลก

ส่วนการยกระดับคุณภาพสังคม เราต้องมองย้อนไปถึงแก่นขององค์กรว่า เราได้ทำความดี หรือมีความรับผิดชอบต่อสังคมจริงหรือไม่ ซึ่งผู้บริหารระดับสูงต้องมองถึงการคิดเชิงกลยุทธ์ การบริหารจัดการในการลงทุน โดยต้องคำนึงถึงผลกระทบต่อสังคมและบทบาทที่จะมีส่วนร่วมในการยกระดับคุณภาพสังคม

ในต่างประเทศธุรกิจจะถูกสอบถามเรื่องการลงทุนอย่างมีความยั่งยืนหรือแก่นของธุรกิจตัวเองว่ามีความดีอย่างไร แต่ในประเทศไทยจะไม่ค่อยมีคนถาม เช่น ธุรกิจร้านสะดวกซื้อขายสินค้าที่ส่งผลต่อโรคอ้วนของเด็กในประเทศอย่างไร เพื่อจะให้แน่ใจว่าโรคเบาหวานหรือการบริโภคน้ำตาลเกินควร ซึ่งเป็นโรคที่พบในเด็กส่วนใหญ่ของประเทศนั้น คุณไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งในปัญหาเหล่านั้น เป็นต้น ส่งผลให้นักลงทุนเข้ามามีบทบาทสำคัญอย่างมากในการกดดันให้บริษัทกำหนดกลยุทธ์ไปในทิศทางที่ถูกต้อง

ดังนั้น หากเราช่วยกันตั้งคำถาม หรือสนับสนุนแนวทางการส่งเสริมสภาวะแวดล้อม เราก็จะมีส่วนช่วยแก้ปัญหาต่างๆ ได้

ตัวอย่างที่สำคัญจากต่างประเทศ คือ “ไนกี้” บริษัทผลิตรองเท้าและเสื้ออันดับต้นๆของโลก และเป็นที่ยอมรับเองความยั่งยืนระยะยาวที่ประสบความสำเร็จมากที่สุด ไนกี้มีเป้าหมาย คือ ต้องการลดน้ำเสียจากการผลิตรองเท้า จึงได้คิดกระบวนการผลิตใหม่ที่จะย้อมสีโพลีเอสเตอร์โดยไม่ใช้น้ำซึ่งกลายเป็นเป้าหมายหลักในการผลักดันนวัตกรรมจากทุกหน่วยงานให้หันมาช่วยคิดจนสามารถทำได้ตามเป้าหมาย

ดังนั้น แนวคิดแบบเดิมเรื่องความรับผิดชอบต่อสังคม หรือ CSR เราเห็นจากหลายบริษัทที่ทำกิจกรรมส่งเสริมสิ่งแวดล้อม เช่น สนับสนุนโครงการปลูกป่า สร้างฝายชะลอน้ำ หรืออื่นๆ แต่ก็ไม่สามารถเทียบได้กับการมีธุรกิจที่ใช้ยาฆ่าแมลงและส่งเสริมให้ใช้สารเคมีอย่างปลอดภัย รวมถึงไม่ไปทำลายสิ่งแวดล้อม การเผาป่า และบุกรุกพื้นที่ในการทำธุรกิจ ดังนั้นเราต้องกลับมาถามตัวเองเรื่องแก่นของธุรกิจว่าเรามีส่วนในการส่งเสริมความดีหลักหรือไม่ หากสามารถทำได้ก็จะมีส่วนในการยกระดับในการแก้ไขปัญหาได้อย่างมีประสิทธภาพ

หากบริษัทต้องการมีความยั่งยืนต่อไปในอนาคตข้างหน้าและนำหน้ากว่าบริษัทอื่นๆ การดำเนินธุรกิจในกลยุทธ์เชิงรุกรวมถึงการสร้างนวัตกรรมเพื่อมารองรับในการปฏิบัติจะเป็นส่วนช่วยให้บริษัทเพิ่มความสามารถในการแข่งขัน บริหารความเสี่ยงในระยะยาว และช่วยยกระดับคุณภาพสังคมได้อย่างยั่งยืน

ขณะเดียวกันในภาคประชาชนทั่วไป เราต้องมองย้อนกลับถามตัวเองว่าการใช้ชีวิตหลักๆของเรามีส่วนในการซ้ำเติมปัญหาในสังคมมันรุนแรงขึ้นหรือไม่ ตั้งแต่การเลือกใช้สินค้าในฐานะผู้บริโภค การเลือกลงทุนหรือมีทรัพยากรส่วนเกิน เช่น เวลา เงิน และความคิด มาช่วยกับสังคมได้อย่างไรบ้าง

—————-

ตีพิมพ์ครั้งแรก: หนังสือพิมพ์ ASTV ผู้จัดการรายวัน วันที่ 10 มิถุนายน 2558 ใน “คอลัมน์: GREEN VISION: ภาคธุรกิจและประชาชนจะช่วยหรือซ้ำเติมสังคม”

เรื่องที่คุณอาจสนใจ