หนังสือ “สมการคอร์รัปชัน: แก้โจทย์ บวก ลบ คูณ หาย ในสังคมไทย” คือ หนังสือที่นำกรอบแนวคิดสมการคอร์รัปชั่นของ ศาสตราจารย์โรเบิร์ต คลิตการ์ด (Robert Klitgaard) นักเศรษฐศาสตร์ชาวอเมริกัน ที่มีผลงานวิจัยเกี่ยวกับคอร์รัปชันอันเป็นที่ยอมรับมากที่สุดคนหนึ่ง มาใช้เป็นแกนกลางในการเดินเรื่อง ผ่านบทสนทนา ที่กองบรรณาธิการไปพูดคุยกับผู้ที่ข้องเกี่ยวและเผชิญหน้ากับตัวแปรในสมการคอร์รัปชัน ทั้ง 3 ตัวแปร ตั้งแต่ การผูกขาด การใช้ดุลยพินิจ กลไกความรับผิดชอบ และปิดท้ายด้วยบทของ “การเมืองแบบเปิด” ซึ่งเป็นหลักการพื้นฐานที่เปิดให้ประชาชนมีส่วนร่วมและเปิดข้อมูลเพื่อความโปร่งใส อันเป็นรากฐานอันสำคัญของการต่อสู้กับคอร์รัปชั่นที่ยั่งยืน
กรอบแนวคิดสมการคอร์รัปชั่นของ ศาสตราจารย์โรเบิร์ต คลิตการ์ด ชี้ให้เห็นว่า ปัญหาการทุจริตคอร์รัปชั่นนั้นจะเพิ่มขึ้นหากระบบเศรษฐกิจมีการผูกขาด และมีการใช้ดุลยพินิจสูง ในทางตรงกันข้าม ปัญหาการทุจริตคอร์รัปชั่นจะลดลงหากสังคมมีกลไกความรับผิดชอบที่ดี
หนังสือเล่มนี้ จะชวนผู้อ่านให้เข้าใจปัญหาคอร์รัปชั่นในบริบทของสังคมไทย พร้อมทั้งชวนหาวิธีแก้โจทย์เพื่อต่อสู้กับคอร์รัปชั่นในไทยได้อย่างยั่งยืน
-
การผูกขาด: สฤณี อาชวานันทกุล และ เดือนเด่น นิคมบริรักษ์
-
การใช้ดุลยพินิจ: ธานี ชัยวัฒน์ และ นิพนธ์ พัวพงศกร
-
กลไกความรับผิดชอบ: นวลน้อย ตรีรัตน์, มานะ นิมิตรมงคล, ดาวัลย์ จันทรหัสดี, บุญยืน ศิริธรรม และ อธิคม คุณาวุฒิ
-
การเมืองแบบเปิด: สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ และ ผาสุก พงษ์ไพจิตร