tdri logo
tdri logo
4 ธันวาคม 2018
Read in Minutes

Views

ขั้นตอนการทำผลตัวชี้วัด SCI

ขั้นตอนการดำเนินงานจัดทำตัวชี้วัด SCI

เริ่มจากการศึกษาแนวคิดศาสตร์พระราชาในภาพรวมและองค์ประกอบ ทบทวนงานวิจัยที่เกี่ยวข้องทั้งในส่วนของระบบดัชนีวัดการพัฒนาระดับสากล เช่น SDGs, World Happiness Index, Bhutan’s GNH หรือทบทวนตัวชี้วัดที่เกี่ยวข้องของไทย เช่น NESDB’s HAI  การสำรวจโดยกรมสุขภาพจิต จปฐ.  กชช 2ค รวมไปถึงการศึกษาโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ และต่อมาจึงเริ่มพัฒนากรอบแนวคิด SCI พัฒนาแบบสอบถาม สำรวจทั่วประเทศ และจัดสร้างตัวชี้วัด SCI และศึกษาความเชื่อมโยงศาสตร์พระราชากับผลลัพธ์การพัฒนา

การเก็บข้อมูล
รวบรวมข้อมูลครัวเรือนและส่วนบุคคล จากตัวอย่างทั้งนอกเขตและในเขตเทศบาล ทั่วประเทศ จำนวน 5672 EA รวม 85,080 ครัวเรือน ในระหว่างวันที่ 27 เมษายน –  15 กรกฎาคม 2561 ด้วยวิธีการตอบแบบสอบถาม โดยข้อมูลที่เก็บรวบรวมมีดังนี้

  • ข้อมูลทั่วไปของสมาชิกในครัวเรือน และสุขภาพ
  • ลักษณะทั่วไปของครัวเรือน
  • รายได้ ค่าใช้จ่าย หนี้สินและการออมของครัวเรือน
  • พฤติกรรมการดำเนินชีวิตของครัวเรือน
  • ความเห็นเกี่ยวกับคนในหมู่บ้าน/ชุมชน/ละแวกบ้าน
  • ความเหลื่อมล้ำและสิ่งแวดล้อม
  • ความสุขและความพึงพอใจในชีวิต

ข้อถามเพื่อคำนวณ SCI-S4S sub-indicators

  • ความพอประมาณ
    ครัวเรือนวางแผนการใช้จ่ายรายเดือน
    ซื้อของเพราะจำเป็นต้องใช้
    ไม่ซื้อของตามๆ กันจนเกินกำลัง
    ไม่มีหนี้ หรือมีหนี้น้อยเทียบกับรายได้
    ไม่ผ่อนหนี้จนกินอยู่ลำบาก
    คนในหมู่บ้านไม่เป็นคนโลภมาก
  • ความเพียร
    ตั้งใจทำอะไร จะทำจนสำเร็จ แม้พบอุปสรรค
    รอบคอบ ระมัดระวัง
    ก่อนทำอะไร จะศึกษา อย่างรอบคอบ
    เวลาลงทุนจะเริ่มจากน้อยๆ ก่อน
  • รอบคอบ ระมัดระวัง
    ก่อนทำอะไร จะศึกษาอย่างรอบคอบ
    เวลาลงทุนจะเริ่มจากน้อยๆ ก่อน
  •  ความซื่อสัตย์
    เปิดประตูบ้านทิ้งไว้ ของไม่หาย
    ของหายในหมู่บ้านจะได้คืน
    กระเป๋าเงินหายจะได้คืน
    เลือกคนไม่โกง
    ไม่เลือกเพราะได้ประโยชน์ส่วนตน
    ไม่ใช้เส้นสายเพื่อประโยชน์ส่วนตน
  • มีเหตุผล
    คนในหมู่บ้านแก้ปัญหาโดยพูดคุยกัน ไม่ใช้อารมณ์
  • ความรอบรู้
    ติดตามข่าวสารสม่ำเสมอ
    หาความรู้จากช่องทางต่างๆ
    ในหมู่บ้านมีปราชญ์ชาวบ้าน
    คนในชุมชนมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน
  • มีภูมิคุ้มกัน
    มีเงินออม
    หารายได้หลายแหล่ง ป้องกันความไม่แน่นอน
    หาเงินฉุกเฉิน 10,000 บาทได้
    จัดการกับวิกฤติที่เคยเกิดขี้นได้ดี
  • แบ่งปัน ช่วยเหลือ
    คนในหมู่บ้านมักช่วยผู้อื่นเมื่อมีปัญหา
    มีการลงแขก เอาแรง
    สามารถฝากเพื่อนบ้านช่วยดูแลเด็กเมื่อไม่อยู่
    ให้ความช่วยเหลือผู้อื่น
  • สามัคคี
    คนในชุมชนไม่แบ่งพรรคแบ่งพวก
    คนในชุมชนรู้สึกใกล้ชิดกัน
  • รักษาสิ่งแวดล้อม
    พฤติกรรมรักษาสิ่งแวดล้อม (ลดการใช้ถุงพลาสติก)
    ร่วมกิจกรรมอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
    ดูแลแหล่งน้ำ
    แยกขยะ กำจัดขยะอย่างถูกวิธี
  • ระเบิดจากภายใน
    แผนชุมชนตรงความต้องการคนในหมู่บ้าน
    คนในหมู่บ้านรู้สึกเป็นเจ้าของโครงการ
    คนในหมู่บ้านร่วมมือทำโครงการเพื่อส่วนรวม
  • มีจิตสาธารณะ
    มีอาสาสมัครในโครงการพัฒนา
  • พึ่งตนเอง
    หมู่บ้านประชุมร่วมเพื่อแก้ปัญหาส่วนรวม
    คนในครอบครัวเข้าร่วมการประชุมดังกล่าว
    ปกติหมู่บ้านจะไม่ขอความช่วยเหลือจากข้างนอก
  • ความเป็นผู้นำ
    ระดับความเป็นผู้นำของผู้นำชุมชน
    จำนวนคนหนุ่มสาวกลับมาพัฒนาชุมชน
  • นวัตกรรมชุมชน
    มีการส่งเสริมอาชีพใหม่ๆ
    มีการคิดค้นวิธีการใหม่ๆ

ข้อถามเพื่อคำนวณ SCI-OC sub-indicators

  • ความสุข ความพอใจ
    ระดับความสุข
    ความพึงพอใจในชีวิต
    รู้สึกสบายใจ
    รู้สึกภูมิใจในตนเอง
  • หลุดพ้นจากความยากจน
    สัดส่วนคนไม่จนด้านรายได้ และด้านรายจ่าย
    กินอิ่มทุกมื้อ
  • สุขภาพ
    มีสุขภาพโดยรวมที่ดี
    เข้าถึงการรักษาพยาบาลได้ดี
    มึความสามารถช่วยตัวเองได้เต็มที่
    พักผ่อนเพียงพอ
  • การศึกษา
    จบการศึกษาสูง
    สมาชิกอายุ 15-45 มีโอกาสเรียนถึงมัธยมต้น/ปลาย
    เด็กเล็กมีโอกาสเข้าศูนย์เด็กเล็ก
  • การมีงานทำ
    มีงานทำ
  • รายได้ รายจ่าย เพียงพอ
    รายได้ครอบครัวสูงกว่าเส้นความยากจน 5 เท่า
    รายจ่ายครอบครัวสูงกว่าเส้นความยากจน 5 เท่า
  • สภาพความเป็นอยู่
    ความเป็นอยู่ดี (เป็นเจ้าของบ้านมั่นคง กว้างขวางเพียงพอ ไม่แออัด กันแดดกันฝนได้ดี มีไฟฟ้าใช้และมีส้วมที่ดี มีน้ำดื่มน้ำใช้)
  • ทรัพย์สิน
    มีทรัพย์สินเพียงพอ
  • ความเท่าเทียม
    ผลต่างสัดส่วนคนรวยกับสัดส่วนคนจนในหมู่บ้าน
    ความรู้สึกของช่องว่างคนรวยคนจน
  • ทุนทางสิ่งแวดล้อม
    สภาพสิ่งแวดล้อมในด้านต่างๆ (ป่า น้ำ ดิน เสียง อากาศ)
  • ทุนทางสังคม
    การเป็นสมาชิกกลุ่มต่างๆ ในชุมชน

แบบสอบถามการสํารวจคุณภาพชีวิตของประชาชนอย่างยั่งยืนตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง พ.ศ. 2561

Download (PDF, 177KB)

ขั้นแรก แปลงคำตอบในแบบสอบถามให้มีคะแนนระหว่าง 0 ถึง 100 โดยข้อถามที่จะใช้เพื่อสร้าง SCI-S4S นั้นคะแนนเต็ม 100 หมายถึงปฏิบัติตามศาสตร์พระราชาเต็มที่ ส่วนข้อถามที่จะใช้สร้าง SCI-OC นั้นคะแนนเต็ม 100 หมายถึงมีผลลัพธ์การพัฒนาดีที่สุด

ตัวอย่างเช่นการให้คะแนนคำตอบของข้อถาม “คนในหมู่บ้านรู้สึกอย่างไรต่อกัน?” เป็นดังนี้

  • ห่างเหินกันมาก คะแนน 0
  • ห่างเหินกัน คะแนน 25
  • กลางๆ  คะแนน 50
  • ใกล้ชิดกันพอสมควร  คะแนน 75
  • ใกล้ชิดกันมาก  คะแนน 100

ขั้นตอนที่สอง เป็นการจัดกลุ่มข้อถามให้เป็นมิติย่อยของ SCI-OC หรือ SCI-S4S  โดยแต่ละมิติย่อยจะมีข้อถามหนึ่งข้อหรือมากกว่า ค่าเฉลี่ยของคะแนนของคำตอบจะเป็นคะแนนของมิติย่อยนั้น ๆ

ขั้นตอนที่สาม คือการคำนวณค่า SCI-OC และ SCI-S4S  โดยคำนวณจากค่าเฉลี่ยของคะแนนแต่ละมิติอีกชั้นหนึ่ง

ระบบตัวชี้วัด SCI ทั้งส่วนที่เป็น outcome และส่วนที่เป็น S4S สามารถแสดงผลแยกเป็นมิติย่อยต่างๆ  และยังสามารถแสดงเป็นตัวชี้วัดรวม (composite indicators)  ซึ่งเป็นค่าเฉลี่ยแบบไม่ถ่วงน้ำหนักของค่ามิติย่อยต่างๆ นั่นเอง  composite indicators นี้มีค่าเดียวสำหรับแต่ละหมู่บ้าน และสามารถนำผลแต่ละหมู่บ้านมาประมวลเป็นค่าดัชนี SCI จังหวัด ภาค หรือของประเทศได้

นักวิจัย

แชร์บทความนี้

เรื่องที่คุณอาจสนใจ

ดูทั้งหมด