tdri logo
tdri logo
18 มกราคม 2019
Read in Minutes

Views

หัวใจสำคัญของการพัฒนาการเกษตรคือ ‘งานวิจัย’

วิศาล บุปผเวส
          ขนิษฐา ปะกินำหัง

การพัฒนาการเกษตร เป็นเงื่อนไข จำเป็นและเป็นองค์ประกอบสำคัญ ของการก้าวไปสู่ประเทศไทย 4.0 การเกษตร เป็นแหล่งทรัพยากรอาหาร ยา วัตถุดิบ สำหรับอุตสาหกรรมนานาชนิด เป็นทรัพยากร หมุนเวียนที่อาจใช้ทดแทนทรัพยากรบางชนิด ที่นับวันจะหมดสิ้นไป และสามารถพัฒนา ผลผลิตให้มีคุณภาพ คุณสมบัติที่เหมาะสม และเพิ่มปริมาณให้เพียงพอต่อความต้องการ ของมนุษยชาติ การพัฒนาด้านการเกษตร จึงเป็นการพัฒนาที่ยั่งยืนทั้งในระดับ ประเทศและระดับโลก อย่างไรก็ดี การจะ พัฒนาการเกษตรจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมี งานวิจัยที่มีประสิทธิผลและมากเพียงพอ ในการสร้างองค์ความรู้ใหม่ เทคโนโลยี และนวัตกรรมทางการเกษตรงานวิจัยด้านการเกษตรจะช่วยลด ต้นทุนการผลิต เพิ่มผลิตภาพการผลิต พัฒนาคุณภาพผลผลิต สร้างผลิตภัณฑ์ ที่แตกต่างสนองความต้องการที่หลากหลาย สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าเกษตร

ประเทศพัฒนาแล้ว เช่น สิงคโปร์ ออสเตรเลีย ฝรั่งเศส สหรัฐอเมริกา เยอรมนี ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ มีการลงทุนด้าน การวิจัยสูงมากถึง 2-4% ของ GDP ส่วน ประเทศสมาชิกอาเซียนอย่างอินโดนีเซีย และมาเลเซีย ลงทุนด้านการวิจัยที่ 0.89% และ 1.08% ของ GDP ในขณะที่ประเทศไทย ลงทุนด้านการวิจัยค่อนข้างน้อยต่ำกว่า 0.5% ของ GDP  ซึ่งในจำนวนนี้จัดสรรสำหรับ การวิจัยด้านการเกษตรเพียง 1 ใน 5 เท่านั้น ในด้านการพัฒนาบุคลากรด้านการวิจัย ประเทศไทยมีสัดส่วนนักวิจัยเพียง 0.8 คน ต่อประชากร 1,000 คน ซึ่งต่ำกว่ามาเลเซีย ที่มีอัตราส่วน 1.97 คนต่อประชากร 1,000 คน ในจำนวนนักวิจัยทั้งหมดของประเทศไทย เป็นนักวิจัยด้านการเกษตรไม่เกิน 8% เพื่อก้าวไปสู่ประเทศไทย 4.0 จำเป็นอย่างยิ่ง ที่จะต้องลงทุนวิจัยและพัฒนาการเกษตร และบุคลากรวิจัยการเกษตร

ประเทศไทยมีหน่วยงานให้ทุนวิจัย และพัฒนาบุคลากรวิจัยอยู่หลายองค์กร องค์กรหลักในการให้ทุนวิจัยและบริหาร จัดการโครงการวิจัยด้านการเกษตร ที่สำคัญของประเทศ คือ สำนักงานพัฒนา การวิจัยการเกษตร (สวก.) ซึ่งเป็นองค์การ มหาชนภายใต้กำกับของกระทรวงเกษตร และสหกรณ์ เริ่มดำเนินงานมาตั้งแต่ปี 2546 มีพันธกิจสำคัญในการส่งเสริม สนับสนุน และพัฒนาการวิจัยการเกษตร พัฒนา บุคลากรวิจัยด้านการเกษตร และพัฒนา และเผยแพร่ข้อมูลสารสนเทศด้านการเกษตร  สวก. ได้ดำเนินงานตามพันธกิจขององค์กรอย่างเต็มที่มาไม่น้อยกว่า 15 ปี จากเงินกองทุน แรกเริ่มก่อตั้งสำนักงาน

ในระยะแรกเริ่ม สวก. เน้นสนับสนุน ทุนโครงการวิจัยการเกษตรเชิงพาณิชย์  โดยพิจารณาให้ทุนโครงการวิจัยที่เห็นว่า มีศักยภาพที่จะได้รับการจดทรัพย์สิน ทางปัญญาเพื่อนำไปต่อยอดเป็นผลิตภัณฑ์ ออกจำหน่ายสู่ท้องตลาดได้ และ สวก. จะมี รายได้จากการขายสิทธิทรัพย์สินทางปัญญา เหล่านั้น

อย่างไรก็ดี ต้องใช้เวลายาวนาน กว่าจะได้รับผลตอบแทนด้านการเงิน ซึ่งมีมูลค่าไม่มากนักเมื่อเทียบกับมูลค่า ทุนวิจัยที่ สวก. มีพันธกิจจะต้องสนับสนุน อีกมาก จึงเกิดคำถามว่าการหวังผล ตอบแทนจากทรัพย์สินทางปัญญามาเป็น ทุนสนับสนุนการวิจัยต่อไปเป็นวิธีการ ระดมทุนที่เหมาะสมและเพียงพอสำหรับ สวก. หรือสำหรับประเทศไทยหรือไม่ หรือควร พิจารณาให้ความสำคัญกับการเผยแพร่ ผลงานวิจัยให้มีการนำไปใช้และก่อประโยชน์ ต่อสาธารณะหรือต่อประชาชนชาวไทย อย่างกว้างขวางทั่วถึง ซึ่งจะเพิ่มมูลค่า เศรษฐกิจการเกษตรขึ้นอีกมาก แทนการ ได้รับผลตอบแทนเป็นตัวเงินจากการ ขายสิทธิให้เอกชนบางรายเพื่อมาเป็นทุน หมุนเวียนสนับสนุนการวิจัยซึ่งยากที่จะ เพียงพอ ที่ผ่านมา สวก. ได้ปรับแนวทาง การสนับสนุนทุนวิจัยให้กับโครงการที่ก่อให้เกิด ผลกระทบด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม และ ส่งเสริมคุณภาพชีวิตเกษตรกรและผู้บริโภค ซึ่งเป็นงานวิจัยเชิงสาธารณะและนโยบายมากขึ้น

ประเทศไทยยังมีความต้องการงานวิจัย ทางการเกษตรที่ช่วยลดต้นทุนการผลิต การเพิ่มผลิตภาพ พัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์ พัฒนาเกษตรชีวภาพ เกษตรแม่นยำสูง เทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว และแนวทาง การปฏิบัติที่ดีทางการเกษตรในแต่ละเรื่อง เพื่อแก้ปัญหาด้านการเกษตร งานวิจัยด้าน การเกษตรต้องสามารถตอบโจทย์ปัญหาเหล่านี้ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ งานวิจัยด้านการเกษตร ที่ดีจะต้องสร้างประโยชน์ทางเศรษฐกิจ โดยรวมให้กับประเทศ พัฒนาคุณภาพชีวิต ของเกษตรกรและผู้บริโภค ขจัดปัญหา ความยากจน สร้างความเท่าเทียมด้านรายได้ และส่งเสริมการพัฒนาที่ยั่งยืนให้กับประเทศ นโยบายด้านการเกษตรมีความสำคัญ อย่างยิ่ง ปัจจุบันนโยบายด้านการเกษตร ของประเทศไทยมุ่งแก้ไขปัญหาสินค้าเกษตร เป็นรายสินค้า บ่อยครั้งที่เป็นการแก้ไขปัญหา เฉพาะหน้าเฉพาะจุดที่ปลายเหตุมากกว่าที่จะ เน้นแก้ที่ต้นเหตุ เช่น มาตรการแทรกแซงราคา สามารถบรรเทาปัญหาให้เบาบางลงชั่วขณะ ไม่ทั่วถึง และไม่ก่อเกิดประโยชน์ที่ยั่งยืน นโยบายด้านการเกษตรที่ดีต้องอาศัยการวิจัย เชิงลึกที่ครอบคลุม (Comprehensive) เพื่อเสริมสร้างขีดความสามารถในการแข่งขัน สร้างรายได้ และสร้างความเป็นอยู่ที่ดีแก่ เกษตรกรอย่างยั่งยืน พร้อมกับมีข้อเสนอแนะ เครื่องมือความช่วยเหลือเกษตรกรที่เหมาะสม

เมื่อปี พ.ศ. 2555 ได้มีการพัฒนาระบบ งานวิจัยในประเทศของหน่วยงานบริหาร จัดการงานวิจัย ที่เรียกว่า “เครือข่ายองค์กร บริหารงานวิจัยแห่งชาติ (คอบช.)” ขึ้น เพื่อบูรณาการความร่วมมือระหว่างหน่วยงาน ให้ทุนวิจัยของประเทศซึ่งจะทำให้ระบบ งานวิจัยมีเอกภาพเป็นไปในทิศทางเดียวกัน และลดความซ้ำซ้อน ซึ่ง สวก. ได้รับมอบหมาย ให้บริหารโครงการวิจัยมุ่งเป้าด้านการเกษตร ของประเทศในหลายกลุ่มสินค้า รัฐบาลควร พิจารณาอนุมัติทุนวิจัยรายปีให้แก่ คอบช. มากขึ้น และโดยเฉพาะอย่างยิ่งงบประมาณ ด้านการวิจัยการเกษตร

นอกจากนี้ ปัญหาการขาดแคลนนักวิจัย ยังเป็นปัญหาสำคัญของประเทศ ที่ผ่านมา สวก. ได้พัฒนาบุคลากรวิจัยด้านการเกษตร ด้วยการให้ทุนการศึกษาระดับปริญญาเอก ด้านการเกษตรโดยใช้ทุนจากกองทุนของ สวก. เอง แต่การเรียนระดับปริญญาเอก ต้องใช้งบประมาณสูงใช้เวลาเรียนนาน

ในขณะที่เงินกองทุน สวก. มีอยู่จำกัด จึงไม่สามารถให้ทุนการศึกษาแก่นักวิจัย ด้านการเกษตรได้ครอบคลุมครบถ้วน ในสาขาที่ขาดแคลนได้ รัฐบาลโดยสำนักงาน คณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) ควรจัดสรรอนุมัติทุนการศึกษาให้แก่ นักเรียนทุนระดับปริญญาโท-เอก ในด้าน การเกษตรให้มากขึ้น พร้อมประสาน ความร่วมมือ/ข้อมูลกับ สวก. ถึงจำนวนและ สาขาที่ต้องการพัฒนาบุคลากรวิจัยด้าน การเกษตร พร้อมทั้งสนับสนุนให้บุคลากร วิจัยเหล่านี้ได้ทำงานวิจัยการเกษตรใน สภาพแวดล้อมที่ส่งเสริมศักยภาพในการ ทำวิจัยได้ดีที่สุด

หมายเหตุ เผยแพร่ครั้งแรกใน กรุงเทพธุรกิจ: วาระทีดีอาร์ไอ เมื่อ 17 มกราคม 2562

นักวิจัย

แชร์บทความนี้

เรื่องที่คุณอาจสนใจ

ดูทั้งหมด