สวัสดิการเด็กเล็ก…
ทำไมต้องถ้วนหน้า
ระบบสวัสดิการ เป็นส่วนสำคัญที่ช่วยให้เกิดการคุ้มครองทางสังคม ซึ่งจะช่วยให้ประชาชนสามารถเข้าถึงปัจจัยที่จำเป็นต่อการดำรงชีพ และเข้าถึงโอกาสในการพัฒนาด้านต่างๆ เพื่อใช้ศักยภาพของตัวเองได้อย่างเต็มที่ เช่น ความช่วยเหลือจากความเจ็บป่วย ทุพพลภาพ ความช่วยเหลือเพื่อการดำรงชีพในวัยชรา การเข้าถึงปัจจัยต่างๆ ทั้งอาหาร การศึกษา ฯลฯ ในช่วงวัยเรียนและช่วงวัยเด็ก
แม้ที่ผ่านมาไทยพยายามสร้างระบบสวัสดิการถ้วนหน้าในหลายรูปแบบสำหรับทุกคนและทุกช่วงวัย เพราะ สวัสดิการถ้วนหน้า หมายถึง “สิทธิ” ที่เท่าเทียมกันที่ทุกคนจะได้รับการปกป้องคุ้มครองและพัฒนา ตามหลักการคุ้มครองทางสังคม แต่วัยเด็กเล็กซึ่งเป็นวัยที่สำคัญที่สุดและควรได้รับการลงทุนสวัสดิการทางสังคมมากที่สุด กลับมีสวัสดิการหรือการคุ้มครองทางสังคมเฉพาะกลุ่ม และยังไม่ถ้วนหน้า
ช่องว่างสวัสดิการ
ที่ไม่ถ้วนหน้า
ถ้าแบ่งชีวิตคนไทยตามช่วงอายุตั้งแต่เกิดจนสูงวัย รัฐพยายามจัดการสวัสดิการเพื่อตอบโจทย์ของแต่ละช่วงวัย และกว่า 10 ปีที่ผ่านมา ระบบสวัสดิการของไทยได้ตอบโจทย์ครอบคลุมอย่างถ้วนหน้าเกือบครบในทุกกลุ่มอายุแล้ว แต่สวัสดิการสำหรับกลุ่มเด็กเล็กยังไม่คลอบคลุมอย่างถ้วนหน้า
ที่ผ่านมา เด็กเล็กกลุ่มที่เข้าถึงสวัสดิการมีเพียงบุตรของผู้ประกันตนในระบบประกันสังคม ซึ่งจะได้รับเงินสงเคราะห์บุตรเดือนละ 600 บาทต่อบุตร 1 คน แต่ไม่เกิน 3 คน จนถึงอายุ 6 ปี (ช่วงเริ่มต้นโครงการ 400 บาท/เดือน)
จนกระทั่งปี 2558 รัฐบาลประกาศให้มีสวัสดิการเงินอุดหนุนสำหรับเด็กแรกเกิด เฉพาะเด็กในครัวเรือนยากจน หรือครัวเรือนที่เสี่ยงต่อความยากจน โดยรัฐจะจ่ายเงินให้กับผู้เลี้ยงดูเด็กอย่างสม่ำเสมอเป็นรายเดือน เงื่อนไขมีกำหนด คือ รายได้ผู้ได้รับสิทธิ์ต้องเป็นผู้เลี้ยงดูที่มีรายได้ไม่เกิน 32,000 บาทต่อคนต่อปี และปัจจุบัน (มีนาคม 62) รัฐบาลขยายเพิ่มจากเดิมอายุไม่เกิน 3 ปีเป็น 6 ปี โดยขยายฐานรายได้เป็นไม่เกิน 100,000 บาทต่อคนต่อปี
ทำให้สวัสดิการสำหรับเด็กเล็ก จึงไม่ได้มีให้อย่างถ้วนหน้า
ระบบสวัสดิการสำหรับแต่ละช่วงอายุ
0-6 ปี
เงินสงเคราะห์บุตรประกันสังคม 600 บาท/เดือน
หลักเกณฑ์
บุตรของผู้ประกันตนตั้งแต่แรกเกิดจนถึงอายุ 6 ปี จำนวนไม่เกิน 3 คน จะได้รับเงินสงเคราะห์บุตรเงินละ 600 บาทต่อคน
เงินอุดหนุนเลี้ยงดูเด็กแรกเกิด 600 บาท/เดือน แบบเฉพาะกลุ่มคนจน
หลักเกณฑ์
1. สำหรับเด็กในครอบครัวยากจน หรือ เสี่ยงต่อความยากจน คือ ครัวเรือนที่สมาชิกในครอบครัว มีรายได้เฉลี่ยต่ำกว่า 100,000 บาทต่อคนต่อปี
7-18 ปี
เรียนฟรีถ้วนหน้า 15 ปี
19-59 ปี
ประกันสังคม และความช่วยเหลือด้านอื่น เช่น สวัสดิการสุขภาพ
60 ปี
แรงงานในระบบ
บำเหน็จบำนาญชราภาพ
แรงงานนอกระบบ
เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ 600-1,000 บาท /เดือน
“การลงทุนในเด็กปฐมวัยเป็นการลงทุนที่คุ้มค่า
และให้ผลตอบแทนกับสังคมดีที่สุดในระยะยาว
โดยให้ผลตอบแทนกลับคืนมาในอนาคต 7-12 เท่า”
James J. Heckman, PhD
นักเศรษฐศาสตร์รางวัลโนเบล 2542
เมื่อวัยเด็กสำคัญที่สุด
ช่วงปฐมวัย หรือ 5 ขวบแรกของชีวิต เป็นช่วงโอกาสทองของมนุษย์ เพราะร่างกายและสมองจะเติบโตได้อย่างรวดเร็ว หากได้รับการดูแลอย่างเหมาะสมตามช่วงวัย ก็จะมีทักษะทางกายภาพ ความฉลาดทางสติปัญญา และความฉลาดทางอารมณ์ มีโอกาสประสบความสำเร็จด้านการศึกษา อาชีพการงาน เติบโตขึ้นเป็นผู้ใหญ่และเป็นพ่อแม่ที่ดีในอนาคต และมีผลต่อลูกหลานในรุ่นต่อๆ ไป
แต่สภาวะเศรษฐกิจปัจจุบันทำให้พ่อและแม่ต้องออกไปทำงาน จึงต้องมอบภาระการเลี้ยงดูไว้กับญาติหรือพี่เลี้ยง ซึ่งงานวิจัยพบว่า การที่เด็กไม่ได้อยู่กับพ่อแม่จะมีผลต่อการพัฒนาการด้านภาษา หรืออาจจะส่งผลต่อระดับการศึกษาของเด็กได้
โดยเฉพาะในไทยที่แรงงานส่วนใหญ่เป็นแรงงานนอกระบบประกันสังคม ซึ่งรายได้ค่อนข้างผันผวน ไม่มีความมั่นคงด้านรายได้ จึงควรได้รับความคุ้มครองความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต
สวัสดิการเด็ก ผลไม่เล็ก
ได้สองเด้ง ช่วยเด็กเล็ก
เสริมสร้างบทบาทสตรีในครอบครัว
ภาวะโภชนาการดี
เด็กที่ได้รับเงินอุดหนุนมีภาวะโภชนาการดีกว่า คือ ได้รับอาหารการกินที่ดีกว่าเด็กที่ไม่ได้รับเงิน มีน้ำหนัก ส่วนสูงดีกว่า รวมทั้งโภชนาการของเด็กคนอื่นๆ ในครัวเรือนก็ดีขึ้นด้วย
เข้าถึงบริการสุขภาพ
เด็กที่ได้รับเงินอุดหนุนสามารถเข้าถึงบริการสุขภาพได้มากกว่าเด็กที่ไม่ได้รับเงิน เช่น มีเงินเป็นค่าเดินทางไปพบแพทย์หรือเข้ารับการฉีดวัคซีนตามนัดได้มากขึ้น
สตรีมีโอกาสตัดสินใจทางการเงินในครอบครัวมากขึ้น
ช่วยเพิ่มความเข้มแข็งและความมั่นคงทางจิตใจให้กับผู้หญิง จากการได้รับเงินอุดหนุนฯ เป็นประจำ ทำให้ผู้หญิงมีอำนาจในการตัดสินใจใช้จ่ายเงินที่ได้รับมาเพื่อจัดหาอาหารและสิ่งของที่จำเป็นได้
แม่สุขภาพดี มีโอกาสให้นมลูกมากขึ้น
การได้รับเงินอุดหนุนเป็นประจำ ช่วยให้แม่มีเวลาอยู่กับลูกและมีเวลาให้นม ส่งผลถึงสุขภาพจิตใจ การที่แม่ไม่เครียด ทำให้สุขภาพดีมีน้ำนมมากขึ้น
ดี แต่ทำไม…ยังไม่ถ้วนหน้า
คนมักเชื่อว่า ให้สวัสดิการมาก คนจนจะไม่ทำงาน ?
แต่ความจริง คือ เงินสวัสดิการที่ให้เป็นจำนวนเงินที่ได้รับน้อยมาก ไม่สามารถชดเชยกับเงินที่จะได้จากการทำงาน แต่เป็นส่วนที่ช่วยเติมเต็มในส่วนที่ขาด เช่น เรื่องอาหารที่ไม่เพียงพอ ค่าเดินทางไปพบหมอ เป็นต้น
และมาตรฐานรายได้ขั้นต่ำของครัวเรือนในชนบทอยู่ที่ 5,399 บาทต่อคนต่อเดือน (จากผลการศึกษาโครงการนำร่องเพื่อกำหนดมาตรฐานรายได้ขั้นต่ำของประชากรไทย) ดังนั้นการให้เงินเพียง 600 บาท จึงไม่ถือเป็นจำนวนเงินที่มากพอจะทำให้คนจนรอแต่เงินสวัสดิการ และหยุดทำงาน
คนมักเชื่อว่า "ให้ของ" ดีกว่า "ให้เงิน" ?
การให้เงินทำให้ครอบครัวเลือกใช้จ่ายในเรื่องที่เป็นประโยชน์ต่อตัวเด็ก (และอาจรวมสมาชิกอื่นในครอบครัว เช่น พี่ๆ ของเด็กเล็ก) ได้อย่างเหมาะสมกว่า เพราะสามารถนำเงินไปจับจ่ายสินค้าและบริการที่ตรงความต้องการที่ต่างกันได้ ในขณะที่การให้ของ ไม่สามารถตอบโจทย์ของครอบครัวที่มีปัญหาแตกต่างกันได้ และยังเป็นการเพิ่มภาระการบริหารจัดการของรัฐ ซึ่งอาจจะนำไปสู่ปัญหาการคอร์รัปชันได้
คนมักเชื่อว่า เด็กรวยไม่สมควรได้เงิน ?
ต้องยอมรับว่ารายได้ภาษีของรัฐบาลมาจากกระเป๋าคนรวยมากกว่า (รวมถึงภาษีมูลค่าเพิ่มก็มาจากกระเป๋าคนรวยไม่น้อยกว่า 70-80%) มองได้ว่าเงินอุดหนุนเด็กเป็นการคืนเงินภาษีให้คนรวย เป็นสิ่งที่ทุกฝ่ายจะได้ประโยชน์ เพราะมีส่วนช่วยป้องกันการตกหล่นของเด็กยากจนด้วยเช่นกัน
คนมักเชื่อว่า คนจนเอาเงินไปกินเหล้า ซื้อหวย ?
ผลการศึกษาหลายฉบับพบว่า เงินส่วนใหญ่ถูกนำไปใช้ด้านอาหาร การศึกษา และการรักษาพยาบาล และมีจำนวนน้อยมากเพียง 1-2% ที่จะนำไปใช้ในทางที่ผิด ส่วนหนึ่งเพราะพ่อแม่ย่อมรักลูกและอยากใช้เงินเพื่อลูก โดยเฉพาะแม่ซึ่งเป็นผู้รับเงินอุดหนุนเป็นหลัก
คนมักคิดว่า แจกเฉพาะคนจน ได้เยอะกว่า ?
จริง แต่การนำเงินส่วนที่ต้องให้คนรวยที่ไม่ได้ต้องการเงินอุดหนุน มาสมทบให้กับคนจนเพื่อให้ได้เงินมากขึ้น แต่ก็เทียบไม่ได้เลยกับการที่ต้องมีเด็กยากจนคนใดคนหนึ่ง ‘ตกหล่น’ จากเงินอุดหนุน เพราะไม่ว่าจะมีกระบวนการคัดเลือกดีเพียงได้ ต้องพบการ ‘ตกหล่น’ เสมอ
‘ตกหล่น’
ปัญหาใหญ่ เมื่อ ‘ไม่ถ้วนหน้า’
มีเด็กยากจน
%
ตกหล่นจากการได้รับเงินอุดหนุน
ทำไมมีเด็กตกหล่น
ผลการศึกษาพบว่า ในเด็กยากจนทุก 100 คน จะมีเด็กไม่ได้รับเงินอุดหนุน 30 คน เพราะที่ผ่านมารัฐได้เริ่มนโยบายอุดหนุนเงินเด็กเล็ก โดยเลือกวิธีการให้เงินเฉพาะกลุ่มคนยากจน ซึ่งหมายถึงสมาชิกในครอบครัวต้องมีรายได้เฉลี่ยต่อหัวไม่เกิน 36,000 บาทต่อปี (ในช่วงที่ทำวิจัย) และต้องมีผู้รับรองและผ่านการอนุมัติการขอลงทะเบียน
ยิ่งกรองเข้ม ยิ่งตกหล่น
ยิ่งพยายามคัดกรองคนที่สมควรได้สวัสดิการเข้มงวดขึ้น (hard targeting) เพื่อลดจำนวน 30 % ที่ตกหล่น ยิ่งทำให้มีเด็กตกหล่นจากระบบคัดกรองมากขึ้น
รั่วไหล และ ตกหล่น
กระบวนการคัดกรองว่าครอบครัวใดจน ครอบครัวใดไม่จน ทำให้เด็กที่ไม่จนจริงได้รับสิทธิ์ ที่เรียกว่า รั่วไหล และ เกิดกรณี ‘เด็กยากจนตกหล่น’ เด็กในครอบครัวยากจนกลับถูกคัดออก โดยการตกหล่นนี้จะมีเสมอ
แก้ตกหล่นดีสุด
ต้องถ้วนหน้า
หลายประเทศใช้
สวัสดิการถ้วนหน้า
ประเทศอุดหนุนเงินเด็กเล็กแบบถ้วนหน้า
เทียบ GDP ไทย กับ 32 ประเทศที่อุดหนุนเงินเด็กเล็กแบบถ้วนหน้า
ในการใช้ระบบสวัสดิการแบบถ้วนหน้า มักมีข้อกังวลว่าจะต้องใช้งบประมาณมาก และอาจจะมีเพียงประเทศพัฒนาแล้วเท่านั้นที่ทำได้
แต่หากพิจารณาจาก 32 ประเทศข้างต้น จะเห็นว่าไทยเองถือเป็นประเทศที่มี GDP ในระดับกลางเมื่อเทียบกับ 32 ประเทศนี้
และยังมีหลายประเทศที่แม้ GDP ต่ำกว่าไทย ก็ใช้ระบบสวัสดิการเด็กเล็กถ้วนหน้าแล้วเช่นกัน
ความเป็นไปได้ของไทย
ใช้งบประมาณมาก?
การให้เงินแบบถ้วนหน้าสำหรับโครงการเงินอุดหนุนเด็กเล็ก งานวิจัยประเมินว่า ใช้เงินไม่เกิน 0.13% ของ GDP และแนวโน้มจะลดลงเรื่อยๆ ตามการเกิดที่น้อยลง และในปี 2572 จะใช้งบประมาณเพียง 0.1% ของ GDP
%
ของ GDP ปี 2572
%
ตกหล่นจากการได้รับเงินอุดหนุน
มีเพียงการให้ถ้วนหน้าเท่านั้นจึงจะทำให้อัตราการตกหล่นเหลือ
2-3% หรือกระทั่ง 0%
Learn More
คิดยกกำลัง2
การลงทุนเพื่อพัฒนาเด็กช่วงปฐมวัย ในทางเศรษฐศาสตร์มองว่าคุ้มค่าที่สุด เพราะจะได้ผลตอบแทนจากการลงทุนสูงกว่าในช่วงวัยอื่นๆ
ติดตามรายละเอียดและตัวอย่างการทดลอง พร้อมคำอธิบายเรื่องสมการพัฒนาคน เพื่อพัฒนาประเทศ ในคิดยกกำลังสอง ตอน “รอให้ถึงอนุบาล ก็สายเสียแล้ว” โดย ดร.สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ ออกอากาศทางไทยพีบีเอส เมื่อ 15 พ.ค. 2560
สามารถติดตามการวิเคราะห์สถานการณ์และนโยบายเพื่อการพัฒนาประเทศ กับ ทีดีอาร์ไอ โดย ดร.สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ ได้ทุกวันจันทร์ในรายการคิดยกกำลังสอง ทางสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส