‘ทุบ’ และ ‘คลาย’
ปราบการแพร่ระบาด Covid-19
มาตรการที่ต้องไม่ทุบธุรกิจและผู้คนไปด้วย
ภายใต้โครงการประเมินผลโควิด-19 ด้านสังคมและเศรษฐกิจ ทุนสนันสนุนจาก วช.
มาตรการควบคุมโรคระบาดของไทยได้ผลดี
รู้จัก “The Hammer and The Dance”
มาตรการทุบและคลายที่หลายประเทศใช้รับมือ Covid-19
แนวคิดโดย Tomas Pueyo
The Hammer หรือ “ทุบ”
คือ มาตรการเข้มข้นที่ใช้ควบคุมการแพร่ระบาดโรค เน้นการปิดเมืองเพื่อหยุดโรค แต่ละประเทศมีมาตรการแตกต่างกัน ตามความจำเป็นหรือเงื่อนไขทางเศรษฐกิจและสังคม
Hygine and Social Distancing
ปรับสุขอนามัยส่วนบุคคลและเพิ่มระยะห่างทางกายภาพ เช่น work from home เว้นระยะห่างระหว่างกัน 1-2 เมตร
Strategic Testing and Contact Tracing
ตรวจโรคและตามรอยผู้สัมผัสเชื้อ
Quarantine
จัดจุดตรวจอุณหภูมิในชุมชน จัดกลไกเพิ่มประสิทธิภาพการกักโรคที่บ้าน
Isolation
การแยกผู้ป่วยเพื่อป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อโรค
Reducing Community Density
ปิดสถานที่และงดกิจกรรม
ที่รวมตัวคนจำนวนมาก
travel ban
จำกัดการเดินทาง
ทั้งระหว่างประเทศและในประเทศ
Stay at Home
ห้ามออกนอกเคหะสถาน
ตามเวลาที่กำหนด
The Dance หรือ “คลาย”
คือ การคงมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดโรคที่จำเป็นบางส่วนไว้ และผ่อนคลายมาตรการบางส่วนลง เช่น ยังคงปิดสถานบันเทิง การแข่งขันกีฬา งานประชุม งานกิจกรรมทางสังคมต่างๆ แต่เริ่มเปิดสถานที่ราชการ โรงเรียน สวนสาธารณะ กิจกรรมทางเศรษฐกิจที่จำเป็น และสถานที่อื่นๆ ที่มั่นใจว่าจะควบคุมพฤติกรรมที่ไม่เป็นอันตรายต่อการแพร่กระจายโรค เพื่อให้ผู้คนในสังคมใช้ชีวิตได้อย่างปลอดภัยได้
คงมาตรการควบคุมบางส่วน
ผ่อนคลายธุรกิจและกิจกรรมจำเป็น
คลาย travel ban
ขอความร่วมมือ
เดินทางเท่าที่จำเป็น
คลาย Stay at Home
ขอร่วมมือให้อยู่บ้าน
ออกเมื่อมีกิจกรรมจำเป็น
บังคับการใช้หน้ากากอนามัยและเว้นระยะห่างในที่สาธารณะ
มีมาตรการสำหรับการทานอาหารในร้าน
เปิดตลาด
เว้นระยะห่างของร้าน
กำหนดวันให้อยู่บ้าน
หรือออกจากบ้าน
เปิดโรงเรียน
เพิ่มมาตรการ
รักษาสุขอนามัย
“คลาย” ไม่ดีพอ
ต้องกลับมา “ทุบ” ใหม่
การผ่อนคลายมาตรการต่างๆ ในการควบคุมการระบาด อาจทำให้สถานการณ์การระบาดของโรคเปลี่ยนพลิกได้ทุกเมื่อ ในบางแห่ง แม้ว่าจะดูเหมือนสามารถควบคุมได้แล้ว แต่ก็เกิดการระบาดระลอกใหม่ในเวลาอันรวดเร็ว จึงต้องมีการติดตามสัญญาณเตือนด้านระบาดวิทยาในแต่ละพื้นที่อย่างต่อเนื่อง และเมื่อมีสัญญาณเตือน อาจมีมาตรการ Circuit Breaker เพื่อกลับมาคุมเข้มด้วยมาตรการ “ทุบ” อีกครั้ง
ประเทศญี่ปุ่น
ช่วงแรกของการแพร่ระบาด Covid-19 ญี่ปุ่นจัดอยู่ในการกลุ่มที่สามารถควบคุมสถานการณ์ได้ดี แต่เมื่อไม่มีการบังคับใช้มาตรการเว้นระยะห่างทางสังคมที่เข้มงวด ส่งผลให้ญี่ปุ่นเริ่มมีผู้ติดเชื้อรายวันหลัก 100 ราย เป็นเวลาต่อเนื่องนับตั้งแต่วันที่ 2 เมษายน จนท้ายที่สุดรัฐบาลญี่ปุ่นต้องประกาศคำสั่งภาวะฉุกเฉินในโตเกียวและอีก 6 จังหวัดใหญ่ ทั้งที่เพิ่งประกาศก่อนหน้าไม่ถึงสองสัปดาห์ว่าไม่จำเป็น
มาตรการ Circuit Breaker
เมื่อมีสัญญาณเตือนอาจต้องพิจารณา “ทุบ” ใหม่
4 สัญญาณเตือนด้านระบาดวิทยา
ป้องกันการระบาดระลอกใหม่
จำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่
แบบทวีคูณอย่างต่อเนื่อง
จำนวนผู้ป่วยที่แพร่เชื้อ
ที่ซ่อนอยู่ในชุมชน
ประชาชน เริ่มกลับมาใช้
พฤติกรรมที่เสี่ยงมากขึ้น
จำนวนผู้ป่วยวิกฤตที่ต้องการ ICU มากเกินขีดความสามารถ
ในการดูแล
“มาตรการทุบและคลาย” (The Hammer and the Dance)
อาจต้องอยู่กับเราประมาณ 6 – 18 เดือน
มาตรการนี้ ส่งผลกระทบต่อการประกอบธุรกิจ
และการใช้ชีวิตของผู้คนอย่างรุนแรง
นอกจาก การจัดการด้านระบาดวิทยาแล้ว
รัฐต้องมองเห็น
“ผลกระทบที่ภาคธุรกิจและผู้คนกลุ่มที่เปราะบางกลุ่มต่างๆ ได้รับ”
ตามพื้นที่เพื่อวางแผนให้ความช่วยเหลือที่ตรงจุด
ตัวอย่างผลกระทบภาคธุรกิจ
การท่องเที่ยว
การท่องเที่ยว เป็นอุตสาหกรรมหลักที่ทำรายได้ให้ประเทศอย่างต่อเนื่อง นักท่องเที่ยวใช้จ่ายและช่วยให้เกิดผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) กว่า 2.1 ล้านล้านบาทต่อปี คิดเป็นร้อยละ 15.50 ของ GDP รวมทั้งประเทศ
เกี่ยวพันกับการจ้างงานกว่า 4.1 ล้านคน ซึ่งกระจายอยู่ไปตามแต่ละจังหวัด ที่มีระดับการพึ่งพาการท่องเที่ยวแตกต่างกัน
ในช่วงที่นักท่องเที่ยวไม่สามารถเดินทางได้ ทำให้หลายจังหวัดที่ยึดโยงรายได้ จากนักท่องเที่ยวขาดรายได้ และส่งผลต่อผู้คนหลายอาชีพที่เกี่ยวข้อง
ข้อมูล: รายได้จากผู้เยี่ยมเยือนชาวต่างชาติ กองเศรษฐกิจการท่องเที่ยวและกีฬา กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา
SMEs
ธุรกิจ SMEs หรือ วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม เป็นฐานรากที่สำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ มีมูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) ที่เกิดจาก SMEs ประมาณร้อยละ 41.1 ของ GDP ทั้งประเทศ
ปัจจุบัน มีธุรกิจ SMEs มากกว่า 2.7 ล้านราย เกี่ยวพันกับการจ้างงานถึง 80% ของการจ้างงานทั้งประเทศ
ข้อมูลจำนวนสถานประกอบการขนาดเล็ก
ที่มีจำนวนลูกจ้างไม่เกิน 15 คน
จาก สำมะโนอุตสาหกรรม พ.ศ. 2560
สำนักงานสถิติแห่งชาติ
ปุ่มกดแสดงผล เฉพาะกลุ่มจังหวัดที่มีรายงานผู้ป่วย Covid-19 ในช่วง 10 วันที่ผ่านมา (ข้อมูลจากแถลงสถานการณ์ ศบค.วันที่ 30 เมษายน 2563)
ผู้คนกลุ่มเปราะบางกลุ่มต่างๆ ที่ต้องได้รับการดูแล
ในสถานการณ์ปกติกลุ่มเปราะบางในสังคม มีมากมายหลายกลุ่มและแต่ละกลุ่มมีปัญหาที่ซับซ้อนแตกต่างกัน ที่สำคัญทุกกลุ่มล้วนเป็นกลุ่มที่ขาดหลักประกันพื้นฐานทางสังคม และเข้าไม่ถึงทรัพยากรอยู่แล้ว และยิ่งในช่วงเวลาที่มีมาตรการ “ทุบ” ยิ่งมีผลกระทบต่อการใช้ชีวิตมากยิ่งขึ้น และมักจะไม่ได้รับความช่วยเหลือ
แผนที่ข้อมูล
จำนวนคนยากจนรายจังหวัด
ข้อมูลจำนวนคนยากจน คิดจากรายจ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภคเฉลี่ยต่อคนต่อเดือน ต่ำกว่าเส้นความยากจน ข้อมูลจาก สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.)
ปุ่มกดแสดงผล เฉพาะกลุ่มจังหวัดที่มีรายงานผู้ป่วย Covid-19 ในช่วง 10 วันที่ผ่านมา (ข้อมูลจากแถลงสถานการณ์ ศบค. วันที่ 30 เมษายน 2563)
แผนที่ข้อมูล
จำนวนคนพิการรายจังหวัด
ข้อมูลจำนวนผู้พิการที่มีบัตรประจำตัว
จาก กรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ
ปุ่มกดแสดงผล เฉพาะกลุ่มจังหวัดที่มีรายงานผู้ป่วย Covid-19 ในช่วง 10 วันที่ผ่านมา (ข้อมูลจากแถลงสถานการณ์ ศบค. วันที่ 30 เมษายน 2563)
แผนที่ข้อมูล
จำนวนคนสูงอายุรายจังหวัด
ข้อมูลคนไทยที่มีอายุมากกว่า 60 ปึขึ้นไป
จาก กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย
ปุ่มกดแสดงผล เฉพาะกลุ่มจังหวัดที่มีรายงานผู้ป่วย Covid-19 ในช่วง 10 วันที่ผ่านมา (ข้อมูลจากแถลงสถานการณ์ ศบค. วันที่ 30 เมษายน 2563)
แผนที่ข้อมูล
จำนวนคนไร้บ้านรายจังหวัด
ข้อมูลคนไร้บ้านที่อยู่อาศัยในพื้นที่สาธารณะและศูนย์พักคนไร้บ้านแบบเปิดจาก โครงการสำรวจคนไร้บ้าน
ปุ่มกดแสดงผล เฉพาะกลุ่มจังหวัดที่มีรายงานผู้ป่วย Covid-19 ในช่วง 10 วันที่ผ่านมา (ข้อมูลจากแถลงสถานการณ์ ศบค. วันที่ 30 เมษายน 2563)
‘ทุบ และ คลาย’ ปราบการแพร่ระบาด Covid-19
มาตรการที่ต้องไม่ทุบธุรกิจและผู้คนไปด้วย
เป้าหมายของมาตรการ “ทุบ และ คลาย” คือ
การทำให้ประเทศไทยสามารถรับมือการระบาดโควิด-19 ได้
แต่มาตรการและนโยบายดังกล่าว
สร้างแรงสั่นสะเทือนในแต่ละพื้นที่จังหวัดและกลุ่มคนต่างๆ ในระดับที่ไม่เท่ากัน ซึ่งแม้พวกเขาจะรอดจากโควิด-19 แต่อาจไม่รอดจากมาตรการ”ทุบ และ คลาย”อย่างการปิดเมือง และปิดกิจการ
ชุดข้อมูลภาคธุรกิจและกลุ่มคนเปราะบางนี้ เผยให้เห็นธุรกิจและผู้คน ที่มีความเสี่ยงต่อการได้รับผลกระทบจากมาตรการซึ่งเป็นความท้าทายที่ภาครัฐต้องพิจารณาใช้มาตรการ “ทุบ และ คลาย” อย่างเหมาะสม
โดยยังมีทั้งธุรกิจและผู้คนอีกหลายส่วนที่รัฐต้องมองให้เห็นและตามหาให้เจอเพื่อให้ความช่วยเหลือทางเศรษฐกิจและสังคมต่อคนทุกกลุ่ม ลดผลกระทบจากมาตรการที่มุ่งควบคุมการแพร่ระบาดเป็นสำคัญ