สรุปมาตรการของภาครัฐที่ช่วยเหลือแรงงานในมิติความครอบคลุม

ข้อมูล ณ วันที่ 21 พฤษภาคม 25631 พบว่า ภาครัฐได้มีมาตรการออกมาช่วยเหลือประชาชนที่สำคัญ รวม 9 มาตรการ ได้แก่ 

1. มาตรการลดค่าน้ำ-ค่าไฟทุกบ้าน2  

2. มาตรการช่วยเหลือลูกหนี้ที่ได้รับผลกระทบจากปัญหาโควิด-193 

3. มาตรการดูแลผู้ที่ได้รับผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อม ระยะที่ 24 

4. มาตรการช่วยเหลือนักศึกษาฝ่าโควิด-195 

5. โครงการเราไม่ทิ้งกัน ช่วยเหลือกลุ่มแรงงานอิสระ 16 ล้านคน6 

6. มาตรการช่วยเหลือกลุ่มเปราะบาง ของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.)6 

7. โครงการเยียวยาเกษตรกร6 

8. โครงการพักหนี้เกษตรกร7 

และ 9. มาตรการช่วยเหลือตามสิทธิประกันสังคมที่ช่วยกลุ่มผู้ตกงาน 

ประเด็นสำคัญที่จะนำมาพิจารณาในบทความนี้ คือ มิติความครอบคลุมของโครงการ โดยหากพิจารณาแรงงานในระบบทั้งหมด จะสามารถแบ่งกลุ่มแรงงานออกได้ ดังนี้ 

1. กลุ่มในกำลังแรงงาน (ประมาณ 38.2 ล้านคน) แบ่งได้เป็น 

1.1 กลุ่มคนมีงานทำ ประมาณ 37.3 ล้านคน แยกเป็น  

1.1.1 แรงงานเกษตร 11.2 ล้านคน 

1.1.2 แรงงานนอกเกษตร 26 ล้านคน แบ่งเป็น 1.1.2.1 ทำงานในระบบ 17.1 ล้านคน (1.1.2.1.1 ราชการ 3.5 ล้านคน 1.1.2.1.2 เอกชน 13.6 ล้านคน) และ1.1.2.2 กลุ่มทำงานนอกระบบ 8.9 ล้านคน 

1.2 กลุ่มคนว่างงาน ประมาณ 3.9 แสนคน แยกเป็น 1.2.1 คนว่างงานใหม่ที่ไม่เคยทำงาน 2 แสนคน และ 1.2.2 กลุ่มที่เคยทำงานมาก่อน 1.9 แสนคน 

1.3 กลุ่มคนว่างงานรอฤดูกาล (ประมาณ 4.9 แสนคน) 

2. กลุ่มนอกกำลังแรงงาน (ประมาณ 18.5 ล้านคน) แบ่งได้เป็น 

2.1 ทำงานบ้าน 5.1 ล้านคน 

2.2 เรียนหนังสือ 4.5 ล้านคน 

2.3 เด็ก/ชรา/พิการ 6.9 ล้านคน 

2.4 อื่นๆ (เช่น พักผ่อน เกษียณอายุไม่ทำงาน) 1.9 ล้านคน 

นั่นคือ จากโครงสร้างประชากรไทยกระจายตามสภาวะการทำงาน จะได้กลุ่มย่อยรวม 11 กลุ่ม ดังนี้ 

1.1.1 แรงงานเกษตร 

1.1.2.1.1 แรงงานนอกเกษตร ในระบบที่เป็นราชการ 

1.1.2.1.2 แรงงานนอกเกษตร ในระบบที่เป็นเอกชน 

1.1.2.2 แรงงานนอกเกษตรที่ทำงานนอกระบบ 

1.2.1 กลุ่มผู้ว่างงานใหม่ 

1.2.2 กลุ่มผู้ตกงานและกำลังหางาน 

1.3 กลุ่มแรงงานว่างงานระหว่างรอคอยตามฤดูกาล 

2.1 กลุ่มทำงานบ้าน 

2.2 กลุ่มเรียนหนังสือ 

2.3 กลุ่มเด็ก/ชรา/พิการ 

2.4 กลุ่มนอกกำลังแรงงานอื่นๆ (เช่น พักผ่อน) 

ท้ายที่สุด เมื่อนำมาวิเคราะห์กับมาตรการช่วยเหลือแรงงานของภาครัฐทั้ง 9 มาตรการข้างต้น จะพบว่า มาตรการทั้ง 9 มีความครอบคลุมอย่างทั่วถึงกับแรงงานทุกกลุ่ม โดยกลุ่มที่ได้รับผลประโยชน์จากมาตรการมากที่สุด หากนับจำนวนมาตรการจะได้แก่ กลุ่มแรงงานว่างงานระหว่างรอคอยตามฤดูกาล (6 มาตรการ) แรงงานเกษตร (5 มาตรการ) กลุ่มผู้ตกงานและกำลังหางาน (5 มาตรการ) กลุ่มนอกกำลังแรงงานที่เป็นกลุ่มเด็ก/ชรา/พิการ และกลุ่มนอกกำลังแรงงานด้วยเหตุผลอื่นๆ (5 มาตรการ) 

บทเรียนที่สำคัญ ในการออกแบบมาตรการช่วยเหลือแรงงานสำหรับการรับมือวิกฤติการณ์ในอนาคต คือ การแยกแรงงานออกเป็นกลุ่มย่อยตามสถานการณ์ทำงาน และวางมาตรการที่ครอบคลุมให้กับแรงงานที่ได้รับผลกระทบจะช่วยให้ภาครัฐสามารถกำหนดลำดับความสำคัญของกลุ่มแรงงานที่ควรจะได้รับการช่วยเหลือได้ และทำให้ภาครัฐสามารถกำหนดมาตรการการช่วยเหลือแบบพุ่งเป้า ทำให้เกิดประสิทธิภาพและสามารถช่วยเหลือกลุ่มแรงงานเปราะบางอย่างพอเพียงต่อการเอาตัวรอดจากวิกฤติการณ์ในอนาคตได้ 

ตารางแสดงที่ 1: การวิเคราะห์ความครอบคลุมของ 9 มาตรการแยกตามกลุ่มแรงงานที่ได้รับความช่วยเหลือ 

กลุ่มแรงงาน/มาตรการ 
1.1.1 แรงงานเกษตร     
1.1.2.1.1 แรงงานนอกเกษตร ในระบบที่เป็นราชการ        
1.1.2.1.2 แรงงานนอกเกษตร ในระบบที่เป็นเอกชน        
1.1.2.2 แรงงานนอกเกษตรที่ทำงานนอกระบบ      
1.2.1 กลุ่มผู้ว่างงานใหม่        
1.2.2 กลุ่มผู้ตกงานและกำลังหางาน     
1.3 กลุ่มแรงงานว่างงานระหว่างรอคอยตามฤดูกาล    
2.1 กลุ่มทำงานบ้าน      
2.2 กลุ่มเรียนหนังสือ        
2.3 กลุ่มเด็ก/ชรา/พิการ     
2.4 กลุ่มนอกกำลังแรงงานอื่นๆ (เช่น พักผ่อน)     

ที่มา: วิเคราะห์โดยคณะผู้วิจัย โดยเครื่องหมาย ‘x’ คือ แรงงานกลุ่มดังกล่าวได้รับผลกระทบจากมาตรการช่วยเหลือในแต่ละมาตรการ 

ที่มา: รวบรวมโดยคณะผู้วิจัย 

บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของ
โครงการประเมินผลกระทบของโควิด-19 ต่อสังคมและเศรษฐกิจ
สนับสนุนโดย สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.)

เขียนโดย คณะวิจัย TDRI 


แหล่งข้อมูลอ้างอิง

1 รวบรวมโดยคณะผู้วิจัย 

2 https://workpointtoday.com/help-covid/ 

3 https://www.bot.or.th/covid19/Pages/content/retail/measures/default.aspx 

4 https://www.prachachat.net/finance/news-436861 

5 https://siamrath.co.th/n/161575 

6 https://thaipublica.org/2021/02/include-money-giveaway-measures-fight-covid-19/ 

7 https://money.kapook.com/view225294.html