tdri logo
tdri logo
28 สิงหาคม 2020
Read in Minutes

Views

ข้อเสนอทางออกให้กับเศรษฐกิจไทย: ตลาดนัดสี่มุมเมือง และ OTOP goes digital

จากสถานการณ์โควิด-19 ส่งผลให้มีคนว่างงาน/เสมือนว่างงานเป็นจำนวนมาก ทางออกหนึ่งคือการสร้างเศรษฐกิจหมุนเวียนในชุมชน โดยเฉพาะการทำมาค้าขายในกลุ่มชุมชน อันจะช่วยให้คนในชุมชนมีงานทำและสร้างรายได้ในช่วงวิกฤติ ส่งผลให้สามารถช่วยลดปัญหาทางเศรษฐกิจและสังคมได้ในระดับหนึ่ง 

รูปที่ 1: จำนวนและประเภทของตลาดนัดในประเทศไทย 

ที่มา: http://www.thaifranchisecenter.com/stats/market_stats.php 

จากการสำรวจ พบว่า ตลาดนัดแต่ละแห่งสามารถสร้างรายได้ในระดับ 10-50 ล้านบาทต่อปี ขณะที่ตลาดนัดในไทยที่ได้รับการรับรองมีจำนวน 1,730 แห่ง ดังนั้น หากมีการเพิ่มเติมอีกร้อยละ 2.45 หรือ 42 แห่ง จะช่วยสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจได้ 420-2,100 ล้านบาท (โดยมีสมมติฐานที่ประชากรมีอัตราการขยายตัว ร้อยละ 0.25 และภาครัฐมีการสนับสนุนการจัดงานแสดงสินค้า (Festival) อันจะช่วยให้การค้าขยายตัวได้ร้อยละ 2.2) และจากการสำรวจที่สำคัญ ยังพบว่า ร้อยละ 50 เป็นรายได้ที่สร้างให้กับคนในชุมชน 

ตารางที่ 1: สมมติฐานของการคำนวณ 

Factor Population GDP growth Festival Max 
Growth 0.25% -7.5% 2.2% 2.45% 

ที่มา: คณะผู้วิจัย 

นอกจากนี้ ภายใต้การค้าออนไลน์ จะช่วยให้การค้าขายขยายตัวเพิ่มขึ้นได้ แม้ในสถานการณ์ Lock down ตามมาตรการด้านสาธารณสุขของภาครัฐ โดยเฉพาะในส่วนการค้าสินค้า OTOP อันเป็นผลิตภัณฑ์ของชุมชน ที่โดยปกติแล้วจะเน้นการขายที่พ่วงกับการท่องเที่ยว แก่นักท่องเที่ยวที่มาเยี่ยมชมในชุมชนหรือในจังหวัด การขยายตัวของการค้าออนไลน์ ไม่เพียงแต่จะส่งผลให้ผู้มีกำลังซื้อทั่วประเทศได้เห็นสินค้าและสามารถจับจ่ายซื้อสินค้าได้อย่างสะดวกโดยไม่จำเป็นต้องเดินทางไปซื้อสินค้าด้วยตนเอง นอกจากนี้ ผู้มีกำลังซื้อต่างประเทศเองก็สามารถจับจ่ายได้ด้วยเช่นกัน อันจะช่วยให้เศรษฐกิจการค้าการผลิตในชุมชนเกิดการหมุนเวียนขึ้น และยังช่วยนำเงินตราต่างประเทศเข้าเป็นรายได้ได้มากขึ้น 

รูปที่ 2: การค้าสินค้า OTOP 

ที่มา: กรมพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย 

บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของ
โครงการประเมินผลกระทบของโควิด-19 ต่อสังคมและเศรษฐกิจ 
สนับสนุนโดย สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.)

คณะวิจัย TDRI 28 สิงหาคม 2563 

นักวิจัย

แชร์บทความนี้

เรื่องที่คุณอาจสนใจ

ดูทั้งหมด