ผลกระทบของโควิด-19 ต่อการจ้างงานผู้สูงอายุ

          กลุ่มผู้สูงอายุ นับเป็นกลุ่มเปราะบางทั้งในด้านเศรษฐกิจและสังคม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ภายใต้สถานการณ์โควิด-19 ยิ่งส่งผลกระทบต่อผู้อายุอย่างมาก ทั้งทางตรงที่ส่งผลกระทบต่อการทำงานของผู้สูงอายุ และทางอ้อมที่ส่งผลกระทบต่อการทำงานของครอบครัววัยทำงาน ในที่นี้ จะมุ่งที่จะนำเสนอสถานการณ์ของผู้สูงอายุที่ได้รับผลกระทบที่เกิดขึ้นจากสถานการณ์โควิด-19 โดยตรง

          จากข้อมูลโดยมูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทยร่วมกับ วช. และ สสส. ในการศึกษาปัญหาการจ้างงานผู้สูงอายุที่เกิดขึ้นในช่วง Lock down ช่วงเดือนเมษายน 2563 พบว่า

  • จำนวนแรงงานผู้สูงอายุ (อายุ 60 ปีขึ้นไป) ที่มีงานทำลดลง มีจำนวน 110,063 คน
  • จำนวนแรงงานผู้สูงอายุ (อายุ 60 ปีขึ้นไป) ที่ถูกลดชั่วโมงการทำงาน มีจำนวน 254,744 คน
  • จำนวนแรงงานผู่สูงอายุ (อายุ 60 ปีขึ้นไป) ที่ไม่ตกงานแต่ไม่มีรายได้ มีจำนวน 241,656 คน

รูปที่ 1:จำนวนแรงงานจำแนกตามกลุ่มอายุ

ที่มา: มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทยร่วมกับ วช. และ สสส.

          จะเห็นได้ว่า มีผู้สูงอายุจำนวนมากกว่า 6 แสนคน ที่ได้รับผลกระทบด้านการทำงาน โดยตรงจากสถานการณ์โควิด-19 ซึ่งจากเดิมผู้สูงอายุที่ทำงานอาจหาเลี้ยงตนเองหรือสามารถช่วยแบ่งเบาภาระครอบครัวได้ แต่เมื่อสถานการณ์ทางเศรษฐกิจส่งผลกระทบต่อการจ้างงานขึ้น กลุ่มผู้สูงอายุจะเป็นกลุ่มแรกๆ ที่ถูกเลือกออกจากการทำงาน เนื่องจากมีแนวโน้มที่จะมี Productivity ต่ำกว่ากลุ่มแรงงานที่มีอายุน้อยกว่าเมื่อเทียบกับต้นทุนของธุรกิจ ขณะเดียวกัน ในด้านสังคม การที่ผู้สูงอายุไม่สามารถดูแลตนเองได้ทางเศรษฐกิจ ย่อมส่งผลกระทบต่อสถานการณ์ครัวเรือนที่เป็นอยู่ และอาจส่งผลกระทบเป็นปัญหาสังคมได้ในอนาคต จึงเป็นสถานการณ์ที่เสี่ยงที่หน่วยงานรัฐจำเป็นต้องรีบเข้ามาดูแล เพื่อไม่ให้ปัญหาดังกล่าวบานปลายขึ้น

บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของ
โครงการประเมินผลกระทบของโควิด-19 ต่อสังคมและเศรษฐกิจ
สนับสนุนโดย สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.)

เขียนโดย ผศ.ดร. ปิยะพรรณ ช่างวัฒนชัย และทีมวิจัย
25 กันยายน 2563