tdri logo
tdri logo
13 พฤศจิกายน 2020
Read in Minutes

Views

ประเมินมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ โครงการคนละครึ่ง และโครงการช็อปดีมีคืน

ภายใต้สถานการณ์โควิด-19 ที่ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจในวงกว้าง ทำให้ภาครัฐออกมาตรการเพื่อกระตุ้นการใช้จ่ายของประชาชนให้เงินมีการหมุนเวียนขึ้นในระบบเศรษฐกิจ ได้แก่ โครงการคนละครึ่ง และโครงการช็อปดีมีคืน โดยแต่ละโครงการมีเป้าหมายที่แตกต่างกัน

รูปที่ 1: รายละเอียดโครงการคนละครึ่งและช็อปดีมีคืน

ที่มา: กรุงเทพธุรกิจ

ใครได้รับประโยชน์

  • โครงการคนละครึ่ง: คนที่มีรายได้ในฐานภาษีร้อยละ 10 หรือต่ำกว่า
  • โครงการช็อปดีมีคืน: คนที่มีรายได้ในฐานภาษีมากกว่าร้อยละ 10

          จากข้อมูลกำลังแรงงาน 39 ล้านคน ยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาประมาณ 11 ล้านคน ในจำนวนนี้ร้อยละ 18 มีฐานภาษีมากกว่าหรือเท่ากับร้อยละ 10 (2 ล้านคน) แสดงว่า

  • การเข้าถึงโครงการคนละครึ่ง: 10/37 = 27% (จำกัด 10 ล้านสิทธิ สำหรับแรงงาน 37 ล้านคน)
  • การเข้าถึงโครงการช็อปดีมีคืน: 2/2 = 100% (ยื่นพร้อมกับการยื่นภาษีประจำปี)

โครงการคนละครึ่ง

  • ผู้ได้รับประโยชน์คือ ร้านค้า เกิด diversion effect คือ ย้ายจากร้านค้าที่ไม่เข้าร่วมโครงการมาเป็นร้านที่เข้าร่วมโครงการ
  • การกระตุ้นเศรษฐกิจเกิดขึ้นจากคนที่เข้าร่วมโครงการจะมีรายได้มากขึ้น จากค่าใช้จ่ายที่รัฐช่วยออกแทนครึ่งหนึ่ง เป็น second round effect ที่จะกระตุ้นเศรษฐกิจต่อได้
  • การตอบรับเต็มจำนวน คาดว่าจะมีเม็ดเงินรอบแรก 30,000 ล้านบาท (ครบสิทธิ) และมีการกระตุ้นต่อได้อีก 1.85 เท่า หรือเทียบเท่า 55,500 ล้านบาท

โครงการช็อปดีมีคืน

  • ผู้ได้รับประโยชน์คือ ผู้เข้าร่วมนโยบาย ซึ่งเป็นผู้ที่มีรายได้อยู่ในฐานภาษีสูงกว่าร้อยละ 10
  • การกระตุ้นเศรษฐกิจอาจจะไม่เกิดขึ้น เพราะเป็นรายจ่ายเดิมที่จะถูกใช้จ่ายอยู่แล้ว ในขณะที่คนที่มีฐานะจะไม่รู้สึกว่ามีรายได้เพิ่มขึ้นมากจนกระตุ้นการใช้จ่าย
  • การตอบรับคาดว่าจะสูงเช่นเดียวกัน เนื่องจากใช้ใบเสร็จจากรายได้ประจำได้โดยมีต้นทุนไม่มากนัก

ข้อคำนึงถึง

โครงการคนละครึ่ง

  • การขึ้นราคา โดยผู้ขายมองว่าสามารถขึ้นราคาได้โดยผู้ซื้อไม่ได้รับผลกระทบมาก เนื่องจากภาครัฐช่วยจ่ายครึ่งหนึ่งของราคาขาย
  • ภาครัฐจ่ายเงินช้าในช่วงสุดสัปดาห์ (โอนเงินให้เฉพาะวันทำการ)
  • ร้านค้าเข้าไม่ถึงเพราะไม่มีอินเตอร์เน็ต การเข้าไม่ถึงเทคโนโลยี (สมาร์ทโฟน) การมีร้านค้าหลายแห่ง (สาขา) ทำให้ไม่สามารถใช้ได้ทุกร้าน
  • การโกงตั้งร้านลวงไม่ได้ค้าขายจริง

โครงการช็อปดีมีคืน

  • กลุ่มเป้าหมายมีรายจ่ายที่ใช้ตามปกติอยู่แล้ว ซึ่งไม่ช่วยให้เกิดการใช้จ่ายใหม่
  • การให้ใบเสร็จแทนกัน ซึ่งไม่ช่วยให้เกิดการใช้จ่ายใหม่
  • การซื้อขายหุ้น กองทุน สามารถเข้าร่วมได้


บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของ
โครงการประเมินผลกระทบของโควิด-19 ต่อสังคมและเศรษฐกิจ
สนับสนุนโดย สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.)

เขียนโดย คณะวิจัย TDRI
13 พฤศจิกายน 2563

นักวิจัย

แชร์บทความนี้

เรื่องที่คุณอาจสนใจ

ดูทั้งหมด