ข้อเสนอทางออกให้กับเศรษฐกิจไทย: กรอบ Mckinsey

Mckinsey เป็นองค์กรให้คำปรึกษาที่มีชื่อเสียงในระดับโลก ได้นำเสนอกรอบแนวคิดในการแก้ไขปัญหาสำหรับอุตสาหกรรมยานยนต์ในช่วงที่เกิดปัญหาโควิด-19 ได้อย่างน่าสนใจ และคณะผู้วิจัยพิจารณาแล้วว่า หลักคิดสามารถที่จะถอดแบบมาใช้กับการออกแบบนโยบายเพื่อเป็นทางออกให้กับประเทศได้ โดยแบ่งเครื่องมือในการแก้ไขปัญหา ออกเป็น 5 มิติ[1] ประกอบไปด้วย

          1. Resolve หมายถึง การแก้ปัญหาเฉพาะหน้าเพื่อเอาตัวรอดในระยะสั้น

          2. Resilience หมายถึง การวางมาตรการเพื่อประคองตัวเอาตัวรอดให้ได้ในยามวิกฤติ หรือก็คือ หากประยุกต์ใช้กับสถานการณ์การระบาดของโควิด-19 ก็จะเน้นที่การอยู่รอดในช่วงโควิดระบาด

          3. Return หมายถึง กลยุทธ์ หรือ การดำเนินการที่จะปรับธุรกิจให้กลับคืนสู่สภาพเดิมก่อนเกิดวิกฤติ นั่นก็คือ การหาแนวทางในการพัฒนาธุรกิจให้ผลประกอบการกลับสู่ปกติ

          4. Reimagination หมายถึง การจินตนาการถึงโลกในอนาคตหลังวิกฤติว่ามีสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมอย่างไร และธุรกิจจะต้องปรับตัวอย่างไรเพื่อที่จะอยู่ได้ในอนาคต นั่นก็คือ การปรับตัวของธุรกิจเพื่อต่อสู่ในโลกหลังโควิด

          5. Reform หมายถึง การปฏิรูปปัญหาที่มีอยู่เดิม เป็นปัญหาที่เรื้อรังไม่ได้ถูกแก้ไขตั้งแต่ก่อนมีวิกฤติ ทำอย่างไรที่จะเกิดการแก้ไขปฏิรูป เพื่อให้ธุรกิจมีรากฐานไปสู่ความยั่งยืนในระยะยาวให้ได้


ที่มา

[1] ถอดบทเรียนจาก McKinsey (2020). “Coronavirus: Five Strategies for industrial and automotive companies.” Mckinsey & Company. March.

บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของ
โครงการประเมินผลกระทบของโควิด-19 ต่อสังคมและเศรษฐกิจ
สนับสนุนโดย สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.)

คณะวิจัย TDRI
13 พฤศจิกายน 2563