ข้อเสนอทางออกให้กับเศรษฐกิจไทย: บทความจากธนาคารแห่งประเทศไทย

นักวิจัยจากธนาคารแห่งประเทศไทย ได้ออกบทความเรื่อง ทรานส์ฟอร์มลงทุนไทยอย่างไร? ให้ออกจากดักแด้กลายเป็นเสือ[1] ซึ่งเป็นบทความที่เสนอทางออกให้กับเศรษฐกิจไทยในขณะนี้ได้อย่างน่าสนใจ โดยมีรายละเอียดโดยสรุป ดังนี้

          ประการแรก คือ ในภาพรวม ไทยจำเป็นต้องเพิ่มขนาดการลงทุนในประเทศ โดยในช่วง 20 ปีที่ผ่านมานั้น เศรษฐกิจไทยเติบโตในอัตราที่ลดลง ซึ่งสาเหตุหนึ่งมาจากการลงทุนที่ต่ำกว่าที่ควรจะเป็น การลงทุนในอนาคตของไทยต้องการการลงทุนเพิ่มขึ้นจากประมาณร้อยละ 23 ของ GDP ไปเป็นร้อยละ 27 ของ GDP ใน 15 ปีข้างหน้าถึงจะทำให้ประเทศพ้นกับดักประเทศรายได้ปานกลาง

รูปที่ 1: สัดส่วนการลงทุนต่อ GDP ของไทยเทียบกับประเทศในแต่ละกลุ่มรายได้

          ประการที่สอง คือ การลงทุนจะต้องตรงจุด โดยทางผู้เขียนได้เสนอ 5 กลุ่มที่สำคัญที่ควรจะต้องเร่งพัฒนา คือ

1. การลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัล

   – E-Government: รวมฐานข้อมูลภาครัฐ ธุรกิจสามารถติดต่อกับภาครัฐได้โดยสะดวก และ การช่วยเหลือประชาชนอย่างตรงจุด

   – App จับคู่ความต้องการแรงงานกับตำแหน่งงาน ลงลึกในระดับพื้นที่ (ตำบล/หมู่บ้าน) และ self-employed

   – ผลักดันให้ประชาชนและ SMEs สามารถเข้าถึง platform ซื้อขายของ online โดยมีต้นทุนที่ต่ำ

2. โครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคม ดำเนินการให้มีการเชื่อมโยงกันอย่างแท้จริงเพื่อลดต้นทุนการเดินทาง และเกิดขึ้นอย่างไม่ล่าช้า

3. โครงสร้างพื้นฐานเพื่อดูแลจัดการปัญหาสิ่งแวดล้อม ประกอบไปด้วย ปัญหาน้ำท่วม การจัดการขยะ การผลักดันรถยนต์ไฟฟ้า

4. การลดกฎระเบียบที่ไม่จำเป็น (Regulatory Guillotine)

5. ผลักดันการอัพเกรดเทคโนโลยีในภาคเกษตร เช่น Smart Farming, Robotics and Automation, Telemedicine

          ประการที่สาม ภาครัฐยังต้องมีการพัฒนาแรงงานโดยเฉพาะอย่างยิ่งการพัฒนาทักษะดิจิทัล

บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของ
โครงการประเมินผลกระทบของโควิด-19 ต่อสังคมและเศรษฐกิจ
สนับสนุนโดย สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.)

คณะวิจัย TDRI
27 พฤศจิกายน 2563


[1] https://www.bot.or.th/Thai/ResearchAndPublications/articles/Pages/Article_24Nov2020.aspx