tdri logo
tdri logo
15 ธันวาคม 2020
Read in Minutes

Views

ข้อเสนอทางออกให้กับเศรษฐกิจไทย: วิเคราะห์ข้อเสนอโครงการ Land Bridge

ข้อมูล ณ วันที่ 4 ตุลาคม 2563[1] กระทรวงคมนาคมมีแนวคิดที่จะพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน เชื่อมโยงระหว่างอ่าวไทยกับทะลอันดามัน ผ่านโครงการ Land Bridge

            โครงการ Land Bridge มีวัตถุประสงค์ เพื่อเชื่อมโยงเส้นทางผ่านของสินค้าที่ขนส่งทางเรือ ทำให้ไม่ต้องอ้อมไปผ่านที่ช่องแคบมะละกา ทำให้สามารถเชื่อมการขนส่งสินค้าระหว่างไทย อาเซียน จีน อินเดีย ตลอดจนเชื่อมโยงประเทศกลุ่มประเทศตะวันออกไกล เข้ากับกลุ่มประ เทศตะวันออกกลาง และสหภาพยุโรปให้สะดวกยิ่งขึ้น

            รูปแบบการพัฒนาสะพานเศรษฐกิจ ประกอบไปด้วยท่าเรือพาณิชย์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมบริเวณปลายทั้งสองด้านของฝั่งทะเล ในจังหวัดระนอง (ฝั่งทะเลอันดามัน) และ ในจังหวัดชุมพร (ฝั่งอ่าวไทย) โดยมีการพัฒนาระบบขนส่งสินค้าเพื่อเชื่อมโยงท่าเรือทั้งสองแห่งด้วย ทางรถไฟและทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง (มอเตอร์เวย์) คู่ขนานบนเส้นทางเดียวกัน เพื่อลดผลกระทบจากการเวนคืนที่ดินกับภาคประชาชน 

https://thaipublica.org/wp-content/uploads/2020/10/andaman-gulf.jpgที่มา: Thaipublicaคณะผู้วิจัยได้มีโอกาสสัมภาษณ์ ดร. ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ถึงความเหมาะสมของโครงการนี้ เนื่องจาก ดร. ชัชชาติ มีประสบการณ์ในการบริหารภาครัฐในกระทรวงคมนาคมมาก่อน และยังมีประสบการณ์การทำธุรกิจ และเคยมีแผนในการพัฒนาประเทศอย่างก้าวกระโดดโดยอาศัยโครงสร้างพื้นฐานภายใต้โครงการ Thailand 2020 ข้อมูลจากการสัมภาษณ์ พบว่า ข้อกังวลใจที่ทำให้การขนส่งขาดประสิทธิภาพก็คือ รูปแบบการขนส่งในภาคปฏิบัติจะมีความยุ่งยากและต้องเสียเวลาและค่าใช้จ่ายที่เกินความจำเป็น โดยการขนส่งข้าม Land Bridge จะต้องมีการขนสินค้าจากเรือขึ้นมาบนบก และเปลี่ยนจากบนบกมาเป็นบนรถไฟ ก่อนที่จะเดินทางจากรถไฟมาอีกฝั่ง และต้องขนถ่ายกลับอีกรอบเพื่อให้สินค้าลงเรืออีกครั้ง และที่สำคัญคือ ทำให้ต้องมีเรือทั้งสองฝั่ง ดังนั้น ในแง่การขนส่งแล้ว การเปลี่ยนรูปแบบการขนส่งขนาดนี้ จะขาดประสิทธิภาพเมื่อเทียบกับการขนส่งทางเรืออย่างเดียว

            ด้วยเหตุผลข้างต้น การจะสร้างโครงสร้างพื้นฐานเพื่อเชื่อมโยงเส้นทางเดินเรือให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น และก่อให้เกิดผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจสูงที่สุด ควรจะต้องมีการสร้างคลองเพื่อให้เรือสามารถข้ามผ่านได้โดยตรง จะมีความเหมาะสมกว่า โดยคณะผู้วิจัยมีความเห็นว่า โครงการที่เหมาะสม คือ โครงการคลองไทย ที่เสนอให้มีการขุดคลองเชื่อมระหว่างจังหวัดกระบี่และสงขลา ซึ่งจะช่วยย่นระยะเวลาได้มากกว่า เพราะไม่ต้องเปลี่ยนพาหนะ หากแต่อาจจะส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมที่สูงกว่าและต้องมีกลไกการชดเชยที่เหมาะสมกับผู้ที่ได้รับผลกระทบ แต่กระนั้นขนาดของเศรษฐกิจที่เพิ่มขึ้นและประโยชน์ที่เกิดขึ้นกับประเทศจะมีมูลค่าเพิ่มที่สูงกว่ามาก

ที่มา: เฟซบุ๊ค กลุ่ม Realist


[1] https://thaipublica.org/2020/10/govt-plans-corridor-connects-east-west-logistics/

บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของ
โครงการประเมินผลกระทบของโควิด-19 ต่อสังคมและเศรษฐกิจ 
สนับสนุนโดย สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.)

โดย คณะผู้วิจัย TDRI
15 ธันวาคม 2563

นักวิจัย

แชร์บทความนี้

เรื่องที่คุณอาจสนใจ

ดูทั้งหมด