วิเคราะห์ผลกระทบของโควิด-19 ต่อธุรกิจสปา ธุรกิจร้านตัดผม และแรงงานในระบบ

สืบเนื่องจากสถานการณ์โควิด-19 ส่งผลให้ภาครัฐออกนโยบาย Lockdown ขึ้น และธุรกิจกลุ่มแรกๆ ที่ได้รับผลกระทบจากการ Lockdownเสมอ คือ ธุรกิจสปาและการนวด และธุรกิจตัดแต่งผม ในที่นี้ จึงทำการศึกษาผลกระทบและการปรับตัวที่เกิดขึ้นของธุรกิจและแรงงานในธุรกิจสปาและการนวด และธุรกิจตัดแต่งผม

ภาพรวมลูกจ้างแรงงาน

            จากข้อมูลการสำรวจภาวะการทำงานของประชากร ปี 2563 โดยสำนักงานสถิติแห่งชาติ ตามนิยาม การมีงานทำตามมาตรฐาน International Labor Organization (ILO) ซึ่งกำหนดนิยามผู้มีงานทำ คือ

(1) ระหว่าง 7 วันก่อนสัมภาษณ์ ได้ทำงานที่ก่อให้เกิดรายได้

(2) ไม่ได้ทำงานในช่วง 7 วัน แต่ยังได้รับค่าจ้าง 

(3) ไม่ได้ทำงานในช่วง 7 วัน และไม่ได้รับค่าจ้าง แต่มีงานให้กลับไปทำ

            จากนิยามดังกล่าว พบว่า ภายใต้สถานการณ์โควิด-19 แม้ในช่วงที่ภาครัฐประกาศ Lockdown ในปี 2563 ไตรมาส 2 แม้ผู้มีงานทำในภาพรวมจะลดลงไม่มาก แต่ในรายละเอียดแล้ว กลับพบว่า เป็นผู้ที่มีงานทำตามนิยาม แต่ไม่ได้ทำงานในช่วง 7 วันที่มีการสัมภาษณ์ ทั้งที่ยังได้รับค่าจ้าง และไม่ได้รับค่าจ้างแต่มีงานให้กลับไปทำ มีจำนวนสูงถึง 954,408 คน ซึ่งคนกลุ่มนี้ถือเป็นผู้ที่มีความเสี่ยงในการตกงาน

ตารางที่ 1: จำนวนลูกจ้างเอกชนผู้มีงานทำ

การจ้างงาน (คน)ไตรมาส 1ไตรมาส 2ไตรมาส 3ไตรมาส 4
2562        (1)14,551,06314,195,00313,353,44413,846,324
               (2)+(3)86,30771,41653,512103,099
2563        (1)14,506,34912,645,00413,279,28813,723,961
               (2)+(3)153,617954,408192,720145,501

ที่มา: ข้อมูลการสำรวจภาวะการทำงานของประชากร สำนักงานสถิติแห่งชาติ

            ในรายละเอียดสาขาเศรษฐกิจที่มีการจ้างงานในภาคเอกชนที่สำคัญ ได้แก่ สาขาการผลิต (ร้อยละ 33.5) สาขาการขายส่งและการขายปลีก (ร้อยละ 18.6) สาขาการก่อสร้าง (ร้อยละ 10.6) สาขาเกษตรกรรม ป่าไม้ และประมง (ร้อยละ 7.7) สาขาพี่พักแรมและบริการด้านอาหาร (ร้อยละ 6.6) และสาขาการขนส่งและสถานที่เก็บสินค้า (ร้อยละ 4.2) พบว่าในช่วง Lockdown ไตรมาส 2 ปี 2563 นั้น

  • สาขาการผลิต มีการจ้างงานตามนิยาม ILO ลดลงร้อยละ 3.5 (YoY) และมีผู้ที่ไม่ได้ทำงานในช่วง 7 วันที่มีการสัมภาษณ์ร้อยละ 3.4 ของผู้ที่งานทำตามนิยาม ILO
  • สาขาการขายส่งและการขายปลีก มีการจ้างงานตามนิยาม ILO ลดลงร้อยละ 4.6 (YoY) และมีผู้ที่ไม่ได้ทำงานในช่วง 7 วันที่มีการสัมภาษณ์ร้อยละ 6.3 ของผู้ที่งานทำตามนิยาม ILO
  • สาขาการก่อสร้าง มีการจ้างงานตามนิยาม ILO ลดลงร้อยละ 4.2 (YoY) และมีผู้ที่ไม่ได้ทำงานในช่วง 7 วันที่มีการสัมภาษณ์ร้อยละ 7.1 ของผู้ที่งานทำตามนิยาม ILO
  • สาขาเกษตรกรรม ป่าไม้ และประมง มีการจ้างงานตามนิยาม ILO ลดลงร้อยละ 2.8 (YoY) และมีผู้ที่ไม่ได้ทำงานในช่วง 7 วันที่มีการสัมภาษณ์ร้อยละ 8.1 ของผู้ที่งานทำตามนิยาม ILO
  • สาขาพี่พักแรมและบริการด้านอาหาร มีการจ้างงานตามนิยาม ILO ลดลงร้อยละ 10.3 (YoY) และมีผู้ที่ไม่ได้ทำงานในช่วง 7 วันที่มีการสัมภาษณ์ร้อยละ 35.8 ของผู้ที่งานทำตามนิยาม ILO
  • และสาขาการขนส่งและสถานที่เก็บสินค้า มีการจ้างงานตามนิยาม ILO เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.4 (YoY) และมีผู้ที่ไม่ได้ทำงานในช่วง 7 วันที่มีการสัมภาษณ์ร้อยละ 7.7 ของผู้ที่งานทำตามนิยาม ILO

            เมื่อพิจารณาเฉพาะผู้ที่ทำงานในช่วง 7 วันก่อนการสัมภาษณ์ พบว่า โดยเฉลี่ยในไตรมาส 2 ปี 2563 มีรายได้เฉลี่ยลดลง 83 บาทต่อเดือนเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน จาก 11,648 บาทต่อเดือน ในไตรมาส 2 ปี 2562 เป็น 11,566 บาทต่อเดือนในไตรมาส 2 ปี 2563 และค่อยๆปรับเพิ่มขึ้น 90 บาทต่อเดือน และ 181 บาทต่อเดือน ในไตรมาส 3 และไตรมาส 4 ของปี 2563 ตามลำดับ

ตารางที่ 2: ค่าจ้างเฉลี่ยต่อเดือนของผู้ที่ทำงานในช่วง 7 วันก่อนการสัมภาษณ์

ค่าจ้าง (บาทต่อเดือน)ไตรมาส 1ไตรมาส 2ไตรมาส 3ไตรมาส 4
256211,40811,64811,62911,586
256311,69911,56611,71911,767
เปลี่ยนแปลง+292-83+90+181

ที่มา: ข้อมูลการสำรวจภาวะการทำงานของประชากร สำนักงานสถิติแห่งชาติ

ในรายละเอียดสาขาที่สำคัญ ในช่วง Lockdown ไตรมาส 2 ปี 2563 พบว่า

  • สาขาการผลิต มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนเพิ่มขึ้น 57 บาท
  • สาขาการขายส่งและการขายปลีก มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนลดลง 50 บาท
  • สาขาการก่อสร้าง มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนลดลง 268 บาท
  • สาขาเกษตรกรรม ป่าไม้ และประมง มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนลดลง 548 บาท
  • สาขาพี่พักแรมและบริการด้านอาหาร มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนลดลง 864 บาท
  • และสาขาการขนส่งและสถานที่เก็บสินค้า มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 152 บาท

ถัดมา เมื่อพิจารณาในส่วนชั่วโมงการทำงานต่อสัปดาห์ พบว่า ในช่วง Lockdown แม้จะเป็นผู้ที่ทำงานในช่วง 7 วันก่อนสัมภาษณ์ ก็มีจำนวนชั่วโมงการทำงานลดลงอย่างมีนัยยะ ก่อนจะกลับมาเพิ่มขึ้นในไตรมาส 3 และ 4

ตารางที่ 3: ชั่วโมงการทำงานเฉลี่ยต่อสัปดาห์ของผู้ที่ทำงานในช่วง 7 วันก่อนการสัมภาษณ์

ชั่วโมงการทำงานต่อสัปดาห์ไตรมาส 1ไตรมาส 2ไตรมาส 3ไตรมาส 4
256243.8646.2246.3746.40
256343.4343.6644.6345.59

ที่มา: ข้อมูลการสำรวจภาวะการทำงานของประชากร สำนักงานสถิติแห่งชาติ

            จะเห็นได้ว่า ดุลยภาพในตลาดแรงงานที่ปรับตัวไปจากการมาตรการ Lockdown ของภาครัฐ ได้แก่ การลดจำนวนคนทำงานลง ค่าจ้างเฉลี่ยของลูกจ้างเพิ่มขึ้น และชั่วโมงการทำงานเฉลี่ยที่ลดลง แสดงให้เห็นว่า ธุรกิจโดยรวม มีแนวโน้มที่จะเลือกรักษาการจ้างงานคนที่มี Productivity สูงเก็บไว้ โดยไม่ได้มุ่งที่จะลดรายจ่ายของธุรกิจเพียงอย่างเดียว ซึ่งนับเป็นการปรับฐานโครงสร้างของธุรกิจในระยะยาว

กลุ่มกิจกรรมสปาและการนวด

            กลุ่มกิจกรรมสปาและการนวด (ISIC96101) เป็นกลุ่มธุรกิจลำดับต้นๆ ที่เป็นเป้าหมายตามมาตรการ Lockdown ของภาครัฐ ส่งผลให้ผู้ที่ทำงานในกลุ่มธุรกิจนี้ได้รับผลกระทบอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ตามนิยามผู้มีงานทำโดย ILO พบว่า ภายใต้สถานการณ์โควิด-19 แม้ในช่วงที่ภาครัฐประกาศ Lockdown ในปี 2563 ไตรมาส 2 กลุ่มกิจกรรมสปาและการนวดมีจำนวนผู้มีงานทำไม่ได้ลดลง แต่ในรายละเอียดแล้ว กลับพบว่า เป็นผู้ที่มีงานทำตามนิยาม แต่ไม่ได้ทำงานในช่วง 7 วันที่มีการสัมภาษณ์ ทั้งที่ยังได้รับค่าจ้าง และไม่ได้รับค่าจ้างแต่มีงานให้กลับไปทำ มีจำนวนสูงถึง 28,519 คน คิดเป็นร้อยละ 78.3 ของผู้มีงานทำตามนิยามฯ ซึ่งคนกลุ่มนี้ถือเป็นผู้ที่มีความเสี่ยงในการตกงาน

ตารางที่ 4:จำนวนผู้มีงานทำในกลุ่มกิจกรรมสปาและการนวด (ISIC96101)

การจ้างงาน (คน)ไตรมาส 1ไตรมาส 2ไตรมาส 3ไตรมาส 4
2562         (1)43,58736,98333,39232,607
                (2)+(3)0293107835
2563         (1)35,0737,89823,16421,156
                (2)+(3)41928,5197,531298

ที่มา: ข้อมูลการสำรวจภาวะการทำงานของประชากร สำนักงานสถิติแห่งชาติ

            เมื่อพิจารณาเฉพาะผู้ที่ทำงานในช่วง 7 วันก่อนการสัมภาษณ์ พบว่า โดยเฉลี่ยในไตรมาส 2 ปี 2563 มีรายได้เฉลี่ยลดลง 223 บาทต่อเดือนเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน จาก 10,460 บาทต่อเดือน ในไตรมาส 2 ปี 2562 เป็น 10,237 บาทต่อเดือนในไตรมาส 2 ปี 2563 และยังคงปรับลดลง 1,073 บาทต่อเดือน และ 1,111 บาทต่อเดือน ในไตรมาส 3 และไตรมาส 4 ของปี 2563 ตามลำดับ

ตารางที่ 5: ค่าจ้างเฉลี่ยต่อเดือนของผู้ที่ทำงานในช่วง 7 วันก่อนการสัมภาษณ์

ค่าจ้าง (บาทต่อเดือน)ไตรมาส 1ไตรมาส 2ไตรมาส 3ไตรมาส 4
256210,16010,46011,52110,636
256310,02010,23710,4479,525
เปลี่ยนแปลง-140-223-1,073-1,111

ที่มา: ข้อมูลการสำรวจภาวะการทำงานของประชากร สำนักงานสถิติแห่งชาติ

            ถัดมา เมื่อพิจารณาในส่วนชั่วโมงการทำงานต่อสัปดาห์ พบว่า ในช่วง Lockdown แม้จะเป็นผู้ที่ทำงานในช่วง 7 วันก่อนสัมภาษณ์ ก็มีจำนวนชั่วโมงการทำงานลดลงอย่างมีนัยยะ ก่อนจะกลับมาเพิ่มขึ้นในไตรมาส 3 และ 4 อย่างช้าๆ

ตารางที่ 6: ชั่วโมงการทำงานเฉลี่ยต่อสัปดาห์ของผู้ที่ทำงานในช่วง 7 วันก่อนการสัมภาษณ์

ชั่วโมงการทำงานต่อสัปดาห์ไตรมาส 1ไตรมาส 2ไตรมาส 3ไตรมาส 4
256245.447.748.848.3
256346.543.444.447.6

ที่มา: ข้อมูลการสำรวจภาวะการทำงานของประชากร สำนักงานสถิติแห่งชาติ

            จะเห็นได้ว่า ดุลยภาพที่เกิดขึ้นในการจ้างงานกลุ่มกิจกรรมสปาและการนวด ทั้งจำนวนผู้มีงานทำ ค่าจ้าง และชั่วโมงการทำงานยังคงอยู่ในระดับต่ำ สาเหตุสำคัญ อาจเนื่องมาจากเป็นธุรกิจที่มีความเกี่ยวข้องกับกิจกรรมการท่องเที่ยว อีกทั้งกิจกรรมสปาและการนวดสำหรับคนไทยแล้ว ถือเป็นสินค้าฟุ่มเฟือย มีความยืดหยุ่นต่อรายได้สูง จึงได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โควิด-19 อย่างต่อเนื่อง

กลุ่มกิจกรรมการแต่งผม

            กลุ่มกิจกรรมการแต่งผม (ISIC96103) เป็นกลุ่มธุรกิจลำดับต้นๆ ที่เป็นเป้าหมายตามมาตรการ Lockdown ของภาครัฐ เช่นเดียวกับกลุ่มกิจกรรมสปาและการนวด ส่งผลให้ผู้ที่ทำงานในกลุ่มธุรกิจนี้ได้รับผลกระทบอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ตามนิยามผู้มีงานทำโดย ILO พบว่า ภายใต้สถานการณ์โควิด-19 แม้ในช่วงที่ภาครัฐประกาศ Lockdown ในปี 2563 ไตรมาส 2 จำนวนผู้มีงานทำกลุ่มกิจกรรมการแต่งผมไม่ได้ลดลง แต่ในรายละเอียดแล้ว กลับพบว่า เป็นผู้ที่มีงานทำตามนิยาม แต่ไม่ได้ทำงานในช่วง 7 วันที่มีการสัมภาษณ์ ทั้งที่ยังได้รับค่าจ้าง และไม่ได้รับค่าจ้างแต่มีงานให้กลับไปทำ มีจำนวนสูงถึง 11,586 คน คิดเป็นร้อยละ 41.7 ของผู้มีงานทำตามนิยามฯ ซึ่งคนกลุ่มนี้ถือเป็นผู้ที่มีความเสี่ยงในการตกงาน

ตารางที่ 7: จำนวนผู้มีงานทำในกลุ่มกิจกรรมสปาและการนวด (ISIC96101)

การจ้างงาน (คน)ไตรมาส 1ไตรมาส 2ไตรมาส 3ไตรมาส 4
2562       (1)24,24634,47832,61732,352
               (2)+(3)0000
2563       (1)24,79316,18619,30620,889
               (2)+(3)011,5861,1560

ที่มา: ข้อมูลการสำรวจภาวะการทำงานของประชากร สำนักงานสถิติแห่งชาติ

            เมื่อพิจารณาเฉพาะผู้ที่ทำงานในช่วง 7 วันก่อนการสัมภาษณ์ พบว่า โดยเฉลี่ยในไตรมาส 2 ปี 2563 มีรายได้เฉลี่ยลดลง 1,034 บาทต่อเดือนเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน จาก 10,064 บาทต่อเดือน ในไตรมาส 2 ปี 2562 เป็น 9,029 บาทต่อเดือนในไตรมาส 2 ปี 2563 แต่ปรับตัวเพิ่มขึ้น 607 บาทต่อเดือน และ 598 บาทต่อเดือน ในไตรมาส 3 และไตรมาส 4 ของปี 2563 ตามลำดับ

ตารางที่ 8: ค่าจ้างเฉลี่ยต่อเดือนของผู้ที่ทำงานในช่วง 7 วันก่อนการสัมภาษณ์

ค่าจ้าง (บาทต่อเดือน)ไตรมาส 1ไตรมาส 2ไตรมาส 3ไตรมาส 4
25628,62910,0649,5309,700
256310,3379,02910,13810,298
เปลี่ยนแปลง+1,708-1,034+607+598

ที่มา: ข้อมูลการสำรวจภาวะการทำงานของประชากร สำนักงานสถิติแห่งชาติ

            ถัดมา เมื่อพิจารณาในส่วนชั่วโมงการทำงานต่อสัปดาห์ พบว่า ในช่วง Lockdown แม้จะเป็นผู้ที่ทำงานในช่วง 7 วันก่อนสัมภาษณ์ ก็มีจำนวนชั่วโมงการทำงานลดลงอย่างมีนัยยะ ก่อนจะกลับมาเพิ่มขึ้นในไตรมาส 3 และ 4 มาใกล้เคียงกับช่วงเดียวกันของปีก่อน

ตารางที่ 9: ชั่วโมงการทำงานเฉลี่ยต่อสัปดาห์ของผู้ที่ทำงานในช่วง 7 วันก่อนการสัมภาษณ์

ชั่วโมงการทำงานต่อสัปดาห์ไตรมาส 1ไตรมาส 2ไตรมาส 3ไตรมาส 4
256246.248.447.849.0
256346.943.947.450.1

ที่มา: ข้อมูลการสำรวจภาวะการทำงานของประชากร สำนักงานสถิติแห่งชาติ

            จะเห็นได้ว่า ดุลยภาพที่เกิดขึ้นในตลาดแรงงาน คือ จำนวนผู้มีงานทำลดลง แต่ค่าจ้างและชั่วโมงการทำงานลดลงในช่วง Lockdownก่อนจะปรับเพิ่มขึ้นในเวลาถัดมา สาเหตุสำคัญ อาจเนื่องมาจากเป็นธุรกิจการแต่งผมถือเป็นสินค้าจำเป็น มีความยืดหยุ่นต่อรายได้ไม่มาก อีกทั้ง ในช่วงหลัง Lockdown มีหลายร้านได้ปรับเพิ่มราคา เพื่อชดเชยรายได้ที่หายไปในช่วง Lockdown และยังคงราคานั้นมาจนถึงปัจจุบัน

บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของ
โครงการประเมินผลกระทบของโควิด-19 ต่อสังคมและเศรษฐกิจ 
สนับสนุนโดย สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.)

โดย ผศ.ดร. ปิยะพรรณ ช่างวัฒนชัย และทีมวิจัย
19 กุมภาพันธ์ 2564