ลงทะเบียนร่วมงาน เพื่อรับ Link Zoom meeting ที่ https://forms.gle/xCgKwqqjzzQ19sWJ6 (ภายในวันศุกร์ที่ 25 มิ.ย.)
กำหนดการ
- 13.00 น. เปิดการประชุม โดย คุณจินางค์กูร โรจนนันต์ รองเลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
- 13.10 น. นำเสนอผลการศึกษา โครงการ “การออกแบบระบบการประกันสังคมที่รองรับการเปลี่ยนแปลงของรูปแบบการทำงานในอนาคต” โดย ดร.สมชัย จิตสุชน และคณะที่ปรึกษาโครงการ TDRI
- 14.00 อภิปรายผลการศึกษา โดย
- คุณปาริชาต พิพัฒน์วัชรโสภณ นักวิชาการแรงงานชำนาญการพิเศษ กองวิจัยและพัฒนา สำนักงานประกันสังคม
- คุณปริมใจ สุวรรณเลิศ ตัวแทนแรงงานอิสระรุ่นใหม่
- คุณชัชนาท จรัญวัฒนากิจ Co-Founder and CMO Seekster
- รศ.ดร.กิริยา กุลกลการ อาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- ผศ.ดร.ธร ปีติดล อาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- 15.15 รับฟังความคิดเห็นจากผู้เข้าร่วมประชุม
- 16.30 จบการประชุม
คลิกดาวน์โหลด ผลการศึกษา ในส่วนบทสรุปผู้บริหาร
ตลาดแรงงานทั้งของประเทศไทยและต่างประเทศมีแนวโน้มที่จะมีการทำงานรูปแบบใหม่เกิดขึ้น เช่นเป็นแรงงานอิสระ ไม่มีงานประจำ มีความยืดหยุ่นสูง ไม่มีนายจ้างหรือผู้ว่าจ้างประจำ แนวโน้มนี้เกิดจากทั้งอิทธิพลของเทคโนโลยีและความต้องการรูปแบบการทำงานที่เปลี่ยนไป จนอาจทำให้เกิดการขยายตัวของแรงงานนอกระบบประกันสังคมเพิ่มเติมจากแรงงานนอกระบบรูปแบบดั้งเดิม ก่อให้เกิดความท้าทายในการจัดการด้านการประกันสังคมที่ปัจจุบันยังเป็นการออกแบบที่อยู่บนพื้นฐานของบริบทการทำงานในอดีตโดยที่ยังมิได้มีการศึกษาวิเคราะห์ถึงรูปแบบที่รองรับการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว
ความท้าทายข้างต้นเป็นผลให้การออกแบบระบบประกันสังคมจำเป็นต้องวิเคราะห์มาตรการเพื่อการขยายความครอบคลุมของระบบประกันสังคมที่หลากหลายขึ้น เช่นการปรับเพิ่มสิทธิประโยชน์ประกันสังคมที่ตรงกับความต้องการของแรงงานรูปแบบใหม่นี้ การปรับสถานภาพทางกฎหมายของแรงงานรูปแบบใหม่ นอกจากนั้นการปรับปรุงการดำเนินงานระบบประกันสังคมในมิติอื่นๆ ที่นอกเหนือจากสิทธิประโยชน์จะมีส่วนในการขยายความครอบคลุมของระบบประกันสังคมทั้งกับแรงงานรูปแบบใหม่และแรงงานนอกระบบดั้งเดิม เช่น กระบวนการประชาสัมพันธ์ การพัฒนาระบบสารสนเทศและฐานข้อมูล ลดความยุ่งยากของกระบวนการ การเพิ่มความยืดหยุ่นของการจ่ายเงินสมทบ เป็นต้น โดยในข้อเสนอจะระบุถึงความสำคัญจำเป็นในการปรังปรุง รวมถึงแนวทางและข้อเสนอแนะที่เป็นรูปธรรมและบทบาทของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
วัตถุประสงค์ของการประชุม
เพื่อนำเสนอผลการศึกษาและขอความคิดเห็นต่อการออกแบบระบบประกันสังคมเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงของรูปแบบการทำงานในอนาคต โดยมีประเด็นดังนี้
- ข้อเสนอสิทธิประโยชน์ประกันสังคมที่เสนอเพิ่มเติมมาตรา 40(4) และ 40(5) เพื่อจูงใจแรงงานรูปแบบใหม่ให้เข้าร่วมระบบประกันสังคม
- สิทธิประโยชน์ประกันสังคมอื่นที่ควรปรับปรุงเพื่อขยายสู่แรงงานนอกระบบ เพิ่มความจูงใจให้กับแรงงาน และทำให้สิทธิประโยชน์ประกันสังคมมาตรา 33 และ 39 เดิมได้ประโยชน์ไปด้วย เช่น การปรับปรุงระบบของสิทธิการรักษาพยาบาล การปฏิรูประบบบำเหน็จและบำนาญ การขยายความครอบคลุมสิทธิ์ประกันอุบัติเหตุและเจ็บป่วยจากการทำงาน เป็นต้น
- ข้อเสนอแนะเพื่อการปรับปรุงระบบประกันสังคมในมิติอื่นนอกเหนือสิทธิประโยชน์ เช่น ปรับปรุงสถานภาพทางกฎหมายของแรงงานรูปแบบใหม่ในอนาคต ส่งเสริมการรวมกลุ่มของแรงงาน สร้างความเชื่อมั่นกับสำนักงานประกันสังคม สร้างความรับรู้และการประชาสัมพันธ์ที่ดี พัฒนาระบบสารสนเทศและฐานข้อมูลภาครัฐให้มีประสิทธิภาพ ลดความยุ่งยากของกระบวนการ เพิ่มความยืดหยุ่นในการจ่ายเงินสมทบประกันสังคม อนุญาตการเคลื่อนย้ายและคงสิทธิประโยชน์ (portability)