tdri logo
tdri logo

โอกาสที่หายไป ของ
“แม่วัยรุ่น” และ สังคมไทย

สังคมไทยมีอัตราแม่วัยรุ่นสูง
ห่างจากหลายประเทศ
โดยเฉพาะ
ประเทศพัฒนาแล้ว

ประเทศไทยเป็นหนึ่งในประเทศที่มีอัตราการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นอยู่ในระดับที่สูง สะท้อนจากสถิติอัตราการคลอดของหญิงอายุ 15-19 ปี ต่อประชากรหญิงอายุเดียวกันพันคน
(ปี 2563 หญิง 29 คน ต่อ 1 พันคน ตั้งครรภ์ในวัยรุ่น)  

แม้ว่าหลังปี 2555 เป็นต้นมา สถานการณ์แม่วัยรุ่นจะมีแนวโน้มที่ดีขึ้น แต่จำนวนยังสูงกว่าประเทศในแถบเอเชียแปซิฟิก ที่มีอัตราคลอด 23 ต่อพันคน และ ประเทศพัฒนาแล้วที่มีอัตราคลอด 12 ต่อพันคน 

รวมไปถึงแม่วัยรุ่นต้องเผชิญกับภาระทางสุขภาพและความต่างทางรายได้ในอนาคตเมื่อเข้าสู่วัยทำงาน สูญเสียโอกาสของตนเองและประเทศ 

การกำหนดมาตราการป้องกันและช่วยเหลือทั้งก่อนและหลังตั้งครรภ์ รวมถึงการสร้างความเข้าใจและให้โอกาสกับแม่วัยรุ่นจึงเป็นสิ่งสำคัญ

แม่วัยรุ่นส่วนใหญ่*
จบการศึกษาสูงสุดในระดับมัธยมศึกษาตอนต้น

เมื่อแบ่งกลุ่มอายุแม่วัยรุ่นเป็นกลุ่มช่วงอายุต่างๆ สามารถให้ผลที่ชัดเจนขึ้นในเรื่องการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น กลุ่มแม่วัยรุ่นที่ปัจจุบันอายุอยู่ระหว่าง 15-30 ปี มีสัดส่วนของการตั้งครรภ์ในขณะเรียนสูงในกลุ่มนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น

*ข้อมูลของกลุ่มหญิงอายุ 15-30 ปี
ที่มา : Socio-Economic Survey, 2560

ลักษณะสภาพทางสังคม
และเศรษฐกิจของ
แม่วัยรุ่นส่วนใหญ่*

เมื่อทดสอบข้อมูลในกลุ่มหญิงอายุ 15-30 ปี โดยควบคุมลักษณะบุคคล และครัวเรือน พบปัจจัยร่วมที่ส่งผลต่อการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นส่วนใหญ่ ทั้งด้านลักษณะของครอบครัว ชั้นรายได้ของครอบครัว 3 ประการ

ที่มา : รายงานการเฝ้าระวังการตั้งครรภ์, 2561

อยู่นอกเขตเทศบาล

อยู่ในครัวเรือน เกษตรกร/ผู้ใช้แรงงาน

มักเกิดซ้ำในครัวเรือนที่มีแม่เป็นวัยรุ่น

แม่วัยรุ่น (อายุ 15-19 ปี) มีรายได้เฉลี่ยต่อปีตํ่ากว่า แม่ที่ตั้งครรภ์เมื่ออายุ 20 ปีขึ้นไป 

การตั้งครรภ์ในวัยรุ่นจะลดโอกาสในการศึกษาในระดับที่สูงขึ้น รวมทั้งโอกาสในอาชีพและการหารายได้ ข้อมูล socio economic survey แสดงให้เห็นว่ากลุ่มตั้งครรภ์ในวัยรุ่นมีรายได้เฉลี่ยต่อปีในระดับต่ำกว่ากลุ่มที่ตั้งครรภ์เมื่ออายุ 20 ปีขึ้นไป

E

แม่อายุ 20 ปีขึ้นไป

159,305 บาท

E

แม่วัยรุ่น

121,867 บาท

ที่มา : socio-economic survey, 2560
*ข้อมูลของกลุ่มหญิงอายุ 15-30 ปี

3 ลักษณะชีวิตด้านการศึกษาของแม่วัยรุ่น

ตั้งครรภ์ แต่ยังกลับเข้าเรียน

ตั้งครรภ์ แล้วหลุดจากระบบการศึกษา

หลุดจากระบบการศึกษา แล้วตั้งครรภ์

โอกาสทางรายได้ที่หายไปของแม่วัยรุ่น

*ข้อมูลรายได้เฉลี่ยของผู้หญิงอายุ 15-30 ปี

หากแม่วัยรุ่นไม่ได้รับการดูแลและความเข้าใจจากสังคม การตั้งครรภ์ในวัยรุ่นจะนำไปสู่การแบกรับภาระหลายประการ ไม่ว่าจะเป็นการต้องออกจากโรงเรียนกลางคัน สูญเสียรายได้ในอนาคต และเมื่อต้องเข้าสู่ตลาดแรงงานก็เป็นแรงงานที่ได้รับผลตอบแทนไม่สูงมาก ตลอดจนโอกาสที่ทารกจากแม่วัยรุ่นจะมีสุขภาพไม่ดี และนำไปสู่ภาวะพึ่งพิงทางการเงินของครอบครัวมากขึ้น 

รายได้ของแม่วัยรุ่นที่หายไป

แม่วัยรุ่นทั้ง 3 ลักษณะมีรายได้เฉลี่ยตํ่ากว่า
กลุ่มควบคุมวัยเดียวกันที่ไม่ได้ตั้งครรภ์

บาท เฉลี่ย คน/เดือน

ความต่างของรายได้ยิ่งมาก
หากไม่ได้กลับเข้าเรียน

การตั้งครรภ์ไม่ว่าจะเกิดโดยตั้งใจหรือไม่ตั้งใจ แม่วัยรุ่นกลุ่มนี้หากต้องการเข้าสู่ตลาดแรงงานหลังคลอดบุตร โอกาสในการทำงานและค่าจ้างที่ได้รับจะขึ้นอยู่กับ ระดับการศึกษา และ เวลาที่ต้องใช้ในการดูแลเด็กเล็ก ดังนั้นความต่างของรายได้เมื่อเทียบกับกลุ่มที่ไม่ได้ตั้งครรภ์ จะยิ่งมากหากไม่ได้กลับเข้าเรียน

ตั้งครรภ์ + กลับเข้าเรียน

บาท เฉลี่ย คน/เดือน

ตั้งครรภ์ + หลุดจากระบบการศึกษา

บาท เฉลี่ย คน/เดือน

ปรากฎการณ์ “แม่วัยรุ่น” ส่งผลกระทบทางเศรษฐกิจของประเทศ

จากรุ่นนี้

สู่รุ่นถัดไป

จากรุ่นนี้

ไม่เพียงแต่ แม่วัยรุ่น จะเสียโอกาสทางเศรษฐกิจ
ด้านรายได้ตลอดช่วงชีวิต แต่ยังส่งผลต่อ
เศรษฐกิจของประเทศในช่วงชีวิตของตนเอง

มูลค่าถึง 8.3 แสนล้านบาท

จากรุ่นนี้

.
.
.
.

%

ต่อ GDP

…สู่รุ่นถัดไป

ในอนาคต รายได้ของกลุ่มคนรุ่นใหม่ มีแนวโน้มแตกต่างกันมากขึ้นทำให้ต้นทุนค่าเสียโอกาสทางเศรษฐกิจของแม่วัยรุ่นในรุ่นถัดไป มากยิ่งขึ้นไปอีกและจะส่งผลต่อเศรษฐกิจของประเทศ

สูงขึ้นถึง 12 ล้านล้านบาท

%

ต่อ GDP

พาแม่วัยรุ่นกลับเข้าเรียน
เพิ่มโอกาสสร้างรายได้…

ต้องได้กลับเข้าเรียน

แม่วัยรุ่น ต้องได้กลับเข้าเรียนในระบบการศึกษาหรือกลับเข้าโรงเรียนโดยไม่มีอุปสรรค จนเรียนจบในระดับการศึกษาตามที่ได้ตั้งไจไว้ เพื่อให้มีโอกาสทำงานและมีรายได้ที่เหมาะสมในอนาคต

พัฒนาการศึกษานอกระบบ

แม่วัยรุ่นจำนวนไม่น้อยไม่กลับเข้าเรียนในระบบ แต่เลือกที่จะเข้าเรียนในการศึกษานอกระบบหรือการศึกษานอกโรงเรียนแทน การพัฒนาคุณภาพของการศึกษานอกระบบให้เท่าเทียมกับการศึกษาในระบบจึงเป็นสิ่งจำเป็น เนื่องจากแม่วัยรุ่นควรมีโอกาสเพิ่มพูนความรู้และทักษะเพื่อการหารายได้ในระดับที่ใกล้เคียงกับกลุ่มที่เรียนอยู่ในระบบ 

ย้อนรอย 3 ทศวรรษ
นโยบายรัฐและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับแม่วัยรุ่น

ช่วงปี 2535-2544

อัตราคลอดลดลง

จากการพบผู้ป่วยด้วยโรคเอดส์รายแรกในไทย จึงเริ่มมีมาตรการในการรับมือแก้ปัญหา ด้วยนโยบายเอดส์ระดับชาติ และโครงการถุงยาง 100%

ช่วงปี 2545-2555

อัตราคลอดเพิ่มขึ้น

  • ช่วงต้นขาดนโนบาย Sex Education ทำให้การเข้ามาของสื่อออนไลน์กลายเป็นผลทางลบเรื่องเพศ
  • ต่อมาเริ่มมีคลินิควัยรุ่น เครือข่ายให้คำปรึกษา และโครงการอนามัยเจริญพันธุ์ในระดับอำเภอ
  • จัดทำยุทธศาสตร์ป้องกันและแก้ไขปัญหาเด็กและเยาวชน ตั้งครรภ์ไม่พร้อม (พ.ศ.2553 – พ.ศ.2557)
  • จัดทำยุทธศาสตร์การพัฒนาอนามัยเจริญ พันธุ์แห่งชาติ ฉบับที่ 1

หลังปี 2556

แนวโน้มอัตราคลอดลดลง

  • มีมาตรการป้องกันแก้ปัญหาชัดเจน เช่น สายด่วนสำหรับวัยรุ่น จัดทำยุทธศาสตร์ถุงยางอนามัย ขึ้นทะเบียนยายุติการตั้งครรภ์ เพื่อให้ผู้หญิงมีทางเลือก
  • จัดทำพระราชบัญญัติการป้องกันและแก้ไข
    ปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น พ.ศ. 2559 เพื่อให้หน่วยงานต่างๆร่วมแก้ไขปัญหา
  • จัดทำยุทธศาสตร์การป้องกันและแก้ไขปัญหาการ
    ตั้งครรภ์ในวัยรุ่นระดับชาติ ปี 2560-2569

5 มาตรการที่เปลี่ยนแปลงสถานการณ์ “แม่วัยรุ่น”

มาตรการที่เกี่ยวกับการใช้ถุงยางอนามัย

  • โครงการถุงยาง 100%
  • โครงการก้าวย่างอย่างเข้าใจ (teenpath)
  • โครงการเลิฟแคร์ “กล้ารัก กล้าเช็ค”
  • ภาคีที่เกี่ยวข้อง

การดำเนินงานของเครือข่ายให้คำปรึกษา และการยุติการตั้งครรภ์

การผลักดันการใช้ยายุติการตั้งครรภ์ (เมทตาบอล)

พ.ศ.2557 ผลักดันการขึ้นทะเบียนยา
พ.ศ.2558 บรรจุในบัญชียาหลักแห่งชาติ

โครงการป้องกันปัญหาการตั้งครรภ์ซ้ำในวัยรุ่น

  • สถานบริการในเครือข่ายของ สปสช.ทั่วประเทศ ให้บริการคุมกำเนิดกึ่งถาวร (LARCs) ที่ประกอบด้วย ห่วงอนามัยและยาฝังคุมกำเนิด โดยให้บริการแก่วัยรุ่น อายุตํ่ากว่า 20 ปี โดยไม่มีการคิดค่าบริการ
  • สนับสนุนการวางแผนครอบครัว

การเปลี่ยนแปลงหลักสูตรของกระทรวงศึกษาธิการ

พ.ศ.2559 เปลี่ยนเพศวิถีศึกษา เป็นการสอนเพศศึกษารอบด้าน

เดินหน้านโยบายภาพใหญ่ เพิ่มทางเลือกให้แม่วัยรุ่น

เร่งฝึกทักษะชีวิตให้วัยรุ่น

นอกจากการเรียนวิชาการ วัยรุ่นต้องฝึกทักษะชีวิต
เพื่อที่จะสามารถจัดการกับปัญหาที่เกิดขึ้นได้

เปิดพื้นที่ในการสื่อสารเรื่องเพศสำหรับวัยรุ่น

การพูดคุยเรื่องเพศไม่ควรจำกัดอยู่ในห้องเรียนเท่านั้น

นโยบายเงินอุดหนุนแรกเกิด

เพื่อลดปัจจัยเสี่ยงในการเกิดแม่วัยรุ่นในอนาคต
และลดผลกระทบทางเศรษฐกิจ
จากการเสียโอกาสของแม่วัยรุ่น

ปรับปรุงกฎระเบียบ เพิ่มทางเลือกให้วัยรุ่น

ให้บุคลากรทางการแพทย์ สามารถทำหัตถการที่เกี่ยวข้องกับการคุมกำเนิด โดยเฉพาะการฝังยาคุม

เริ่มนโยบายหรือมาตรการที่มุ่งไปที่บทบาทของผู้ชายด้วย

มาตรการส่วนมากจะมีกลุ่มเป้าหมายคือวัยรุ่นหญิงเป็นหลักวัยรุ่นชายสามารถมีบทบาทในการลดปัญหาและป้องกันได้เช่นเดียวกัน