คัดค้านควบรวมค่ายมือถือ
#หยุดควบรวมกินรวบตลาด
ร่วมกันส่งเสียงคัดค้านการควบรวมกิจการระหว่าง “ทรู-ดีแทค” ที่จะส่งผลกระทบต่อผู้บริโภค และเศรษฐกิจไทย
หลังจากที่บริษัททรูและดีแทค ซึ่งเป็นผู้ประกอบการโทรศัพท์มือถือรายใหญ่ออกมาประกาศควบรวมกิจการกัน เราได้ติดตามสถานการณ์นี้อย่างใกล้ชิดและเล็งเห็นถึงอันตรายที่จะเกิดขึ้น เนื่องจากตลาดโทรศัพท์มือถือจะเหลือผู้เล่นรายใหญ่เพียง 2 ราย ทำให้การแข่งขันลดลง ราคาค่าบริการสูงขึ้นและคุณภาพบริการตกต่ำลง และยังจะส่งผลต่อเนื่องให้เกิดการควบรวมกิจการเกี่ยวเนื่องอื่นๆ ตามมาอีก ทำให้ตลาดโทรคมนาคมของไทยโดยรวมเสี่ยงต่อการผูกขาด ซึ่งจะส่งผลให้การพัฒนาเศรษฐกิจไทยให้เป็น ”เศรษฐกิจสารสนเทศ” ประสบปัญหา
คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ กสทช. ซึ่งมีหน้าที่กำกับดูแลตลาดโทรคมนาคม ควรพิจารณากลั่นกรองการควบรวมกิจการครั้งนี้อย่างตรงไปตรงมา โดยคำนึงผลประโยชน์ของประชาชนเป็นที่ตั้ง
คาดกันว่า ในวันที่ 10 ส.ค. นี้ หลังสำนักงาน กสทช. รายงานผลความเห็นของคณะอนุกรรมการฯ 4 ด้าน ต่อบอร์ดกสทช. จะมีการพิจารณาการควบรวม ทรู–ดีแทค
เราขอเชิญชวนทุกท่านติดตามสถานการณ์ และร่วมกันคัดค้านการควบรวมกิจการครั้งนี้
ควบรวมกิจการ ทำผู้บริโภคจ่ายค่าบริการแพง
ตลาดโทรคมนาคมไทยกำลังเสี่ยงอย่างยิ่งต่อการเพิ่มโครงสร้างที่ผูกขาดมากขึ้นจนถึงขั้นอันตราย
หากการควบรวมสำเร็จ ผู้บริโภคและผู้ประกอบการรายย่อยของไทยจะเหลือทางเลือกน้อยลง และเสี่ยงต่อการถูกเอาเปรียบโดยผู้ประกอบการรายใหญ่ เหมือนที่เคยเกิดขึ้นในธุรกิจโรงหนัง ค้าปลีกขนาดใหญ่ โรงพยาบาลและอื่นๆ อีกมากมาย ซึ่งไม่ใช่เฉพาะคนรายได้น้อยเท่านั้นที่เดือดร้อน แต่ยังกระทบมาถึงคนชั้นกลางจำนวนมากด้วย
หากผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือลดลงจาก 3 รายเหลือ 2 ราย ค่าบริการจะปรับสูงขึ้น โดยแบบจำลองของเราคาดการณ์ว่าราคาอาจสูงขึ้นถึง 33% ซึ่งอยู่ในระดับใกล้เคียงกับการคาดการณ์ของนักวิชาการอื่นๆ
ที่มา: สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ ประมาณการด้วยแบบจำลอง Cournot
ควบรวมกิจการระหว่างรายใหญ่ เป็นอันตรายต่อตลาดการแข่งขัน
การควบรวมกิจการเป็นเรื่องปกติทางธุรกิจในตลาดเสรี และการที่ทรูควบรวมกับดีแทคจะไม่ทำให้ตลาดผูกขาด…จริงหรือ?
ในประเทศพัฒนาแล้ว การควบรวมกิจการของผู้ให้บริการรายใหญ่ไม่ใช่สิ่งที่ทำได้อย่างเสรี โดยหน่วยงานกำกับดูแลของรัฐจะต้องเปรียบเทียบประโยชน์และความเสี่ยงต่อสังคมที่จะเกิดขึ้นจากการควบรวม เพื่อให้ผู้บริโภคมีโอกาสเลือก ได้ของดี ราคาถูกจากการแข่งขัน โดยไม่ปล่อยให้ตลาดมีระดับการผูกขาดเพิ่มขึ้นมาก
ปล่อยให้ควบรวมผูกขาดอันตราย กสทช. ต้องยับยั้ง
การควบคุมทุนใหญ่ไม่ให้ผูกขาดตลาด ต้องการหน่วยงานกำกับดูแลที่ทำหน้าที่อย่างตรงไปตรงมา
มีตัวอย่างมากมายที่ “มือปราบผูกขาด” ในต่างประเทศทำให้ บริษัทยักษ์ใหญ่ต้องปรับพฤติกรรมในการทำธุรกิจ ในลักษณะที่เป็นประโยชน์ต่อผู้บริโภคมากขึ้น
ประชาชนต้องออกแรง หยุดเกมกินรวบของทุนผูกขาด
ใน “เกมเศรษฐี” (monopoly) ที่เราเล่นกันตอนเด็กๆ วิธีการเอาชนะคู่แข่งไม่ใช่การสร้างนวัตกรรม เพื่อผลิตสินค้าและบริการให้ดีขึ้นและราคาถูกลง แต่คือการ “กินรวบ” โดยการซื้อกิจการและปิดกั้นคู่แข่ง
หากประชาชนจะสามารถชนะในเกมกินรวบเช่นนี้ได้ ก็ต้องส่งเสียงแสดงออกคัดค้านการผูกขาดทางเศรษฐกิจ ตั้งคำถามถึงเส้นทางรวยของเศรษฐี ไม่นับถือเศรษฐีที่รวยด้วยการผูกขาด เลี่ยงการอุดหนุนธุรกิจเกี่ยวเนื่องกับทุนผูกขาด และเลือกนักการเมืองที่ไม่ตกเป็นเครื่องมือทุนผูกขาด
ย้อนรอยเส้นทาง การควบรวม
ทรู และดีแทค ประกาศแจ้งรวมธุรกิจ
25 ม.ค. 65 คณะกรรมการทั้งสองบริษัทมีมติอนุมัติให้ ‘ศึกษาความเป็นไปได้’ ในการควบรวมกิจการ และประกาศอัตราการแลกหุ้นให้นักลงทุนรับทราบ ก่อนยื่นเรื่องให้กสทช.รับทราบ
ศาลปกครองระบุว่า กสทช. มีอำนาจในการเคาะดีล
29 เม.ย. 65 ศาลฯได้หยิบยกประกาศ กสทช. เรื่อง มาตรการเพื่อป้องกันมิให้มีการกระทำอันผูกขาดหรือก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรมในการแข่งขันในกิจการโทรคมนาคม พ.ศ.2549 ข้อ 8 วรรคสาม มาพิจารณา พร้อมระบุว่า ‘กสทช.’ มีอำนาจสั่งห้ามควบรวม ‘ทรู-ดีแทค’ หากเห็นว่าก่อให้เกิดการผูกขาด
กสทช. ตั้งคณะอนุกรรมการ
16 มิ.ย. 65 ตั้ง 4 คณะอนุกรรมการ ด้านกฎหมาย ด้านเทคโนโลยี ด้านเศรษฐศาสตร์ ด้านคุ้มครองผู้บริโภคและสิทธิพลเมือง ส่วนหนึ่งของความเห็นคือ หากมีการควบรวม ค่าบริการมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น และจีดีพีเศรษฐกิจไทยจะหดตัว 3 แสนล้านบาท
สำนักงาน กสทช. เสนอความเห็นอนุกรรมการทั้ง 4 ชุด ต่อบอร์ด กสทช. พิจารณา
3 ส.ค. 65 สำนักงานฯ จัดทำรายงานรวบรวมความเห็นของคณะอนุกรรมการทั้ง 4 คณะ ตลอดจนความเห็นของที่ปรึกษา เสนอที่ประชุม กสทช.
นับถอยหลัง 10 สิงหา กสทช. เคาะดีลทรู-ดีแทค
วัน(s)
:
ชั่วโมง(s)
:
นาที(s)
:
สอง(s)
ร่วมส่งเสียงคัดค้าน
หยุดการควบรวม กินรวบตลาด
ชวนแชร์และใช้ สติกเกอร์ ในช่องทาง Social Media ต่างๆ
และติด Hashtag #หยุดควบรวมกินรวบตลาด
กดที่รูปเพื่อดาวน์โหลด หรือ ค้นหา Sticker ใน Instagram ด้วยคำว่า @SayNoToMonopoly