อนาคตกำลังเรียกร้องให้ “คนรุ่นใหม่” ไม่ว่าผู้ใหญ่หรือเด็กต้องปรับตัว เพื่อตามโลกที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วให้ทัน
การปรับประเทศไทยไปสู่อนาคตบนความแตกต่างของคนแต่ละรุ่นเป็นความท้าทายอย่างยิ่ง จนบางกรณีอาจถูกมองว่าเป็น “สงครามแห่งช่วงวัย” (generation war) การมีส่วนร่วมในการพัฒนาประเทศด้วยวิธีการแบบเดิมอาจไม่ตอบโจทย์ในอนาคตอีกต่อไป “การจัดการความขัดแย้งแห่งช่วงวัย” จึงเป็นจุดตั้งต้นสำคัญที่จะทำให้เกิดการสร้างแนวร่วมใหม่และดึงพลังหนุ่มสาวมาร่วมขับเคลื่อนประเทศ
.
นอกจากนี้ การพัฒนาทักษะให้คนรุ่นใหม่พร้อมปรับตัวบนโจทย์ท้าทายในอนาคต ยังต้องการ “การเปิดใจเปิดประตูเรียนรู้ใหม่” เพื่อปรับตัวครั้งใหญ่ ซึ่งจะเกิดขึ้นได้จากการสร้าง “พื้นที่การเรียนรู้” ที่ปลอดภัย และเปิดกว้างให้คนทุกกลุ่มมีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนประเทศ
.
เมื่อประตูการพัฒนาทักษะเปิดกว้างแล้ว การทำให้รัฐเปิดใจพร้อมยอมรับพลังที่หลากหลายก็เป็นส่วนสำคัญที่จะทำให้ภาคส่วนต่างๆ เข้ามามีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนประเทศได้ ที่ผ่านมารัฐไทยยังไม่ยืดหยุ่นพอ จากวิธีคิด กฎระเบียบต่างๆ ของรัฐที่ไม่สอดรับกับการเปลี่ยนแปลงของโลก การ “เติมพลังหลากหลาย” จากคนรุ่นใหม่และความร่วมมือของภาคส่วนต่างๆ ในสังคม จะช่วยให้รัฐไทยปรับตัวและพาประเทศไทยให้โลดแล่นในโลกยุคใหม่ได้
.
TDRI Annual Public Virtual Conference 2022 ชวนทุกคนมาหาคำตอบของโจทย์แห่งอนาคตจากการนำเสนอประเด็นและการเสวนาในหัวข้อ “ทำอย่างไรให้ประเทศไทยหนุ่มสาวขึ้น?”
ในวันที่ 29 พ.ย. นี้ เวลา 10.00 – 15.30 น.
รับชมสดได้ทาง Facebook & Youtube : TDRI.Thailand
กำหนดการ | เอกสารประกอบ (คลิกชื่อหัวข้อ)
10.00 น. นำเสนอ “จัดการความขัดแย้งแห่งช่วงวัย”
โดย ดร.สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ ประธานทีดีอาร์ไอ
10.40 น. นำเสนอ “เปิดใจเปิดประตู เรียนรู้ใหม่”
โดย ดร.ชาริกา ชาญนันทพิพัฒน์ นักวิชาการ นโยบายการดำเนินธุรกิจและการพัฒนาที่ยั่งยืน และ คุณพงศ์ทัศ วนิชานันท์ นักวิจัยอาวุโส นโยบายด้านการปฏิรูปการศึกษา
11.20 น. นำเสนอ “เติมพลังหลากหลายให้โลดแล่น”
โดย ดร.บุญวรา สุมะโน นักวิชาการอาวุโส นโยบายเพื่อการพัฒนาสังคม และ
ดร.สลิลธร ทองมีนสุข นักวิชาการ นโยบายด้านการขนส่งและโลจิสติกส์
13.30 น. เสวนา “ทำอย่างไรให้ประเทศไทยหนุ่มสาวขึ้น?” โดย
-
-
-
- คุณไครียะห์ ระหมันยะ นักกิจกรรมด้านสิ่งแวดล้อม
- ดร.จันจิรา สมบัติพูนศิริ นักวิจัยประจำสถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ German Institute for global and area studies
- คุณภาคิน นิมมานนรวงศ์ ครูวิชาสังคมศึกษา โรงเรียนกำเนิดวิทย์
- คุณวีรพร นิติประภา นักเขียนรางวัลซีไรต์
- คุณอรนุช เลิศสุวรรณกิจ Co-Founder & CEO บริษัท Techsauce
-
-