เนื่องด้วยประสิทธิผลในการขับเคลื่อนมาตรการในระดับท้องถิ่น มีความสำคัญต่อความสำเร็จในเชิง พื้นที่ของแผนแม่บทด้านความปลอดภัยทางถนนฉบับที่ 5 พ.ศ. 2565-2570 (แผนแม่บทฯ ฉบับที่ 5) โครงการ ศึกษานี้จึงได้เล็งเห็นว่าการขับเคลื่อนงานในระดับท้องถิ่นจำเป็นต้องมีการพิจารณาควบคู่อย่างเป็นระบบกับ การกำหนดทิศทางนโยบายด้านความปลอดภัยทางถนนในระดับจังหวัด อันจะทำให้บรรลุเป้าหมายของการลด จำนวนผู้เสียชีวิตในภาพรวมของจังหวัดได้ โดยได้กำหนดสมมติฐานของการศึกษาว่ากลยุทธ์การขับเคลื่อน มาตรการในระดับท้องถิ่น ร่วมกับปัจจัยแวดล้อมและการดำเนินมาตรการในระดับจังหวัด จะส่งผลต่อภาพรวม ของปัญหาอุบัติเหตุทางถนนในระดับจังหวัดได้ ผ่านการทดลองศึกษาเบื้องต้นในจังหวัดเป้าหมายอย่าง อุดรธานี ที่มีศักยภาพการทำงานของท้องถิ่นท่ามกลางความท้าทายของปัญหาอุบัติเหตุทางถนนในพื้นที่
ทั้งนี้ ระดับการขับเคลื่อนมาตรการที่เกิดประสิทธิผลที่ได้จากการศึกษาข้างต้น (เช่น จำนวนครั้งและ ทรัพยากรที่ใช้ในการตั้งด่าน การลงทุนใช้เทคโนโลยีในการลดหรือแก้ไขความเสี่ยงในพื้นที่เสี่ยงสูง ฯลฯ) จะ ได้รับการวิเคราะห์เพื่อออกแบบแนวทางการลงทุนเพื่อขับเคลื่อนมาตรการให้บรรลุวัตถุประสงค์ในพื้นที่ พร้อม กับเสนอแนวทางการกำหนดตัวชี้วัดในการทำงานในระดับท้องถิ่นสามารถดำเนินมาตรการได้อย่างเป็นระบบ สอดคล้องกับแนวทางของแผนแม่บทฯ ฉบับที่ 5 อีกทั้งยังมีการศึกษาเพื่อลดช่องว่างในการทำงานระหว่างศูนย์ อำนวยความปลอดภัยทางถนนจังหวัดและท้องถิ่น ให้สามารถกำหนดแนวทางในการทำงานที่จะบรรลุ เป้าหมายการลดความสูญเสียในระดับพื้นที่ให้สำเร็จ
ในการนี้ วิธีการศึกษาที่สำคัญของโครงการประกอบไปด้วย การทบทวนงานศึกษาที่ผ่านมาอย่างเป็น ระบบ (Systematic review) ควบคู่กับการวิเคราะห์ปัญหาเชิงโครงสร้าง (Structural problem) ด้วยข้อมูล ทุติยภูมิที่เกี่ยวข้อง การสัมภาษณ์เชิงลึกหน่วยงานและการจัดประชุมกลุ่มย่อย การคาดการณ์และวิเคราะห์ความเป็นไปได้ในการลงทุนดำเนินมาตรการของหน่วยงานในระดับท้องถิ่น ด้วยวิธี Cost Benefit Analysis ตลอดจนการสังเคราะห์เพื่อกำหนดตัวชี้วัดในการติดตามและประเมินผล สำหรับการดำเนินงานของท้องถิ่นให้ สอดคล้องกับแผนแม่บทฯ ฉบับที่ 5
โครงการนี้ได้รับทุนอุดหนุนการวิจัยจากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ ประจำปีงบประมาณ 2566