tdri logo
tdri logo
6 สิงหาคม 2024
Read in 5 Minutes

Views

ตลาดงาน AI ร้อนแรง รับสมัครเกือบ 5 พันตำแหน่งใน 3 เดือน

“โครงการพัฒนาระบบวิเคราะห์ข้อมูลด้วย Large Language Models (LLMs) เพื่อการใช้ประโยชน์ในการพัฒนากำลังคนสมรรถนะสูงฯ” โดยสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) วิเคราะห์สถานะความต้องการแรงงาน และทักษะของแรงงานที่นายจ้างต้องการ โดยใช้ Big Data จากประกาศรับสมัครงานของนายจ้าง และวิเคราะห์ด้วยปัญญาประดิษฐ์ (AI) ซึ่งมีความแม่นยำสูง โดยคาดหวังว่าผลการวิเคราะห์จะเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่กำลังจะเข้าสู่ตลาดแรงงาน ตลอดจนมหาวิทยาลัย สถาบันอาชีวะศึกษา และสถาบันฝึกอบรมต่าง ๆ ที่ผลิตบุคลากรป้อนตลาดแรงงาน เพื่อให้ทันต่อเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของสภาวะทางเศรษฐกิจและเทคโนโลยี

เนื้อหาต่อไปนี้จะเป็นการสรุปโดยสังเขป จากการประมวลผลข้อมูลประกาศรับสมัครงานออนไลน์จาก 23 เว็บไซต์รับสมัครงานระหว่างวันที่ 1 เมษายน – 30 มิถุนายน ปี 2567 (ไตรมาส 2 ปี 2567) โดยพบประกาศรับสมัครงานทั้งสิ้น 238,129 ตำแหน่งงาน

เมื่อวิเคราะห์ประกาศงานที่ต้องการทักษะด้าน AI พบว่า มีตำแหน่งงาน 4,276 ตำแหน่งงาน (1.8%) ที่ต้องการทักษะด้าน AI เช่น Artificial intelligence, ChatGPT, Chatbot, Artificial Neural Networks, Deep Learning, Feature Engineering และ Language Model

โดยอุตสาหกรรม 3 อันดับแรกที่ต้องการทักษะ AI มากที่สุด ได้แก่ 1. อุตสาหกรรมข้อมูลข่าวสารและการสื่อสาร 483 ตำแหน่งงาน 2. อุตสาหกรรมการเงินและการประกันภัย 398 ตำแหน่งงาน 3. อุตสาหกรรมการกิจกรรม การบริหาร และบริการสนับสนุน 394 ตำแหน่งงาน

และเมื่อจำแนกตามกลุ่มอาชีพ 3 อันดับแรกที่ต้องการทักษะ AI มากที่สุด ได้แก่ 1. งานด้านคอมพิวเตอร์และคณิตศาสตร์ 1,098 ตำแหน่งงาน 2. งานด้านการจัดการ 906 ตำแหน่งงาน และ 3. งานธุรกิจและการเงิน 584 ตำแหน่งงาน

10 กลุ่มอาชีพที่ตลาดแรงงานต้องการสูงที่สุด

เมื่อจำแนกประกาศรับสมัครงานออนไลน์ตามกลุ่มอาชีพที่ระบุในประกาศรับสมัครงาน โดยอ้างอิงฐานข้อมูลกลุ่มอาชีพตามการจำแนกจากฐานข้อมูลอาชีพของสหรัฐอเมริกา (O*NET) พบว่า มี 10 กลุ่มอาชีพที่มีจำนวนประกาศรับสมัครงานมากที่สุดดังนี้:

  1. การขายและงานที่เกี่ยวข้อง 44,425 ตำแหน่งงาน (18.9%)
  2. การจัดการ 36,202 ตำแหน่งงาน (15.4%)
  3. ธุรการ 32,440 ตำแหน่งงาน (13.8%)
  4. ธุรกิจและการเงิน 30,943 ตำแหน่งงาน (13.2%)
  5. คอมพิวเตอร์และคณิตศาสตร์ 15,961 ตำแหน่งงาน (6.8%)
  6. สถาปัตยกรรมและวิศวกรรม  13,471  ตำแหน่งงาน (5.7%)
  7. งานศิลปะ การออกแบบ ความบันเทิง กีฬา และสื่อ 11,365 ตำแหน่งงาน (4.8%) 
  8. อาหารและงานบริการ 9,691 ตำแหน่งงาน (4.1%)
  9. การติดตั้ง บำรุงรักษา และซ่อมแซม 9,321 ตำแหน่งงาน (4.0%) 
  10. ขนส่ง 6,407 ตำแหน่งงาน (2.7%)

อุตสาหกรรมค้าส่ง-ปลีกยังครองแชมป์ประกาศรับสมัครงานมากที่สุด

เมื่อจำแนกประกาศรับสมัครงานออนไลน์ตามประเภทกลุ่มอุตสาหกรรม โดยใช้ข้อมูลการจดทะเบียนบริษัทของกรมพัฒนาธุรกิจการค้าอ้างอิงกับประเภทมาตรฐานอุตสาหกรรมประเทศไทย ปี 2552 (TSIC) พบการประกาศรับสมัครงานดังนี้

  1. อุตสาหกรรมขายส่งและขายปลีก 51,698 ตำแหน่งงาน (22.0%) 
  2. อุตสาหกรรมการผลิต 35,270 ตำแหน่งงาน (15.0%) 
  3. อุตสาหกรรมกิจกรรม การบริหาร และบริการสนับสนุน 23,509 ตำแหน่งงาน (10%)  
  4. อุตสาหกรรมวิชาชีพวิทยาศาสตร์ และกิจกรรมทางวิชาการ  18,270 ตำแหน่งงาน (7.8%)
  5. อุตสาหกรรมที่พัก และบริการอาหาร 17,497 ตำแหน่งงาน (7.5%)
  6. อุตสาหกรรมการเงิน และการประกันภัย 16,370 ตำแหน่งงาน (7.0%)
  7. อุตสาหกรรมอสังหาริมทรัพย์ 8,216 ตำแหน่งงาน (3.5%)
  8. อุตสาหกรรมข้อมูลข่าวสาร และการสื่อสาร 7,899 ตำแหน่งงาน (3.4%)
  9. อุตสาหกรรมการก่อสร้าง 7,502 ตำแหน่งงาน (3.2%)
  10. อุตสาหกรรมการขนส่ง และสถานที่เก็บสินค้า 4,992 ตำแหน่งงาน (2.1%)
  11. อุตสาหกรรมสุขภาพ และงานสังคมสงเคราะห์ 3,900 ตำแหน่งงาน (1.7%)
  12. อุตสาหกรรมการศึกษา 1,982 ตำแหน่งงาน (0.8%)
  13. อุตสาหกรรมการบริการด้านอื่น ๆ 1,482 ตำแหน่งงาน (0.6%)
  14. อุตสาหกรรมศิลปะ ความบันเทิง และนันทนาการ 1,071 ตำแหน่งงาน (0.5%)
  15. อุตสาหกรรมเกษตรกรรม ป่าไม้ และประมง 656 ตำแหน่งงาน (0.3%)
  16. อุตสาหกรรมไฟฟ้า ก๊าซ ไอน้ำ และระบบการปรับอากาศ 473 ตำแหน่งงาน (0.2%)
  17. อุตสาหกรรมเหมืองแร่ และเหมืองหิน 276 ตำแหน่งงาน (0.1%)
  18. อุตสาหกรรมการจัดหาน้ำ การจัดการน้ำเสีย และของเสีย 231 ตำแหน่งงาน (0.1%)
    ทั้งนี้ มีประกาศรับสมัครงานที่ไม่สามารถระบุกลุ่มอุตสาหกรรมการได้ 33,479 ตำแหน่งงาน (14.3%) 

3 กลุ่มอาชีพเนื้อหอมที่ทุกอุตสาหกรรมต้องการ

เมื่อวิเคราะห์ตำแหน่งงานในอุตสาหกรรม 6 อันดับสูงสุดในประกาศรับสมัครงาน (มีตำแหน่งงานเปิดรับมากกว่าหนึ่งหมื่นอัตรา) จะพบ 3 กลุ่มอาชีพหลักที่มีความต้องการมากในทุกอุตสาหกรรม ได้แก่ 1) งานด้านการขาย 2) งานสนับสนุนออฟฟิศและงานธุรการ และ 3) งานด้านการจัดการ 

ทั้งนี้มีอาชีพด้านอื่นๆ ที่แต่ละอุตสาหกรรมต้องการสูงนอกเหนือไปจาก 3 อาชีพข้างต้น ดังนี้ 1. กลุ่มอุตสาหกรรมขายส่งและขายปลีก มีความต้องการแรงงานด้านการติดตั้ง บำรุงรักษา และซ่อมแซม 3,237 ตำแหน่งงาน (6.3%) 2. กลุ่มอุตสาหกรรมการผลิต ต้องการแรงงานด้านสถาปัตยกรรมและวิศวกรรม 3,528 ตำแหน่งงาน (10.0%) 3. กลุ่มอุตสาหกรรมกิจกรรม การบริหาร และบริการสนับสนุน ต้องการแรงงานด้านคอมพิวเตอร์และคณิตศาสตร์ 1,762 ตำแหน่งงาน (7.5%) 4. กลุ่มอุตสาหกรรมวิชาชีพวิทยาศาสตร์ และกิจกรรมทางวิชาการ ต้องการแรงงานด้านสถาปัตยกรรมและวิศวกรรม 2,177 ตำแหน่งงาน (12.0%) 5. กลุ่มอุตสาหกรรมที่พักแรมและบริการด้านอาหาร ต้องการแรงงานที่เกี่ยวข้องกับการจัดเตรียมอาหารและบริการ 5,187 ตำแหน่งงาน (31.1%) และ 6. กลุ่มอุตสาหกรรมการเงินและการประกันภัย ต้องการแรงงานด้านคอมพิวเตอร์และคณิตศาสตร์ 1,430 ตำแหน่งงาน (8.8%)

(คลิกเลือกดูรายละเอียดตำแหน่งงานตามรายอุตสาหกรรมได้จากแดชบอร์ดด้านล่าง)

เช็กลิสต์ทักษะแรงงานที่นายจ้างต้องการ

ทีมวิจัยได้วิเคราะห์ทักษะต่าง ๆ จากประกาศหางาน โดยอ้างอิงฐานข้อมูลทักษะจากฐานข้อมูลกลุ่มหมวดหมู่ทักษะโดย Lightcast ซึ่งเป็นองค์กรชั้นนำในต่างประเทศที่เชี่ยวชาญด้านการวิเคราะห์ตำแหน่งงานและแนวโน้มตลาดแรงงาน พบข้อมูลดังนี้

TOP 5 “ทักษะหลัก”

​​1. ทักษะทางอารมณ์และสังคม 165,371 ตำแหน่งงาน (69.4%)  เช่น การคิดวิเคราะห์และการแก้ปัญหา ความคิดริเริ่มความเป็นผู้นำ และทักษะทางสังคม
2. ทักษะด้านธุรกิจ 100,572 ตำแหน่งงาน (42.2%) เช่น การบริหารโครงการ การจัดการธุรกิจ และการจัดการบุคลากร
3. ทักษะด้านสื่อและการสื่อสาร 88,254 ตำแหน่งงาน (37.1%) เช่น ความสามารถทางภาษา การเขียนและการแก้งานเขียน และการสื่อสาร
4. ทักษะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ 77,400 ตำแหน่งงาน (32.5%) เช่น วิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ ภาษา Scripting และการพัฒนาซอฟต์แวร์
5. ทักษะด้านการเงิน 62,575 ตำแหน่งงาน (26.3%) เช่น บัญชีทั่วไป การบริหารงบประมาณ และการเงินทั่วไป

เมื่อจำแนกออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ ได้แก่ 1) กลุ่มทักษะทั่วไป (common skill) เป็นกลุ่มทักษะที่พบในทุกกลุ่มอาชีพ และ 2) กลุ่มทักษะเจาะจง (specialized skill) เป็นกลุ่มทักษะที่พบในเฉพาะกลุ่มอาชีพ


TOP 10 “ทักษะทั่วไป”

​​1. บริการลูกค้า 41,152 ตำแหน่งงาน (17.3%)  
2. ภาษาอังกฤษ 40,550 ตำแหน่งงาน (17.0%)
3. การแก้ปัญหา 37,560 ตำแหน่งงาน (15.8%)
4. การขาย 32,987 ตำแหน่งงาน (13.9%)
5. ทำงานเป็นทีม 22,177 ตำแหน่งงาน (9.3%)
6. การจัดการเวลา 19,929 ตำแหน่งงาน (8.4%)  
7. ภาวะผู้นำ 16,512 ตำแหน่งงาน (6.9%)
8. เจรจาต่อรอง 16,143 ตำแหน่งงาน (6.8%)
9. บริหารจัดการ 14,856 ตำแหน่งงาน (6.2%)
10. ควบคุมคุณภาพ 10,321 ตำแหน่งงาน (4.3%)

TOP 10 “ทักษะเจาะจง”

​​1. จัดการโครงการ 16,199 ตำแหน่งงาน (6.8%)  
2. จัดการสินค้าคงคลัง 11,419 ตำแหน่งงาน (4.8%)
3. บัญชี 11,001 ตำแหน่งงาน (4.6%)
4. โซเชียลมีเดีย 6,337 ตำแหน่งงาน (2.7%)
5. จัดการเอกสาร 5,521 ตำแหน่งงาน (2.3%)
6. จัดการความสัมพันธ์ลูกค้า 4,993 ตำแหน่งงาน (2.1%)  
7. ป้อนข้อมูล 4,856 ตำแหน่งงาน (2.0%)
8. จัดการสต็อก 4,113 ตำแหน่งงาน (1.7%)
9. ห่วงโซ่อุปทาน 4,078 ตำแหน่งงาน (1.7%)
10. การเงิน 4,045 ตำแหน่งงาน (1.7%)

TOP 10 ทักษะรายอาชีพ

เมื่อวิเคราะห์เชิงลึกลงไปในรายละเอียดของกลุ่มอาชีพที่มีตำแหน่งงานเปิดรับสูงสุด 6 อับดับแรก (เปิดรับมากกว่าหนึ่งหมื่นอัตรา) จะพบทักษะเจาะจงที่นายจ้างต้องการ 10 อันดับแรก ดังนี้  

Top 10 ทักษะที่พบในกลุ่มงานด้านการขายและงานที่เกี่ยวข้อง 44,415 ตำแหน่งงาน

1. การจัดการความสัมพันธ์ลูกค้า พบใน 3,423 ตำแหน่งงาน (7.7% จากการประกาศงานทั้งหมดในกลุ่มนี้) 2. การจัดการสต็อก พบใน 2,794 ตำแหน่งงาน (6.3%) 3. การจัดการสินค้าคงคลัง พบใน 1,691 ตำแหน่งงาน (3.8% ) 4. การจัดการเงินสด พบใน 1,323 ตำแหน่งงาน (3.0%) 5. การจัดการการขาย พบใน 1,172 ตำแหน่งงาน (2.6%) 6. การวิเคราะห์เครดิต พบใน 1,111 ตำแหน่งงาน (2.5%) 7. โซเชียลมีเดีย พบใน 890 ตำแหน่งงาน (2.0%) 8. การวิจัยตลาด พบใน 745 ตำแหน่งงาน (1.7%) 9. การจัดการโครงการ พบใน 713 ตำแหน่งงาน (1.6%) 10. การวิเคราะห์ตลาด พบใน 634 ตำแหน่งงาน (1.4%)

Top 10 ทักษะที่พบในกลุ่มงานด้านการจัดการ 36,192 ตำแหน่งงาน

1. การจัดงานโครงงาน พบใน 4,602 ตำแหน่งงาน (12.7% จากการประกาศงานทั้งหมดในกลุ่มนี้) 2. การจัดการการขาย พบใน 2,253 ตำแหน่งงาน (6.2%) 3. การจัดการสินค้าคงคลัง พบใน 2,109 ตำแหน่งงาน (5.8%) 4. การจัดการทรัพยากร พบใน 1,552 ตำแหน่งงาน (4.3%) 5. การจัดการทรัพยากรบุคคล พบใน 1,354 ตำแหน่งงาน (3.7%) 6. ห่วงโซ่อุปทาน พบใน 1,182 ตำแหน่งงาน ( 3.3%) 7. การปรับปรุงกระบวนการ พบใน 1,138 ตำแหน่งงาน (3.1%) 8. บัญชี พบใน 985 ตำแหน่งงาน (2.7%) 9. การจัดห่วงโซ่อุปทาน พบใน 940 ตำแหน่งงาน (2.6% ) 10. การบริหารความเสี่ยง พบใน 864 ตำแหน่งงาน (2.4%)

Top 10 ทักษะที่พบในงานธุรกิจและการเงิน 30,595 ตำแหน่งงาน

1. บัญชี พบใน 7,003 ตำแหน่งงาน (22.6% จากการประกาศงานทั้งหมดในกลุ่มนี้) 2. การวิเคราะห์ทางการเงิน พบใน 2,424 ตำแหน่งงาน (7.8%) 3. การจัดการโครงการ พบใน 2,195 ตำแหน่งงาน (7.1%) 4. การเงิน พบใน 1,996 ตำแหน่งงาน (6.5%) 5. การจัดซื้อ พบใน 1,512 ตำแหน่งงาน (4.9%) 6. การปฏิบัติตามภาษี พบใน 1,477 ตำแหน่งงาน (4.8%) 7. ห่วงโซ่อุปทาน พบใน 1,337 ตำแหน่งงาน (4.3%) 8. การทำบัญชี พบใน 1,309 ตำแหน่งงาน (4.2%) 9. โซเชียลมีเดีย พบใน 1,250 ตำแหน่งงาน (4.0%) 10. การจัดการทางการเงิน พบใน 1,232 ตำแหน่งงาน (4.0%)

Top 10 ทักษะที่พบในงานด้านสนับสนุนงานออฟฟิศและงานธุรการ 30,586 ตำแหน่งงาน

1. การจัดการเอกสาร พบใน 3,421 ตำแหน่งงาน (10.6% จากการประกาศงานทั้งหมดในกลุ่มนี้) 2. การจัดการสินค้าคงคลัง พบใน 3,047 ตำแหน่งงาน (10.5%) 3. การป้อนข้อมูล พบใน 3,372  ตำแหน่งงาน (10.4%) 4. การเตรียมเอกสาร พบใน 1,181 ตำแหน่งงาน (3.6%) 5. การบัญชี พบใน 1,142 ตำแหน่งงาน (3.5%) 6. การเรียกเก็บเงิน พบใน 960  ตำแหน่งงาน (3.0%) 7. การควบคุมสต็อก พบใน 958 ตำแหน่งงาน (2.9%) 8. การจัดซื้อ พบใน 783  ตำแหน่งงาน (2.4%) 9. การขนส่งและโลจิสติกส์ พบใน 710 ตำแหน่งงาน (2.2%) 10. ห่วงโซ่อุปทาน พบใน 604 ตำแหน่งงาน (1.9%)

Top 10 ทักษะที่พบในงานด้านคอมพิวเตอร์และคณิตศาสตร์ 15,935 ตำแหน่งงาน

1. SQL พบใน 1,702 ตำแหน่งงาน (10.7% จากการประกาศงานทั้งหมดในกลุ่มนี้) 2. Java พบใน 1,325 ตำแหน่งงาน (8.3%) 3. Python พบใน 1,207 ตำแหน่งงาน (7.6%) 4. การจัดการโครงการ พบใน 1,063 ตำแหน่งงาน (6.7%) 5. Javascript พบใน 1,044  ตำแหน่งงาน (6.5%) 6. C# พบใน 862 ตำแหน่งงาน (5.4%) 7. การพัฒนาซอฟต์แวร์ พบใน 789 ตำแหน่งงาน (4.9%) 8. การเขียนโปรแกรม พบใน 732 ตำแหน่งงาน (4.6%) 9. HTML พบใน 662 ตำแหน่งงาน (4.2%) 10. CSS พบใน 618 ตำแหน่งงาน (3.9%)

Top 10 ทักษะที่พบในงานด้านสถาปัตยกรรมและวิศวกรรม 12,119 ตำแหน่งงาน

1. การจัดการโครงการ พบใน 2,641 ตำแหน่งงาน (19.6% จากการประกาศงานทั้งหมดในกลุ่มนี้) 2. AutoCAD พบใน 1,665 ตำแหน่งงาน (12.4%) 3. การก่อสร้าง พบใน 922 ตำแหน่งงาน (6.8 %) 4. วิศวกรรมไฟฟ้า พบใน 713 ตำแหน่งงาน (5.3%) 5. การจัดการงานก่อสร้าง พบใน 680 ตำแหน่งงาน (5.1%) 6. วิศวกรรมเครื่องกล พบใน 640 ตำแหน่งงาน (4.8%) 7. การประมาณต้นทุน พบใน 598 ตำแหน่งงาน (4.4%) 8. ระบบไฟฟ้า พบใน 450 ตำแหน่งงาน (3.3%) 9. SketchUp พบใน 445 ตำแหน่งงาน (3.3%) 10. การปรับปรุงกระบวนการ พบใน 396 ตำแหน่งงาน (2.9%)

Top 10 ทักษะที่พบในงานด้านศิลปะ การออกแบบ ความบันเทิง กีฬา และสื่อ 11,291 ตำแหน่งงาน

1. การออกแบบกราฟิก พบใน 2,089 ตำแหน่งงาน (18.4% จากการประกาศงานทั้งหมดในกลุ่มนี้) 2. โซเชียลมีเดีย พบใน 1,899 ตำแหน่งงาน (16.7%) 3. การสร้างเนื้อหา พบใน 1,611 ตำแหน่งงาน (14.2%) 4. การตัดต่อวีดีโอ พบใน 1,513 ตำแหน่งงาน (13.3%) 5. การจัดการสื่อ พบใน 907 ตำแหน่งงาน (8.0%) 6. การจัดการโซเชียลมีเดีย พบใน 899 ตำแหน่งงาน (7.9%) 7. การจัดการโครงการ พบใน 828 ตำแหน่งงาน (7.3%) 8. การถ่ายภาพ พบใน 767 ตำแหน่งงาน (6.8%) 9. การผลิตวีดีโอ พบใน 638 ตำแหน่งงาน (5.6%) 10. Adobe Illustrator พบใน 489 ตำแหน่งงาน (4.3%)

5 อันดับทักษะทั่วไปและทักษะเจาะจงที่แต่ละกลุ่มอาชีพต้องการ

สามารถเลือกดูอาชีพ และประเภททักษะจากแดชบอร์ดนี้

ประกาศหางานวุฒิป.ตรียังมากที่สุด

เมื่อจำแนกประกาศรับสมัครงานออนไลน์ตามวุฒิการศึกษาขั้นต่ำที่ระบุในประกาศรับสมัครงาน พบว่ามีประกาศรับสมัครงานวุฒิการศึกษาระดับปริญญาตรี 109,723 ตำแหน่งงาน (46.1%) ไม่จำกัดวุฒิการศึกษา 39,128 ตำแหน่งงาน (16.4%) ปวส. 21,220 ตำแหน่งงาน (8.9%) ปวช. 13,084 ตำแหน่งงาน (5.5%) มัธยมศึกษาปีที่ 3 11,958 ตำแหน่งงาน (5.0%) มัธยมศึกษาปีที่ 6 11,382 ตำแหน่งงาน (4.8%) สูงกว่าปริญญาตรี 2,570 ตำแหน่งงาน (1.1%) และที่ไม่ระบุวุฒิการศึกษามีจำนวน 27,714 ตำแหน่งงาน (12.2%)

ตำแหน่งงานกระจุกตัวสูงในกทม.-ปริมณฑลกว่าแสนตำแหน่ง

เมื่อจำแนกประกาศรับสมัครงานออนไลน์ที่ตามที่ตั้งของสถานประกอบการ พบว่า เปิดรับสมัครงานในกรุงเทพฯ และปริมณฑลมากที่สุด โดยมีจำนวนการว่าจ้างถึง 151,582 ตำแหน่งงาน (63.7%) รองลงมาคือภาคใต้ 18,231 ตำแหน่งงาน (7.7%) ตามด้วยภาคตะวันออก 13,855 ตำแหน่งงาน (5.8%) ภาคเหนือ 7,599 ตำแหน่งงาน (3.2%) ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 7,204 ตำแหน่งงาน (3.0%) ภาคกลาง 4,683 ตำแหน่งงาน (2.0%)  และภาคตะวันตก 3,124 ตำแหน่งงาน (1.0%) โดยมีการรับสมัครงานที่ไม่สามารถไม่ระบุสถานที่ทำงานได้ 31,851 ตำแหน่งงาน (13.4%)

ทั้งนี้ “โครงการพัฒนาระบบวิเคราะห์ข้อมูลด้วย Large Language Models (LLMs) เพื่อการใช้ประโยชน์ในการพัฒนากำลังคนสมรรถนะสูงฯ” โดยทีดีอาร์ไอ ได้รับการสนับสนุนจากหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนากำลังคน และทุนด้านการพัฒนาสถาบันอุดมศึกษา การวิจัยและการสร้างนวัตกรรม (บพค.) โดยจะมีการวิเคราะห์และนำเสนอการเปลี่ยนแปลงของตลาดแรงงานไทยอย่างต่อเนื่องไปในทุกไตรมาส

ทีมวิจัย “โครงการวิเคราะห์การประกาศหางานออนไลน์”

ดร.ทศพล ป้อมสุวรรณ
วินิทร เธียรวณิชพันธุ์
นรินทร์ ธนนิธาพร
ฐิติรัตน์ สีหราช
นภพบ ทองระย้า
ธิติวุฒิ พัฒนาสุทธินนท์
กฤติน หิรัญชูพงศ์

เรื่องที่คุณอาจสนใจ

ดูทั้งหมด