tdri logo
tdri logo
หลักคิดการจัดสรรงบประมาณเพื่องานวิจัย
19 กันยายน 2024
หลักคิดการจัดสรรงบประมาณเพื่องานวิจัย

การศึกษาความคุ้มค่าการลงทุนด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เป็นสิ่งที่หน่วยงานด้านการสนับสนุนทุนวิจัยต่าง ๆ มักต้องพัฒนาดัชนีชี้วัดขึ้นมาเพื่อทำหน้าที่เป็นเกณฑ์การจัดสรรงบประมาณวิจัยไปยังผู้รับทุนวิจัยต่าง ๆ ทั้งนี้ เพื่อให้ดัชนีชี้วัดนี้สามารถทำหน้าที่กลั่นกรองข้อเสนอขอรับทุนวิจัยให้การจัดสรรทุนวิจัย (Ex-ante) นำไปสู่ผลสัมฤทธิ์สูงสุด และสามารถตอบคำถามความสนใจของสาธารณชนที่มีต่อการลงทุนว่าเงิน 1 บาทที่ลงทุนไปกับการวิจัยและพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีได้ผลตอบแทนกลับมาคุ้มค่าหรือไม่ เพื่อที่จะแสดงถึงความรับผิดชอบต่อการใช้เงินภาษีอากรของประชาชนอย่างคุ้มค่า

ดังนั้น การจัดสรรงบประมาณวิจัยด้านวิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรมเพื่อสร้างผลตอบแทนทางเศรษฐกิจและสังคมจึงเป็นสิ่งที่มีความจำเป็นอย่างยิ่ง เพื่อให้ประเทศจัดสรรงบประมาณวิจัยได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีขีดความสามารถในการแข่งขันมีการใช้นวัตกรรมเพื่อพัฒนาผลิตภาพ และยกระดับความเป็นอยู่ของประชาชน รวมทั้งเพื่อเตรียมความพร้อมให้สังคมมีพื้นฐานที่ดีในการรองรับความท้าทายที่จะเกิดขึ้นในอนาคต

ที่ผ่านมา สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว. หรือสกว. เดิม) ให้เงินทุนวิจัยทั้งระดับแผนงานและรายโครงการ เพราะฉะนั้น สกสว. ต้องมีการประเมินว่าการจัดสรรเงินทุนที่ผ่านมาผลเป็นอย่างไร แผนงานและโครงการประเภทใดได้รับเงินไปแล้วมีการใช้เงินให้เกิดประโยชน์อย่างคุ้มค่า มีผลกระทบมากหรืองานประเภทใดยังไม่ค่อยเห็นผลมากนัก การศึกษานี้จึงได้ทบทวนด้านการประเมินผลงานวิจัยว่า โครงการที่มีผลกระทบ (Impact) หรือไม่มีผลกระทบมีปัจจัยสู่ความสำเร็จอะไรบ้าง ซึ่งผู้เขียนจะนำเสนอข้อค้นพบสำคัญ ๆ จากการศึกษาผ่านรายงานทีดีอาร์ไอฉบับนี้

โดยเริ่มจากผลการทบทวนการประเมินผลลัพธ์ และผลกระทบจากการลงทุนด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมของสกสว. ปัจจัยที่นำไปสู่การสร้างผลกระทบของการลงทุนด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม และข้อเสนอแนะแนวทางการจัดสรรเงินทุนระดับแผนงานวิจัย เพื่อสร้างให้เกิดความคุ้มค่าสูงจากการลงทุนด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม รวมถึงข้อเสนอแนะแนวทางจัดทำค่าเปรียบเทียบ (Benchmarking) ของผลกระทบที่สามารถสร้างขึ้นจากการลงทุนด้านวิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรมประเภทต่างๆหรือรายสาขา

คณะผู้วิจัย : ดร.อดิศร์ อิศรางกูร ณ อยุธยา (หัวหน้าโครงการ), ทิพวัลย์ แก้วมีศรี (นักวิจัยอาวุโส), ปริญญารัตน์ เลี้ยงเจริญ (นักวิจัยอาวุโส), กาญจนา ย่าเสน (นักวิจัย), ปณิดา พรานพนัส (นักวิจัย)

นักวิจัย

ดร. อดิศร์ อิศรางกูร ณ อยุธยา
ที่ปรึกษา นโยบายทรัพยากรธรรมชาติและการลดก๊าซเรือนกระจก และ นโยบายด้านภูมิอากาศและการพัฒนาสีเขียว
ทิพวัลย์ แก้วมีศรี
นักวิจัยอาวุโส

แชร์บทความนี้

เรื่องที่คุณอาจสนใจ

ดูทั้งหมด