tdri logo
tdri logo

เด็กไทยเรียนอะไรกันอยู่

เตรียมปรับหลักสูตรการศึกษา… ให้เด็กไทยเรียนไปใช้ได้จริง​

หลักสูตรแกนกลาง ใช้มาแล้ว 17 ปี

  • 2056 ตัวชี้วัดการเรียนรู้ (รายปี) เน้นพัฒนาความรู้
  • หลักการกว้าง ๆ ไม่มีคำแนะนำการสอนของแต่ละตัวชี้วัดการเรียนรู้
  • เวลาเรียน สูงกว่า OECD ไม่กำหนดเพดานเวลาเรียน ไม่กำหนดชั่วโมงเรียนบูรณาการ

หลักสูตรใหม่รอแจ้งเกิด “ฐานสมรรถนะ”

  • 147 ผลลัพธ์การเรียนรู้ช่วงชั้น (3 ปี) เน้นความรู้ ทักษะ ทัศนคติที่ดี และการนำสิ่งที่เรียนไปประยุกต์ใช้จริง
  • เห็นภาพห้องเรียนชัดเจน เชื่อมโยงกับชีวิตจริง มีคำแนะนำการสอนให้เพื่อ
  • เวลาเรียนลดลง กำหนดเพดานเวลาเรียน กำหนดชั่วโมงเรียนแบบบูรณาการ

หลักสูตรแกนกลาง
ถึงเวลาต้องปรับ?

โลกยุคใหม่ เรียกร้องให้เด็กต้องมีทักษะ
“ประยุกต์ใช้ความรู้เพื่อแก้ปัญหา”

ทักษะที่ต้องมีสำหรับโลกที่เปลี่ยนไว จาก OECD Learning Compass 2030

ไม่ใช่แค่ความรู้ แต่เด็กต้องมี Competency (สมรรถนะ) ทักษะและมุมมองที่เหมือนเข็มทิศนำทาง ในโลกที่กำลังเปลี่ยนไปอย่างรวดเร็ว
1. Core Foundations รากฐานสำคัญของการเรียนรู้

Knowledge – ความรู้
Skills – ทักษะ
Attitudes & Values – ทัศนคติและคุณค่า

2. Transformative Competencies  สมรรถนะเปลี่ยนโลก พลังที่ทำให้คนอยู่รอดในโลกอนาคตได้

สร้างคุณค่า เช่น ความคิดสร้างสรรค์ นวัตกรรม
อยู่ร่วมกับความหลากหลาย เช่น การคิดเชิงระบบ เข้าใจมุมมองต่าง ๆ
มีความรับผิดชอบ เช่น ความเป็นพลเมืองโลก ความรับผิดชอบต่อส่วนรวม

3. Student Agency & Co-agency – พลังจากภายใน
ไม่ใช่แค่ “สอนให้รู้” แต่ “สร้างคนที่อยากเรียนรู้ และพร้อมรับผิดชอบโลก”
เน้นว่า “ผู้เรียนต้องเป็นเจ้าของการเรียนรู้ของตัวเอง” และต้องเรียนรู้ร่วมกับคนอื่น (ครู ครอบครัว ชุมชน)

ผลการเรียนรู้เด็กไทย (PISA 2022)
ต่ำกว่าเด็กประเทศพัฒนาแล้ว (OECD)

เทียบคะแนน PISA เด็กไทยกับ OECD เด็กไทย ‘กว่าครึ่ง’ มีระดับความสามารถต่ำกว่าระดับ 2  คือ ระดับที่ไม่สามารถนำความรู้มาประยุกต์ใช้ในสถานการณ์ที่ไม่ซับซ้อนได้

การทดสอบ PISA ตั้งแต่ครั้งแรก (2000) จนถึงครั้งล่าสุด (2022) ​
ชี้ว่าเด็กไทยส่วนใหญ่ ไม่สามารถประยุกต์ใช้ความรู้ได้ดีเท่าที่ควร​

สะท้อนช่องว่างระหว่างความรู้ในห้องเรียนกับการใช้ในชีวิตจริง

ข้อสอบ PISA คืออะไร?

  • ข้อสอบจำลองสถานการณ์จริง ต้องประยุกต์ใช้ความรู้​ คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และทักษะการอ่าน เพื่อแก้ปัญหา​
  • นักเรียนไม่รู้ว่าก่อนว่าจะได้สอบวิชาไหน ต้องเลือกใช้ความรู้ที่มีได้​อย่างเหมาะสมกับสถานการณ์ที่กำหนด

หลักสูตรปัจจุบันของไทย ใช้มาตั้งแต่ พ.ศ.2551

โลกหมุนไปแต่หลักสูตรไทยไม่หมุนตาม

ประเทศไทยเริ่มใช้หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน ตั้งแต่ พ.ศ. 2551 จนถึงปัจจุบัน ตลอดช่วงเวลา 17 ปีที่ผ่านมา ศธ. ได้ปรับหลักสูตรแกนกลางเรื่อยมา แต่เป็นเพียงการปรับเนื้อหาบางส่วน ดังนั้นเนื้อหาส่วนใหญ่ยังคงเดิมตั้งแต่ 2551

2551 iPhone รุ่นแรกเปิดตัว สมาร์ทโฟนที่เปลี่ยนโลกการเรียนรู้

ไทย ประกาศใช้หลักสูตรแกนกลาง 2,165 ตัวชี้วัด

ฟินแลนด์ เริ่มบูรณาการข้ามวิชา ลดสอบ
สิงคโปร์ พัฒนา 21st Century Competencies
2554 ยุคค้นข้อมูลจาก Google, ดู YouTube

2554 ปรับโครงสร้างเวลาเรียน

ไทย ยกเลิกเพดานชั่วโมงเรียนเพื่อเพิ่มอิสระให้โรงเรียน / ฟินแลนด์เริ่มกระบวนการร่างหลักสูตรใหม่อย่างเป็นทางการ
2559

2559 ปรับปรุงมาตรฐานการเรียนรู้

ไทยแบ่งตัวชี้วัดที่ต้องรู้และควรรู้ / ฟินแลนด์ ใช้ Phenomenon-Based Learning หรือ PBL ทั่วประเทศ (ปฏิรูปหลักสูตรแกนกลาง)
2561

ปรับปรุงมาตรฐานการเรียนรู้

ปรับมาตรฐานการเรียนรู้คณิต วิทย์ และ ภูมิศาสตร์ ให้...
2565

2565 ปรับโครงสร้างหลักสูตรสถานศึกษา

แยกวิชาประวัติศาสตร์ออกจากกลุ่มสาระสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม
2566 ใช้ AI, เรียนรู้แบบ personalize, โต้ตอบเร็ว

2566

หลักสูตรใหม่ ในชื่อ “ฐานสมรรถนะ”
ไม่ใช่แค่รู้ แต่เรียนไปต้องใช้ได้จริง

CBE = Competency-Based Education

คือแนวคิดทางการศึกษาที่มุ่งเน้นให้ผู้เรียน “สามารถทำได้จริง” โดยใช้ สมรรถนะ (Competency) เป็นเป้าหมายหลัก ไม่ใช่แค่เรียนจบหรือสอบผ่าน ซึ่งหมายถึงความสามารถในการใช้ความรู้ ทักษะ และเจตคติอย่างเหมาะสม เพื่อเผชิญและจัดการกับสถานการณ์จริงได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดย

K (Knowledge) คือความรู้และความเข้าใจในเนื้อหาวิชา ทฤษฎี หรือหลักการที่เกี่ยวข้อง ซึ่งต้องสามารถนำมาใช้แก้ปัญหาได้ในสถานการณ์จริง

S (Skills) คือทักษะที่ผู้เรียนสามารถลงมือปฏิบัติได้จริง เช่น การวิเคราะห์ การสื่อสาร หรือการใช้เครื่องมือเฉพาะทาง

A (Attitudes) คือเจตคติ ค่านิยม และทัศนคติที่เหมาะสมต่อการเรียนรู้

ประเทศไหนลองใช้ CBE แล้วบ้าง?

ตลอด 20 ปีที่ผ่านมา

60 เขตการปกครอง

นำแนวคิดการศึกษาฐานสมรรถนะมาปรับหลักสูตรระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน

มีบางประเทศลองใช้ หยุดไป และกลับมาบางส่วน เพราะอะไร?
ในระบบการศึกษามีผู้มีส่วนเกี่ยวข้องหลายฝ่าย การปรับหลักสูตรจึงต้องเผชิญอุปสรรค
เช่น พ่อแม่ไม่เห็นผลลัพท์ รวมถึงพลวัตรทางการเมืองที่มีผลต่อการสานต่อนโยบาย

ตัวอย่างเป้าหมายการเรียนรู้ที่อยู่ในหลักสูตร

เรียนไปเพื่ออะไร? แค่หาผลลัพธ์ หรือเข้าใจโลกจริง?

วิชาคณิต หลักสูตรแกนกลาง

นักเรียนต้อง...เขียนเศษส่วนที่มีเศษส่วนเป็นตัวประกอบของ 10 หรือ 100 หรือ 1,000 ในรูปทศนิยม
หาผลบวก ผลลบของเศษส่วนและจำนวนคละ
แสดงวิธีหาคำตอบของโจทย์ปัญหาเกี่ยวกับความยาวที่มีการเปลี่ยนหน่วยและเขียนในรูปทศนิยม
ใช้ข้อมูลจากกราฟเส้นในการหาคำตอบของโจทย์ปัญหา

Key Word ในหลักสูตรแกนกลาง

เขียน | หา | แสดงวิธี | ใช้ข้อมูล

ที่มา : เป้าหมายการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ในหลักสูตรแกนกลาง 2551

วิชาคณิต หลักสูตร CBE

นักเรียนต้อง...อธิบายสถานการณ์ในชีวิตจริงที่เกี่ยวกับการดำเนินการของจำนวนนับ เศษส่วน และทศนิยม สร้างตัวแบบ เชิงคณิตศาสตร์ในการดำเนินการ หาผลลัพธ์ของการดำเนินการได้อย่างคล่องแคล่ว ยืดหยุ่น รอบคอบ และแปลความหมายภาษาและสัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์เป็นสถานการณ์ในชีวิตจริง

Keyword จากหลักสูตร CBE

อธิบายสถานการณ์ | สร้างตัวแบบ | หาผลลัพธ์ | แปลความหมาย

ที่มา : ช่วงชั้นที่ 1 ประถมต้น ในหลักสูตรฐานสมรรถนะ

เพศศึกษา หลักสูตรแกนกลาง

อธิบายความสำคัญของระบบสืบพันธุ์ ระบบไหลเวียนโลหิตและระบบหายใจ ที่มีผลต่อสุขภาพ การเจริญเติบโตและพัฒนาการ
อธิบายวิธีการดูแลรักษาระบบสืบพันธุ์ ระบบไหลเวียนโลหิต ระบบหายใจให้ทำงานตามปกติ
วิเคราะห์พฤติกรรมเสี่ยงที่อาจนำไปสู่การมีเพศสัมพันธ์ การติดเชื้อเอดส์ และการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร

Key Word ในหลักสูตรแกนกลาง

เขียน | หา | แสดงวิธี | ใช้ข้อมูล

ที่มา : เป้าหมายการเรียนรู้วิชาสุขและพลศึกษา เรื่องเพศศึกษา ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ในหลักสูตรแกนกลาง 2551

เพศศึกษา หลักสูตร CBE

นักเรียนต้อง...ดูแลสุขภาพทางเพศตามช่วงวัย ป้องกันตนเองให้ปลอดภัยจากการคุกคามทางเพศและไม่แสดงพฤติกรรม คุกคามทางเพศผู้อื่นทั้งกายและวาจา ด้วยความเข้าใจในผลเสียหรืออันตรายที่เกิดจากพฤติกรรมเสี่ยง อันอาจนำไปสู่ปัญหาทางเพศและผลกระทบอื่น ๆ ที่ตามมา รู้ทันสื่อ และระวังอันตรายจากบุคคลที่รู้จัก ผ่านทางออนไลน์ซึ่งอาจนำไปสู่การล่วงละเมิดทางเพศ การข่มเหงรังแก และการใช้ความรุนแรงทางออนไลน์ โดยหาทางออกได้อย่างเหมาะสม ...

Keyword จากหลักสูตร CBE

ดูแล | ป้องกัน | ระวัง

ที่มา : เป้าหมายการเรียนรู้วิชาสุขและพลศึกษา เรื่อง เพศศึกษา ช่วงชั้นที่ 2 ระดับประถมศึกษาตอนปลาย ในหลักสูตรฐานสมรรถนะ

คำที่อยู่ในตัวชี้วัดการเรียนรู้ สะท้อนเป้าหมายของหลักสูตร

หลักสูตรแกนกลาง : เน้นคำที่สะท้อนเรื่องความรู้ (K)
เช่น บรรยาย อธิบาย วิเคราะห์
ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้นักเรียนเน้นการท่องจำนำไปสอบ
หลักสูตรฐานสมรรถนะ (CBE) : นอกเหนือไปจากความรู้ (K)
ยังมีคำอื่นๆ ที่สะท้อนทักษะ (S) และ เจตคติ (A)
เช่น ผู้อื่น สถานการณ์ ชีวิตประจำวัน อารมณ์ สร้างสรรค์

 

  • ชั่วโมงเรียนรวมลดลง: หลักสูตร CBE เวลาเรียนลดลงประมาณ 15% (ลดลง 900 ชั่วโมง) เมื่อเทียบกับขั้นต่ำที่กำหนดไว้ในหลักสูตรแกนกลาง นักเรียนจะไม่เรียนหนักเกินไป

  • ชั่วโมงเรียนแบบบูรณาการเพิ่มขึ้น: กำหนดให้ใช้เวลาเรียนแบบบูรณาการ 25–45% ของเวลารวมในหลักสูตร เพื่อให้ผู้เรียนได้ประสบการณ์เรียนรู้ที่เหมาะสมกับการพัฒนาสมรรถนะ

  • เวลาเรียนยืดหยุ่นมากขึ้น: โรงเรียนสามารถจัดสรรเวลาเรียนได้อย่างอิสระถึง 510 ชั่วโมง หรือประมาณ 10% ของเวลารวมในหลักสูตร ช่วยรองรับความหลากหลายของผู้เรียนได้มากขึ้น

สนามทดลองหลักสูตรใหม่ ในพื้นที่นวัตกรรม

หลักสูตร CBE ในห้องเรียนจริง

 

  • ผู้เรียนนำการเรียนรู้ของตนเอง ผ่านการสำรวจความรู้เดิมและเลือกหัวข้อที่ผู้เรียนสนใจศึกษา
  • ครูปรับบทบาทเป็น “ครูหลังห้อง” หรือ “ผู้อำนวยการเรียนรู้” นำมาสู่การจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
  • กิจกรรมที่ครูออกแบบ กระตุ้นนักเรียนให้บูรณาการความรู้ระหว่างวิทยาศาสตร์ ศิลปะ และสังคมศึกษา ผ่านการจัดการเรียนรู้เชิงรุกที่ให้ผู้เรียนได้ปฏิบัติจากโจทย์ที่ท้าทายในโลกจริง
  • กิจกรรมที่ครูออกแบบ ช่วยพัฒนาทักษะที่จำเป็นต่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต เช่น ความคิดสร้างสรรค์ผ่านการออกแบบผลิตภัณฑ์ ทักษะการทำงานเป็นทีมผ่านการทำงานกลุ่ม และทักษะการสื่อสารผ่านการนำเสนอผลงานต่อหน้าชั้นเรียน
  • หลักสูตรฐานสมรรถนะเป็นตัวช่วยสำคัญให้การจัดกิจกรรมในรูปแบบดังกล่าวประสบผลสำเร็จ ด้วยเป้าหมายการเรียนรู้ในรูปแบบช่วงชั้นและโครงสร้างเวลาเรียนที่มีความยืดหยุ่น ครู 3 คน จาก 3 ระดับชั้น จึงสามารถแบ่งหน้าที่และสอนบูรณาการร่วมกันได้

โรงเรียนนำร่องพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา
130 แห่งจาก 20 จังหวัด ทดลองใช้แล้ว

แม้การพัฒนาหลักสูตรระดับชาติจะยังไม่ประสบผลสำเร็จ หลักสูตรฐานสมรรถนะที่มีสมรรถนะ 6 ด้าน ก็ได้มีการนำไปทดลองใช้จริงใน ‘“พื้นที่นวัตกรรมการศึกษา”’ ซึ่งถูกจัดตั้งขึ้นใน พ.ศ. 2562 ภายใต้ พ.ร.บ. พื้นที่นวัตกรรมการศึกษา พ.ศ. 2562

✅ โรงเรียนมีอิสระในการเลือกใช้หลักสูตร
  • พ.ร.บ. พื้นที่นวัตกรรมการศึกษา ให้อิสระโรงเรียนนำร่องในการเลือกใช้หลักสูตร
  • ปลดล็อคให้โรงเรียนสามารถปรับหลักสูตรแกนกลางฯ หรือใช้หลักสูตรอื่น เช่น หลักสูตรฐานสมรรถนะ หรือ หลักสูตรจากต่างประเทศ
  • กนน. มีมติเห็นชอบให้โรงเรียนสามารถนำแนวคิดจาก (ร่าง) หลักสูตรฐานสมรรถนะ ไปใช้พัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาได้
✅ ระบบพัฒนาอื่นๆ ช่วยให้ทดลองใช้ได้จริง
  • โรงเรียนสามารถเลือกสื่อ/หนังสือเรียนที่สอดคล้องกับหลักสูตรของตนเอง โดยไม่ต้องยึดรายการของ สพฐ.
  • มีแนวทางการ เทียบโอนผลการเรียน เพื่อรักษาสิทธิของนักเรียนที่เรียนในหลักสูตรฐานสมรรถนะ
  • มีการพัฒนา ระบบประกันคุณภาพรูปแบบใหม่ สำหรับพื้นที่นวัตกรรมฯ ที่เน้น “ผลลัพธ์เชิงสมรรถนะ” เป็นหลัก
✅ โรงเรียนได้รับการสนับสนุนจากกลไกในพื้นที่
  • ได้รับความช่วยเหลือจากทั้งหน่วยงานในพื้นที่และผู้เชี่ยวชาญภายนอก เช่น อาจารย์จากมหาวิทยาลัย ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม
  • สนับสนุนครูตั้งแต่การออกแบบกิจกรรม การใช้สื่อการสอน การวัดและประเมินผล การจัดการเรียนรู้แบบยืดหยุ่น ทำให้ครูเข้าใจแนวคิดสมรรถนะ และมั่นใจในการนำไปใช้จริงมากขึ้น

      แผนกำหนดใช้หลักสูตรฐานสมรรถนะ ที่ไม่เป็นไปตามแผน

      ตั้งแต่ พ.ศ. 2560 ได้มีความพยายามปรับหลักสูตรแกนกลางฯ ให้เป็นหลักสูตรฐานสมรรถนะหลายครั้ง
      โดยคณะกรรมการอิสระเพื่อการปฏิรูปการศึกษา (กอปศ.) เสนอแนะให้นำแนวคิดการศึกษาฐานสมรรถนะมาใช้กับการพัฒนาหลักสูตรระดับชาติ พร้อมกำหนดกรอบสมรรถนะ 10 ด้านใน พ.ศ. 2562 ต่อมาสำนักวิชาการ และมาตรฐานการศึกษา (สวก.สพฐ.) ได้เผยแพร่กรอบหลักสูตรสมรรถนะ โดยมีสมรรถนะ 5 ด้าน ในช่วง พ.ศ.2563 แต่ถูกยกเลิกแผนการทดลองใช้

      จนกระทั่งได้ขยายเป็นสมรรถนะ 6 ด้านใน พ.ศ. 2564 แต่ทั้งหมดนี้ยังไม่มีหลักสูตรใดที่ถูกนำมาใช้แทนหลักสูตรแกนกลางฯ

      2565

      ใช้ในโรงเรียนประถมศึกษา และโรงเรียนที่มีความพร้อม

      2566

      โรงเรียนประถมทุกโรงเรียน เริ่มใช้ในระดับมัธยมศึกษา และโรงเรียนที่มีความพร้อม

      2567

      ใช้ในทุกโรงเรียน

      หน่วยงานของรัฐที่รับผิดชอบด้านหลักสูตร (สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สพฐ.)

      • ติดตาม และประเมินผลการทดลองใช้หลักสูตรฐานสมรรถนะ และนำข้อมูลดังกล่าวมาตัดสินใจว่าจะปรับหลักสูตรแกนกลางฯ อย่างไร
      • สื่อสารกับสาธารณะอย่างตรงไปตรงมา ถึงความคืบหน้าของการพัฒนาหลักสูตร
      • สื่อสารสร้างความเข้าใจกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และสังคมเกี่ยวกับหลักการของการศึกษาฐานสมรรถนะ

      ผู้ปกครอง / สังคม

      • ติดตามสถานการณ์การพัฒนาหลักสูตรจากกระทรวงศึกษาธิการอย่างใกล้ชิด
      • มีส่วนร่วม / ให้บุตรหลานมีส่วนร่วม ให้ความเห็นต่อร่างหลักสูตรเมื่อมีการเปิดรับฟังความเห็น
      • ส่งเสียงปกป้องสิทธิเมื่อการพัฒนาหลักสูตรไม่มีความคืบหน้า พัฒนาไปผิดทิศทาง หรือถูกล้มเลิก

      ข้อมูลเชิงลึก จากหลักสูตร CBE