ปรับโครงสร้างอุตฯน้ำตาล หาจุดสมดุลระหว่างชาวไร่กับโรงงาน: วิโรจน์ ณ ระนอง

ท่ามกลางความสับสนหลังจากที่รัฐบาลตัดสินใจใช้ มาตรา 44 ปล่อยลอยตัวราคาน้ำตาลภายในประเทศ ไม่ว่าจะเป็นฝั่งชาวไร่อ้อย-โรงงานน้ำตาล ตลอดจนถึง ผู้บริโภค จะได้รับผลกระทบจากความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างไร “ประชาชาติธุรกิจ” สัมภาษณ์ ดร.วิโรจน์ ณ ระนอง ผู้อำนวยการวิจัยด้านเศรษฐศาสตร์สาธารณสุขและการเกษตร สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) Q : ใช้ ม.44 ลอยตัวน้ำตาล ถ้าดูประกาศ จะบอกว่าใช้อำนาจตาม มาตรา 44 ไป “ยกเว้น” การบังคับใช้ มาตรา 17(18) ของ พ.ร.บ.อ้อยและน้ำตาลทราย ซึ่งหลัก ๆ คือกระบวนการกำหนดราคาน้ำตาลทรายที่ใช้บริโภคภายในประเทศ ม.44 ไปยกเลิกตรงนั้น ไปหยุดกระบวนการที่เคยใช้อยู่ แต่ม.44 ไม่ได้บอกชัดเจนว่าจะใช้อะไรต่อไป เท่าที่ผมอ่านประกาศอีก 5 ฉบับที่ออกตามมาในราชกิจจาฯ ก็พบความชัดเจนเพียงแค่ 2 เรื่องคือ 1) หลังลอยตัวราคาแล้วให้โรงงานน้ำตาลสต๊อกน้ำตาลทรายเอาไว้ในปริมาณเท่ากับการบริโภคภายในประเทศ 1 เดือน กับ 2)ให้โรงงานส่งเงินเข้ากองทุนอ้อยและน้ำตาลเท่ากับส่วนต่างของราคาขายส่งหน้าโรงงานกับราคาตลาดโลก ส่วนกฎเกณฑ์อื่น ๆ จะออกประกาศตามมา […]

วิโรจน์ ณ ระนอง : ‘ยางพารา’ กับ ข้อมูลและข้อเท็จจริงที่สำคัญบางประการ

“เมื่อยางราคาตก เรื่องนี้กลายเป็นแพะ และกลายเป็นข้อเรียกร้องลม ๆ แล้ง ๆ (เพราะถ้ามีความรู้ด้านเศรษฐกิจ ยาง และ เศรษฐศาสตร์ ก็จะรู้ว่ายังไงก็ทำไม่ได้ในระยะเวลาอันสั้น และถึงทำได้ก็ไม่สามารถแก้ ปัญหาราคา) ในทุกครั้งไป (และเรียกร้องแบบเดียวกันในแทบทุกพืชที่ราคาตกหรือราคาไม่เป็นที่พอใจด้วย)” บทความเรื่อง ข้อมูล/ข้อเท็จจริงที่สำคัญบางประการประกอบการอภิปราย เรื่อง การแก้ปัญหายางพาราโดยเพิ่มการแปรรูปและใช้ยางในประเทศ เขียนโดย ดร.วิโรจน์ ณ ระนอง ผู้อำนวยการวิจัย ด้านเศรษฐศาสตร์สาธารณสุขและการเกษตร ทีดีอาร์ไอ ดร.วิโรจน์ ระบุว่า เมื่อซักสิบปีที่แล้ว ยางพาราเป็นพืชที่ปลูกกันในแค่ 3 ประเทศ สำหรับใช้ทั้งโลก และส่วนใหญ่่ใช้ผลิตล้อยาง ซึ่งองค์ประกอบหลักของล้อยางส่วนใหญ่คือยางสังเคราะห์ (ล้อรถใช้ยางพาราแค่ประมาณ 25-35%) ผลิตสำหรับใช้ในประเทศนั้น ๆ (ยางติดรถ+ยางอะไหล่) บริษัทใหญ่ทุกรายอย่างมิชลิน บริดจสโตน เลือกที่จะไปตั้งโรงงานในแต่ละประเทศ แล้วนำเข้ายางสังเคราะห์และยางพารามาผลิต จะมีส่งออกบ้างก็ไปประเทศเพื่อนบ้านใกล้ ๆ  ซึ่งคงเป็นเพราะการรวมศูนย์ผลิตในประเทศที่เป็นแหล่งยางพาราหรือแหล่งยางสังเคราะห์ แล้วนำเข้าวัตถุดิบยางอีกประเภทมาผลิต แล้วขนส่งล้อยาง (ซึ่งมีปริมาตรส่วนที่กลวงในสัดส่วนที่สูง) ส่งออกไปทั่วโลกนั้น เป็นวิธีที่ไม่คุ้มทาง เศรษฐกิจ นักวิจัย ทีดีอาร์ไอ กล่าวต่อว่า  ผลิตภัณท์ที่ใช้ยางธรรมชาติเกือบล้วนๆ […]

“ดร.วิโรจน์ ณ ระนอง” นักวิจัยทีดีอาร์ไอ คว้ารางวัลนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ

เมื่อวันที่ 18 ม.ค. 59 สภาวิจัยแห่งชาติได้จัดงานแถลงข่าวรางวัลสภาวิจัยแห่งชาติประจำปี 2558 โดยคณะกรรมการบริหารสภาวิจัยแห่งชาติได้มีมติให้ประกาศเกียรติคุณนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติสาขาต่าง ๆ จำนวน 10 ท่าน โดยมี ดร.วิโรจน์ ณ ระนอง ผู้อำนวยการวิจัยด้านเศรษฐศาสตร์สาธารณสุขและการเกษตร สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) ได้รับรางวัลนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ สาขาเศรษฐศาสตร์ประจำปี 2558 รางวัลนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ เป็นรางวัลเชิดชูเกียรตินักวิจัยของประเทศ ซึ่งสภาวิจัยแห่งชาติเริ่มขึ้นในปี พ.ศ. 2528 โดยมอบให้แก่นักวิจัยซึ่งได้อุทิศตนให้กับการวิจัยอย่างต่อเนื่อง มีผลงานวิจัยดีเด่นที่แสดงถึงความคิดริเริ่มและเป็นผลงานวิจัยที่ทำสะสมกันมาเป็นเวลาตั้งแต่ 5 ปีขึ้นไป ทั้งเป็นผู้ที่มีจริยธรรมของนักวิจัยจนเป็นที่ยอมรับและยกย่องในวงวิชาการนั้นๆ สมควรเป็นแบบอย่างแก่นักวิจัยผู้อื่นได้ ในอันที่จะทุ่มเทกำลังใจ และสติปัญญาในการสร้างสรรค์ผลงานที่มีคุณประโยชน์แก่ประเทศชาติ ที่ผ่านมา สภาวิจัยแห่งชาติได้พิจารณาและมอบรางวัลนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติมาแล้วรวม 31 ปี สำหรับสาขาเศรษฐศาสตร์มีผู้ได้รับรางวัลมาแล้วจำนวน 11 คน ในระหว่างปี 2528-2554 ล่าสุดคนที่ 12 คือ ดร.วิโรจน์ ณ ระนอง จากสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) ซึ่งเป็นนักวิจัยทีดีอาร์ไอคนที่สามที่ได้รางวัลนี้ ถัดจาก ศ.ดร.อัมมาร สยามวาลา […]

โอกาสผลักดันราคายาง กับทางรอดชาวสวนยางพาราไทย กับ วิโรจน์ ณ ระนอง

ช่วงคิดเพื่ออนาคตโรดแมปประเทศไทย พูดคุยกับ ดร. วิโรจน์ ณ ระนอง ผู้อำนวยการวิจัยด้านเศรษฐศาสตร์สาธารณสุขและการเกษตรในหัวข้อโอกาสผลักดันราคายาง กับทางรอดชาวสวนยางพาราไทย

การควบคุมค่ารักษาพยาบาลของโรงพยาบาลเอกชน กับ วิโรจน์ ณ ระนอง

พูดคุยกับ ดร.วิโรจน์ ณ ระนอง ผู้อำนวยการวิจัยด้านเศรษฐศาสตร์สาธารณสุขและเกษตร สถาบันทีดีอาร์ไอ เกี่ยวกับ การควบคุมค่ารักษาพยาบาลของโรงพยาบาลเอกชน แก้ปัญหาโรงพยาบาลเอกชนราคาสูงเกินจริง

นโยบาย zoning ภาคการเกษตร กับ วิโรจน์ ณ ระนอง

รายการเวทีความคิด โดยวิสุทธิ์ คมวัชรพงศ์ ช่วง 965 เดินหน้าปฏิรูป ค่ำคืนนี้ (3พ.ย.) เราจะมาวิเคราะห์ปัญหาภาคเกษตรไทย โดยเฉพาะ นโยบาย zoning ภาคการเกษตร กับ ดร.วิโรจน์ ณ ระนอง ผู้อำนวยการวิจัยด้านเศรษฐศาสตร์สาธารณสุขและการเกษตร สถาบันทีดีอาร์ไอ

Big Dose: การจัดโซนนิ่งพื้นที่เกษตร แก้ปัญหาราคาพืชผลจริงหรือ กับ วิโรจน์ ณ ระนอง

ดร.วิโรจน์ ณ ระนอง ผู้อำนวยการวิจัย ด้านเศรษฐศาสตร์สาธารณสุขและการเกษตร จากสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) ร่วมวิพากษ์นโยบายเศรษฐกิจผ่านมุมมองทางวิชาการ ตั้งแต่นโยบายแจกเงินชาวนา จีเอ็มโอ ราคายาง รวมทั้งประเด็นการจัดโซนนิ่งพื้นที่เกษตรเพื่อแก้ปัญหาราคาพืชผลตกต่ำนั้นเป็นไปได้จริงหรือไม่ในทางปฏิบัติ ออกอากาศในรายการ Big Dose ทาง Voice TV เมื่อวันที่ 28 ตุลาคม 2557

เถียงให้รู้เรื่อง: แจกเงินชาวนากระตุ้นเศรษฐกิจได้จริงหรือ กับ วิโรจน์ ณ ระนอง

รายการเถียงให้รู้เรื่อง ThaiPBS ออกอากาศวันที่ 8 ตุลาคม 2557 คู่ดีเบต : ระวี รุ่งเรือง นายกสมาคมเครือข่ายชาวนาไทย อุบลศักดิ์ บัวหลวงงาม ประธานคณะกรรมการกลางกลุ่มเกษตรกรแห่งประเ­ทศไทย นักวิชาการร่วมให้ความเห็น : ดร.วิโรจน์ ณ ระนอง ผอ.วิจัยด้านเศรษฐศาสตร์สาธารณสุขและการเก­ษตร ทีดีอาร์ไอ เดชรัต สุขกำเนิด อาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ ม.เกษตรศาสตร์

1 2 3 14