สถานการณ์คอร์รัปชันในประเทศไทย – ดร.เดือนเด่น นิคมบริรักษ์

แม้รัฐบาลปัจจุบันจะประกาศเดินหน้าปราบปรามคอร์รัปชันอย่างจริงจัง แต่ยังมี 2 เรื่องสำคัญที่รัฐบาลยังไม่ได้ปรับปรุงให้เกิดความเปลี่ยนแปลง คือ การเปิดเผยข้อมูล และการมีส่วนร่วมของประชาชน ทั้งในกระบวนการออกนโยบายและการออกกฎหมาย แต่การปราบปรามคอร์รัปชันในโมเดลใหม่ เราไม่อาจคาดหวังการเปลี่ยนแปลงจากภาครัฐอย่างเดียวได้อีกต่อไป ต่อจากนี้จะเป็นภาคประชาชนและการเคลื่อนไหวแบบเครือข่าย จะเป็นแรงผลักดันให้เกิดความเปลี่ยนแปลง ติดตามเพิ่มเติม จาก ดร.เดือนเด่น นิคมบริรักษ์ ที่จะมาตอบโจทย์สำคัญว่า “ในอนาคตเราจะคาดหวังอะไรจากรัฐบาลใหม่ บนโจทย์คอร์รัปชันแบบเก่า” VTR เปิดในเวทีเสวนา “รัฐบาลใหม่! คอร์รัปชันเก่า?” โดย องค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน เมื่อ 6 กันยายน 2560

ผ่านมา 17 ปี ทำไมข้อเสนอต้านคอร์รัปชันยังทันสมัยอยู่: ดร.เดือนเด่น นิคมบริรักษ์

อาจารย์เริ่มต้นศึกษาคอร์รัปชันในประเทศไทยจากตรงไหน ชิ้นแรกเริ่มต้นจากงานวิจัยเรื่อง ยุทธศาสตร์การต่อต้านคอร์รัปชันในประเทศไทย พ.ศ. 2543 ที่วิเคราะห์ถึงปัญหาคอร์รัปชันในมุมมองด้านเศรษฐศาสตร์ ตอนนั้น เราใช้เฟรมเวิร์คของ Rose-Ackerman เขามองว่าเหตุของการคอร์รัปชันมีอยู่ 2 อย่างเท่านั้น คือ รัฐมีเงิน และ รัฐมีอำนาจ คอร์รัปชันจึงมาจากเงินและอำนาจ เงิน หมายถึงการจัดสรรผลประโยชน์ เช่น การให้สัมปทาน การจัดสรรงบประมาณ การจัดซื้อจัดจ้าง ส่วนอำนาจ รัฐ มีอำนาจรัฐ อำนาจมหาชน การคอร์รัปชันจึงมาจากการบังคับใช้หรือไม่บังคับใช้กฎหมาย ในทางให้คุณให้โทษกับใครคนใดคนหนึ่ง เช่น ไม่บังคับใช้กม.สิ่งแวดล้อมทำให้คนทิ้งน้ำเสียก็เป็นคอร์รัปชันแบบหนึ่ง งานวิจัยชิ้นนั้น จึงชูประเด็นเรื่องการจัดซื้อจัดจ้างและการเลือกบังคับไม่บังคับใช้กฎหมาย ผลการศึกษาครั้งนั้น จริงๆ มีหลายข้อ แต่ข้อเสนอที่น่าสนใจ 2 ประการที่ยังทันสมัยอยู่มากๆ คือ 1. การจัดการคอร์รัปชัน ควรเป็นแบบล่างขึ้นบน คือให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วม 2. ใช้กลไกตลาดแทนดุลยพินิจ เพื่อป้องกันการจัดสรรทรัพยากรที่เอื้อประโยชน์ ผ่านมากว่า 17 ปีแล้ว ทำไมข้อเสนอถึงยังทันสมัยอยู่ พูดถึงในปัจจุบัน ข้อเสนอตอนนี้ ในเรื่องล่างสู่บน ยังเป็นหัวใจสำคัญอยู่ […]

การปรับปรุงกฎ ระเบียบการค้าและการลงทุนเพื่อรองรับการเป็นชาติการค้า กับ เดือนเด่น นิคมบริรักษ์

ช่วงคิดเพื่ออนาคต โรดแมพประเทศไทย ดร.เดือนเด่น นิคมบริรักษ์ มาเล่าถึงการปรับปรุงกฎ ระเบียบการค้าและการลงทุนเพื่อรองรับการเป็นชาติการค้า เพื่อให้ผู้ฟังรับรู้ถึงขีดความสามารถของไทย และข้อจำกัดที่มีอยู่

วิเคราะห์สภาพเศรษฐกิจ และการค้าโลก กับแนวทางการปรับตัว กับ เดือนเด่น นิคมบริรักษ์

จากรายงานภาวะเศรษฐกิจโลกในรอบครึ่งปีและการปรับผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (จีดีพี) ของไทยเพิ่มขึ้นเป็น 2.5% จากเดิมที่คาดไว้ที่ 2% (ทำไมเราจึงถูกประเมินปรับขึ้นประเทศเดียวในแถบเอเชียตะวันออก และแปซิฟิก แต่ขณะเดียวกันธนาคารโลกได้ปรับลดจีดีพีของโลกในปีนี้ลงเหลือ 2.4% จากเดิม 2.9% ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่าเศรษฐกิจโลกยังทรงกับทรุด) ฟัง ดร.เดือนเด่น นิคมบริรักษ์ วิเคราะห์สภาพเศรษฐกิจและการค้าโลก กับแนวทางการปรับตัว

ข้อเสนอและการประเมินผลกระทบจากการไม่เป็นสมาชิก TPP (trans pacific partnership) ของไทย กับ เดือนเด่น นิคมบริรักษ์

รายการเวทีความคิด โดย วิสุทธิ์ คมวัชรพงศ์ เนื้อหาสรุป: มีประเด็นย่อยๆดังนี้ 1. รายละเอียด ความครอบคลุมของข้อตกลง TPP ครอบคลุมในเรื่องใดบ้าง และแตกต่างจาก FTA อื่นๆ ที่ไทยเคยทำไว้ก่อนหน้าอยู่แล้วอย่างไร 2. เมื่อการเจรจา TPP ของประเทศสมาชิกสำเร็จ จะเกิดผลกระทบอะไรกับประเทศไทย เราจะเสียเปรียบ ได้เปรียบเรื่องใดบ้าง 3. ข้อเสนอทางเลือก ทางรอด หากการเจรจา TPP ของประเทศสมาชิกสำเร็จ ซึ่งไทยไม่ได้เป็นสมาชิก TPP

เราควรกำกับค่ารักษาพยาบาลและค่ายาหรือไม่ กับ เดือนเด่น นิคมบริรักษ์

ช่วงคิดเพื่ออนาคตโรดแมปประเทศไทย พูดคุยกับ ดร.เดือนเด่น นิคมบริรักษ์ ผู้อำนวยการวิจัยด้านการบริหารจัดการระบบเศรษฐกิจ สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย ประเด็นเราควรกำกับค่ารักษาพยาบาลและค่ายาหรือไม่

Big Dose: ความล่าช้าคือความเสียหายของประเทศ กับ เดือนเด่น นิคมบริรักษ์

รายการ BigDose ช่อง Voice TV ออกอากาศเมื่อวันที่ 20 เมษายน 2558 เมื่อการประมูล 4G ที่ล่าช้าเท่ากับทำให้ประโยชน์เสียโอกาสในการแข่งขันทางการค้า แล้วทำไมไม่ว่ารัฐบาลไหน ก็ไม่สามารถทำให้สิ่งนี้เกิดขึ้นได้สักที พบคำตอบกับ ดร.เดือนเด่น นิคมบริรักษ์ ผู้อำนวยการวิจัยด้านการบริหารจัดการระบบเศรษฐกิจ TDRI

“เดือนเด่น นิคมบริรักษ์” วิพากษ์จุดอ่อน ป.ป.ช. – สตง. กับจุดตายใช้อำนาจพิเศษปราบคอร์รัปชั่น “ถ้าจะแค่ล้างบาง..ก็แก้ปัญหาไม่ได้”

“ทุจริตคอร์รัปชัน” เป็นปัญหาที่ฝังรากลึกในสังคมไทย จนแม้จะมีการตั้งองค์กรพิเศษมาเพื่อขจัดปัญหานี้โดยเฉพาะตั้งแต่ปี 2540 แต่สถานการณ์ก็ไม่เคยดีขึ้น กระทั่งเมื่อคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เข้ามา ในวันที่ 22 พฤษภาคม 2557 ก็ตั้งไว้เป็น 1 ใน 11 หัวข้อ ที่ต้องมีการปฏิรูปอย่างเร่งด่วน “ดร.เดือนเด่น นิคมบริรักษ์” ผู้อำนวยการวิจัยด้านการบริหารจัดการระบบเศรษฐกิจ สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย หรือทีดีอาร์ไอก็เป็นหนึ่งในผู้ที่สนใจการแก้ไขปัญหาคอร์รัปชัน และนำเสนองานวิจัยเพื่อชี้ทางออกในเรื่องนี้มาตลอด เช่น งานวิจัยหัวข้อ “การเข้าถึงข้อมูลข่าวสารของรัฐ และการต่อต้านคอร์รัปชันในประเทศไทย” ที่ชี้จุดอ่อนของ พ.ร.บ.ข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540 และต้นเดือนมีนาคม ปี 2558 ก็เพิ่งเผยแพร่งานวิจัย หัวข้อ “การปรับปรุงโครงสร้างองค์กรอิสระเพื่อต่อต้านการคอร์รัปชัน” ที่ชี้อุปสรรคการทำงานขององค์กรอิสระ 3 แห่ง ได้แก่ คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) และผู้ตรวจการแผ่นดิน ท่ามกลางภาวะที่คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญเตรียมเขียนกติกาประเทศ โดยตั้งองค์กรตรวจสอบการทุจริตคอร์รัปชันขึ้นใหม่อีกหลายองค์กร ส่วนสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) และสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ก็เตรียมออกกฎหมายไล่จับคนโกง ขณะที่หัวหน้า […]

บทบาทขององค์กรอิสระในการต่อต้านคอร์รัปชั่นช่วง 17 ปีที่ผ่านมา กับ เดือนเด่น นิคมบริรักษ์

รายการเวทีความคิด โดย วิสุทธิ์ คมวัชรพงศ์ ช่วง 965 เดินหน้าปฏิรูป พูดคุยกับ ดร. เดือนเด่น นิคมบริรักษ์ ผู้อำนวยการวิจัย ด้านการบริหารจัดการระบบเศรษฐกิจ สถาบันทีดีอาร์ไอ ถึงบทบาทขององค์กรอิสระในการต่อต้านคอร์รัปชั่นช่วง 17 ปีที่ผ่านมา ว่าเป็นอย่างไรบ้าง เปิดใจรับฟังได้

ความท้าทายของเศรษฐกิจไทยในปี 2558 กับ เดือนเด่น นิคมบริรักษ์

รายการ FM96.5 MHz คลื่นความคิด คุยกับ ดร.เดือนเด่น นิคมบริรักษ์ นักวิชาการ TDRI คาด ศก.ไทยปีนี้อาจฟื้นตัวได้ยาก ระบุเครื่องยนต์หลัก ทั้งการส่งออกและการบริโภคในประเทศยังไม่มีวี่แววจะดีขึ้น ขณะที่ รบ.ไม่กล้าออกมาตรการกระตุ้น ศก.มากนัก เพราะกังวลปัญหาหนี้สาธารณะท่วม “เวิลด์แบงก์” คาดการณ์ “จีดีพี” ของไทยปีนี้เติบโตได้ 3.5% เชื่อ ศก.โลกดีขึ้น แต่มีความเสี่ยงจากแนวโน้ม ศก.แต่ละประเทศที่แตกต่าง ส่งผลให้การดำเนินนโยบายการเงินแตกต่างกันมาก ส่งผลให้ตลาดเงินโลกยังมีความผันผวน และอาจเกิดภาวะเงินฝืด พร้อมประเมินราคาน้ำมันยังต่ำลงต่อเนื่อง

1 2 3 22