เศรษฐศาสตร์ทองคำ คุ้ม-ไม่คุ้ม ในทัศนะ รศ.ดร.อดิศร์ อิศรางกูร ณ อยุธยา

เราอาจมีแร่ที่ควรขุดขึ้นมาเพื่อพัฒนาเป็นรายได้มูลค่าเพิ่มตามที่ BOI ส่งเสริม แต่ความไม่เข้าท่าในเรื่องการกำกับดูเเลในเชิงสิ่งแวดล้อมนั้น ทำให้เราไม่สามารถพัฒนาเหมืองเหล่านั้นได้ “การตอบคำถามที่ว่าเมืองทองคำจะคุ้มหรือไม่นั้น ไม่ใช่เรื่องง่าย ขณะที่การตอบธุรกิจประเภทอื่นที่ไม่เกี่ยวข้องกับสุขภาพ สิ่งแวดล้อมจะง่ายกว่า” รศ.ดร.อดิศร์ อิศรางกูร ณ อยุธยา นักวิชาการด้านการวิจัยทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) กล่าวก่อนจะอธิบายให้ฟังต่อไปว่า เหมืองทองหรือการทำเหมือง ซึ่งแน่นอนว่ามีเรื่องของชีวิต ทรัพย์สิน สิ่งแวดล้อม ความซับซ้อนของปัจจัยอีกมากมายที่จะเข้ามาเป็นตัวแปรสำคัญให้คำตอบว่ามันจะคุ้มหรือไม่ เราไม่ควรมองว่าถ้าโครงการนี้คุ้มค่าจากการจ่ายค่าภาคหลวงไปแล้ว หรือว่ารัฐได้ค่าภาคหลวงเยอะ แล้วไม่สนใจเลยว่ามีคนเสียชีวิตจากผลกระทบของกิจการ วิธีคิดแบบนั้นเอามาใช้ไม่ได้ เพราะสังคมที่พัฒนาแล้ว อย่างที่คนไทยเราพยายามบอกว่าเราศิวิไลซ์นั้น ก็ควรจะดูเเลสุขภาพและฐานะความเป็นอยู่ของประชาชนโดยรอบ โดยไม่พยายามเอาชีวิตคนไปแลกกับตัวเงิน แต่การตีค่าชีวิตคน ตีค่าสิ่งแวดล้อม ที่ผ่านมาเราพบว่ามีการใช้ตรรกะลักษณะแบบนี้อยู่บ้างในบางกรณี และส่วนมากมักเป็นเหตุแห่งความสุดวิสัย ก็ต้องจ่ายค่าชดเชยกันไป เพราะฉะนั้นเราควรย้อนกลับไปดูว่าความเสียหายมีค่าเท่าไร แต่การจะมองไปข้างหน้าเพื่อขับเคลื่อนประเทศ เราไม่ควรเอาผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจมาแลกกับคุณภาพชีวิตของคน เวลาดูว่าเหมืองคุ้มไม่คุ้มดูยังไง  รศ.ดร.อดิศร์ อธิบายว่า ถ้าเราจะขุดทองขึ้นมาจะดูว่าคุ้มหรือไม่ เราต้องเอาวิธีการแรก เราต้องเอาต้นทุนด้านผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม ปัญหาด้านสุขภาพ เอามาคิดหักลบเป็นต้นทุนอย่างหนึ่งด้วย ซึ่งสิ่งนี้คือพื้นฐานสำคัญ แต่แค่พื้นฐานบ้านเรายังไม่ทำเลย  ต่อมา การขุดแร่ขึ้นมานั้น วิธีคิดเขาจะเอาแร่ไว้ด้านซ้าย กองหนึ่ง และด้านขวาคือเงินสด แล้วเขาจะถามคำถามว่า ถ้าเเร่อยู่ในดิน มันจะโตอัตราเท่าไร แล้วสมมติว่ามันโตช้าราคามันขึ้นช้า […]

ความจำเป็นที่ประเทศไทยต้องมีพลังงานทดแทน/โรงไฟฟ้าถ่านหิน เพื่อผลิตไฟฟ้า จำเป็นมากขนาดไหน กับ อดิศร์ อิศรางกูร ณ อยุธยา

คิดเพื่ออนาคตโรดแมปประเทศไทย พูดคุยกับ ดร.อดิศร์ อิศรางกูร ณ อยุธยา ที่ปรึกษาฝ่ายการวิจัยทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สถาบันทีดีอาร์ไอ กับประเด็นความจำเป็นที่ประเทศไทยต้องมีพลังงานทดแทน/โรงไฟฟ้าถ่านหิน เพื่อผลิตไฟฟ้า จำเป็นมากขนาดไหน

การสัมมนาเพื่อรับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะต่อร่างรายงานสถานการณ์คุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2559

เทปบันทึกงานสัมมนา ช่วงที่ 1 -กล่าวเปิดการประชุมสัมมนา โดย ดร.รวีวรรณ ภูริเดช เลขาธิการสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม -นำเสนอ “ร่างรายงานสถานการณ์คุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2559” และ “ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างบูรณาการ” โดย รศ.ดร.อดิศร์ อิศรางกูร ณ อยุธยา สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย ช่วงที่ 2 -แสดงข้อคิดเห็นต่อ “ร่างรายงานสถานการณ์คุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2559” โดย ศ.ดร.มิ่งสรรพ์ ขาวสอาด   มูลนิธิสถาบันศึกษานโยบายสาธารณะ นายประลอง  ดำรงค์ไทย          กรมป่าไม้ นายสุวรรณ   นันทศรุต             รองอธิบดี กรมควบคุมมลพิษ และ รศ.ดร.อดิศร์ อิศรางกูร ณ อยุธยา ดำเนินรายการ -รับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะต่อร่างรายงานสถานการณ์คุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2559

1 2 3 7