การสัมมนาเพื่อรับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะต่อร่างรายงานสถานการณ์คุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2559

เทปบันทึกงานสัมมนา ช่วงที่ 1 -กล่าวเปิดการประชุมสัมมนา โดย ดร.รวีวรรณ ภูริเดช เลขาธิการสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม -นำเสนอ “ร่างรายงานสถานการณ์คุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2559” และ “ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างบูรณาการ” โดย รศ.ดร.อดิศร์ อิศรางกูร ณ อยุธยา สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย ช่วงที่ 2 -แสดงข้อคิดเห็นต่อ “ร่างรายงานสถานการณ์คุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2559” โดย ศ.ดร.มิ่งสรรพ์ ขาวสอาด   มูลนิธิสถาบันศึกษานโยบายสาธารณะ นายประลอง  ดำรงค์ไทย          กรมป่าไม้ นายสุวรรณ   นันทศรุต             รองอธิบดี กรมควบคุมมลพิษ และ รศ.ดร.อดิศร์ อิศรางกูร ณ อยุธยา ดำเนินรายการ -รับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะต่อร่างรายงานสถานการณ์คุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2559

การสัมมนาระดับประเทศเพื่อรับฟังความคิดเห็นต่อ (ร่าง) แผนจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2560 – 2564

เทปบันทึกงานสัมมนา ช่วงที่ 1 -กล่าวรายงานสัมมนา โดย ดร.รวีวรรณ ภูริเดช เลขาธิการสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม -กล่าวเปิดการสัมมนา โดย ดร.เกษมสันต์ จิณณวาโส ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม -บรรยายพิเศษ “ความพร้อมของไทยในการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงภายในและภายนอกประเทศ” โดย ดร.รวีวรรณ ภูริเดช -นำเสนอ (ร่าง) แผนจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ. ๒๕๖๐ – ๒๕๖๔ โดย รศ.ดร.อดิศร์ อิศรางกูร ณ อยุธยา สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย ช่วงที่ 2 อภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเรื่อง “เศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อมจะ SYNERGY สร้างความยั่งยืนแก่สังคมได้อย่างไร?” โดย -ศาสตราจารย์ ดร.มิ่งสรรพ์ ขาวสอาด ประธานมูลนิธิสถาบันศึกษานโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ -ดร.บัณฑูร เศรษฐศิโรตม์ ผู้อำนวยการสถาบันธรรมรัฐเพื่อการพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม -นายชลธร ดำรงศักดิ์ ผู้อำนวยการศูนย์พัฒนาความเป็นเลิศและความยั่งยืน เอสซีจี และดำเนินการอภิปรายโดย รศ.ดร.อดิศร์ อิศรางกูร ณ อยุธยา เอกสารประกอบงานสัมมนา -ร่างแผนจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ. ๒๕๖๐ – ๒๕๖๔ โดย รศ.ดร.อดิศร์ อิศรางกูร ณ อยุธยา   -ความสำเร็จของการผสานพลังระหว่างเศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อมโดย ศาสตราจารย์ ดร.มิ่งสรรพ์ ขาวสอาด  

สถานีทีดีอาร์ไอ: สถานการณ์พลังงานหมุนเวียนของประเทศไทย

พลังงานหมุนเวียนเริ่มเป็นที่ได้รับความสนใจจากสังคมเป็นจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ ประเทศไทยมีการบริหารจัดการเรื่องพลังงานหมุนเวียนอย่างไร มีความเหมาะสมแล้วหรือไม่ รวมไปถึงหน่วยงานภาครัฐมีการเตรียมพร้อมรับมือกับประเด็นนี้อย่างไร หาคำตอบร่วมกันได้ในรายการสถานีทีดีอาร์ไอในตอน “สถานการณ์พลังงานหมุนเวียนของประเทศไทย” กับ ดร. อดิศร์ อิศรางกูร ณ อยุธยา ที่ปรึกษาทีดีอาร์ไอ

แผนแม่บทการจัดการธรณีวิทยาและทรัพยากรธรณี

ที่มา : จากบทสรุปสำหรับผู้บริหารในรายงานวิจัยชื่อเดียวกัน ภายใต้โครงการจัดทำแผนแม่บทการจัดการทรัพยากรธรณี (แผนแม่บทการบริหารจัดการทรัพยากรธรณี ยกเว้นในส่วนของซากดึกดำบรรพ์) โดย ดร. อดิศร์ อิศรางกูร ณ อยุธยา หัวหน้าโครงการและผู้เชี่ยวชาญด้านเศรษฐศาสตร์สิ่งแวดล้อม ดร. เดือนเด่น นิคมบริรักษ์ ผู้เชี่ยวชาญด้านการบริหารจัดการองค์กร รศ.ดร. ปัญญา จารุศิริ ผู้เชี่ยวชาญด้านทรัพยากรธรณีและด้านระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ ศ.ดร.สุนีย์ มัลลิกะมาลย์ ผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายสิ่งแวดล้อม ดร. จักรพันธ์ สุทธิรัตน์ ผู้เชี่ยวชาญด้านธรณีวิทยา ดร. สมชาย หาญหิรัญ ที่ปรึกษาโครงการและผู้เชี่ยวชาญด้านเศรษฐศาสตร์ทรัพยากรธรณี ดร. ฉลองภพ สุสังกร์กาญจน์ ที่ปรึกษาโครงการ คุณเสาวลักษณ์ ชีวสิทธิยานนท์ นักวิจัยอาวุโส คุณปริญญารัตน์ เลี้ยงเจริญ คุณสุณีพร ทวรรณกุล คุณวินัย แสงสืบ และคุณเรวดี จรุงรัตนาพงศ์ นักวิจัย ฝ่ายการวิจัยทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย สนับสนุนการวิจัยโดย กรมทรัพยากรธรณีกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เมื่อปี 2548

การวางแผนและเตรียมความพร้อมเข้าสู่สังคมสูงวัย

เอกสารประกอบ 2. ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะในการเตรียมความพร้อมเข้าสู่สังคมสูงวัย โดย ดร.ณัฐนันท์ วิจิตรอักษร

คุยเรื่องน้ำ ในวันน้ำโลก : จัดการน้ำภาคตะวันออกอย่างไรให้ยั่งยืน

“น้ำคือชีวิต” เป็นคำอธิบายความสำคัญของน้ำได้ดีที่สุด นอกจากน้ำเป็นแหล่งกำเนิดชีวิตของสัตว์และพืชแล้ว ยังมีความสำคัญต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจในภาคต่างๆ ทั้งเกษตร อุตสาหกรรม ภาคบริการ และสาธารณูปโภค ดังนั้นสถานการณ์น้ำจึงถูกผูกโยงเข้ากับชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน และการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ พื้นที่ภาคตะวันออก เป็นพื้นที่ที่มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อเศรษฐกิจไทย เพราะเป็นที่ตั้งของโครงการเขตพัฒนาพิเศษตะวันออก หรือ EEC (Eastern Economic Corridor) แต่ทว่าในพื้นที่นี้ ประสบปัญหาเรื่องน้ำในทุกมิติ ทั้งน้ำแล้ง น้ำท่วม น้ำเสีย และยังมีอีกหนึ่งความท้าทายที่เพิ่มเข้ามาคือ สภาวะภูมิอากาศที่แปรปรวนอย่างหนัก ซึ่งหากไม่สามารถบริหารจัดการน้ำได้ ย่อมที่ส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นในการลงทุน การบริหารจัดการน้ำจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่ง แต่จะทำอย่างไรให้การบริการจัดการน้ำเกิดขึ้นภายใต้โจทย์การพัฒนาอย่างยั่งยืน ที่สามารถยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนให้ดีขึ้น ไปพร้อมกับการรักษาสมดุลของระบบนิเวศและสิ่งแวดล้อม ควบคู่ไปกับการสร้างรายได้ให้กับประเทศได้ เนื่องในวันน้ำโลก 22 มีนาคม ร่วมกันสำรวจสถานการณ์น้ำและหาคำตอบกับเวที เสวนาโต๊ะกลม ในประเด็น “การจัดการน้ำในภาคตะวันออก” ภายในงานสัมมนาวิชาการประจำปีมูลนิธิเสนาะ อูนากูล เรื่อง สถานการณ์ภาคตะวันออก 2567 :  ระบบนิเวศของภาคตะวันออก และการบริหารจัดการน้ำ ซึ่งจัดขึ้นโดยสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) หรือ EEC ร่วมกับ มูลนิธิเสนาะ อูนากูล ม.บูรพา […]

นโยบายการพัฒนาพืชเศรษฐกิจหลักภายใต้โมเดลเศรษฐกิจ BCG

ผู้เขียน: ปริญญารัตน์ เลี้ยงเจริญ (นักวิจัยอาวุโส) และอดิศร์ อิศรางกูร ณ อยุธยา (ที่ปรึกษา) ทีมวิจัยนโยบายทรัพยากรธรรมชาติและการลดก๊าซเรือนกระจก ที่มา: นโยบายเกษตรเพื่อรองรับ BCG. 2566. โดย อดิศร์ อิศรางกูร ณ อยุธยา และปริญญารัตน์ เลี้ยงเจริญ. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย.

ช่วงโควิด-19 ทะเลได้พักฟื้น สู่การท่องเที่ยวที่ยั่งยืน

ที่มา : “โครงการศึกษาการฟื้นตัวของทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งช่วงวิกฤติการณ์โควิด-19 และแนวนโยบายเพื่อการใช้ประโยชน์ด้านการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน” โดย รศ.ดร.อดิศร์ อิศรางกูร ณ อยุธยา และคณะ สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) ได้รับการสนับสนุนทุนวิจัยจากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) 

GISTDA ร่วมกับ มูลนิธิเสนาะ อูนากูล และ TDRI ถอดบทเรียน ESB ถึง EEC เปิดผลติดตามการพัฒนาพื้นที่ภาคตะวันออก ด้วย AIP Platform ชู 4 ข้อเสนอ พัฒนาพื้นที่ ศก.พิเศษ อย่างยั่งยืน

เมื่อวันที่ 11 มกราคม GISTDA ร่วมกับ มูลนิธิเสนาะ อูนากูล และ TDRI ร่วมจัดงานสัมมนาวิชาการ “การพัฒนาพื้นที่อย่างยั่งยืน ภาคตะวันออก” ผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ (Cisco Webex) และ Facebook Live เพื่อเปิดเผยรายงาน “รายงานการพัฒนาพื้นที่อย่างยั่งยืน ภาคตะวันออก ปี พ.ศ. 2564” ต่อสาธารณชน พร้อมจัดเวทีเสวนา “การพัฒนาพื้นที่อย่างยั่งยืนภาคตะวันออก” ให้ผู้เข้าร่วมงานได้ทราบถึงผลลัพธ์จากการถอดบทเรียนการพัฒนาพื้นที่ภาคตะวันออก  Eastern Seaboard Development Program (ESB) และนำมาสู่ผลการติดตามโครงการ Eastern Economic Corridor  (EEC) โดยคณะผู้วิจัยจากทั้งสามสถาบัน มีการใช้เครื่องมือ  Actionable Intelligence Policy หรือ AIP เทคโนโลยีสร้างฐานข้อมูลขนาดใหญ่ ในการติดตามความเปลี่ยนแปลง และการวิเคราะห์ข้อมูลในพื้นที่เพื่อสนับสนุนการตัดสินใจทางนโยบายได้อย่างตรงจุด ครอบคลุมทั้งด้านสิ่งแวดล้อม และคุณภาพชีวิต พร้อมเสนอให้เป็นแนวทางในการใช้ติดตามการพัฒนาพื้นที่เศรษฐกิจพิเศษอื่น ๆ อย่างยั่งยืนในอนาคต  ดร.ปกรณ์ อาภาพันธุ์ ผู้อํานวยการสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) หรือ GISTDA กล่าวเปิดงานและกล่าวถึงที่มาการจัดงานว่า งานสัมมนาวิชาการนี้ เป็นการจัดงานด้วยความร่วมมือระหว่าง GISTDA, TDRI และ มูลนิธิเสนาะ อูนากูล เพื่อเผยแพร่ผลการศึกษา การติดตามสถานะโครงการเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) และบริบทของพื้นที่ในภาคตะวันออก ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน (ปี 2564) พร้อมขับเคลื่อนแนวคิดและหลักการใช้ข้อมูล การใช้เทคโนโลยีมาแก้ปัญหาในพื้นที่ สำหรับการตัดสินใจเชิงนโยบาย อีกทั้งต้องการส่งเสริมการนําวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีไปสนับสนุนการตัดสินใจการพัฒนาพื้นที่ของผู้กําหนดนโยบายในพื้นที่ EEC และภูมิภาคอื่น ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นต่อไปในอนาคต โดย GISTDA มีบทบาทในการนําเทคโนโลยีภูมิสารสนเทศและเทคโนโลยีอื่น ๆ  สร้างฐานข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Geo-Spatial data) และพัฒนา Platform เรียกว่า Actionable Intelligence Policy หรือ AIP สำหรับการวิเคราะห์ข้อมูล โดยมีวัตถุประสงค์ให้เป็น Platformแสดงผลบน Dashboard  ที่ให้ข้อเสนอแนะ […]

พินิจเศรษฐกิจการเมือง: Earth day: กระแสลดโลกร้อน ทั่วโลกถึงไทย โอกาสและความเป็นไปได้จริง

22 เมษายน ของทุกปีคือ วันคุ้มครองโลก หรือ earth day ดร.อดิศร์ อิศรางกูร ณ อยุธยา พาไปสำรวจความเปลี่ยนแปลงระดับโลกที่หลายประเทศเริ่มส่งสัญญานชัดเจน มุ่งมั่นลดการปล่อยคาร์บอน และสำหรับประเทศไทยมีความก้าวหน้าในเรื่องสิ่งแวดล้อมแค่ไหนทั้งนโยบายรัฐและภาคธุรกิจ ติดตามในรายการ พินิจเศรษฐกิจการเมือง Earth day: กระแสลดโลกร้อน ทั่วโลกถึงไทย โอกาสและความเป็นไปได้จริง ออกอากาศ เมื่อ 19 เมษายน 2564 ทาง  @CU Radio Channel ​

Blue Economy คีย์ฟื้นเศรษฐกิจ-ท่องเที่ยวทางทะเล

ดร.อดิศร์ อิศรางกูร ณ อยุธยา          กาญจนา ย่าเสน COVID-19 ส่งผลให้นานาประเทศต้องระงับกิจกรรมต่างๆ รวมทั้งการปิดประเทศเพื่อควบคุมการระบาดของโรค การกระทำดังกล่าวส่งผลกระทบบั่นทอนเศรษฐกิจและความเป็นอยู่ของประชาชนเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะธุรกิจการท่องเที่ยวที่ปิดตัวลงในหลายพื้นที่ส่งผลต่อการจ้างงานและรายได้ของประชาชน แต่ท่ามกลางความตกต่ำของเศรษฐกิจพบว่า COVID-19 กลับสร้างแรงกระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสังคมในทิศทางที่เป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในหลายๆ ด้าน เช่น การ Work From Home หรือการประชุมออนไลน์ ช่วยให้การทำงานมีประสิทธิภาพมากขึ้นในรูปการประหยัดการเดินทางและการลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น การสั่งซื้อสินค้าออนไลน์ที่เป็นการลดต้นทุนด้านสถานที่ และการเดินทางให้กับทั้งผู้บริโภคและผู้ประกอบการ (ลด Transaction Cost) การทำธุรกรรมทางการเงิน Internet Banking หรือ e-commerce ที่ช่วยลดค่าโสหุ้ยต่างๆ เป็นการประหยัดทรัพยากรของประเทศทำให้แรงงานและปัจจัยการผลิตสามารถนำไปใช้เพื่อให้เกิดประโยชน์ทางอื่นมากขึ้น เพียงแต่ในช่วงการปรับตัวเข้าสู่สังคม New Normal จะทำให้เกิดการว่างงานขึ้นและ รัฐบาลต้องดำเนินมาตรการจุนเจือผู้ได้รับผลกระทบจากการถูกลด การว่างงาน และถ่ายโอนทรัพยากรเข้าสู่กิจการใหม่ของสังคม New Normal อีกครั้ง นอกจากการปรับเปลี่ยนการใช้ชีวิตสู่สังคม New Normal เป็นการสร้างโอกาสให้สังคมสามารถตักตวงประโยชน์จากการเป็นสังคมดิจิทัล ยังพบว่าการลดลงของกิจกรรมการท่องเที่ยวโดยเฉพาะการท่องเที่ยวทางทะเลได้ส่งผลกระทบต่อฐานทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งอย่างเห็นได้ชัด การลดลงของจำนวนนักท่องเที่ยวส่งผลทำให้ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งของประเทศไทยฟื้นตัวขึ้น ซึ่งเป็นผลมาจากการที่คุณภาพน้ำทะเลดีขึ้นและการลดลงของกิจกรรมทางทะเล ภายหลังการที่ประเทศไทยประกาศ Lockdown ประมาณ 1-2 เดือน […]

เศรษฐกิจสีน้ำเงิน

ที่มา : รายงานการวิจัยเรื่องเขตเศรษฐกิจสีน้ำเงินของประเทศไทย โดยมี รศ.ดร.อดิศร์ อิศรางกูร ณ อยุธยา เป็นหัวหน้าโครงการ นางทิพวัลย์ แก้วมีศรี นางสาวปริญญารัตน์ เลี้ยงเจริญ นางสาวกาญจนา ย่าเสน นักวิจัย ฝ่ายการวิจัยทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย การวิจัยเสนอต่อสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) เมื่อปี 2561

1 2 3 4 7