พินิจเศรษฐกิจการเมือง: “ไฟป่า” การจัดการผืนป่าเชิงนโยบาย มาถูกทางหรือไม่

การจับกุมผู้บุกรุกหรือเผาป่า มีส่วนช่วยหยุดยั้งการบุกรุกและเผาป่าได้ส่วนหนึ่งแต่ในปีต่อๆไป ก็อาจเกิดปัญหาเช่นนี้เวียนซ้ำอีก ดังนั้นการจะแก้ไขปัญหาไฟป่าในระยะยาวจึงควรตั้งต้นที่ต้นเหตุความจำเป็นที่คนต้องรุกป่า หรือเผาป่า รวมถึงการเปิดให้เกิดการมีส่วนร่วมดูแลป่าจากหลากหลายภาคส่วน ติดตามมุมมอง และข้อเสนอการดูแลผืนป่าด้วยกลไกทางการเงิน จาก ดร. อดิศร์ อิศรางกูร ณ อยุธยา ที่ปรึกษา นโยบายทรัพยากรธรรมชาติและการลดก๊าซเรือนกระจก ในรายการพินิจเศรษฐกิจการเมือง ออกอากาศทางวิทยุจุฬาฯ เมื่อ 14 เมษายน 2563

พินิจเศรษฐกิจการเมือง : แก้ปัญหา ‘สิ่งแวดล้อม’ ในอาเซียน ต้องร่วมมือ

ประเทศสมาชิกอาเซียน กำลังเผชิญปัญหาสิ่งแวดล้อมร่วมกัน จากมลพิษฝุ่น และขยะทะเล ซึ่งเป็นปัญหาสิ่งแวดล้อมที่ได้รับผลกระทบระหว่างประเทศ ส่วนหนึ่งเพราะปัญหาฐานะทางเศรษฐกิจของประชากรในภูมิภาค ที่ทำให้เกิดการเผาและกำจัดขยะอย่างไม่ถูกวิธี ปัญหาเหล่านี้เป็นเรื่องใกล้ตัวที่ส่วนหนึ่งมาจากไทยเช่นกัน เช่น ขยะทะเลที่มีส่วนหนึ่งมาจากแม่น้ำในตัวเมือง ที่มีการทิ้งขยะลงบริเวณริมคลอง เพราะขาดการจัดการขยะที่ถูกต้อง ในเวทีการประชุมอาเซียนที่ผ่านมา ผู้นำหลายประเทศได้หยิบยกประเด็นสิ่งแวดล้อมขึ้นมา เพื่อแสดงจุดยืนว่าอาเซียนจะร่วมเป็นส่วนหนึ่งของการแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมทั้งในระดับภูมิภาคและระดับโลก และร่วมแก้ปัญหาทั้งสองเรื่องดังกล่าว ติดตามเพิ่มเติมได้จาก พินิจเศรษฐกิจการเมือง โดย ดร. อดิศร์ อิศรางกูร ณ อยุธยา

ประเมินผลงาน 5 ปี รัฐบาลประยุทธ์ (1): ติดตามความคืบหน้าแก้ปัญหาประเทศ

พินิจเศรษฐกิจการเมือง : ฝุ่นละอองขนาดเล็ก กับการแก้ปัญหาจากภาพใหญ่เชิงนโยบาย

พินิจเศรษฐกิจการเมือง : ฝุ่นละอองขนาดเล็ก กับการแก้ปัญหาจากภาพใหญ่เชิงนโยบาย ดร.อดิศร์ อิศรางกูร ณ อยุธยา ให้สัมภาษณ์ทาง fm 101.5 วิทยุจุฬาฯ เมื่อ 15 มกราคม 2562

ภาษีที่ดินสิ่งปลูกสร้าง ผลงานโบว์แดงรัฐบาล?

อดิศร์ อิศรางกูร ณ อยุธยา ประเทศไทยมีความพยายามพัฒนาภาษีที่ดินใหม่ เพื่อทดแทนภาษีบำรุงท้องที่ พ.ศ.2508 และภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2475 ที่ใช้มานานกว่า 50 ปี โดยจะมีการควบรวมภาษีทั้งสองนี้มาเป็นภาษีใหม่เรียกว่าภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ….. ประเด็นสำคัญคือ ประเทศไทยจะได้ประโยชน์อย่างไรกับภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างใหม่นี้ เพราะเป็นภาษีที่คนไทยรอคอยมานานและไม่มีรัฐบาลชุดใดๆ ก่อนหน้านี้ที่สามารถผลักดันได้ แต่เมื่อภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างสามารถคลอดออกมาได้สำเร็จก็ถือว่ารัฐบาลชุดนี้ได้แสดงความสามารถที่ไม่เคยมีรัฐบาลก่อนหน้าทำได้มาก่อน คล้ายๆ กับการตรา พ.ร.บ.ภาษีการรับมรดก พ.ศ. 2558 ที่เป็นผลงานชิ้นโบว์แดงในการแก้ไขปัญหาความเหลื่อมล้ำของรัฐบาล ที่ไม่มีรัฐบาลใดทำสำเร็จมาก่อนเช่นกัน ประเด็นที่จะขอชวนให้คิดเกี่ยวกับภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างใหม่นี้ คือผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับประเทศไทย ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างฉบับนี้มีลักษณะที่น่าสนใน 3 ประเด็น ได้แก่ 1) การยกเว้นบ้านและที่ดินหลังแรก 50 ล้านบาทหรือบ้านอย่างเดียว 10 ล้านบาท 2) เป็นภาษีที่ดินแบบอัตราก้าวหน้า หมายความว่าใครมีที่ดินมากก็ต้องเสียภาษีในอัตราที่สูงขึ้น และ 3) ที่ดินว่างเปล่าจะต้องเสียภาษีในอัตราสูงขึ้นทุกๆ 3 ปี เพื่อจูงใจให้มีการนำที่ดินมาใช้ประโยชน์ ในประเด็นที่ 1) เงินได้จากภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างนี้จะเป็นรายได้สำคัญให้กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อนำมาพัฒนาพื้นที่ตนเอง นำไปสู่การกระจายความเจริญ แต่การยกเว้นภาษีให้กับเจ้าของบ้านและที่ดินที่มีมูลค่าต่ำกว่า 50 ล้านบาท หมายความว่าเจ้าของบ้านและที่ดินจำนวนมากในประเทศไทยจะไม่ต้องเสียภาษีที่ดินเลย […]

พินิจเศรษฐกิจและการเมือง: เปิดเสรีไม้เศรษฐกิจ สร้างรายได้ พลิกโฉมป่าไม้ไทย

พินิจเศรษฐกิจและการเมือง: เปิดเสรีไม้เศรษฐกิจ สร้างรายได้ พลิกโฉมป่าไม้ไทย ดร. อดิศร์ อิศรางกูร ณ อยุธยา ให้สัมภาษณ์ทาง fm 101.5 วิทยุจุฬาฯ เมื่อ 30 ตุลาคม 2561

โรงไฟฟ้าถ่านหินเทพา ‘บททดสอบ’ ประชาธิปไตยไทย

อดิศร์ อิศรางกูร ณ อยุธยา 85 ปีของประชาธิปไตยไทยยังคงติดอยู่กับการเลือกตั้ง หนึ่งคนหนึ่งเสียง หรือที่มาของนายกรัฐมนตรีว่าจะเป็นคนนอกหรือคนใน ซึ่งที่จริงแล้วหลักการสำคัญของความเป็นประชาธิปไตยนั้นอยู่ที่ความเท่าเทียมกัน เสรีภาพของประชาชน และการเคารพกฎหมาย หากพิจารณากรณีการตัดสินใจในโครงการลงทุนขนาดใหญ่ของรัฐ ไม่ว่าจะเป็นกรณีเขื่อนแม่วงก์ หรือการสร้างโรงไฟฟ้าขนาดใหญ่จะพบว่าการตัดสินใจในโครงการดังกล่าวภาครัฐมักจะเป็นผู้ตัดสินใจดำเนินการเพียงผู้เดียวและบทบาทของประชาชนที่จะใช้สิทธิและเสรีภาพในการร่วมคิดร่วมตัดสินใจนั้นยังมีน้อยมาก จนทำให้บางครั้งแทบจะสะท้อนให้เห็นว่าความเป็นประชาธิปไตยที่ให้โอกาสประชาชนมีความเสมอภาคหรือมีเสรีภาพในการเลือกแนวทางการพัฒนานั้นยังไม่เกิดขึ้นเท่าไหร่ จนหลายครั้งแทบจะอดคิดไม่ได้ว่าความเป็นประชาธิปไตยของไทยยังจำกัดอยู่แค่ในรัฐธรรมนูญหรือในคูหาเลือกตั้งเท่านั้น กรณีการลงทุนสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินเทพาเป็นอีกบททดสอบหนึ่งที่แสดงให้เห็นว่ากระบวนการตัดสินใจของประเทศนั้นยังมีข้อจำกัดอย่างมากสำหรับประชาชนที่จะแสดงสิทธิและความคิดเห็นในการตัดสินใจลงทุนของรัฐ โรงไฟฟ้าถ่านหินเทพาเป็นการลงทุนเพื่อเพิ่มกำลังการผลิตไฟฟ้าให้กับประเทศ โดยเฉพาะในพื้นที่ภาคใต้ให้มีกำลังการผลิต 2,200 เมกะวัตต์ ซึ่งโครงการดังกล่าวคาดว่าจะช่วยสร้างความมั่นคงให้กับภาคการไฟฟ้าในภาคใต้ได้ โดยเฉพาะช่วงที่ความต้องการพลังงานสูง แต่จากการที่มีประชาชนออกมาคัดค้านโครงการดังกล่าวเป็นจำนวนมาก รวมทั้งยังมีกลุ่มผู้สนับสนุนออกมาเรียกร้องให้รัฐเร่งดำเนินโครงการ แสดงให้เห็นว่ากระบวนการตัดสินใจในการออกแบบโครงการก็ดี การเลือกชนิดของเชื้อเพลิงก็ดี การเลือกทำเลที่ตั้งโครงการก็ดี หรือการแบ่งปันผลประโยชน์สู่ท้องถิ่น ยังเป็นกระบวนการที่ยึดติดกับรูปแบบเดิมๆ และไม่สะท้อนแนวคิดความเป็นประชาธิปไตยอย่างที่เราต้องการ และหากการลงทุนในโครงการขนาดใหญ่ของรัฐยังคงเป็นในรูปแบบเดิมๆ ที่ไม่เปิดช่องทางให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการพัฒนา โครงการทุนขนาดใหญ่ของรัฐคงจะต้องชะงักงันและประเทศไทยจะไม่สามารถก้าวสู่ความเป็นประเทศที่พัฒนาได้ ในกรณีการผลิตไฟฟ้านั้นที่จริงแล้วประเทศมีทางเลือกต่างๆ มากมายที่ประชาชนควรมีสิทธิในการเลือกว่าต้องการไฟฟ้าแบบใด ในบางประเทศการผลิตไฟฟ้านั้นอาจไม่จำเป็นต้องเป็นบทบาทของภาครัฐหรือรัฐวิสาหกิจ แต่เป็นการส่งเสริมให้ภาคเอกชนหรือชุมชนสามารถพัฒนาโรงไฟฟ้าขนาดกลางและขนาดเล็กเอง เพื่อเป็นการกระจายรายได้สู่ท้องถิ่น โดยภาครัฐมีบทบาทในการสร้างโครงข่ายระบบสายส่งเพื่อรับซื้อไฟฟ้าจากพื้นที่ต่างๆ (โดยไม่บอกว่าสายส่งเต็มอยู่ตลอดเวลา…) ในบางประเทศผู้ใช้ไฟฟ้าสามารถระบุได้ว่า ต้องการใช้ไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนที่อาจมีราคาสูงกว่าบ้าง หรือต้องการซื้อไฟฟ้าจากพลังงานฟอสซิลที่มีราคาถูกกว่า ดังนั้น หากมีการเปิดโอกาสให้ภาคเอกชนหรือท้องถิ่นสามารถเข้ามาเป็นผู้ผลิตไฟฟ้ามากยิ่งขึ้น โดยแต่ละรายสามารถเลือกชนิดของเชื้อเพลิงได้ตามความต้องการของประชาชนก็จะทำให้การผลิตไฟฟ้าเป็นไปตามต้องการของผู้ใช้ไฟฟ้ามากยิ่งขึ้น ส่วนภาครัฐนั้นก็ควรปรับบทบาทของตัวเองจากการที่เป็นผู้ผลิตไฟฟ้า มาเป็นผู้ลงทุนในระบบสายส่งและคิดค่าลงทุนในระบบสายส่งลงไปในบิลค่าไฟ ที่สำคัญภาครัฐควรปรับบทบาทจากเดิมเป็นผู้ผลิตไฟฟ้ามาเป็นผู้กำกับกติกาให้เกิดการแข่งขันระหว่างผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชนมากขึ้นในลักษณะคล้ายๆ กับการดำเนินการในภาคโทรคมนาคม หากจำเป็นต้องมีการสร้างโรงไฟฟ้าขนาดใหญ่ของรัฐ การเลือกทำเลที่ตั้งโครงการเป็นกระบวนการที่สำคัญอย่างยิ่ง ปัจจุบันการสร้างโรงไฟฟ้าขนาดใหญ่นั้น สังคมไทยแทบจะไม่มีโอกาสในการร่วมเลือกทำเลที่ตั้งของโครงการเลย […]

การจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์ในประเทศไทย

ที่มา : สรุปจากรายงานวิจัยเรื่องปัญหาการจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์และการจัดการธุรกิจรีไซเคิลขยะ โดย คุณทิพวัลย์ แก้วมีศรี และ ดร. อดิศร์ อิศรางกูร ณ อยุธยา ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในรายงานสถานการณ์คุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2559 สำนักนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เมื่อกันยายน 2559

จะเก็บ’ค่าน้ำ’ไปทำไม

อดิศร์ อิศรางกูร ณ อยุธยา เมื่อมีข่าวว่า (ร่าง) พ.ร.บ.ทรัพยากรน้ำ พ.ศ. … จะมีการเก็บค่าน้ำ ก็ทำให้สังคมไทยกระสับกระส่ายแบบแทบจะตั้งตัวไม่ติด ในขณะที่กรมทรัพยากรน้ำพยายามอธิบายว่า ทำไมต้องเก็บค่าน้ำ ท่านนายกฯ ก็สวนกลับมาว่าไปสั่งมันตอนไหน ภายใต้ความสับสนในกลไกการทำงานของภาครัฐว่าตกลงจะเอายังไงกันแน่ระหว่างผู้นำรัฐบาลกับผู้ร่างกฎหมายน้ำ เราน่าจะหันมาดูกันว่า จะเก็บค่าน้ำไปทำไม ที่ผ่านมา น้ำเป็นทรัพยากรของคนไทย ทุกคนมีสิทธิใช้น้ำได้ ภายใต้แนวคิดนี้ การใช้น้ำในประเทศไทยจึงเป็นไปตามยถากรรม ไม่มีกฎเกณฑ์อะไรชัดเจน ใครอยู่ต้นน้ำก็ใช้น้ำได้ก่อน ส่วนใครอยู่ปลายน้ำก็ต้องรอน้ำที่เหลือจากต้นน้ำ บางทีคนต้นน้ำสูบน้ำไปใช้หมด คนอยู่ปลายน้ำ ก็อดใช้ ใครมีฐานนะทางเศรษฐกิจดีกว่า มีปั๊มน้ำตัวใหญ่กว่า มีท่อน้ำที่ใหญ่กว่า ก็ใช้น้ำได้มาก ส่วนใครยากจนไม่มีปั๊มน้ำ ก็ต้องอดใช้น้ำ ภายใต้สภาวะการไร้กติกาการใช้น้ำเช่นนี้ เราจึงมักเห็นภาพที่น่าอนาถเมื่อเข้าฤดูแล้ง น้ำขาดแคลน คนจนมักจะไม่มีน้ำใช้ ในขณะที่เจ้าของธุรกิจรายใหญ่ ไม่ว่าจะเป็นโรงงาน โรงแรมหรือสนามกอล์ฟจะมีน้ำใช้ตลอดในช่วงฤดูแล้ง การเก็บค่าน้ำเป็นกลไกหนึ่ง ที่ช่วยทำให้การใช้น้ำมีประสิทธิภาพมากขึ้น มีการใช้น้ำอย่างประหยัด ลดการใช้น้ำในกิจกรรมที่ไม่สร้างประโยชน์ เพื่อให้มีน้ำเหลือให้กับประชาชนอย่างทั่วถึง สามารถนำน้ำไปใช้ประโยชน์ในกิจกรรมที่สร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจได้อย่างเต็มที่ แต่ที่สำคัญคือ การเก็บค่าน้ำจะทำให้ภาครัฐมีรายได้จากการ เก็บค่าน้ำโดยรายได้จากการเก็บค่าน้ำนี้เอง สามารถนำไปใช้เพื่อการลงทุนขยายระบบ ชลประทานให้ครอบคลุมพื้นที่ทางการเกษตรมากขึ้น เพื่อให้เกษตรกรที่ทำการเกษตร โดยพึ่งพาน้ำฝนอีกจำนวนมากสามารถได้รับประโยชน์จากการขยายระบบชลประทาน […]

รูปแบบและการดำเนินงานของพันธบัตรป่าไม้สำหรับประเทศไทย

ที่มา : เรียบเรียงจากรายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ “แนวทางการศึกษารูปแบบและการดำเนินการของพันธบัตรป่าไม้สำหรับประเทศไทย ” โดย รศ.ดร. อดิศร์ อิศรางกูร ณ อยุธยา, ดร.กรรณิการ์ ธรรมพานิชวงค์, ณัฎฐณิชา เลอฟิลิแบร์ต, ปริญญารัตน์ เลี้ยงเจริญ, พิศสม มีถม และ ทิพวัลย์ แก้วมีศรี สนับสนุนการวิจัยโดยสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ภายชุดโครงการพัฒนาความรู้และยุทธศาสตร์ความตกลงพหุภาคีด้านสิ่งแวล้อม, มกราคม 2558 การศึกษาเรื่องกระบวนการให้เกิดพันธบัตรป่าไม้ในประเทศไทยยังคงดำเนินต่อไป เพื่อให้ได้รูปแบบและแนวทางที่เหมาะสมกับบริบทของประเทศไทย

1 2 3 4 5 7