แม่น้ำเจ้าพระยาขาดคนดูแล

อดิศร์ อิศรางกูร ณ อยุธยา โครงการสร้างถนนในแม่น้ำเจ้าพระยาระยะทาง 57 กม. ตั้งแต่สะพานพระราม 7 จนถึงสุดเขตกรุงเทพฯ ที่บางกระเจ้า เป็นโครงการที่ กทม. ต้องลงทุนให้ได้โดยในขั้นแรก จะต้องเร่งสร้างถนนความยาว 14 กม. ด้วยงบประมาณ 14,000 ล้านบาท และการดำเนินการจัดจ้างต้องรีบทำให้เสร็จภายใน 6 เดือน ถนนที่จะสร้างในแม่น้ำเจ้าพระยาทั้ง 2 ฝั่งถูกออกแบบมาเพื่อให้เป็นทาง ขี่จักรยานและให้คนเดิน จะกินพื้นที่เข้ามา ในแม่น้ำเจ้าพระยาฝั่งละ 10 เมตร 2 ฝั่งรวมกัน ก็จะทำให้แม่น้ำเจ้าพระยาแคบลง 20 เมตร การลงทุนสร้างถนนเพื่อขี่จักรยานและทางคนเดินในแม่น้ำเจ้าพระยาเป็นประเด็นที่หลายฝ่ายเป็นห่วงว่ามีความจำเป็นอย่างไร ที่ต้องไปเอาใจคนขี่จักรยานถึงขนาดที่ กทม. ต้องสร้างทางขี่จักรยานในแม่น้ำเจ้าพระยาด้วยเงินนับหมื่นล้านบาท และจะคุ้มค่าหรือไม่ หากต้องแลกกับผลเสียที่จะตามมา เช่น เป็นอุปสรรรคต่อการไหลของน้ำช่วงฤดูน้ำท่วม สร้างความอุจาดทางสายตา สร้างปัญหาตลิ่งพัง ปัญหาขยะสะสม ปัญหาความปลอดภัยยามค่ำคืน ผลกระทบต่อการเดินทางและการขนส่งทางเรือ และที่สำคัญคือ เป็นการทำลายวัฒนธรรมริมสองฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา ตัวอย่างการสร้างทางจักรยานของ กทม. บริเวณสนามหลวงแสดงให้เห็นถึงความล้มเหลวในอดีตเพราะแทบไม่มีจักรยานมาขี่ในทางจักรยานของ กทม. […]

แม่น้ำเจ้าพระยา…กับการพัฒนาเมือง

เอกสารประกอบ เสวนา ถนนเลียบแม่น้ำเจ้าพระยา จะพัฒนากันอย่างไร? ถนนเลียบแม่น้ำเจ้าพระยา: จะพัฒนากันอย่างไร? – ดร.อดิศร์ อิศรางกูร ณ อยุธยา ที่ปรึกษา สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย “แม่น้าเจ้าพระยา…สู่การพัฒนาเมือง” – ดร.ธงชัย พรรณสวัสดิ์ ประธานชมรมจักรยานเพื่อสุขภาพแห่งประเทศไทย ข้อเสนอต่อรัฐบาลให้ทบทวนโครงการพัฒนาริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา – คุณ ศศิน เฉลิมลาภ ประธานมูลนิธิสืบนาคะเสถียร เสวนา ถนนเลียบแม่น้ำเจ้าพระยา ประชาชนได้อะไร? แผนพัฒนาริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาทางเลียบเจ้าพระยา เรา ได้อะไร (1) แผนพัฒนาริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาทางเลียบเจ้าพระยา เรา ได้อะไร (2) – คุณ ภารนี สวัสดิรักษ์ นักวิชาการผังเมืองอิสระ เอกสารประกอบ –  คุณ มาริสา สุโกศล หนุนภักดี นักธุรกิจผู้บริหารโรงแรม FOR Friends Of the River (1) FOR Friends […]

เสนอปรับปรุงแผนจัดการน้ำท่วมควบคุมผังเมือง-การใช้ที่ดิน

ขณะที่รัฐบาลกำลังระดมนักวิชาการ ผู้มีประสบการณ์ด้านน้ำมาเสนอแนะและปรับปรุงแผนยุทธศาสตร์การบริหารจัดการน้ำ 12 ปี ให้มีความสมบูรณ์ในการป้องกันปัญหาน้ำรอบด้าน และเร่งรัดโครงการระยะยาวให้มีความรวดเร็วขึ้น โดยกำหนดจะเรียกประชุมเพื่อดูความคืบหน้าของแผนจัดการน้ำอีกครั้งภายในต้นเดือนมกราคม 2560 สถานการณ์น้ำในวันนี้มีแนวโน้มรุนแรงขึ้น พื้นที่โดนน้ำท่วมประจำถี่ขึ้น ในเมืองกรุงเทพฯ พระนครศรีอยุธยา และจังหวัดต่างๆ ก็ท่วมรุนแรงขึ้นทุกปี กลายเป็นปัญหาซ้ำซากสร้างความเดือดร้อนแก่ประชาชนอย่างหนัก ปัญหาผูกโยงกับสภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลง ความผิดพลาดในการบริหารจัดการน้ำ และปัญหาการขยายตัวของเมืองเข้าไปในพื้นที่ลุ่มกักเก็บน้ำ ส่งผลให้นักวิชาการและภาคประชาชนออกมาเคลื่อนไหวหาแนวทางจัดการการใช้ที่ดินในเมืองเพื่อแก้ไขน้ำท่วม พร้อมชี้ช่องแก่รัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยหัวเรือใหญ่ ดร.นิพนธ์ พัวพงศกร นักวิชาการเกียรติคุณสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) กำลังขับเคลื่อนแนวคิด “เมืองกับการจัดการน้ำ” แนวทางที่สนับสนุนให้มีการปรับเปลี่ยนแนวคิดด้านผังเมือง และสร้างหลักเกณฑ์การใช้ที่ดินใหม่เพื่อพัฒนาสู่เมืองน่าอยู่ผ่านเวทีประชุมระดมความคิดเห็นเมื่อวันก่อน จัดโดยสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) ดร.นิพนธ์ กล่าวว่า ปัญหาการใช้ที่ดินเป็นสาเหตุสำคัญของน้ำท่วมเมืองและถนนหนทางต่างๆ เพราะมีจำนวนอาคารและบ้านเรือนเพิ่มขึ้นจนไม่มีที่ให้น้ำอยู่ ไม่มีแหล่งรับน้ำ น้ำฝนต้องระบายลงท่อระบายน้ำอย่างเดียว แถมถนนที่ก่อสร้างก็ขวางทางน้ำ นอกจากน้ำท่วมยังเกิดปัญหาน้ำเสียที่ไม่มีการบำบัด ในช่วงน้ำท่วม สูญเสียทรัพยากรน้ำที่มีค่า ภายหลังวิกฤติน้ำท่วมใหญ่ปี 2554 มีการปรับตัว แต่เน้นสิ่งก่อสร้างและต่างคนต่างทำ ครัวเรือนดีดบ้าน ถมดิน สร้างกำแพง นิคมอุตสาหกรรมก็ทำกำแพงยักษ์ มีการซื้อประกัน ย้ายโรงงาน ซึ่งถ้าหันมาดูชุมชนว่ามีมาตรการแก้ปัญหาน้ำท่วมแค่ไหนก็พบว่าทำกันแบบแก้ปัญหาเฉพาะหน้า ทั้งเมืองและเทศบาลพากันยกถนนสูงขึ้น สร้างคันป้องกันน้ำท่วม ลดพื้นที่น้ำไหล […]

เน้นสิ่งปลูกสร้างไม่ใช่ทางออกจัดการน้ำ ทีดีอาร์ไอแนะทางอื่นแก้ปัญหาระยะยาว

สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) ทีดีอาร์ไอ ติดตามผลการปรับตัวหลังน้ำท่วม 54 พบการแก้ปัญหาแยกส่วน ยังเน้นแต่สิ่งปลูกสร้าง ไร้พื้นที่ให้น้ำอยู่ ส่งผล คน ระบบนิเวศเผชิญผลกระทบระยะยาว แนะใช้เครื่องมือใหม่ๆ ที่ไม่ใช่สิ่งปลูกสร้างมาแก้ปัญหา ยกกลไกราคาที่ดิน ภาษีป้องกันน้ำท่วมเป็นตัวอย่าง ย้ำหนทางแก้ไขทุกภาคส่วนต้องมีส่วนร่วม ภายใต้แนวคิดการบูรณาการการจัดการน้ำและที่ดินทำไปพร้อมกันทั้งระบบ การประชุมระดมความคิดเห็น “เมืองกับการจัดการน้ำ” โดย สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) ร่วมกับ International Development Research Centre (IDRC) ที่ผ่านมา มีข้อเสนอเกี่ยวกับการบริหารจัดการน้ำอย่างยั่งยืน โดยเห็นตรงกันว่า ต่างฝ่ายไม่ควรแก้ปัญหาเรื่องน้ำและพัฒนาเมืองแบบแยกส่วน อีกทั้ง การเน้นแต่สิ่งปลูกสร้างเพื่อป้องกันน้ำท่วมจะสร้างผลกระทบระยะยาว ควรใช้เครื่องมือใหม่ๆ เช่น เก็บภาษีในเขตป้องกันน้ำท่วม นำไปชดเชยพื้นที่รับน้ำ หรือกลไกราคาที่ดิน มาช่วยแก้ปัญหา และที่สำคัญต้องให้ทุกภาคส่วน ได้มีบทบาทในการกำหนดทิศทางการแก้ไขปัญหาควบคู่กับเรื่องผังเมืองและที่ดิน เพื่อร่วมกันจัดสรรพื้นที่รับน้ำและพื้นที่ป้องกันน้ำท่วมให้ชัดเจน ดร.นิพนธ์ พัวพงศกร นักวิชาการเกียรติคุณ ทีดีอาร์ไอ อธิบายว่า ปัญหาน้ำท่วมในปัจจุบันที่สร้างผลกระทบมากขึ้น สาเหตุส่วนหนึ่งมาจากความเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ และเกิดจากความผิดพลาดในการบริหารจัดการน้ำ เนื่องจากในภาวะวิกฤติน้ำท่วมในปี 2554 ที่ผ่านมา ประเทศไทยมีการบริหารจัดการน้ำแบบกระจายอำนาจ […]

การประชุมระดมความคิดเห็น “เมืองกับการจัดการน้ำ”

เอกสารประกอบ เรื่อง “ปัญหาน้ำท่วม/น้ำแล้งในเมืองกับการจัดการการใช้ที่ดินและน้ำ” โดย ดร.นิพนธ์ พัวพงศกร สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย เรื่อง “แนวทางการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมในพื้นที่เมือง”: มุมมองเชิงสถาบันและกฎหมาย โดย ดร.อภิวัฒน์ รัตนวราหะ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เรื่อง “แนวทางการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมในพื้นที่เมือง”: มุมมองเชิงเศรษฐศาสตร์ โดย ดร.อดิศร์ อิศรางกูร ณ อยุธยา สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย

เรามาถึงจุดนี้ได้อย่างไร: ป่าหาย 37 ล้านไร่ ปลูกคืนได้ 11%

ขณะนี้หลายฝ่ายเร่งเดินหน้าปลูกป่าทดแทนอย่างต่อเนื่อง แต่จากข้อมูลล่าสุดชี้ว่าในหลายสิบปีที่ผ่านมา เรายังไม่สามารถทำให้ป่ากลับมาอุดมสมบูรณ์ได้เท่าที่ควร เรามาถึงจุดนี้ได้อย่างไรและจะทำอย่างไรต่อไปเพื่อให้เกิดการอนุรักษ์ป่าอย่างยั่งยืน ติดตามการวิเคราะห์จาก ดร.อดิศร์ อิศรางกูร ณ อยุธยา ในช่วงเรามาถึงจุดนี้ได้อย่างไร กับ ทีดีอาร์ไอ ร่วมมือกับไทยรัฐทีวี ได้ทุกวันพุธ ทางช่องไทยรัฐทีวี 32 เวลา 19.30 น. เป็นต้นไป ออกอากาศวันพุธที่ 28 ส.ค. 2559

เรามาถึงจุดนี้ได้อย่างไร: 8 ปี ปะการังชายฝั่งทะเลไทยตาย 30%

ด้วยการจัดการที่ขาดประสิทธิภาพ รับนักท่องเที่ยวเกินกว่าขีดความสามารถของสถานที่ท่องเที่ยว ส่งผลให้ปะการังทั้งฝั่งอ่าวไทยและอันดามันได้รับความเสียหายอย่างมากถึง 30 กว่า% เราจะสร้างสมดุลระหว่างผลประโยชน์เชิงเศรษฐกิจกับการรักษาสิ่งแวดล้อมได้อย่างไร ติดตามการวิเคราะห์จาก ดร.อดิศร์ อิศรางกูร ณ อยุธยา ในช่วงเรามาถึงจุดนี้ได้อย่างไร กับ ทีดีอาร์ไอ ร่วมมือกับไทยรัฐทีวี ได้ทุกวันพุธ ทางช่องไทยรัฐทีวี 32 เวลา 19.30 น. เป็นต้นไป ออกอากาศวันพุธที่ 10 ส.ค. 2559  

เรามาถึงจุดนี้ได้อย่างไร: รัฐเก็บภาษีที่ดินรกร้างสูงสุด5%

ข้อมูลจากกรมพัฒนาที่ดินชี้ว่ามีที่ดินรกร้างไม่ได้ใช้ประโยชน์เพียง 11 ล้านกว่าไร่ของพื้นที่เกษตรทั้งหมด 3.2 แสนล้านไร่ แต่รัฐบาลกลับประกาศเก็บภาษีที่ดินรกร้างสูงถึงเกือบ 5 % เพื่อให้กระตุ้นให้เจ้าของที่ใช้ประโยชน์ การเก็บภาษีนี้มาถูกทางหรือไม่ ติดตามการวิเคราะห์จาก ดร.อดิศร์ อิศรางกูร ณ อยุธยา ในช่วงเรามาถึงจุดนี้ได้อย่างไร กับ ทีดีอาร์ไอ ร่วมมือกับไทยรัฐทีวี ได้ทุกวันพุธ ทางช่องไทยรัฐทีวี 32 เวลา 19.30 น. เป็นต้นไป ออกอากาศวันพุธที่ 17 ส.ค. 2559 งานที่เกี่ยวข้อง -ว่าด้วยภาษีที่ดิน

5 ปัญหาสิ่งแวดล้อมระดับชาติโจทย์ใหญ่ท้าทายพัฒนา

สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จะจัดทำรายงานสถานการณ์สิ่งแวดล้อมไทยปีละครั้ง สำหรับในปี 2559 นี้ ร่างรายงานสถานการณ์คุณภาพสิ่งแวดล้อม ได้ชูประเด็นสิ่งแวดล้อมที่สำคัญ โดยยึดขนาดและระดับความรุนแรงของปัญหาที่รัฐบาลและทุกฝ่ายต้องเร่งให้ความสนใจ อันดับแรก ขยะอิเล็กทรอนิกส์ที่กำจัดหรือนำมารีไซเคิลแบบไม่ถูกต้องตามหลักวิชาการ ทำให้สารพิษรั่วไหลปนเปื้อนสู่สิ่งแวดล้อม เกิดสารพิษตกค้างและสะสม ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชน อีกทั้งไทยยังไม่มีกฎหมายเกี่ยวกับการจัดการเศษเหลือทิ้งของเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์โดยตรง อันดับสอง ปัญหาการบุกรุกป่า อันดับสาม สถานการณ์น้ำและภัยแล้ง ช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา หลายพื้นที่ของไทยประสบภัยแล้งต่อเนื่อง ฤดูแล้งปี 58/59 ไทยแล้งหนักในรอบ 15 ปี สาเหตุหลักจากสภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลงและขาดป่าไม้ ถือเป็นปัญหาใหญ่เพราะกระทบเศรษฐกิจ ทั้งเกษตร ประมง ท่องเที่ยว อุตสาหกรรมและสิ่งแวดล้อม อันดับ 4 กัดเซาะชายฝั่งทะเลทวีความรุนแรง เกิดจากสิ่งปลูกสร้างยื่นเข้าไปในทะเลและแนวทางแก้ปัญหาผิดๆ ในหลายพื้นที่ ประเด็นสิ่งแวดล้อมที่สำคัญ อันดับ 5 การปล่อยก๊าซเรือนกระจก ปัจจุบันแผนการลดก๊าซเรือนกระจกยังมีข้อจำกัด ล่าช้า ดังนั้น ในปี 2559 ต้องติดตามสถานการณ์ใกล้ชิดเช่นกัน จาก เวทีประชุมสัมมนาเพื่อรับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะต่อร่างรายงานสถานการณ์คุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ.2559 จัดโดยสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ร่วมกับมูลนิธิสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย เมื่อวันก่อน […]

เรามาถึงจุดนี้ได้อย่างไร: คนทำชายฝั่งถูกกัดเซาะ 830 กม.

ความเข้าใจผิดของการสร้างโครงสร้างพื้นฐานอย่างเขื่อนกันคลื่นและทรายลงในทะเลส่งผลให้พื้นที่ชายฝั่งถูกกัดเซาะจนหายไปแล้วกว่า 1 ใน 4 หรือ 830 กม. จากพื้นที่ทั้งหมด 3,100 กม. เรามาถึงจุดนี้ได้อย่างไร ติดตามการติดตามการวิเคราะห์จาก ดร.อดิศร์ อิศรางกูร ณ อยุธยา ในช่วงเรามาถึงจุดนี้ได้อย่างไร กับ ทีดีอาร์ไอ ร่วมมือกับไทยรัฐทีวี ได้ทุกวันพุธ ทางช่องไทยรัฐทีวี 32 เวลา 19.30 น. เป็นต้นไป ออกอากาศวันพุธที่ 20 ก.ค. 2559

เรามาถึงจุดนี้ได้อย่างไร: ดินถล่มคร่าชีวิตคนไทย 500 คน

10 ปี ดินถล่มสร้างความเสียหายมากกว่า 2,000 ล้านบาท และคร่าชีวิตคนไทยไปแล้ว 500 กว่าคน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเด็กและสตรี นอกจากนี้ ยังมีความเสี่ยงว่าดินถล่มจะรุนแรงมากขึ้นในช่วงฤดูฝน เรามาถึงจุดนี้ได้อย่างไร และควรเดินหน้าต่ออย่างไร ติดตามการวิเคราะห์จาก ดร.อดิศร์ อิศรางกูร ณ อยุธยา ในช่วงเรามาถึงจุดนี้ได้อย่างไร กับ ทีดีอาร์ไอ ร่วมมือกับไทยรัฐทีวี ได้ทุกวันพุธ ทางช่องไทยรัฐทีวี 32 เวลา 19.30 น. เป็นต้นไป ออกอากาศวันพุธที่ 13 ก.ค. 2559

1 2 3 4 5 6 7