ถามตรงๆ กับจอมขวัญ: อัครา เหมืองแร่ทองคำสุดท้ายของไทย

ล่าสุด ครม. มีมติสั่งปิดเหมืองแร่ทองคำทั่วประเทศ หลังจากชาวบ้านชุมชนเขาหม้อ จ.พิจิตร ร้องทุกข์ว่าได้รับผลกระทบจากการเหมืองทองคำของบริษัทอัครา รีซอร์สเซส จำกัด (มหาชน) รัฐควรยึดหลักการใดในการพิจารณาว่าจะให้มีเหมืองต่อหรือไม่ และอนาคตของเหมืองแร่ทองคำในประเทศไทยจะเป็นอย่างไร ร่วมพูดคุยหาคำตอบกับ “ดร. อดิศร์ อิศรางกูร ณ อยุธยา” และ “เชิดศักดิ์ อรรถอารุณ”  ติดตามได้ในรายการ ‪‎ถามตรงๆ‬ กับจอมขวัญ หลาวเพ็ชร์ ออกอากาศทางไทยรัฐทีวี ช่อง 32 เมื่อ 12 พฤษภาคม 2559

มอเตอร์ไซค์ไม่มีสิทธิ์

อดิศร์ อิศรางกูร ณ อยุธยา ที่ปรึกษา สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย เมื่อประมาณต้นเดือนเมษายน 2559 มีคำสั่งห้ามไม่ให้จักรยานยนต์ใช้สะพานลอยข้ามแยก 39 แห่งและห้ามลงอุโมงค์ 9 แห่ง ซึ่งคำสั่งนี้สร้างความไม่พอใจให้ผู้ขับขี่มอเตอร์ไซค์เป็นอย่างมาก โดยกลุ่มมอเตอร์ไซค์มีการรวมตัวปิดถนนบริเวณสะพานภูมิพลเพื่อเรียกร้องความเป็นธรรม นอกจากนั้นยังไปยื่นเรื่องต่อศาลปกครองในวันที่ 25 เมษายน 2559 ว่าคำสั่งดังกล่าวนั้นไม่ให้ความเป็นธรรมแก่ผู้ขับขี่จักรยานยนต์ ในประเด็นนี้ภาครัฐให้เหตุผลว่าคำสั่งห้ามรถจักรยานยนต์ขึ้นสะพานลอยและลงอุโมงค์มีเจตนาเพื่อลดอุบัติเหตุที่มักเกิดขึ้นบ่อยครั้ง ส่วนผู้ใช้จักรยานยนต์อ้างว่าเมื่อเป็นประชาชนเหมือนกันทำไมเขาถึงไม่มีสิทธิ์ใช้สะพานลอยและลงอุโมงค์เหมือนรถยนต์และกฎหมายก็มิได้ระบุห้ามไว้ด้วย นอกจากนั้น การใช้จักรยานยนต์ยังเป็นการช่วยลดความแออัดบนท้องถนน เป็นการเดินทางที่ประหยัด แต่ทำไมจักรยานยนต์กลับไม่ได้รับการปฏิบัติอย่างเสมอภาคและต้องถูกรอนสิทธิ์ในที่สุด ที่จริงเรื่องนี้ก็ไม่มีอะไรมากและไม่ควรนำไปโยงกับเรื่องความปลอดภัยหรือกฎหมายจราจรใดๆ ให้เสียเวลา คำสั่งห้ามมอเตอร์ไซค์ขึ้นสะพานลอยและห้ามลงอุโมงค์มีที่มาที่ไปอยู่อย่างเดียวหล่ะครับ คือ สังคมไทยเป็นสังคมแห่งความเหลื่อมล้ำ มีการเอารัดเอาเปรียบผู้มีรายได้น้อยและมีความไม่เท่าเทียมกัน คนจนที่มีรายได้น้อยที่ใช้มอเตอร์ไซค์เป็นยานพาหนะจึงไม่มีความสำคัญในสังคมนี้ ไม่มีสิทธิ์ และยังต้องเป็นผู้แบกรับภาระต่างๆ เช่น ค่ารีดไถหรือต้องหาเงินเพื่อส่งให้มาเฟียทั้งหลายเพื่อแลกกับการทำงานในวินมอเตอร์ไซค์ การเป็นห่วงเป็นใยความปลอดภัยของผู้ขับขี่มอเตอร์ไซค์บนท้องถนนก็เป็นสิ่งที่ฟังลำบากจริงๆ แต่ก็ยังเอาสีข้างแถกันไปได้หน้าซื่อๆ หากการขี่มอเตอร์ไซค์ขึ้นสะพานลอยข้ามแยกมันไม่ปลอดภัยแล้วทำไมไม่ออกคำสั่งห้ามมอเตอร์ไซค์ขึ้นสะพานลอยทั่วประเทศไทยเลยหล่ะครับ สะพานนวรัฐที่เชียงใหม่ สะพานสารสินที่ภูเก็ต หรือสะพานศรีสุราษฎร์ที่สุราษฎร์ธานีก็มีมอเตอร์ไซค์ขึ้นลงทุกวันไม่เห็นมีใครเป็นห่วงเป็นใยบ้างเลย ส่วนการลงอุโมงค์ก็เช่นกัน หากมอเตอร์ไซค์ลงอุโมงค์แล้วมีอุบัติเหตุก็น่าจะประกาศห้ามมอเตอร์ไซค์ลงอุโมงค์ทั้งประเทศไปซะเลยรวมทั้งอุโมงค์ดินแดงหรืออุโมงค์ลอดต่างๆ ที่เชียงใหม่ด้วย แต่ที่สะเทือนใจมากที่สุดและเป็นคำสรุปในตัวมันเองคือคำตอบที่บอกว่า สะพานลอยข้ามแยกและอุโมงค์เหล่านี้ไม่ได้ออกแบบมาเพื่อมอเตอร์ไซค์…จบมั๊ย ประโยค์นี้ฟังแล้วต้องบอกเลยว่า อึ๊งจริงๆ และไม่เคยคิดเลยว่าข้าราชการของประชาชนจะพูดคำเช่นนี้ออกมาได้ ความหมายคือว่าประชาชนคนไทยด้วยกันที่มีรายได้น้อยและใช้มอเตอร์ไซค์ทั่วประเทศไม่เคยอยู่ในความสนใจของผู้บริหารบ้านเมืองเลย การออกแบบถนน สะพาน หรืออุโมงค์จึงไม่ได้สนใจเลยว่าคนขี่มอเตอร์ไซค์ที่ต้องตากแดดตากฝนหาเช้ากินค่ำเขาจะเดินทางกันอย่างไร […]

เรามาถึงจุดนี้ได้อย่างไร: พื้นที่ป่าไทยรั้งท้ายกลุ่มอาเซียน

ช่วง 41 ปีที่ผ่านมา พื้นที่ป่าในประเทศไทยหายไปกว่า 37 ล้านไร่ เฉลี่ยแล้วเกือบ 1 ล้านไร่ต่อปี มากกว่าประเทศเพื่อนบ้านอย่างมาเลเซียและบ­ูรไน สถานการณ์การสูญเสียนี้ยังทวีความรุนแรงขึ้นไปอีกเมื่อ ‘พื้นที่ป่า’ ในภาคเหนือกลายเป็น ‘พื้นที่ปลูกข้าวโพด’ เราควรเดินหน้าต่อไปทางไหน ติดตามในช่วง เรามาถึงจุดนี้ได้อย่างไร กับ ทีดีอาร์ไอ ร่วมมือกับไทยรัฐทีวี ได้ทุกวันพุธทาง ช่อง ไทยรัฐทีวี 32 เวลา 19.30 น. เป็นต้นไป ออกอากาศ วันพุธที่ 27 เม.ษ. 2559 ข้อมูลและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง –The Biz เศรษฐกิจไทย: ปัญหาเขาหัวโล้นในประเทศไทย –แนวทางทวงคืนผืนป่า กับ อดิศร์ อิศรางกูร ณ อยุธยา

ธรรมชาติมาหานคร ตอน “เศรษฐศาสตร์เพื่อสิ่งแวดล้อม”

ปัจจุบันมีการพูดถึงการลงทุนทางสิ่งแวดล้อ­มในเชิงความคุ้มค่าอย่างกว้างขวาง เพราะนอกจากจะช่วยภาครัฐประหยัดงบประมาณแล­้วยังทำให้ทุกภาคส่วนได้รับส่วนแบ่งจากการ­พัฒนาอย่างเท่าเทียม แต่หลายครั้งที่การลงทุนทางสิ่งแวดล้อมไม่­เกิดผล และกับหลายข้อสงสัยว่าการมีเขื่อนจะการันต­ีได้หรือไม่ว่าเกษตรกรจะมีน้ำใช้เสมอ รวมถึงการสร้างกระเช้าขึ้นภูกระดึงว่าคุ้ม­ค่าทางเศรษฐกิจหรือไม่ เราควรเปลี่ยนเงินจำนวนมหาศาลเหล่านี้ไปสู­่ทางเลือกอื่นในการพัฒนา เพื่อทำให้สังคมได้รับประโยชน์อย่างยั่งยื­นและสูงสุดแทนหรือไม่ ร่วมติดตามเศรษฐศาสตร์สิ่งแวดล้อมในมุมมองของ ดร. อดิศร์ อิศรางกูร ณ อยุธยา ที่ปรึกษาด้านการวิจัยทรัพยากรธรรมชาติและ­สิ่งแวดล้อม ทีดีอาร์ไอ ในรายการ: ธรรมชาติมาหานคร ตอน “เศรษฐศาสตร์เพื่อสิ่งแวดล้อม” ออกอากาศเมื่อวันที่ 10 เมษายน 2559

The Biz เศรษฐกิจไทย: แนวทางการค้าสลากเสรีเพื่อประชาชน

ติดตามการวิเคราะห์นโยบายการคุมราคาสลากกินแบ่งรัฐบาล กับ ดร. อดิศร์ อิศรางกูร ณ อยุธยา ออกอากาศทางรายการ The Biz เศรษฐกิจไทย: แนวทางการค้าสลากเสรีเพื่อประชาชน ทาง Amarin TV เมื่อ 20 พ.ย. 2558

วิกฤติน้ำท่วม-น้ำแล้ง: พลิกโฉมการบริหารจัดการน้ำของไทย

กำหนดการวันศุกร์ที่ 9 ตุลาคม 2558 ช่วงที่ 1 09.00 – 09.30 น. กล่าวสุนทรพจน์เปิดงาน โดย พลเอก ฉัตรชัย สาริกัลยะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์และประธานคณะกรรมการกำหนดนโยบายและบริหารจัดการน้ำ เอกสารประกอบสัมมนา 09.30 -10.30 น. วิกฤติน้ำท่วม-น้ำแล้ง: พลิกโฉมการบริหารจัดการน้ำของไทย: สรุปผลการศึกษาและข้อเสนอแนะ โดย รศ.ดร.นิพนธ์ พัวพงศกร สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย เอกสารประกอบสัมมนา 10.30 – 10.45 น. พักรับประทานชา-กาแฟ 10.45 – 12.00 น. อภิปรายโดยผู้ทรงคุณวุฒิ โดย นายสมเกียรติ ประจำวงษ์ ผู้อำนวยการสำนักบริหารโครงการ กรมชลประทาน เอกสารประกอบสัมมนา นางสาวลดาวัลย์ คำภา รองเลขาธิการ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เอกสารประกอบสัมมนา รศ.ดร.สุวัฒนา จิตตลดากร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เอกสารประกอบสัมมนา ศ.ดร.มิ่งสรรพ์ ขาวสอาด […]

The Biz เศรษฐกิจไทย: ปัญหาเขาหัวโล้นในประเทศไทย

“นโยบายทวงคืนผืนป่า” คือ อีกนโยบายที่ภาครัฐกำลังเดินหน้าให้ความสำคัญ และในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา ความรุนแรงของการสูญเสียพื้นที่ป่า กับปัญหา “ภูเขาหัวโล้น” เกิดขึ้นค่อนข้างมากในหลายจังหวัด ซึ่งได้สร้างความบั่นทอนให้กับเศรษฐกิจไทยในระยะยาว และในบางครั้งไม่ได้ปรากฎออกมาในรูปของตัวเงินเพียงอย่างเดียว ผลกระทบในด้านอื่นๆ และโจทย์ที่ประเทศไทยต้องเร่งแก้ไขจะเป็นอย่างไร ติดตามการวิเคราะห์ โดย ดร. อดิศร์ อิศรางกูร ณ อยุธยา ในรายการ The Biz เศรษฐกิจไทย ตอน ปัญหาเขาหัวโล้นในประเทศไทย ออกอากาศทาง AMARIN TV ช่อง 34 เมื่อ 10 สิงหาคม 2558  

The Biz เศรษฐกิจไทย: ความจำเป็นต่อการสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินในไทย

ประเด็นเรื่อง โรงไฟฟ้าถ่านหินที่จะสร้างขึ้นในประเทศไทย เป็นที่ถกเถียงถึงผลดีและผลเสียกันในหลากหลายด้าน ซึ่งยังคงเป็นเรื่องที่ต้องติดตามกันอยู่  ดร.อดิศร์ อิศรางกูร ณ อยุธยา ที่ปรึกษาสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย จึงได้นำเสนอข้อมูลพลังงานไฟฟ้า 3 ด้าน ได้แก่ ความหลากหลายของฐานพลังงานไฟฟ้าในประเทศไทย ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม รวมถึงการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากพลังงานถ่านหิน ติดตามรายละเอียดของเรื่องนี้ได้ในรายการ The Biz เศรษฐกิจไทย ตอน ความจำเป็นต่อการสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินในไทย ออกอากาศทาง AMARIN TV ช่อง 34 เมื่อ 3 สิงหาคม 2558

นิพนธ์ชี้รัฐบาลไทยต้องเปลี่ยนรูปแบบการจัดการน้ำทั้งเชิงโครงสร้างและการปฏิบัติ

ทีดีอาร์ไอเผยงานวิจัยการบริหารจัดการน้ำของไทยมีปัญหาจากการใช้ประโยชน์ที่ดินที่ไม่ตระหนักเรื่องเส้นทางน้ำและโครงสร้างการบริหารจัดการน้ำของรัฐขาดประสิทธิภาพ พร้อมเสนอให้รัฐบาลการแก้ปัญหาโดยไม่เน้นสิ่งปลูกสร้าง และมีรูปแบบการจัดการแบบล่างขึ้นบน รวมถึงเน้นการแก้ปัญหาโดยการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย หรือทีดีอาร์ไอ ได้รับทุนวิจัยจาก International Development Research Centre หรือ IDRC ในการวิจัยการบริหารจัดการน้ำของประเทศไทย ซึ่งประกอบด้วยโครงการย่อย 3 ด้าน คือ การบริหารจัดการน้ำกับการใช้ที่ดิน การปรับตัวของภาคอุตสาหกรรมในการป้องกันน้ำท่วม และการบริหารจัดการน้ำกับการจัดการด้านสถาบัน โดยจัดสัมมนาเพื่อเสนอแนะเชิงนโยบาย เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2558 ดร.นิพนธ์ พัวพงศกร จากทีดีอาร์ไอในฐานะหัวหน้าโครงการวิจัย กล่าวว่า วิกฤติภัยแล้งและน้ำท่วมไม่ได้เกิดจากธรรมชาติอย่างเดียว แต่เกิดจากความผิดพลาดของนโยบายและการจัดการน้ำ รวมทั้งปัญหาการใช้ที่ดินที่ขาดการควบคุม ในขณะที่แนวทางการแก้ปัญหาของภาครัฐยังคงเน้นสิ่งก่อสร้างเป็นหลัก ดังนั้น งานวิจัยชิ้นนี้จึงมีข้อเสนอเชิงนโยบายที่สำคัญ ให้ความสำคัญกับการสร้างสถาบันการจัดการน้ำที่ไม่ใช่สิ่งก่อสร้าง สร้างรูปแบบการจัดการจากล่างขึ้นบน โดยที่การจัดการนั้นเป็นการจัดการแบบมีส่วนร่วมตามหลักประชาธิปไตย มีอิสระและความยั่งยืนทางการเงิน และมีธรรมาภิบาลโดยสร้างกรอบกติกาทางกฎหมายกำกับการบริหารจัดการและคุ้มครองผลประโยชน์ของผู้ที่อยู่ต่างลุ่มน้ำ นอกจากนี้ยังกล่าวว่า ผลการวิจัยด้านการจัดการน้ำแล้งพบว่ามีจุดอ่อน คือ การจัดการแบบรวมศูนย์ไว้ที่หน่วยงานของรัฐ ในขณะที่การรวมกลุ่มผู้ใช้น้ำ (JMC) ที่กรมชลประทานสนับสนุนให้ก่อตั้งขึ้นนั้นมีกลุ่มที่เข้มแข็งไม่มากนัก ส่วนความพยายามในการตั้งคณะกรรมการลุ่มน้ำก็ไม่ประสบความสำเร็จเพราะขาดการ สนับสนุนและการรวมตัวของกลุ่มผู้ใช้น้ำในจังหวัดต่างๆซึ่งเป็นข้อต่อที่สำคัญ ดังนั้นหากรัฐต้องการกระจายอำนาจการจัดการน้ำอย่างแท้จริง ต้องสร้างความเข้มแข็งให้กลุ่มผู้ใช้น้ำและสนับสนุนให้กลุ่มผู้ใช้น้ำที่ต่างจังหวัดกันแต่มีปัญหาร่วมกัน หันมารวมกลุ่มกันเพื่อบริหารจัดการน้ำด้วยตนเอง จึงจะทำให้ตั้งคณะกรรมการลุ่มน้ำได้สำเร็จ ด้านการจัดการน้ำท่วมในลุ่มเจ้าพระยาวิเคราะห์พบปัญหาสำคัญ […]

เถียงให้รู้เรื่อง: “ภาษีมรดก”ลดความเหลื่อมล้ำได้จริงหรือ?

ดร. อดิศร์ อิศรางกูร ณ อยุธยา นักวิชาการและที่ปรึกษาทีดีอาร์ไอ ร่วมแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการลดความเหลื่อมล้ำด้วยการจัดเก็บภาษีมรดก ทางรายการ เถียงให้รู้เรื่อง ออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส วันที่ 11 มิถุนายน 2558

ไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียน: ทางเลือกใหม่สำหรับคนไทย?

อดิศร์ อิศรางกูร ณ อยุธยา หากพูดถึงการผลิตไฟฟ้าด้วยพลังหมุนเวียนก็จะมีแต่คนสรรเสริญ เพราะเป็นพลังงานสะอาด ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และสามารถลดการพึ่งพาน้ำมันหรือลดการใช้ถ่านหินลิกไนต์ แต่อาจไม่ลดการนำเข้าเท่าไหร่นะครับ เพราะพลังงานหมุนเวียนบางชนิด เช่น พลังลมหรือ พลังแสงอาทิตย์ยังต้องมีการนำเข้ากังหันลมและแผงโซล่าเซลล์จากต่างประเทศในราคาสูงอยู่ แต่ประโยชน์ที่สำคัญอีกประการหนึ่งของการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน คือ การสร้างความมั่นคงทางด้านพลังงาน ให้กับประเทศไทยโดยการกระจายฐานวัตถุดิบทำให้การผลิตไฟฟ้า ไม่ต้องพึ่งพาน้ำมันเชื้อเพลิงที่ต้องนำเข้ามากนัก ปัจจุบันประเทศไทยสามารถผลิตไฟฟ้าได้จากพลังงานหมุนเวียนหลายประเภทได้แก่ พลังงานชีวมวล (เช่น ของเหลือใช้จากการเกษตร) ก๊าซชีวภาพ (เช่น มูลสัตว์) ขยะ พลังงานลม พลังงานน้ำ และพลังงานแสงอาทิตย์ เหลืออีกอย่างเดียวเท่านั้นล่ะครับที่ประเทศไทยไม่อยากพูดถึงมันมากนักเพราะกลัววงแตก นั้นคือพลังงานนิวเคลียร์ ส่วนพลังงานชีวมวล ก๊าซชีวภาพ และขยะนั้น เป็นพลังงานที่น่าส่งเสริมเป็นอย่างยิ่งเพราะนอกจากจะได้ไฟฟ้ามาใช้แล้ว ยังเป็นการลดภาระต้นทุนในการกำจัดของเหลือใช้เหล่านี้ด้วย หรือที่เรียกว่า Waste To Energy นั่นเอง แต่สิ่งที่ผมอยากให้พวกเราให้ความสนใจมากขึ้นคือวิธีการที่หน่วยงานรัฐนำมาใช้ในการผลิตไฟฟ้าด้วยพลังงานหมุนเวียนนั่นคือการใช้ กลไกการรับซื้อไฟฟ้าจากผู้ประกอบการรายย่อยโดยการไฟฟ้าฯ (กฟน. และ กฟภ.) การไฟฟ้าฯ ใช้วิธีการรับซื้อที่เรียกว่า “ส่วนเพิ่มราคารับซื้อไฟฟ้า” หรือ Adder Cost ซึ่งเป็นการประกาศราคารับซื้อไฟฟ้าจากผู้ประกอบการรายย่อยที่ได้รับใบอนุญาตเข้าร่วมโครงการผลิตไฟฟ้าแล้วขายให้กับรัฐตามอัตรา “ส่วนเพิ่มราคารับซื้อไฟฟ้า”ที่รัฐประกาศ ปัจจุบัน […]

ว่าด้วยภาษีมรดก

รศ.ดร.อดิศร์ อิศรางกูร ณ อยุธยา ที่ปรึกษา สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย คนไทยส่วนใหญ่น่าจะดีใจที่รัฐบาลให้ความสำคัญกับการแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำด้วยการตราภาษีมรดก ในอดีตประเทศไทยเคยประกาศใช้ภาษีมรดกมาแล้วขณะนั้นเรียกว่า “พระราชบัญญัติอากรมฤดกและการรับมฤดก พุทธศักราช 2476” เป็นการเรียกเก็บภาษีจากทั้งผู้ตายทางหนึ่งและเก็บจากทายาทผู้รับมรดกอีกทางหนึ่ง แต่ด้วยความยุ่งยากในการจัดเก็บภาษีมรดกดังกล่าวจึงถูกยกเลิกไป ตลอดระยะเวลากว่า 50 ปีหลังจากนั้น สังคมไทยก็ท้าทายรัฐบาลชุดต่างๆ ให้นำภาษีมรดกกลับมาใช้ใหม่ แต่ก็ไม่มีรัฐบาลใดมีความกล้าหาญพอจนกระทั่งรัฐบาลพล.อ.ประยุทธที่เสนอให้มีการจัดเก็บภาษีมรดกอีกครั้ง แต่ก็ยังไม่มีผู้ใดทราบรายละเอียดเพราะต้องรอการพิจารณาของสภานิติบัญญัติ อย่างไรก็ตามการจัดเก็บภาษีมรดกที่รัฐบาลเสนอนั้นมีข้อกำหนดที่สำคัญ 3 ประการ คือ ประการที่หนึ่ง ภาษีมรดกกำหนดให้ทายาทที่รับมรดกเกิน 50 ล้านบาท ต้องเสียภาษีในอัตราร้อยละ 10 ซึ่งการกำหนดฐานภาษีและอัตราภาษีดังกล่าวจะทำให้รัฐบาลมีรายได้ภาษีมรดกน้อยมาก จากฐานข้อมูลการสำรวจภาวะเศรษฐกิจและสังคมของครัวเรือน ปี 2556 พบว่าจากจำนวนครัวเรือนในประเทศไทยทั้งหมด 22.63 ล้านครัวเรือน มีครอบครัวที่มีทรัพย์สินเกิน 50 ล้านบาทเพียง 17,655 ครัวเรือนเท่านั้น ในจำนวนนี้หากนำจำนวนบุตรมาหารพบว่ามีจำนวนทายาทที่รับมรดกเกิน 50 ล้านบาทเพียง 5,626 คน โดยทายาทแต่ละคนจะรับมรดกเฉลี่ยคนละ 93.61 ล้านบาท เมื่อทายาทเหล่านี้ต้องเสียภาษีมรดกเฉพาะในส่วนที่เกิน 50 ล้านบาท พบว่าทายาทแต่ละคนต้องเสียภาษีให้รัฐเฉลี่ยคนละ 7.67 […]

1 3 4 5 6 7