foodwaste

ขยะอาหาร

เรื่องใกล้ แต่ใหญ่กว่าที่คิด

1 ใน 3 ของอาหารที่เรากินอยู่ทุกวัน ถูกทิ้งทั้งที่ยังกินได้

ข้อมูลจาก “Food Wastage Footprint : Impacts on
Natural Resources” โดย องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (UNFAO)

ในขณะที่เราทิ้งอาหารที่ยังกินได้ มีประชากรทั่วโลกกว่า

คน

ต้องเผชิญความหิวโหย

ข้อมูลจาก “Food Wastage Footprint : Impacts on
Natural Resources” โดย องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (UNFAO)

ลดปริมาณ “ขยะอาหาร” เป็นเป้าหมายโลก

การลดขยะอาหารเป็นหนึ่งในเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDG) ซึ่ง UN ได้ตั้งเป้า ให้ในปี ค.ศ. 2030 ขยะอาหารที่เกิดจากการจำหน่ายและการบริโภคทั่วโลกต้องลดลง 50%

ฝรั่งเศส ออกกฎหมายว่าด้วยการต่อต้านขยะอาหาร

สหรัฐอเมริกา เน้นมาตรการสร้างแรงจูงใจในการลดขยะอาหาร มากกว่าการลงโทษ

เกาหลีใต้ ให้ความสำคัญกับการลด ปริมาณขยะอาหารในภาคครัวเรือนด้วยเทคโนโลยี

จากเป้าหมาย…สู่กรอบแนวคิดในการลดขยะอาหาร 5 ขั้นตอน

ป้องกัน (prevention)

ป้องกันการเกิดขยะอาหารและอาหารส่วนเกินโดยวางแผนการกินให้ดี

จัดสรรอาหารเพื่อประโยชน์สูงสุด (optimization)

ส่งต่ออาหารส่วนเกินไปบริจาคแก่ผู้ยากไร้ และผลิตเป็นอาหารสัตว์

ผลิตเพื่อใช้ใหม่ (recycle)

นำขยะอาหารมาผลิตก๊าซชีวภาพ เพื่อใช้เป็นพลังงานและนำมา ผลิต ปุ๋ย และน้ำหมักชีวภาพ ไว้ใช้ประโยชน์

กำจัดเพื่อนำพลังงานมาใช้ใหม่ (recovery)

นำขยะอาหารมาเผาเพื่อผลิตพลังงาน

กำจัด (disposal)

นำขยะอาหารที่ไม่สามารถใช้ประโยชน์ ไปฝังกลบ และเผาเพื่อกำจัด

สำหรับประเทศไทย ค่านิยม “เหลือ…ดีกว่าขาด” ทำให้อาหารส่วนเกินจำนวนมาก กลายเป็นขยะอาหาร แล้วส่วนใหญ่ได้รับการจัดการอย่างไม่เหมาะสม ทำให้เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อมตามมา

แล้วอาหารที่เราทิ้ง…ยังกินได้ไหม ?

ยังกินได้

“อาหารส่วนเกิน” (Food surplus) เป็นอาหารที่เกินจากความต้องการของเรา ถึงแม้จะสามารถนำไปบริโภคต่อได้ แต่คนส่วนมากเลือกที่จะ “ทิ้ง” เช่น ผัก ผลไม้ที่ถูกตัดแต่งเพื่อความสวยงาม หรืออาหารกระป๋องที่เราทิ้งไปโดยที่ยังไม่หมดอายุ

กินไม่ได้แล้ว

“ขยะอาหาร” (food waste) คือ เศษอาหารที่ไม่สามารถนำมาบริโภคต่อได้ อาจเป็นสิ่งที่เหลือจากการบริโภค เช่น เปลือกผลไม้ หรือ เป็นอาหารที่เราทิ้งให้หมดอายุจนไม่สามารถเอามาบริโภคต่อได้

ทั้ง ‘อาหารส่วนเกิน’ และ ‘ขยะอาหาร’ ถูกทิ้งรวมกัน ถึงแม้ว่าจะมีส่วนที่ยังกินได้อยู่ก็ตาม

ขยะอาหารของไทยมีมาก และยังจัดการไม่ดีพอ

ข้อมูลจากกรมควบคุมมลพิษ ระบุว่าในปี 2560 มีขยะอาหารคิดเป็นร้อยละ 64 ของปริมาณทั้งหมด หรือ 254 กิโลกรัมต่อคนต่อปี แต่ไทยมีการนำขยะอาหารไปใช้ประโยชน์น้อยมาก เนื่องจากเทศบาลส่วนมากไม่มีการแยกขยะ และในส่วนของ กทม. สามารถรีไซเคิลขยะอาหารได้เพียง 2 % เท่านั้น

  • ขยะอื่นๆ 3% 3%
  • ขยะอันตราย 3% 3%
  • ขยะรีไซเคิล 30% 30%
  • ขยะอินทรีย์ (ขยะอาหาร) 64% 64%

ขยะอาหาร…เรื่องยาก แต่มีคนเริ่มแล้ว

ภาคธุรกิจในประเทศไทยเริ่มตระหนักถึงเรื่องขยะอาหาร โดยผู้ริเริ่มส่วนใหญ่เป็นสาขาของบริษัทต่างชาติ ที่บริษัทแม่มีนโยบายลดขยะอาหาร เช่น IKEA และ เทสโก้โลตัส รวมถึงผู้ประกอบการไทย ที่เข้าร่วมโครงการของสำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน)
หรือ สสปน. ต่างมีแนวคิดขับเคลื่อนการลดปริมาณขยะอาหาร และนำอาหารส่วนเกินที่ยังมีคุณภาพดีไปบริจาค ผ่านหน่วยงานเพื่อการกุศลอย่าง SOS (Scholars of Sustenance)

ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการจัดการขยะอาหารโดยภาคธุรกิจไทย

ผู้บริจาคอาหาร

ประกอบไปด้วย

  • สสปน. หน่วยงานของรัฐที่อุดหนุนค่าใช้จ่ายในการจัดการขยะอาหาร โดยมี LightBlue Environmental Consulting เป็นที่ปรึกษา
  • โรงแรมขนาดใหญ่ ที่มี เข้าร่วมกับสสปน.
  • ร้านค้าปลีกขนาดใหญ่ โดยเป็นร้านค้าปลีกขนาดใหญ่จากต่างประเทศ

ตัวกลางในการนำอาหารไปบริจาค

ปัจจุบันมีเพียง SOS ที่เป็นตัวกลางในการนำอาหารไปบริจาคที่มีมาตรฐานในการขนส่ง

ผู้รับบริจาคอาหาร

อาหารที่บริจาคจะถูกส่งไปยังองค์กร หรือชุมชนที่รับบริจาคอาหาร เช่น บ้านพักคนชรา บ้านเด็กกำพร้า

แต่การดำเนินการของภาคธุรกิจและผู้เกี่ยวข้องนี้เป็นเพียงจุดเริ่มต้นเท่านั้น
มีสิ่งที่ประเทศไทยต้องแก้ไข ปรับปรุงเพื่อให้เกิดการจัดการขยะที่ดี

ขยะอาหาร ไปต่อยังไง…ให้สำเร็จและยั่งยืน

ทำให้บริษัทเก็บขยะมีความหลากหลาย

เนื่องจากการบริหารจัดเก็บขยะและการบริหารจัดการขยะของภาคเอกชน ได้รับสัมปทานจากเทศบาลหรือสำนักงานเขตในบางพื้นที่ทำให้มีค่าใช้จ่ายในการจัดเก็บขยะสูงเกินควร

ทำให้ตัวกลางในการนำอาหารไปบริจาคมีเพิ่มขึ้น

ปัจจุบันมีเพียง SOS ที่เป็นองค์กรไม่แสวงหาผลกำไรที่มีระบบขนส่งอาหารที่ได้มาตรฐาน แต่ SOS ก็จะต้องแบกรับความเสี่ยงต่อการถูกฟ้องร้องหากอาหารส่งผลเสียต่อผู้รับบริจาค

ทำให้คนเห็นความสำคัญของการแยกขยะ

คนไทยส่วนใหญ่มักทิ้งขยะอาหารรวมกับขยะทั่วไป ทำให้การคัดแยกขยะก่อนการนำไปรีไซเคิลและกำจัดเป็นไปได้อย่างยากลำบาก การใช้ประโยชน์จากขยะอาหารจึงทำได้ยาก

ทำให้ข้อมูลการจัดการขยะอาหารสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้

ประเทศไทยมีผู้เล่นในระบบนิเวศของการบริหารจัดการอาหารที่ครบถ้วนแล้ว แต่การทำงานของแต่ละส่วนยังไม่เชื่อมโยงกัน และยังขาดฐานข้อมูลเกี่ยวกับขยะอาหาร

3 แนวทาง

สู่นโยบายการจัดการขยะอาหารที่ดี

เพิ่มเพื่อลด

  • เพิ่มแรงจูงใจในการลดปริมาณขยะอาหาร
    • ให้ tax credit สำหรับค่าใช้จ่ายในการวางระบบจัดการขยะอาหารให้กับภาคธุรกิจ
    • คืน VAT ให้แก่ผู้บริจาคอาหาร เพื่อกระตุ้นให้เกิดการหมุนเวียนส่งต่ออาหาร
  • เพิ่มอัตราค่าธรรมเนียมการจัดเก็บขยะให้สะท้อนต้นทุน(Polluters pay)
  • เพิ่มกฎหมายคุ้มครองผู้บริจาค และตัวกลางในการบริจาคอาหาร โดยออกกฎหมายคุ้มครองผู้บริจาคอาหารที่ทำตามมาตรฐานของการบริจาคอาหาร

งดเพื่อเปลี่ยน

  • งดการทิ้งขยะรวมกัน โดยแยกการจัดเก็บขยะอินทรีย์
  • งดทิ้งขยะอาหารไปโดยเปล่าประโยชน์ โดยจัดศูนย์แปรรูปขยะอาหารเป็น ปุ๋ย น้ำหมักชีวภาพ ในแต่ละองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

เรียนรู้กับข้อมูล

  • ให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์แก่ผู้ที่ต้องการบริจาคอาหารโดยสร้าง platform ระหว่างผู้ที่ต้องการรับบริจาคอาหาร และผู้บริจาคอาหาร
  • ส่งต่อฐานข้อมูลในการบริหารจัดการขยะอาหาร โดยจัดทำฐานข้อมูลปริมาณขยะอาหาร