Renewal Energy

renewal energy

ลมและแสงอาทิตย์
อนาคตของระบบไฟฟ้าไทย

ภาคการผลิตไฟฟ้ากำลังเผชิญความท้าทาย ทั้งจากความเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี
ปัญหาสภาพแวดล้อม และทรัพยากรธรรมชาติที่กำลังลดน้อยลง สวนทางกับความต้องการใช้ไฟฟ้าที่เพิ่มมากขึ้น
เพื่อรองรับการเจริญเติบโตของเมืองและทำให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีกว่าเดิม

การผลิตไฟฟ้าด้วยแนวทางที่ยั่งยืนและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม อย่างพลังงานหมุนเวียนจากลมและแสงอาทิตย์
จึงเป็นเป้าหมายของภาคการผลิตไฟฟ้าของหลายประเทศทั่วโลก แม้ว่าประเทศไทยค่อยๆ เพิ่มสัดส่วนการผลิตไฟฟ้าตามแนวทางดังกล่าว แต่อาจยังไม่เพียงพอต่อการรับมือความท้าทายในอนาคต

Policy Pop up จึงสรุปความเปลี่ยนแปลงด้านการผลิตไฟฟ้าของโลก และกรณีของไทยผ่านแผน PDP2018
ที่หากผู้กำหนดนโยบายและประชาชนจะหนุนพลังงานหมุนเวียนให้เติบโต
จะต้องมองให้เห็นโอกาส ก้าวข้ามผ่าน 6 ความเชื่อ ไปก่อน
พร้อมข้อเสนอจาก ดร. วิชสิณี วิบุลผลประเสริฐ
ที่นำไปสู่คำตอบว่า “ค่าไฟ” ของคนไทย ควรปรับอย่างไรให้เหมาะสมและเป็นธรรม

เทรนพลังงานทั่วโลกเปลี่ยนไป

ประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก ใช้พลังงานจากฟอสซิล (ถ่านหิน น้ำมันเชื้อเพลิง ก๊าซธรรมชาติ) เป็นเชื้อเพลิงหลักในการผลิตไฟฟ้ามาช้านาน การค้นพบว่าเพลิงฟอสซิลเหล่านี้ถือเป็นตัวการหนึ่งของการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดอ๊อกไซด์จำนวนมหาศาลซึ่งเป็นสาเหตุของการเปลี่ยนแปลงสภาวะภูมิอากาศ (climate change) จึงทำให้แนวโน้มการผลิตไฟฟ้าในอนาคตมุ่งไปสู่การเพิ่มสัดส่วนพลังงานหมุนเวียน และลดสัดส่วนเชื้อเพลิงฟอสซิลลงเรื่อย ๆ

พลังงานทดแทนที่สำคัญ เช่น พลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานลม, พลังงานน้ำ, พลังงานจากความร้อนใต้พิภพ, พลังงานคลื่น, เชื้อเพลิงชีวภาพ, พลังงานชีวมวล, พลังงานจากขยะ ล้วนเป็นพลังงานทางเลือกที่สะอาดและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม นอกจากนี้พลังงานทดแทนดังกล่าวบางชนิดยังถือเป็นพลังงานหมุนเวียน (Renewal Energy)  ที่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้อีกด้วย

ไทยใช้พลังงานลม-แสงอาทิตย์

มาผลิตไฟฟ้าแค่ 4 %

 แผน PDP2018 ของไทย

ยังเน้นพลังงานหมุนเวียนไม่มากพอ

แผนพัฒนากำลังการผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย (Thailand Power Development Plan) คือ แผนระยะยาว 15-20 ปี ที่จัดทำโดยกระทรวงพลังงาน (พน.) เพื่อวางแผนการใช้พลังงานอย่างเป็นระบบและใช้พลังงานหมุนเวียนมาร่วมผลิตไฟฟ้าให้เพียงพอกับความต้องการใช้พลังงาน 

ในขณะที่ทั่วโลกกำลังหันเข้าหาพลังงานหมุนเวียน แต่แผนพัฒนากำลังการผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย ในปี พ.ศ. 2561-2580 (PDP2018) ยังคงมีการขยายสัดส่วนของพลังงานฟอสซิลเพิ่มขึ้น แต่ยังคงสัดส่วนของพลังงานหมุนเวียนไว้เท่าเดิม เมื่อเทียบกับแผนปริมาณการผลิตไฟฟ้าตามประเภทเชื้อเพลิงใน PDP2015

ที่มา: ปริมาณการผลิตไฟฟ้าตามประเภทเชื้อเพลิง ในปี 79-80 ของ PDP2015 และ PDP2018

สัดส่วน
พลังงานฟอสซิล
ขยายเพิ่ม  

 

พลังงานหมุนเวียน 
ยังเท่าเดิม

“มอง” ให้เห็นโอกาสของ

พลังงานลมและแสงอาทิตย์

 จาก 6 ความเชื่อ (Myths) และข้อเท็จจริง (Reality)
เกี่ยวกับการนำพลังงานหมุนเวียนที่มีความผันผวนเข้ามาในระบบไฟฟ้า 

ความผันผวน

คนมักเชื่อว่า
ลมและแสงอาทิตย์
เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา จัดการยาก

“ในชีวิตประจำวัน เราคุ้นเคยกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศอย่างรวดเร็ว เช่น อยู่ดีๆ ลมก็หยุดพัด หรือมีเมฆมาบังแสงอาทิตย์
จึงไม่แปลกที่คิดว่าพลังงานหมุนเวียนผันผวน
แต่ความผันผวนนี้จัดการไม่ได้ จริงหรือ”

ต้นทุน

คนมักเชื่อว่า
เพิ่มพลังงานหมุนเวียน
จะยิ่งเพิ่มต้นทุนของโรงไฟฟ้า

“การมีพลังงานหมุนเวียนเข้ามา จะทำให้โรงไฟฟ้าระบบเดิมต้องปรับระดับการผลิตไฟฟ้าขึ้น-ลงบ่อยยิ่งขึ้น
ซึ่งส่งผลกระทบต่อโรงไฟฟ้าในทางเทคนิค
และทำให้ต้นทุนของระบบไฟฟ้าโดยรวมเพิ่มขึ้น จริงหรือ”

การสำรองไฟฟ้า

คนมักเชื่อว่า
พลังงานหมุนเวียนมีความไม่แน่นอนสูง
ต้องสำรองกำลังไฟฟ้าไว้ในสัดส่วน 1 ต่อ 1

“การสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานความร้อน  (conventional power plant) เพื่อเป็นแหล่งผลิตไฟฟ้าสำรอง (backup generation) ให้กับไฟฟ้าที่ผลิตจากพลังงานลมและแสงอาทิตย์ เป็นต้นทุนที่สูงมาก แต่พลังงานหมุนเวียนจำเป็นต้องสำรองไฟไว้มาก จริงหรือ”

การเชื่อมต่อโครงข่าย

คนมักเชื่อว่า
ต้นทุนการเชื่อมต่อโครงข่ายไฟฟ้า
พลังงานหมุนเวียนแพงเกินไป

“แหล่งพลังงานลมและแสงอาทิคย์
มักตั้งอยู่ห่างไกลจากสถานที่มีการใช้ไฟฟ้า
ทำให้การเชื่อมต่อกับระบบไฟฟ้านั้นมีต้นทุนที่แพง จริงหรือ”

ระบบกักเก็บพลังงาน

คนมักเชื่อว่า
ระบบกักเก็บพลังงาน (Energy storage) เป็นเครื่องมือที่จำเป็นในการรองรับความผันผวน

“ระบบกักเก็บพลังงานเท่านั้น
ที่สามารถช่วยรองรับความผันผวน
ของพลังงานลมและแสงอาทิตย์ได้ จริงหรือ”

f

เสถียรภาพของระบบ

 คนมักเชื่อว่า
พลังงานลมและแสงอาทิตย์ ไม่มีแรงเฉื่อย
จึงลดเสถียรภาพของระบบไฟฟ้า

“โรงไฟฟ้าประเภทพลังงานหมุนเวียนนั้นไม่ได้เชื่อมต่อกับระบบไฟฟ้าในแบบเดียวกันกับโรงไฟฟ้าแบบดั้งเดิมและไม่ได้มีแรงเฉื่อย ทำให้ขาดสมดุลของระบบกำลังไฟฟ้า จริงหรือ”

ความเชื่อที่ 1: ความผันผวนที่เกิดจากลมและแสงอาทิตย์ เป็นสิ่งที่จัดการไม่ได้

มองใหม่ :
ลมและแสงอาทิตย์เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา แต่จัดการได้

ระบบไฟฟ้าปัจจุบันต้องจัดการความผันผวนในความต้องการพลังงานอยู่แล้ว นอกจากนี้การกระจายระบบพลังงานหมุนเวียนไว้หลายที่จะช่วยลดความผันผวนโดยรวมได้อีกทาง

แม้ลมและแดดมีการเปลี่ยนแปลง แต่ระบบไฟฟ้าในปัจจุบันจัดการกับ ความต้องการใช้ไฟฟ้า (power demand) ที่มีความผันผวนอยู่แล้ว ดังนั้น ความผันผวนจากสภาพอากาศของพลังงานหมุนเวียนในระยะสั้นแทบแยกไม่ออกกับความผันผวนเดิมที่มีอยู่ และสามารถจัดการได้ นอกจากนี้ หากมีระบบพลังงานหมุนเวียนกระจายหลายที่ก็จะช่วยให้ความผันผวนโดยรวมหายไป

ความเชื่อที่ 2 : การเพิ่มพลังงานหมุนเวียนในระบบไฟฟ้า  ต้องมีการปรับการผลิตไฟขึ้น-ลงบ่อยครั้ง จะเพิ่มต้นทุนให้ระบบไฟฟ้า

มองใหม่ :
ต้นทุนของพลังงานหมุนเวียน จัดการได้

“ในต่างประเทศมีเทคนิคในการปรับระดับการผลิตขึ้นลงอย่างรวดเร็วโดยไม่ทำให้ต้นทุนสูง และมีเทคโนโลยีคาดการณ์ผลผลิตไฟฟ้าแบบ real-time เพื่อปรับแผนได้ทันที”

ในระบบไฟฟ้าขนาดใหญ่ของประเทศที่ยังมีสัดส่วนของพลังงานหมุนเวียนไม่มาก ความผันผวนจากพลังงานหมุนเวียนจะน้อยมาก แม้ในอนาคตที่จะมีสัดส่วนเพิ่มขึ้น โรงไฟฟ้าพลังความร้อนก็มีความสามารถทางเทคนิคในการปรับระดับการผลิตเพิ่มขึ้นหรือลดลงอย่างรวดเร็วและบ่อยครั้งได้ โดยไม่ทำให้ต้นทุนสูงขึ้น และมีเทคโนโลยีพยากรณ์ผลผลิตไฟฟ้า ทำให้ปรับแผนการผลิตไฟฟ้าให้ใกล้กับเวลาปัจจุบัน (real-time) มากที่สุด

วามเชื่อที่ 3 : พลังงานหมุนเวียนมีความไม่แน่นอนสูง ดังนั้นต้องมีการกำลังไฟฟ้าสำรองไว้ในสัดส่วน 1 ต่อ 1

มองใหม่ :
พลังงานหมุนเวียน ไม่จำเป็นต้องสำรองไฟไว้แบบ 1ต่อ1

พลังงานลมและแสงอาทิตย์ขนาด 1 เมกะวัตต์ มีการผลิตไฟฟ้า ณ ขณะใดขณะหนึ่ง โดยเฉลี่ยไม่เกิน 50% ของกำลังการผลิตสูงสุด ดังนั้นการจัดหากำลังผลิตไฟฟ้าสำรองไม่จำเป็นต้องถึงสัดส่วน 1 ต่อ 1 หรือสำรองเพียงส่วนที่ผลิตไฟฟ้าได้จริงเฉลี่ยต่อปีเท่านั้น”

ผู้ดูแลระบบสามารถใช้วิธีการบริหารจัดการอื่น ๆ เพื่อรองรับความผันผวนนี้ได้  เช่น Demand-side response, battery storage  ซึ่งการเตรียมการโดยใช้เครื่องมือที่หลากหลาย จะช่วยให้ระบบไฟฟ้ามีความยืดหยุ่นและมีต้นทุนรวมต่ำกว่าการเตรียมกำลังการผลิตไฟฟ้าสำรองจากโรงไฟฟ้าเพียงอย่างเดียว

วามเชื่อที่ 4 : ต้นทุนการเชื่อมต่อโครงข่ายไฟฟ้าแพงเกินไป

มองใหม่ :
ต้นทุนโครงข่ายคิดเป็นเพียง 1ใน10 ของการผลิตไฟฟ้า

ต้นทุนของการปรับปรุงขยายโครงข่ายไฟฟ้ามีมูลค่าเพียงแค่ 1ใน10 ของต้นทุนกำลังการผลิตไฟฟ้าเท่านั้น ในขณะที่ประโยชน์อื่น ๆ จากการขยายโครงข่ายระบบส่งไฟฟ้ายังมีอีกมาก”

การปรับปรุงโครงข่ายในประเทศสหรัฐอเมริกา มีต้นทุนในการขยายระบบส่งไฟฟ้าเพื่อเชื่อมต่อแหล่งพลังงานลมอยู่ที่ประมาณ 15% ของต้นทุนระบบผลิตไฟฟ้าจากพลังงานลม

แต่อย่างไรก็ตามต้นทุนดังกล่าวมักจะผันแปรอย่างกว้างๆ หรือ คิดเป็นหนึ่งในสิบของต้นทุน ซึ่งการขยายโครงข่ายมีประโยชน์เพิ่มเติมคือ การลดความคับคั่งของโครงข่ายไฟฟ้า (Transmission congestion) และการเพิ่มความมั่นคงในระบบส่งไฟฟ้า

นอกจากนี้ เทคโนโลยีพลังงานหมุนเวียน ที่มีประสิทธิภาพสูงขึ้นและต้นทุนต่ำลงจะช่วยให้การติดตั้ง ระบบพลังงานหมุนเวียนมีความคุ้มค่ามากขึ้นแม้จะอยู่ในสถานที่ที่ทรัพยากรพลังงานหมุนเวียนไม่มากก็ตาม

วามเชื่อที่ 5: ระบบกักเก็บพลังงาน (Energy storage) เป็นเครื่องมือที่จำเป็นในการรองรับความผันผวน

มองใหม่ :
ยังมีอีกหลายวิธี ที่ช่วยรองรับความผันผวน

ระบบกักเก็บพลังงานเป็นสิ่งจำเป็นเนื่องจากการเชื่อมต่อพลังงานหมุนเวียนต้องการระบบกำลังไฟฟ้าที่มีความยืดหยุ่น แต่ระบบกักเก็บพลังงานนั้นไม่ใช่วิธีเดียวที่จะช่วยเพิ่มความยืดหยุ่นของระบบไฟฟ้า

เครื่องกำเนิดไฟฟ้า เช่น โรงไฟฟ้าพลังงานความร้อน (Thermal power plant) และ โรงไฟฟ้าพลังน้ำแบบมีอ่างเก็บน้ำ (Reservoir hydro) ก็สามารถเพิ่มความยืดหยุ่นและตอบสนองความผันผวนในระบบ ได้เช่นกัน

นอกจากนั้นยังมีวิธีการอีกหลากหลายในการช่วยเพิ่มความยืดหยุ่น เช่น มาตรการตอบสนองด้านความต้องการใช้ไฟฟ้า (Demand-side response, DSR) หรือ การซื้อขายแลกเปลี่ยนไฟฟ้ากับระบบไฟฟ้าอื่น ๆ อันที่จริงแล้วระบบกักเก็บพลังงานเป็นเพียงหนึ่งในรูปแบบของทางเลือกเท่านั้น

วามเชื่อที่ 6: พลังงานหมุนเวียนไม่มีแรงเฉื่อย จึงลดเสถียรภาพของระบบไฟฟ้า

มองใหม่ :
พลังงานลมและแสงอาทิตย์เป็นการช่วยเสริมระบบ
ดังนั้นแรงเฉื่อยไม่เป็นปัญหา

โรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียน ไม่ได้มีแรงเฉื่อยเพื่อพยุงระบบไฟฟ้าดังเช่นโรงไฟฟ้าแบบดั้งเดิม แต่ตราบใดที่สัดส่วนกำลังผลิตจากพลังงานหมุนเวียนในระบบไฟฟ้ายังน้อยอยู่ ข้อกังวลเรื่องแรงเฉื่อยจะไม่เป็นปัญหา 

โรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนรุ่นใหม่ๆ มีความสามารถทางด้านเทคโนโลยีในการสนับสนุนแบบต่างๆ เพื่อเพิ่มเสถียรภาพให้ระบบไฟฟ้าอยู่แล้ว แต่ต้องได้รับการสนับสนุนเพื่อนำบริการนี้มาใช้ควบคู่ไปกับการติดตั้งเข้าสู่ระบบ

อนาคตพลังงานไฟฟ้าไทยจะสดใส ไทยต้องปฏิรูปวิธีการเก็บค่าไฟ

ความเสี่ยงทางด้านพลังงานเกิดขึ้นแล้ว นอกจากการหาทางเลือกทางด้านพลังงานเพิ่มเติม อีกสิ่งหนึ่งที่ควบคุมได้มากกว่า คือปริมาณการใช้ไฟฟ้า

การเพิ่มขึ้นของโซลาร์เซลล์ในระบบ ทำให้ต้นทุนการผลิตไฟฟ้าในช่วงกลางวันของบางวัน ถูกกว่าช่วงกลางคืนแล้ว แต่โครงสร้างไฟฟ้าปัจจุบันทำให้เราจ่ายค่าไฟฟ้าช่วงกลางวันแพงกว่า
ดังนั้นการปรับโครงสร้างค่าไฟจึงเป็นอีกส่วนที่จะทำให้การวางแผนพลังงานในอนาคตมีประสิทธิภาพ

 

ต้อนรับพลังงานหมุนเวียน

“ปรับโครงสร้างค่าไฟ” ให้ทุกฝ่ายได้ประโยชน์

 

ปัจจุบันเราจ่ายค่าไฟด้วยโครงสร้างที่เหมารวม

ปัจจุบันผู้ใช้ไฟฟ้าที่สามารถผลิตไฟฟ้าใช้เองจากพลังงานหมุนเวียน (แต่ยังต้องพึ่งพาไฟฟ้าบางส่วนจากโครงข่ายไฟฟ้าอยู่) ไม่ได้ร่วมจ่ายค่าต้นทุนโครงสร้างพื้นฐาน และค่ากำลังไฟช่วง peak ตามสัดส่วนที่เหมาะสม จึงเกิดข้อกังวลว่าภาระต้นทุนส่วนนี้จะถูกผลักไปยังผู้ใช้ไฟฟ้าที่ไม่สามารถผลิตไฟฟ้าใช้เองจากพลังงานหมุนเวียน

ข้อกังวลนี้สามารถแก้ไขได้ด้วยการปรับปรุงโครงสร้างค่าไฟฟ้าให้เหมาะสม

แยกโครงสร้างราคาค่าไฟฟ้าให้สะท้อน 3 ต้นทุน

ราคาซื้อไฟฟ้าจากโครงข่าย

ควรประกอบด้วย

 

ค่าต้นทุนรวมและบริการของกฟผ.

ค่าไฟฟ้าส่วนคงที่ (fixed charge) ที่สะท้อนต้นทุนคงที่ของระบบ เช่น การสร้างสายส่งไฟฟ้า 

“ผู้ใช้ไฟฟ้าทุกราย” ที่ยังต้องพึ่งพาไฟฟ้าจากโครงข่ายอยู่ ควรร่วมจ่ายต้นทุนดังกล่าวในสัดส่วนที่เท่ากัน ไม่ว่าจะซื้อไฟฟ้าจากโครงข่ายมากหรือน้อยก็ตาม

ค่าไฟฟ้าตามการใช้ไฟฟ้าสูงสุด

ค่ากำลังไฟฟ้า (demand charge) ที่สะท้อนต้นทุนการจัดหาไฟมาสนองความต้องใช้สูงสุด (peak) เช่น ในเวลากลางคืนที่เพิ่มสูงขึ้น

“ผู้ที่ผลิตไฟฟ้าเอง” จากพลังงานหมุนเวียน ตราบใดที่ยังคงต้องพึ่งพาไฟฟ้าจากโครงข่ายไฟฟ้าอยู่ จะต้องจ่ายค่าไฟฟ้าส่วนนี้ ตามสัดส่วนความต้องการไฟฟ้าจากระบบสูงสุดของตนเอง 

ค่าไฟฟ้าต่อหน่วยไฟฟ้าที่ใช้

ค่าไฟฟ้าส่วนผันแปร (variable charge)  ต้นทุนที่โรงไฟฟ้าต้องใช้เชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้ามาจ่ายกับผู้ใช้ไฟ

“ผู้ที่ผลิตไฟฟ้าเอง” จากพลังงานหมุนเวียน จะจ่ายค่าไฟฟ้าส่วนนี้ ลดลงตามหน่วยไฟฟ้าที่ต้องซื้อน้อยลง

ราคาขายไฟฟ้าเข้าสู่โครงข่าย

 

สำหรับผู้ที่ผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนเพื่อใช้เอง และมีไฟฟ้าเหลือเพื่อส่งกลับโครงข่ายไฟฟ้านั้น ไฟฟ้าที่ไหลกลับสู่โครงข่ายจะช่วยลดต้นทุนการผลิตไฟฟ้าต่อหน่วย (variable cost) ของกฟผ. ได้ ดังนั้นผู้ใช้ไฟฟ้าที่ส่งไฟฟ้ากลับคืนโครงข่าย ควรได้รับการชดเชยในอัตราที่เท่ากับต้นทุนการผลิตไฟฟ้าต่อหน่วย ณ ขณะนั้น

สัญญาณราคาซื้อและขายไฟฟ้าที่เหมาะสม
จะนำไปสู่พฤติกรรมการใช้ไฟฟ้
และระดับการลงทุน
ในพลังงานหมุนเวียนที่สมดุล