Road Safety

ย้อนดูสถิติ
เจ็บ-ตายบนถนนไทย ปี 2564 – 2566

เดินหน้าสู่เป้าหมายลดผู้เสียชีวิตก่อนปี 2570

ประเทศไทยมีอัตราการเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนนสูงเป็นอันดับ 9 ของโลก จากการสำรวจขององค์กรอนามัยโลก (ข้อมูลปี 2561) และได้มีความพยายามในการลดอุบัติเหตุด้วยมาตรการต่างๆ อย่างต่อเนื่อง ส่วนหนึ่งคือการตั้งเป้าหมายการลดอุบัติเหตุร่วมกันของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ภายใต้แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์แห่งชาติ ประเด็นโครงสร้างพื้นฐาน ระบบโลจิสติกส์ และดิจิทัล เพื่อบรรลุเป้าหมายการลดอุบัติเหตุบนท้องถนนก่อนปี 2570 ที่จะถึงในอีก 5 ปีข้างหน้านี้

ทีดีอาร์ไอร่วมติดตามประเมินผลและกำหนดตัวชี้วัดที่สะท้อนมาตรการลดอุบัติเหตุทางถนนของไทย โดยสรุปข้อมูลภาพรวมยอดผู้เสียชีวิตสะสมทั่วประเทศตั้งแต่ปี 2563-2566 รวมถึงแสดงข้อมูลประเมินผลตัวชี้วัดรายจังหวัดบนหน้าเว็บไซต์ ซึ่งมีที่มาจากการรวบรวมข้อมูลการบูรณาการจำนวนผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนน 3 ฐาน จากกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข มาใช้วิเคราะห์เป้าหมายของแต่ละตัวชี้วัด เพื่อเป็นทิศทางให้กับองค์กรส่วนจังหวัดและภูมิภาคในการกำหนดมาตรการด้านความปลอดภัยบนท้องถนน

ในทศวรรษที่ผ่านมา มีผู้เสียชีวิต
จากอุบัติเหตุทางถนน เฉลี่ย

คนต่อปี

ที่มาข้อมูลผู้เสียชีวิต อ่านเพิ่มเติม

ข้อมูลปี 2555 – 2565 ฐานข้อมูลการบูรณาการจำนวนผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนน 3 ฐาน

ช่วง 5 ปีที่ผ่านมา มีผู้บาดเจ็บสาหัส
จากอุบัติเหตุทางถนน เฉลี่ย

คนต่อปี

ที่มาข้อมูลผู้บาดเจ็บสาหัส อ่านเพิ่มเติม

ผู้บาดเจ็บสาหัสจากอุบัติเหตุทางถนน คือ ผู้ประสบอุบัติเหตุบนท้องถนนที่เป็นผู้ป่วยใน อ้างอิงจากข้อมูลผู้ป่วยใน (IPD) จากอุบัติเหตุทางถนน คลังข้อมูลสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข (Health Data Center: HDC) ซึ่งครอบคลุมข้อมูลจากหน่วยบริการในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข และ ปรับปรุงจำนวนผู้บาดเจ็บสาหัสในกรุงเทพฯ จากข้อมูลบริษัท กลางคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ จำกัด (ข้อมูลปี 2563-2564)

ผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บลดลงในช่วงโควิด แต่ปีที่ผ่านเริ่มส่งสัญญาณตัวเลขเพิ่มมากขึ้น

ผู้เสียชีวิตและผู้บาดเจ็บสาหัสจากอุบัติเหตุทางถนนในประเทศไทยค่อนข้างคงตัวในทศวรรษที่ผ่านมา แต่ลดลงใน ช่วงปี 2563 – 2564 ที่เป็นช่วงการแพร่ระบาดของโรคโคโรน่าไวรัส 2019 อย่างไรก็ตาม ณ สิ้นสุดไตรมาสที่ 4 ปี 2565 มีจำนวนผู้เสียชีวิตสะสมใกล้เคียงกับปี 2564 ทั้งปี จำนวนผู้เสียชีวิตในภาพรวมจึงอาจกลับมาเพิ่มขึ้นอีกครั้ง และในจำนวนนี้มีกลุ่มเสี่ยงจำนวนมากที่เสียชีวิตบนท้องถนน

3 กลุ่มเสี่ยงอุบัติเหตุบนท้องถนน

แผนแม่บทฯ ฉบับที่ 5 มุ่งเน้นการจัดการกับความเสี่ยงหรือภัยคุกคามสำคัญของประเทศอย่างจริงจัง เร่งด่วน ซึ่งครอบคลุมประเด็น ผู้ใช้รถใช้ถนนทุกกลุ่ม โดยให้ความสำคัญกับกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูง และกลุ่มผู้เดินทางที่มีความเปราะบางเป็นสำคัญ ตัวอย่าง 3 กลุ่มเสี่ยงสำคัญ ได้แก่  ผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์ ผู้สูงอายุ และ คนเดินเท้า 

ผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์

ยานพาหนะที่เกิดอุบัติเหตุบ่อยที่สุด

ในทศวรรษที่ผ่านมา สัดส่วนผู้เสียชีวิตที่ขับขี่รถจักรยานยนต์คิดเป็นร้อยละ 74.5 ของผู้เสียชีวิตทั้งหมด และในปี 2565 กว่า 86.82% เป็นผู้เสียชีวิตที่ไม่สวมหมวกนิรภัย
ที่มา : ฐานข้อมูลระบบเฝ้าระวังการบาดเจ็บ (Injury Surveillance : IS)

ผู้สูงอายุ

กลุ่มผู้ขับขี่ที่มีความเสี่ยงต่อการถดถอยของสมรรถภาพร่างกาย

ในทศวรรษที่ผ่านมา มีสัดส่วนผู้เสียชีวิตที่เป็นผู้สูงอายุประมาณ 1 ใน 5 ของผู้เสียชีวิตทั้งหมด และจำนวนผู้เสียชีวิตยังเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเพิ่มเฉลี่ยปีละ 5.45% ซึ่งมีอัตราการเพิ่มขึ้นสูงที่สุดเมื่อเทียบกับกลุ่มเสี่ยงผู้ใช้รถใช้ถนนกลุ่มอื่นๆ

คนเดินเท้า

กลุ่มคนใช้ถนนที่ไม่มีอุปกรณ์ป้องกันร่างกายจากอุบัติเหตุ

มีจำนวนผู้เสียชีวิตเป็นอันดับที่ 3 รองจากผู้ขับขี่ที่เป็นผู้ใช้รถจักรยานยนต์และรถยนต์ ในช่วงปี 2561-2565 มีผู้เสียชีวิตจากการเดินเท้าเฉลี่ยเดือนละ 32.97 คน หรือมีผู้เสียชีวิตจากการเดินเท้าอย่างน้อยวันละ 1 คนทุกวัน
ที่มา : ข้อมูลการบูรณาการจำนวนผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนน 3 ฐาน กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข 2565

เป้าหมายปี 2570

อัตราผู้เสียชีวิตต้องลดลงเหลือ

คน ต่อแสนประชากร

เป้าหมายการลดจำนวนผู้เสียชีวิตให้เหลือเท่ากับ 12 คนต่อประชากรแสนคน หรือ 8,478 คน ในปี 2570 เป็นไปตามเป้าหมายและตัวชี้วัดภายใต้แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์แห่งชาติ ประเด็นโครงสร้างพื้นฐาน ระบบโลจิสติกส์ และดิจิทัล อีกทั้งเป็นเป้าหมายของแผนแม่บทด้านความปลอดภัยทางถนนของประเทศไทยฉบับที่ 5 (พ.ศ. 2565-2570)

กำหนดให้ปีตั้งต้นในการคำนวณเป้าหมายคือ ปี 2563 โดยวิเคราะห์จากระดับความรุนแรงของสถานการณ์อุบัติเหตุ และตั้งเป้าหมายให้ระหว่างปี 2566 – 2570 ต้องลดอัตราผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนนให้เหลือเท่ากับ 12 คนต่อประชากรแสนคน อีกทั้งต้องมีการกระจายเป้าหมายไปสู่ระดับจังหวัดในอัตราที่แตกต่างกัน

ปีตั้งต้น 2563

เป้าหมายอัตราผู้เสียชีวิตต้องไม่เกิน

คน ต่อแสนประชากร

อัตราผู้เสียชีวิตจริง

คน ต่อแสนประชากร

ยอดผู้เสียชีวิตสะสมรวมทั่วประเทศ

17,831 คน

ปีเริ่มตั้งเป้า 2564

เป้าหมายอัตราผู้เสียชีวิตต้องไม่เกิน

คน ต่อแสนประชากร

อัตราผู้เสียชีวิตจริง

คน ต่อแสนประชากร

ยอดผู้เสียชีวิตสะสมรวมทั่วประเทศ

16,957 คน

เป้าหมายผู้เสียชีวิตไม่เกิน 16,494 คน
เกินเป้า 463 คน

ปี 2565

เป้าหมายอัตราผู้เสียชีวิตต้องไม่เกิน 

คน ต่อแสนประชากร

อัตราผู้เสียชีวิตจริง

คน ต่อแสนประชากร

ยอดผู้เสียชีวิตสะสมรวมทั่วประเทศ

17,379 คน

เป้าหมายผู้เสียชีวิตไม่เกิน 15,158 คน
เกินเป้า 2,221 คน

ทุกจังหวัดในประเทศไทยมีเป้าหมาย

มุ่งสู่การลดอัตราการเสียชีวิต

แต่ละจังหวัดมีเป้าหมายการลดอัตราผู้เสียชีวิตต่างกัน ตามระดับความรุนแรงของสถานการณ์ในจังหวัดนั้นๆ โดยประเมินจากอัตราการเสียชีวิตในปีตั้งต้นที่ 2563 และกำหนดให้ต้องมีอัตราที่ลดลงทุกปี เพื่อให้ค่าเฉลี่ยระดับประเทศบรรลุเป้าหมาย 12 คนต่อแสนประชากร ในปี 2570

ติดตามยอดผู้เสียชีวิต 2564-2566 (ไตรมาส2)

ยอดผู้เสียชีวิตสะสม
รวมทั่วประเทศ ปี 2565

คน

5 จังหวัดยอดผู้เสียชีวิตสูงสุด

จังหวัดที่ลดจำนวนผู้เสียชีวิตได้ตามเป้าหมาย

ตัวชี้วัดประเมินการลดอุบัติเหตุทางถนน

รถยนต์

จำนวนผู้เสียชีวิตที่เป็นผู้ใช้รถยนต์

• ในปี 2563 จังหวัดที่มีผู้เสียชีวิตขณะขับรถยนต์สูงที่สุด 3 อันดับ คือกรุงเทพมหานคร นครราชสีมา ชลบุรี / • 1 ใน 3 ของผู้เสียชีวิตจากรถยนต์อยู่ในช่วงอายุ 20-39 ปี

รถจักรยานยนต์

จำนวนผู้เสียชีวิตที่เป็นผู้ใช้รถจักรยานยนต์

• ในปี 2563 จังหวัดที่มียอดผู้เสียชีวิตขณะขับขี่มอเตอร์ไซค์มากที่สุด คือ กรุงเทพมหานคร นครราชสีมา ชลบุรี / • เป็นตัวชี้วัดที่จังหวัดต่างๆ ยังไม่สามารถทำได้ตามเป้า โดยมีมากถึง 63 จังหวัดที่ยังทำไม่สำเร็จ

จักรยาน

จำนวนผู้เสียชีวิตที่เป็นผู้ใช้รถจักรยาน

• ผู้เสียชีวิตจากการขับขี่จักรยานครึ่งหนึ่งอยู่ในช่วงอายุ 60 ปีขึ้นไป / • ในปี 2563 จังหวัดที่มียอดผู้เสียชีวิตมากที่สุด คือ ร้อยเอ็ด ชลบุรี และ กาฬสินธุ์กับลำปาง

คนเดินเท้า

จำนวนผู้เสียชีวิตที่เป็นคนเดินเท้า

• จังหวัดที่มีคนเดินเท้าเสียชีวิตมากที่สุดในปี 2563 คือ บุรีรัมย์ ร้อยเอ็ด และฉะเชิงเทรา
/ • การเสียชีวิตจากการเดินเท้าสะท้อนให้เห็นปัญหาทางเท้าไม่ปลอดภัย รถคู่กรณีที่ชนมักเป็นรถปิกอัพ และรถเก๋ง

ผู้สูงอายุ

จำนวนผู้เสียชีวิตที่เป็นผู้สูงอายุ 60 ปี ขึ้นไป

• ในปี 2563 จังหวัดที่มีผู้สูงอายุเสียชีวิตบนท้องถนนมากที่สุด คือ นครราชสีมา อุบลราชธานี และร้อยเอ็ด
/ ในแต่ละปีมีสัดส่วนเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.56 ต่อปี จากการเข้าสู่สังคมผู้สูงวัย จึงต้องให้ความสำคัญกับการขับขี่ของผู้สูงอายุบนท้องถนน

เยาวชน

จำนวนผู้เสียชีวิตที่เป็นเยาวชนอายุ 15-24 ปี

• ร้อยละ 34.4 ของผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา อยู่ในช่วงอายุ 10-29 ปี ซึ่งถือว่าเป็นความสูญเสียของประเทศในแง่ของกำลังในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ

ผู้ประกอบอาชีพขับรถขนส่ง

ผู้ประกอบอาชีพขับรถสาธารณะและรถขนส่งเชิงพาณิชย์โดยรวมทั้งผู้ขับขี่และผู้โดยสาร

มีผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุรถโดยสารเฉลี่ยปีละ 200 คน ส่วนใหญ่เป็นการเกิดอุบัติเหตุที่ไม่มีคู่กรณีและมีสาเหตุมาจากตัวผู้ขับขี่ / • จังหวัดที่มียอดผู้เสียชีวิตมากที่สุด 3 อันดับแรก คือ ฉะเชิงเทรา นครราชสีมา และปราจีนบุรี

ประเมินผลจากตัวชี้วัดเพื่อติดตามเป้าหมายทั่วประเทศ
ปี 2564-2566 (ไตรมาส 2)

จำนวนจังหวัดที่ทำได้ตามเป้าหมายการลดอุบัติเหตุทางถนนในแต่ละตัวชี้วัด สะท้อนผลของมาตรการทั้งในระดับประเทศและระดับจังหวัด ที่มีต่อจำนวนผู้เสียชีวิตจากการเดินทางประเภทต่างๆ รวมถึงจำนวนผู้เสียชีวิตในกลุ่มเปราะบางอย่างผู้สูงอายุและเยาวชน

ข้อมูลรายจังหวัด เพื่อมุ่งสู่เป้าหมาย

ประเมินผลจากตัวชี้วัดเพื่อติดตามเป้าหมายรายจังหวัด
ปี 2564-2566 (ไตรมาส 2)

การประเมินผลตัวชี้วัดรายจังหวัด เพื่อติดตามผลการดำเนินมาตรการในระดับพื้นที่รายไตรมาส และชี้วัดว่ามาตรการใดควรทำอย่างเข้มข้นมากยิ่งขึ้น