tdri logo
tdri logo

เกือบ 2 ปีที่ผ่านมา รัฐบาลพยายามผลักดันโครงการบริหารจัดการน้ำ 3.5 แสนล้านบาทหลังมหาอุทกภัยน้ำท่วมปี 2554 แต่ด้วยความเร่งรีบทำให้กระบวนการดำเนินการในโครงการนี้ต้องกลับหัวกลับหาง และนำไปสู่การคัดค้านจากผู้ที่เกี่ยวข้อง

เริ่มแรกรัฐบาลได้ดำเนินการจัดตั้งคณะกรรมการยุทธศาสตร์เพื่อวางระบบการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ (กยน.) ขึ้นมา และเสนอแนวคิดไว้ 8 แผนงาน คือ

1. การฟื้นฟูและอนุรักษ์ป่าไม้และระบบนิเวศน์
2. การบริหารจัดการแหล่งเก็บกักน้ำหลัก
3. การฟื้นฟูและพัฒนาประสิทธิภาพของสิ่งปลูกสร้างเดิมและก่อสร้างใหม่ตามแผนที่กำหนดไว้
4. คลังข้อมูลและระบบคาดการณ์ภัยพิบัติและระบบเตือนภัย
5. การเตรียมแผนเผชิญเหตุเฉพาะพื้นที่
6. การกำหนดพื้นที่รับน้ำและมาตรการเยียวยา
7. การพัฒนาหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการน้ำ
8. การสร้างความรู้ความเข้าใจ การยอมรับ และการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในการบริหารจัดการอุทกภัยขนาดใหญ่

ทั้ง 8 แผนงานครอบคลุมการบริหารจัดการน้ำและมีการเน้นการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน ภาคสังคม และสิ่งแวดล้อม ซึ่งหากรัฐบาลดำเนินการตามแผนงานดังกล่าวก็จะทำให้ประเทศไทยมีแผนแม่บทการจัดการน้ำที่สมบูรณ์

แต่เมื่อคณะกรรมการบริหารจัดการน้ำและอุทกภัย (กบอ.) ซึ่งมีนายปลอดประสพ สุรัสวดี เป็นประธาน เข้ามาทำโครงการโดยเอาแผนงาน 8 ข้อของ กยน. มาจัดเป็น 10 แผนงาน (โมดูล) 9 สัญญานั้น ไม่มีแผนงานส่วนไหนที่ให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อม ภาคประชาชน และภาคสังคม จึงทำให้เกิดข้อโต้แย้งและข้อเสนอแนะทางวิชาการที่ต่อต้านแผนงานทั้ง 10 มากมาย จนนำไปสู่การฟ้องศาลปกครอง

และเมื่อวันที่ 9 มกราคม 2557 ที่ผ่านมา ศาลปกครองสูงสุดนัดนั่งพิจารณาคดีแผนแม่บทการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำครั้งแรก โดยนายภานุพันธ์ ชัยรัตน์ ตุลาการหัวหน้าคณะศาลปกครองชั้นต้น ประจำศาลปกครองสูงสุด ตุลาการผู้แถลงคดีเห็นควรให้ยกฟ้องนายกรัฐมนตรี, คณะกรรมการยุทธศาสตร์เพื่อวางระบบบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ (กยน.) และคณะกรรมการนโยบายน้ำและอุทกภัยแห่งชาติ (กนอช.)มีนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เป็นประธาน รวมถึงไม่เพิกถอนแผนบริหารจัดการน้ำเนื่องจากไม่อยู่ในอำนาจพิจารณาของศาล ส่วนคณะกรรมการบริหารจัดการน้ำและอุทกภัย (กบอ.)ต้องจัดทำการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน พ.ศ. 2548

ด้านนายสุพจน์ โตวิจักษณ์ชัยกุล รองปลัดกระทรวง หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านทรัพยากรน้ำในแผ่นดิน สำนักงานปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และเลขาธิการสำนักงานนโยบายและบริหารจัดการน้ำและอุทกภัยแห่งชาติ (สบอช.) ให้สัมภาษณ์หลังตุลาการให้ความเห็นดังกล่าวว่า ขณะนี้การดำเนินการโครงการบริหารจัดการน้ำ 3.5 แสนล้านบาทต้องหยุดไว้ก่อน เพื่อรอคำสั่งจากศาลปกครองสูงสุด ส่วนนโยบายต่อไปจะเป็นอย่างไรขึ้นอยู่กับรัฐบาลชุดใหม่ รวมทั้งผู้รับเหมาโครงการ และการทำเวทีรับฟังความคิดเห็นในจังหวัดนครปฐม กาญจนบุรี และกรุงเทพฯ ที่เลื่อนออกไปก็ต้องทำต่อให้ครบถ้วน แต่ต้องรอรัฐบาลชุดใหม่มาสานต่อ

ส่วนกรณีที่ศาลปกครองกลางพิพากษาให้รัฐบาลต้องจัดเวทีรับฟังความคิดเห็น “อย่างทั่วถึง” เมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 2556 ทำให้มีเวทีรับฟังความคิดเห็นทั้ง 77 จังหวัด เริ่มทำครั้งแรกเมื่อ 15 ตุลาคม 2556 ที่จังหวัดลำพูน และเวทีสุดท้ายที่กรุงเทพฯ วันที่ 6 ธันวาคม 2556(ดูแผนที่การรับฟังความคิดเห็นของประชาชนโครงการบริหารจัดการน้ำ 3.5 แสนล้านบาท)

นายกมล เปี่ยมสมบูรณ์ ประธานสภาลุ่มน้ำท่าจีน แถลงการณ์ “ไม่ได้รับฟังอย่างแท้จริง ตามคำสั่งศาลปกครอง” บริเวณหน้าศาลปกครอง ถนนแจ้งวัฒนะ ร่วมกับประชาชนกว่า 10 จังหวัด ประมาณ 1,000 คน
นายกมล เปี่ยมสมบูรณ์ ประธานสภาลุ่มน้ำท่าจีน แถลงการณ์ “ไม่ได้รับฟังอย่างแท้จริง ตามคำสั่งศาลปกครอง” บริเวณหน้าศาลปกครอง ถนนแจ้งวัฒนะ ร่วมกับประชาชนกว่า 10 จังหวัด ประมาณ 1,000 คน

หลังจากจบเวทีรับฟังความคิดเห็นทั้ง 77 จังหวัด ทางวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย (วสท.) ในพระบรมราชูปถัมภ์ ร่วมกับเครือขายภาคประชาชน จัดเสวนา “ความล้มเหลวเวทีรับฟังความเห็นของประชาชนและข้อเสนอแนวทางที่ถูกต้องในการบริหารจัดการอุทกภัย ฉบับ วสท.” เมื่อวันที่ 24 ธันวาคม 2556 โดยมีผู้เข้าร่วมดังนี้ นายสุวัฒน์ เชาว์ปรีชา นายกวสท., นายปราโมทย์ ไม้กลัด อดีตอธิบดีกรมชลประทาน,นายศรีสุวรรณ จรรยา นายกสมาคมต่อต้านสภาวะโลกร้อน, นายหาญณรงค์ เยาวเลิศ ประธานมูลนิธิการจัดการนาแบบบูรณาการ, นายกมล เปี่ยมสมบูรณ์ ประธานสภาลุ่มน้ำท่าจีน, นางสาวสมลักษณ์ หุตานุวัตร เครือข่ายธุรกิจเพื่อสังคมและสิ่งแวดล้อม (SVN), รศ.ดร.บัญชา ขวัญยืน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน, ผศ.ทีฆวุฒิ พุทธภิรมย์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน, ดร.สุรศักดิ์ คลังสุภาวิพัฒน์ มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์, รศ.ดร.สุวัฒนา จิตตลดากร ประธานคณะอนุกรรมการสาขาวิศวกรรมแหล่งน้ำ วสท., นางดาริน คล่องอักขระ ผู้สื่อข่าวไทยพีบีเอส, อ.ดร.สิตางศุ์ พิลัยหล้า มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน

ผู้สื่อข่าวรายงานว่าเวทีรับฟังความคิดเห็นโครงการบริหารการจัดการน้ำ 3.5 แสนล้านทั้ง 10 แผนงาน 77 เวที มีรูปแบบและพัฒนาการของเวทีฯ ที่ทวีความขัดแย้งและรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ สู่การปะทะกับเจ้าหน้าที่ตำรวจ ประชาชนยึดเวทีฯ จนกระทั่งประชาชนล้มเวทีฯ เนื่องจากแรงคัดค้านของภาคประชาชนและการไม่ยอมรับฟังเสียงประชาชนของภาครัฐบาล

ทั้งนี้เริ่มตั้งแต่กระบวนการ 1) การลงทะเบียน ประชาชนที่ต้องการเข้าร่วมเวทีฯ ลงทะเบียนได้หลายช่องทาง ทั้งทางออนไลน์ ที่อำเภอ หรือลงทะเบียนหน้างานในวันงาน เมื่อประชาชนมาถึงต้องลงทะเบียนตามโต๊ะแยกตามประเภทการลงทะเบียนล่วงหน้า ประชาชนจะได้รับบัตรเข้างานสีต่างๆ กันไปตามประเภทของการลงทะเบียน แต่จะมีเพียงสีเดียวเท่านั้นที่ได้เข้าห้องรับฟังความคิดเห็นและมีสิทธิกรอกแบบสำรวจความคิดเห็น นั่นก็คือกลุ่มเป้าหมายที่รัฐบาลกำหนดไว้ แต่ละจังหวัดมีจำนวนระหว่าง 800-1,200 คน ซึ่งกลุ่มเป้าหมายต้องถ่ายสำเนาบัตรประชาชน 3 ชุด มายื่นที่จุดลงทะเบียนด้วย เพื่อรับเงินค่าเดินทางคนละ 400 บาท โดยกลุ่มเป้าหมายนี้คือประชาชนที่ลงทะเบียนกับอำเภอ ที่รัฐบาลกำหนดชัดเจนว่าอำเภอละกี่คน

thaipublica20140115b

15 มกราคม 2014

เกือบ 2 ปีที่ผ่านมา รัฐบาลพยายามผลักดันโครงการบริหารจัดการน้ำ 3.5 แสนล้านบาทหลังมหาอุทกภัยน้ำท่วมปี 2554 แต่ด้วยความเร่งรีบทำให้กระบวนการดำเนินการในโครงการนี้ต้องกลับหัวกลับหาง และนำไปสู่การคัดค้านจากผู้ที่เกี่ยวข้อง

เริ่มแรกรัฐบาลได้ดำเนินการจัดตั้งคณะกรรมการยุทธศาสตร์เพื่อวางระบบการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ (กยน.) ขึ้นมา และเสนอแนวคิดไว้ 8 แผนงาน คือ

1. การฟื้นฟูและอนุรักษ์ป่าไม้และระบบนิเวศน์
2. การบริหารจัดการแหล่งเก็บกักน้ำหลัก
3. การฟื้นฟูและพัฒนาประสิทธิภาพของสิ่งปลูกสร้างเดิมและก่อสร้างใหม่ตามแผนที่กำหนดไว้
4. คลังข้อมูลและระบบคาดการณ์ภัยพิบัติและระบบเตือนภัย
5. การเตรียมแผนเผชิญเหตุเฉพาะพื้นที่
6. การกำหนดพื้นที่รับน้ำและมาตรการเยียวยา
7. การพัฒนาหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการน้ำ
8. การสร้างความรู้ความเข้าใจ การยอมรับ และการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในการบริหารจัดการอุทกภัยขนาดใหญ่

ทั้ง 8 แผนงานครอบคลุมการบริหารจัดการน้ำและมีการเน้นการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน ภาคสังคม และสิ่งแวดล้อม ซึ่งหากรัฐบาลดำเนินการตามแผนงานดังกล่าวก็จะทำให้ประเทศไทยมีแผนแม่บทการจัดการน้ำที่สมบูรณ์

แต่เมื่อคณะกรรมการบริหารจัดการน้ำและอุทกภัย (กบอ.)ซึ่งมีนายปลอดประสพ สุรัสวดี เป็นประธาน เข้ามาทำโครงการโดยเอาแผนงาน 8 ข้อของ กยน. มาจัดเป็น 10 แผนงาน (โมดูล) 9 สัญญานั้น ไม่มีแผนงานส่วนไหนที่ให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อม ภาคประชาชน และภาคสังคม จึงทำให้เกิดข้อโต้แย้งและข้อเสนอแนะทางวิชาการที่ต่อต้านแผนงานทั้ง 10 มากมาย จนนำไปสู่การฟ้องศาลปกครอง

และเมื่อวันที่ 9 มกราคม 2557 ที่ผ่านมา ศาลปกครองสูงสุดนัดนั่งพิจารณาคดีแผนแม่บทการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำครั้งแรก โดยนายภานุพันธ์ ชัยรัตน์ ตุลาการหัวหน้าคณะศาลปกครองชั้นต้น ประจำศาลปกครองสูงสุด ตุลาการผู้แถลงคดีเห็นควรให้ยกฟ้องนายกรัฐมนตรี, คณะกรรมการยุทธศาสตร์เพื่อวางระบบบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ (กยน.) และคณะกรรมการนโยบายน้ำและอุทกภัยแห่งชาติ (กนอช.)มีนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เป็นประธาน รวมถึงไม่เพิกถอนแผนบริหารจัดการน้ำเนื่องจากไม่อยู่ในอำนาจพิจารณาของศาล ส่วนคณะกรรมการบริหารจัดการน้ำและอุทกภัย (กบอ.)ต้องจัดทำการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน พ.ศ. 2548

ด้านนายสุพจน์ โตวิจักษณ์ชัยกุล รองปลัดกระทรวง หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านทรัพยากรน้ำในแผ่นดิน สำนักงานปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และเลขาธิการสำนักงานนโยบายและบริหารจัดการน้ำและอุทกภัยแห่งชาติ (สบอช.) ให้สัมภาษณ์หลังตุลาการให้ความเห็นดังกล่าวว่า ขณะนี้การดำเนินการโครงการบริหารจัดการน้ำ 3.5 แสนล้านบาทต้องหยุดไว้ก่อน เพื่อรอคำสั่งจากศาลปกครองสูงสุด ส่วนนโยบายต่อไปจะเป็นอย่างไรขึ้นอยู่กับรัฐบาลชุดใหม่ รวมทั้งผู้รับเหมาโครงการ และการทำเวทีรับฟังความคิดเห็นในจังหวัดนครปฐม กาญจนบุรี และกรุงเทพฯ ที่เลื่อนออกไปก็ต้องทำต่อให้ครบถ้วน แต่ต้องรอรัฐบาลชุดใหม่มาสานต่อ

ส่วนกรณีที่ศาลปกครองกลางพิพากษาให้รัฐบาลต้องจัดเวทีรับฟังความคิดเห็น “อย่างทั่วถึง” เมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 2556 ทำให้มีเวทีรับฟังความคิดเห็นทั้ง 77 จังหวัด เริ่มทำครั้งแรกเมื่อ 15 ตุลาคม 2556 ที่จังหวัดลำพูน และเวทีสุดท้ายที่กรุงเทพฯ วันที่ 6 ธันวาคม 2556(ดูแผนที่การรับฟังความคิดเห็นของประชาชนโครงการบริหารจัดการน้ำ 3.5 แสนล้านบาท)
นายกมล เปี่ยมสมบูรณ์ ประธานสภาลุ่มน้ำท่าจีน แถลงการณ์ “ไม่ได้รับฟังอย่างแท้จริง ตามคำสั่งศาลปกครอง” บริเวณหน้าศาลปกครอง ถนนแจ้งวัฒนะ ร่วมกับประชาชนกว่า 10 จังหวัดประมาณ 1,000 คน

นายกมล เปี่ยมสมบูรณ์ ประธานสภาลุ่มน้ำท่าจีน แถลงการณ์ “ไม่ได้รับฟังอย่างแท้จริง ตามคำสั่งศาลปกครอง” บริเวณหน้าศาลปกครอง ถนนแจ้งวัฒนะ ร่วมกับประชาชนกว่า 10 จังหวัด ประมาณ 1,000 คน

หลังจากจบเวทีรับฟังความคิดเห็นทั้ง 77 จังหวัด ทางวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย (วสท.) ในพระบรมราชูปถัมภ์ ร่วมกับเครือขายภาคประชาชน จัดเสวนา “ความล้มเหลวเวทีรับฟังความเห็นของประชาชนและข้อเสนอแนวทางที่ถูกต้องในการบริหารจัดการอุทกภัย ฉบับ วสท.” เมื่อวันที่ 24 ธันวาคม 2556 โดยมีผู้เข้าร่วมดังนี้ นายสุวัฒน์ เชาว์ปรีชา นายกวสท.,นายปราโมทย์ ไม้กลัด อดีตอธิบดีกรมชลประทาน,นายศรีสุวรรณ จรรยา นายกสมาคมต่อต้านสภาวะโลกร้อน,นายหาญณรงค์ เยาวเลิศ ประธานมูลนิธิการจัดการนาแบบบูรณาการ,นายกมล เปี่ยมสมบูรณ์ ประธานสภาลุ่มน้ำท่าจีน,นางสาวสมลักษณ์ หุตานุวัตร เครือข่ายธุรกิจเพื่อสังคมและสิ่งแวดล้อม (SVN),รศ.ดร.บัญชา ขวัญยืน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน,ผศ.ทีฆวุฒิ พุทธภิรมย์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน,ดร.สุรศักดิ์ คลังสุภาวิพัฒน์ มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์,รศ.ดร.สุวัฒนา จิตตลดากร ประธานคณะอนุกรรมการสาขาวิศวกรรมแหล่งน้ำ วสท.,นางดาริน คล่องอักขระ ผู้สื่อข่าวไทยพีบีเอส, อ.ดร.สิตางศุ์ พิลัยหล้า มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน

ผู้สื่อข่าวรายงานว่าเวทีรับฟังความคิดเห็นโครงการบริหารการจัดการน้ำ 3.5 แสนล้านทั้ง 10 แผนงาน 77 เวที มีรูปแบบและพัฒนาการของเวทีฯ ที่ทวีความขัดแย้งและรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ สู่การปะทะกับเจ้าหน้าที่ตำรวจ ประชาชนยึดเวทีฯ จนกระทั่งประชาชนล้มเวทีฯ เนื่องจากแรงคัดค้านของภาคประชาชนและการไม่ยอมรับฟังเสียงประชาชนของภาครัฐบาล

ทั้งนี้เริ่มตั้งแต่กระบวนการ 1) การลงทะเบียน ประชาชนที่ต้องการเข้าร่วมเวทีฯ ลงทะเบียนได้หลายช่องทาง ทั้งทางออนไลน์ ที่อำเภอ หรือลงทะเบียนหน้างานในวันงาน เมื่อประชาชนมาถึงต้องลงทะเบียนตามโต๊ะแยกตามประเภทการลงทะเบียนล่วงหน้า ประชาชนจะได้รับบัตรเข้างานสีต่างๆ กันไปตามประเภทของการลงทะเบียน แต่จะมีเพียงสีเดียวเท่านั้นที่ได้เข้าห้องรับฟังความคิดเห็นและมีสิทธิกรอกแบบสำรวจความคิดเห็น นั่นก็คือกลุ่มเป้าหมายที่รัฐบาลกำหนดไว้ แต่ละจังหวัดมีจำนวนระหว่าง 800-1,200 คน ซึ่งกลุ่มเป้าหมายต้องถ่ายสำเนาบัตรประชาชน 3 ชุด มายื่นที่จุดลงทะเบียนด้วย เพื่อรับเงินค่าเดินทางคนละ 400 บาท โดยกลุ่มเป้าหมายนี้คือประชาชนที่ลงทะเบียนกับอำเภอ ที่รัฐบาลกำหนดชัดเจนว่าอำเภอละกี่คน

ชาวกาญจนบุรีต่อแถวลงทะเบียน

2) ด้านเนื้อหาเกี่ยวกับแผนงานทั้ง 10 โมดูล มีการเผยแพร่ให้ประชาชนทราบผ่านการจัดนิทรรศการประชาสัมพันธ์บริเวณหน้างาน และแจกเอกสารประกอบซึ่งบอกเพียงภาพรวมของแผนงาน ไม่มีรายละเอียดของโครงการในพื้นที่ หรือจะมีก็เพียงแค่ 2 บรรทัด คือข้อมูลที่ตั้ง และความจุเก็บกักน้ำ

ส่วนประชาชนกลุ่มเป้าหมายที่ได้เข้าห้องแสดงความคิดเห็น จะได้เห็นข้อมูลผ่านการฉายวีดิทัศน์ที่บอกภาพรวมของทั้ง 10 แผนงาน ความยาวประมาณ 15-20 นาที และภาพโครงการในพื้นที่อีก 2-3 นาที หลังจากนั้นให้ประชาชนแสดงความคิดเห็น และซักถามวิทยากรได้เพียงเล็กน้อย แล้วก็แยกกันไปเข้าห้องประชุมย่อยๆ ซึ่งแต่ละห้องก็มีอาจารย์หรือวิทยากรประจำอยู่ เพื่อแจกแบบสำรวจความคิดเห็นให้ประชาชนตอบ

“เวทีแรกที่ลำพูน (เขื่อนห้วยตั้ง) คาดหวังว่าจะเป็นเวทีต้นแบบ แต่สิ่งที่เห็นคือ วิดีโอพรีเซนเทชันที่บอกภาพรวมของทั้ง 10 แผนงาน ประมาณ 5-10 นาที ที่ชาวบ้านบางคนดูแล้วก็หลับ หลังจากนั้นก็เปิดวิดีโอแสดงโมดูล A1 ถึงเขื่อนทั้งหมดในภาคเหนือ โดยพูดถึงเขื่อนห้วยตั้งไม่ถึง 1 นาที หลังจากนั้นก็ให้ชาวบ้านแสดงความคิดเห็นทันที ดิฉันก็ตกใจว่าชาวบ้านจะรู้เรื่องได้ยังไง ด้านวิทยากรก็บอกว่าจัดนิทรรศการให้ดูแล้ว มีวิดีโอแล้ว” นางดาริน คล่องอักขระ ผู้สื่อข่าวไทยพีบีเอสให้ความเห็น

“ข้อมูลที่ฉายให้ชาวบ้านดู 15-20 นาที นั้นไม่ได้สะท้อนอะไรที่เกี่ยวโครงการในพื้นที่นั้นๆ บางเวทีก็พูดถึงโครงการในพื้นที่จังหวัดไม่ถึง 2 นาที แล้วไม่อธิบายต่อว่า 2 นาที นั้นจะเชื่อมต่อกับสิ่งที่จะเกิดในหมู่บ้านนั้นอย่างไร” นายกมล เปี่ยมสมบูรณ์ ประธานสภาลุ่มน้ำท่าจีนให้ความเห็น

“ที่ลำพูนให้ข้อมูลแค่ 2 บรรทัด คือ บรรทัดแรก ระบุ “เขื่อนห้วยตั้ง ตำบลป่าพู อ.บ้านโฮ่ง จ.ลำพูน” และบรรทัดที่สอง “บรรจุน้ำ 9.23 ล้านลูกบาศก์เมตร” แล้วจะให้ถกเถียงกัน ดังนั้นการถกเถียงจึงเป็นเรื่องการแบ่งปันงบประมาณในจังหวัดว่าควรเป็นอย่างไร ผู้ดำเนินรายการไม่ต้องมีองค์ความรู้อะไรเลย มัคนายกวัดมาพูดก็ได้ ถ้าประชาชนพูดไม่เข้าประเด็นไม่เป็นไร แต่ถ้าพูดเข้าประเด็นเพื่อไม่เห็นด้วยจะโดนตัดเวลา ส่วนวิทยากรที่อยู่บนเวทีไม่ตอบโจทย์อะไรเลย เอามัคนายกมาพูดก็ได้ แค่ถือและพูดไมค์เป็นก็พอ ไม่ต้องถือระเบียบหรือมีความรู้ด้านเทคนิคใดๆทั้งสิ้น” นายหาญณรงค์ เยาวเลิศ นักเคลื่อนไหวอิสระภาคประชาชนและประธานมูลนิธิการจัดการน้ำแบบบูรณาการกล่าว

จากข้อสรุปของวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (วสท.) ที่บอกว่าเวทีรับฟังความคิดเห็นโครงการบริหารจัดการน้ำ 3.5 แสนล้าน ทั้ง 77 จังหวัด “ล้มเหลว” นั้น พบว่า ในแต่ละเวทีมีสิ่งที่เหมือนกันคือ ประชาชนได้รับข้อมูลไม่เพียงพอ และมีพัฒนาการการต่อต้านของภาคประชาชนที่ทวีความรุนแรงมากขึ้น

ภาพประชาชนที่มารับฟังความคิดเห็นที่จังหวัดกาญจนบุรีที่อยู่ด้านนนอกอาคาร เพราะไม่มีสิทธิ์เข้าห้องประชุมเพื่อแสดงความคิดเห็น
ภาพประชาชนที่มารับฟังความคิดเห็นที่จังหวัดกาญจนบุรีที่อยู่ด้านนนอกอาคาร เพราะไม่มีสิทธิ์เข้าห้องประชุมเพื่อแสดงความคิดเห็น

ทั้งนี้ระบุว่าสิ่งที่เหมือนกันทุกเวทีคือ ประชาชนเห็นว่าการจัดเวทีรับฟังความคิดเห็นแค่เพียงครั้งเดียวนั้นไม่เพียงพอที่จะทำให้ชาวบ้านได้รับข้อมูลที่มากพอและเข้าใจโครงการในพื้นที่ของตนเองได้ โดยเสนอให้รัฐบาลจัดเวทีย่อยหลายๆ ครั้งในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบ อีกทั้งยังไม่ได้เอาแผนงานจัดการน้ำที่แท้จริงไป “รับฟัง” ความคิดเห็น แต่เอาไป “คุย” ในพื้นที่เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการรับฟัง โดยไม่บอกถึงความเชื่อมโยงของโครงการในพื้นที่กับแผนงานทั้งหมดหรือการป้องกันน้ำท่วมใหญ่เช่นปี 2554

ดังนั้น ทั้ง 77 เวทีฯ ที่ผ่านมาจึง “ไม่ใช่เวทีที่ให้ข้อมูล” หรือ “ให้ข้อมูลที่ไม่เพียงพอ” เพราะจากที่ประชาชนไม่รู้เรื่องอะไร พอมีเวทีฯ แล้ว ก็ยังคงไม่รู้อะไรเช่นเดิม อีกทั้งเจ้าหน้าที่ของรัฐก็มีข้อมูลไม่พร้อม จึงตอบคำถามของประชาชนไม่ได้ จนกลายเป็นความขัดแย้งระหว่างกัน

สาเหตุสำคัญที่ทำให้ประชาชนในเวทีต่างๆ ไม่เห็นด้วยกับโครงการนั้นเป็นเพราะไม่ทราบข้อมูลใดๆ เลย ทั้งนี้ แม้ว่าประชาชนส่วนใหญ่จะไม่เห็นด้วย แต่รัฐบาลก็จะให้ภาพที่ตรงกันข้าม โดยแถลงสรุปเวทีฯ ว่าประชาชนเห็นด้วยร้อยละ 80

นอกจากนี้ ภาครัฐยังกีดกันประชาชนเข้าร่วมเวทีรับฟังความคิดเห็นโดยการลงทะเบียนล่วงหน้า และใช้ค่าเดินทาง 400 บาทมากำหนดจำนวนกลุ่มเป้าหมาย ทำให้ “ประชาชนมีส่วนร่วมไม่จริง” เพราะประชาชนที่ได้รับผลกระทบอยู่ในกลุ่มเป้าหมายไม่ถึงร้อยละ 10 ส่วนประชาชนอีกร้อยละ 90 มาโดยไม่รู้ข้อมูลและไม่ใช่ผู้ได้รับผลกระทบ เช่น ที่เชียงใหม่ กลุ่มเป้าหมาย 1,200 คน มีผู้ได้รับผลกระทบจริงๆ จากโครงการเขื่อนแม่แจ่มและแม่ขานเข้าร่วมเวทีฯ เพียงกว่า 100 คน หรือที่จังหวัดแพร่ มีผู้ได้รับผลกระทบจริงๆ จากโครงการเขื่อนยมบน-ยมล่างเข้าร่วมเวทีฯ เพียง 121 คน จากกลุ่มเป้าหมาย 800 คน หรือที่จังหวัดกาญจนบุรี ชาวอำเภอท่าล้อผู้ได้รับผลกระทบโดยตรงได้โควตาเข้าร่วมเวทีเพียง 40 คน จากกลุ่มเป้าหมาย 1,200 คน

ด้วยข้อมูลที่ประชาชนได้รับไม่เพียงพอ จึงทำให้ประชาชนไม่สามารถกรอกตอบแบบสำรวจความคิดเห็นได้ ดังนั้น ในเวทีแรกๆ ประชาชนจึงส่งแบบสอบถามคืนทั้งๆ ที่ยังไม่ได้กรอก ทำให้เจ้าหน้าที่เก็บข้อมูลไม่ได้ จึงต้องติดตามแก้งานโดยเอาแบบสำรวจกลับไปให้ประชาชนทำใหม่อีกครั้ง เช่น ที่ลำพูน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ซึ่งเป็นผู้รับงานต้องกลับไปทำเวทีย่อยในอำเภอบ้านโฮ่ง จังหวัดลำพูน ซึ่งเป็นพื้นที่โครงการอีกครั้งหลังจากเวทีใหญ่จบไปแล้ว 1 สัปดาห์ โดยเอาแบบสอบถาม 300 ชุด ไปให้ชาวบ้านกรอกเพื่อเก็บข้อมูลสถิติส่งรัฐบาล

“เวทีที่ลำพูนบรรยากาศเหมือนเป็นฉากที่จัดมาเพื่อตอบโจทย์ตามที่ศาลสั่งเท่านั้น มีการเกณฑ์คนจากภายนอกพื้นที่ไปเกี่ยวข้องกับเวทีโดยที่คนได้รับผลกระทบโดยตรงไม่ได้เข้าร่วม จากเขื่อนห้วยตั้งความจุแค่ 9 ล้านลูกบาศก์เมตร แต่ทำให้คนทั้งจังหวัดลำพูนตอนแห่แหนมา 4,000-5,000 คน แล้วต่อแถวเพื่อเข้าร่วมเวทีอีกครึ่งค่อนวัน กว่าคนสุดท้ายจะเข้าไปเวทีก็จบพอดี ไม่ได้ฟังอะไรเลย เมื่อเข้าไปถึงก็เตรียมรอคิวที่จะออกมาเพื่อรับเงินค่าเดินทาง 400 บาท อีก 3 ชั่วโมง กว่าจะได้กลับบ้าน วันนั้นทำให้เห็นว่าสิ่งที่เวทีรับฟังความคิดเห็นนี้อยากได้คือกระดาษคำตอบหนึ่งใบที่เป็นปัญหาตั้งแต่เวทีแรกถึงเวทีสุดท้าย” นายกมล เปี่ยมสมบูรณ์ ประธานสภาลุ่มน้ำท่าจีนให้ความเห็น

จากปัญหาเรื่องการให้ข้อมูลน้อยมากและไม่ชัดเจนของรัฐบาลที่ไม่เคยได้รับการแก้ไข ทำให้ภาคประชาชนในเวทีต่อๆ มา มีพัฒนาการในการต่อต้านมากขึ้น ส่วนหนึ่งเป็นเพราะประชาชนตื่นตัวมากขึ้นจากการรับข่าวสารผ่านสื่อต่างๆ มีภาคสังคมเข้าไปให้ข้อมูลในพื้นที่ก่อนจัดเวทีฯ จริง ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เวทีรับฟังความคิดเห็นครั้งนี้ล้มเหลว

เจ้าหน้าที่ฝ่ายตำรวจปิดกั้นชาวบ้านกลุ่มที่ไม่มีสิทธิตอบแบบสอบถามเข้าห้องประชุมแสดงความคิดเห็น
เจ้าหน้าที่ฝ่ายตำรวจปิดกั้นชาวบ้านกลุ่มที่ไม่มีสิทธิตอบแบบสอบถามเข้าห้องประชุมแสดงความคิดเห็น

ขณะที่เวทีแรกที่จังหวัดลำพูน ประชาชนมาเข้าร่วมโดยไม่รู้ข้อมูลอะไร และคาดหวังว่าเวทีนี้จะให้ข้อมูลและตอบคำถามได้ แต่พอเวทีจบ ประชาชนก็ยังคงไม่ได้รับข้อมูลอะไรเช่นเดิม ด้านเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยมีกองกำลังติดอาวุธกว่า 200 คน และสุนัขดมกลิ่นจำนวนหนึ่ง ด้านประชาชนมาเข้าร่วมเวทีฯ ประมาณ 5,000 คน จากประชาชนกลุ่มเป้าหมาย 800 คน ซึ่งในเวทีเจ้าหน้าที่ให้ประชาชนแสดงความคิดเห็นได้ 7 คน คนละ 3 นาที ซึ่งคำถามของชาวบ้านเจ้าหน้าที่ก็ไม่ตอบ หลังจากนั้นก็ให้เข้าห้องประชุมย่อยเพื่อตอบแบบสำรวจความคิดเห็น แต่ประชาชนก็ส่งกระดาษเปล่าคืนเพราะไม่รู้ข้อมูลอะไรจึงตอบไม่ถูก จากปัญหาที่เกิดขึ้น เครือข่ายภาคเหนือก็ออกแถลงการณ์ผ่านสื่อในเย็นวันนั้นว่า กบอ. ควรปรับแก้รูปแบบเวทีรับฟังความคิดเห็นในครั้งต่อๆ ไป

เวทีต่อมาทาง กบอ. ได้ปรับแก้ไข แต่แก้แบบเอาเปรียบประชาชนมากขึ้น โดยจากเวทีแรกที่ประชาชนมีสิทธิพูดก่อนเข้าห้องประชุมเล็ก เวทีต่อมาก็ให้ประชาชนเข้าห้องประชุมย่อยเพื่อกรอกแบบสอบถามเลย

อย่างไรก็ตามจากการลงพื้นที่ ทุกๆ เวทีที่มีประชาชนไม่เห็นด้วย เจ้าหน้าที่จะประเมินจำนวนผู้คัดค้านแล้วเกณฑ์ตำรวจไปมากกว่า เช่น คาดว่ามีชาวบ้านไปคัดค้าน 200 คน ก็จะมีตำรวจไป 300 คน อีกทั้งเกณฑ์จำนวนประชาชนมาเพิ่ม 3-4 เท่า เช่น จังหวัดแพร่ กลุ่มเป้าหมาย 800 คน แต่คนชาวสะเอียบผู้ได้รับผลกระทบจากโครงการจะมาคัดค้าน 1,200 คน ก็จะมีคำสั่งให้จังหวัดเกณฑ์คนมาอย่างน้อย 4,500 คน เสมือนต่อสู้ด้วยรูปแบบเดียวกันเพื่อเอาชนะมากกว่ามารับฟังความคิดเห็นของประชาชน

เมื่อประชาชนคัดค้าน ก็มีการเพิ่มกำลังตำรวจขึ้นเรื่อยๆ ในแต่ละจังหวัดจากจังหวัดแรกที่ลำพูน 200 คน เพิ่มเป็น 600 คนที่จังหวัดพิษณุโลกซึ่งเป็นเวทีที่ 21 (จาก 36 จังหวัดที่มีโครงการ) เพื่อปิดกั้นชาวบ้านแค่กว่า 100 คนที่ไม่เห็นด้วย รวมถึงยืนกั้นห้องประชุมไม่ให้ชาวบ้านบางกลุ่มเข้าร่วมทั้งๆ ที่ภายในห้องประชุมยังเหลืออยู่ จนทำให้ประชาชนและตำรวจดันกันอยู่ นำมาสู่การด่าทอกัน และทวีความรุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ ในเวทีต่อๆ มา

การต่อต้านของประชาชนเริ่มต้นด้วยการถือป้ายประท้วง พยายามดันกับตำรวจเพื่อจะเข้าห้องประชุมแสดงความคิดเห็น การยึดเวทีรับฟังความคิดเห็นจากเจ้าหน้าที่ของรัฐมาดำเนินการเอง จนกระทั่งถึงการประท้วง เป่านกหวีด และล้มเวทีฯ ในที่สุด

ประชาชนจังหวัดแพร่มีการเผาหุ่นและทำพิธีสาปแช่งนายปลอดประสพ สุรัสวดี รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะเป็นประธาน กบอ.

ชาวราชบุรีมาร่วมคัดค้านฟลัดเวย์ที่เวทีรับฟังความคิดเห็นฯ จังหวัดกาญจนบุรี
ชาวราชบุรีมาร่วมคัดค้านฟลัดเวย์ที่เวทีรับฟังความคิดเห็นฯ จังหวัดกาญจนบุรี

ด้านประชาชนจังหวัดกำแพงเพชรถูกตำรวจจับขังบนรถตำรวจประมาณ 2 ชั่วโมง เพื่อสงบสติอารมณ์เนื่องจากพยายามดันกับตำรวจเพื่อเข้าห้องประชุม ต่อมาชาวบ้านจึงไปล้อมรถคันดังกล่าวไว้ ทำให้ตำรวจต้องปล่อยตัวชาวบ้านที่ถูกขังออกมา

ขณะที่จังหวัดพิษณุโลก ชาวบ้านฝ่ายคัดค้านสามารถยึดเวทีได้ด้วยรถเครื่องเสียง แต่แล้วก็มีชาวบ้านกลุ่มที่สนับสนุนโครงการเข้ามาในงานจนเกือบจะปะทะกัน โดยมีตำรวจคั่นอยู่ตรงกลาง ทั้งนี้ทีมสนับสนุนดังกล่าวเป็นคนนอกพื้นที่โครงการที่มาเข้าร่วมโดยมีนักการเมืองท้องถิ่นหนุนหลัง

ที่สมุทรสงคราม ชาวบ้านยึดเวทีฯ จากเจ้าหน้าที่มาดำเนินการเองตามกระบวนการของภาคประชาชนที่ต้องการให้เกิดการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างทีมเจ้าหน้าที่และคนในพื้นที่ที่มาเข้าร่วมประมาณ 20,000 คน แต่ด้วยเสียงนกหวีดที่ดังกลบเสียงบนเวทีจึงทำให้เวทีดำเนินการต่อไม่ได้ ทั้งลุกลามไปถึงการปิดเวทีและเกิดการปะทะกับตำรวจเนื่องจากตำรวจเข้าใจผิดคิดว่านักศึกษาจะวิ่งเข้าไปทำร้ายทีมเจ้าหน้าที่จัดงานจึงตบนักศึกษา แต่ข้อเท็จจริงคือนักศึกษาจะเอาเอกสารรายชื่อผู้คัดค้านโครงการจำนวน 22,473 คน ไปยื่นกับเจ้าหน้าที่ ซึ่งปัจจุบันอยู่ระหว่างดำเนินคดี

แรงกระเพื่อมจากจังหวัดสมุทรสงครามส่งต่อมาสร้างแรงกระตุ้นให้คนราชบุรีที่ไม่เห็นด้วย เพิ่มความรุนแรงมากขึ้น และชาวสมุทรสงครามก็ยกขบวนไปช่วยชาวราชบุรีด้วย เช่นเดียวกับชาวกาญจนบุรีซึ่งจะจัดเป็นเวทีต่อไปก็ยกขบวนไปช่วยชาวราชบุรีเช่นกัน รวมแล้วมีประชาชนมาเข้าร่วมประมาณ 20,000 คน ทำให้เวทีฯ ที่ราชบุรีดำเนินการได้เพียง 2 ชั่วโมง ก่อนปิดเวที

ชาวกาญจนบุรีกลุ่มที่ไม่มีสิทธิตอบแบบสอบถามพยายามดันตำรวจที่ประตูทางเข้าห้องประชุมรับฟังความคิดเห็น
ชาวกาญจนบุรีกลุ่มที่ไม่มีสิทธิตอบแบบสอบถามพยายามดันตำรวจที่ประตูทางเข้าห้องประชุมรับฟังความคิดเห็น

ความรุนแรงทวีขึ้นเรื่อยๆ จนถึงจังหวัดกาญจนบุรี ซึ่งจัดเวทีในห้องประชุมปิดที่มีทางเข้าออกทางเดียวและมีตำรวจเฝ้าอยู่หน้าประตูทางเข้า ทำให้ชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบจากตำบลท่าม่วงและท่าล้อกว่า 200 คน ที่ไม่สิทธิเข้าห้องประชุมไปล้อมหน้าประตูทางเข้า ส่งผลให้ชาวบ้านที่เกณฑ์มาจากอำเภอไกลๆ เช่น ทองผาภูมิ ไทรโยค ศรีสวัสดิ์ เดินทางมาไม่ทันและเข้าไปในเวทีไม่ได้ หลังจากนั้นเกิดเหตุชาวบ้านพยายามดันตำรวจที่กั้นประตูเข้าไปจนในที่สุดสามารถเข้าห้องประชุมได้ และกดดันให้ต้องยกเลิกการจัดเวทีฯ ไป ส่วนหนึ่งเพราะวิทยากรหนีกลับบ้านไปก่อนด้วย ทั้งนี้ ชาวท่าล้อได้เดินประท้วงล่วงหน้าก่อนวันมีเวทีรับฟังความคิดเห็นจริง 1 วัน มีผู้ร่วมประท้วงประมาณ 2,000 คน

สำหรับเวทีสุดท้ายที่จังหวัดนครปฐม ก็ต้องเลื่อนการจัดเวทีออกไป เนื่องจากในวันที่ 1 ธันวาคม 2556 ดีกรีการเมืองค่อนข้างรุนแรง และประชาชนจะไปล้อมที่ศาลากลางจังหวัดประมาณ 2,000 คน เพื่อไม่ให้ทำงานได้ ซึ่งอาจทำให้การจัดเวทีรับฟังความคิดเห็นเรื่องน้ำ เชื่อมโยงประเด็นกับการเมือง และถ้าจัดเวทีฯ ในวันที่ 2 ธันวาคม 2556 จริง เวทีก็จะล้มแน่นอน เพราะชาวราชบุรี สมุทรสงคราม กาญจนบุรี สุพรรณบุรี และอุทัยธานี เตรียมตัวมาช่วยยึดเวทีฯ ที่นครปฐมแล้ว

จากความล้มเหลวของเวทีรับฟังความคิดเห็นที่ผ่านมาทั้ง 77 จังหวัด ที่เกิดขึ้น นายหาญณรงค์ เยาวเลิศ จึงมีข้อเสนอให้ยุบ กบอ. แล้วให้รัฐบาลศึกษาโครงการแบบอื่นโดยใช้ระเบียบอื่นที่ไม่ใช่กฎหมาย เช่น อ้างอีไอเอ เพราะชาวบ้านจะไม่ยอมรับ จากนั้นค่อยเอาข้อมูลที่ได้ไปคุยกับชาวบ้านเป็นเวทีย่อยในพื้นที่หลายๆ ครั้ง เนื่องจากกระบวนการที่ดำเนินการมาเป็นการทำลายความชอบธรรมของกระบวนการรับฟังความคิดเห็น (public hearing) เพราะให้ข้อมูลด้านเดียว โดยต้องการจำนวนผู้รับฟังความคิดเห็น และแบบสำรวจความคิดเห็นที่จะสรุปว่าประชาชนส่วนใหญ่เห็นด้วย ซึ่งถ้าออกมาเช่นนี้ต่อไปคนในสังคมไทยก็จะไม่ไว้ใจกระบวนการรับฟังความคิดเห็น

ชาวกาญจนบุรีสามารถดันตำรวจเข้าประตูมาได้และกำลังพยายามขึ้นบันไดไปห้องปะชุมที่อยู่ชั้น 2 ของอาคาร
ชาวกาญจนบุรีสามารถดันตำรวจเข้าประตูมาได้และกำลังพยายามขึ้นบันไดไปห้องปะชุมที่อยู่ชั้น 2 ของอาคาร

วสท.แนะ 3 แนวทางการบริหารจัดการอุทกภัยลุ่มน้ำเจ้าพระยา

วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (วสท.) แถลงการณ์เรื่องความล้มเหลวของเวทีรับฟังความเห็นของประชาชน และข้อเสนอแนวทางที่ถูกต้องในการบริหารจัดการอุทกภัยลุ่มน้ำเจ้าพระยา เมื่อวันที่ 24 ธันวาคม 2556 ณ ห้องประชุม 1 ชั้น 4 อาคารวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์

หลังเกิดเหตุการณ์มหาอุทกภัย ปลายปี 2554 ถึงปัจจุบัน ทาง วสท. ได้จัดเวทีเสวนาและวิพากษ์การบริหารจัดการน้ำของรัฐบาลมาโดยตลอด โดยทักท้วงถึงการดําเนินงานที่ผิดหลักและเสนอขั้นตอนที่เหมาะสม แต่รัฐมิได้ใส่ใจในข้อทักท้วง กลับเดินหน้าโครงการไปอย่างไม่ถูกต้องตามหลักและขั้นตอนที่ควรจะเป็น จนกระทั่งมีคําสั่งของศาลปกครองให้รัฐต้องนำแผนแม่บทของการบริหารจัดการน้ำไปจัดให้มีกระบวนการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนอย่างทั่วถึงเสียก่อน

อย่างไรก็ตาม ภาครัฐเองก็ยังไม่มีแผนแม่บทการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำของประเทศที่ถูกต้องตามหลักวิชาการ มีแต่เพียงข้อเสนออยากจะก่อสร้างของผู้รับจ้างที่มีการคัดเลือกก่อนหน้านี้ 10 โมดูล ซึ่งไม่มีความสัมพันธ์สอดคล้องซึ่งกันแต่อย่างใด และไม่มีรายละเอียดเพียงพอ แต่นําเอามารวมกันและเรียกเป็นแผนแม่บทของการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำของประเทศ แล้วนําไปเปิดเวทีรับฟังความคิดเห็นของประชาชนในพื้นที่ จึงไม่สามารถชี้แจงทําความเข้าใจและเกิดการคัดค้านต่อต้านของประชาชนอย่างกว้างขวาง

รศ.ดร.สุวัฒนา จิตตลดากร ประธานคณะอนุกรรมการสาขาวิศวกรรมแหล่งน้ํา วสท. กล่าวว่า ความล้มเหลวของกระบวนการรับฟังความคิดเห็นดังกล่าวเป็นภาพสะท้อนของการไม่ปฏิบัติตามหลักและขั้นตอนที่นักวิชาการทักท้วงมาตั้งแต่ต้น ดังนั้น การดําเนินงานโครงการที่มีความจําเป็น ทั้งที่ควรเร่งปฏิบัติและที่ควรเริ่มโครงการได้ เพื่อการแก้ไขและบรรเทาปัญหาอุทกภัยในภาพรวม จึงเกิดความล่าช้าและมิอาจบรรลุผลได้ในเร็ววันอย่างแน่นอน

thaipublica20140115h

วสท. ขอยืนยันในหลักการและแนวทางที่ถูกต้องตามหลักวิชาการในการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำที่จําเป็นต้องเข้าใจพื้นฐานอย่างรอบด้าน ศึกษาแผนแม่บทและวิเคราะห์ลุ่มน้ำทั้งระบบ และเปรียบเทียบกรณีทางเลือกจากหลายกรณีศึกษาก่อนการตัดสินใจคัดเลือกโครงการที่มีความเหมาะสมเบื้องต้น ได้แก่ มีความเหมาะสมทางเทคนิค มีความคุ้มค่าในการลงทุน และมีผลกระทบต่อสิ่งแวดลอมและสังคมน้อยที่สุด ซึ่งจําเป็นต้องให้ความสําคัญกับกระบวนการการมีส่วนร่วมของประชาชนในทุกขั้นตอนเป็นสําคัญ เพื่อเป็นหลักประกันในความสําเร็จหรือการบรรลุวัตถุประสงค์ของโครงการ

แนวทางการบริหารจัดการอุทกภัยลุ่มน้ำเจ้าพระยาไม่จําเป็นต้องดําเนินงานให้เสร็จภายใน 5 ปี โดยแบ่งการดําเนินงานเป็น 3 ระยะ คือ ระยะเร่งด่วน ระยะกลาง และระยะยาว ดังนี้

ระยะเร่งด่วน (ดําเนินการให้แล้วเสร็จภายในเวลาไม่เกิน 2 ปี) ควรเริ่มจากการบริหารจัดการโดยการไม่ใช้สิ่งก่อสร้าง ปรับระบบฐานข้อมูลให้ทุกหน่วยงานทุกระดับชั้นสามารถเข้าถึงข้อมูลในการตัดสินใจได้ทั้งหมด รวมถึงต้องมีการปรับข้อมูลที่ใช้ในการประมวลความเสี่ยงสําหรับการจัดการอุทกภัยอย่างสม่ำเสมอ รัฐบาลต้องให้ความสําคัญกับองค์กรและกฎหมายเกี่ยวกับการจัดการน้ำโดยให้ความสําคัญกับการมีส่วนร่วมจากภาคประชาชนและสร้างระบบที่รองรับการจัดการอย่างเหมาะสม รวมถึงการควบคุมการเพาะปลูกในแต่ละพื้นที่ให้เหมาะต่อความเปลี่ยนแปลงของฤดูกาล รัฐบาลจึงต้องควบคุมการทําเกษตรที่เหมาะสมให้มากขึ้น และปรับเกณฑ์การบริหารอ่างเก็บน้ำทั้ง 4 อ่าง ซึ่งสามารถควบคุมน้ำและลดโอกาสการเกิดอุทกภัยในลุ่มน้ำเจ้าพระยาได้ คือ เขื่อนภูมิพล เขื่อนสิริกิติ์ เขื่อนแควน้อยบํารุงแดน และเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์

ระยะกลาง (ระยะเวลาดําเนินการไม่เกิน 5 ปี) ควรดําเนินการร่วมกันทั้งมาตรการที่ใช้สิ่งก่อสร้างและไม่ใช้สิ่งก่อสร้าง ในด้านบริหารจัดการโดยไม่ใช้สิ่งก่อสร้างต้องให้ความสําคัญกับการใช้ประโยชน์ที่ดิน ให้เป็นไปตามผังเมืองที่สอดคล้องกับการจัดการความเสี่ยงในการลดผลกระทบจากอุทกภัย แก้ปัญหาการรุกล้ำแม่น้ำลําคลอง ตลอดจนการฟื้นฟูและป้องกันการบุกรุกป่าไม้

ในด้านการใช้สิ่งก่อสร้าง การดําเนินงานในระยะนี้ควรประกอบด้วย การขุดลอกทางน้ำ การกําหนดพื้นที่แก้มลิง การจัดการพื้นที่ปิดล้อม และการสร้างคลองลัด

ระยะยาว (ใช้เวลาดําเนินการ 5-10 ปีขึ้นไป) การสร้างหรือปรับปรุงคลองผันน้ำข้ามลุ่มน้ำฝั่งตะวันออก

ทั้งนี้ การดําเนินการก่อสร้างทั้งในระยะกลางและระยะยาวจะต้องไม่ละเลยการดําเนินงานตามหลักขั้นตอนที่ถูกต้องของการศึกษาความเหมาะสมของโครงการ การศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม และต้องให้ความสําคัญกับการมีส่วนร่วมที่แท้จริงจากภาคประชาชน

วสท. จึงมีข้อเสนอแนะให้รัฐบาลทบทวนการดําเนินโครงการทั้งหมด โดยเริ่มจากการยกเลิกผลของการประมูลโครงการตามโมดูลต่างๆ ดังกล่าว และนําเอาผลของการรับฟังความเห็นของประชาชนที่กําลังดําเนินงานอยู่ขณะนี้เป็นข้อมูลเบื้องต้นในการวิเคราะห์เพื่อจัดทําแผนแม่บทของประเทศก่อนที่จะแตกเป็นโครงการย่อย และก่อนการศึกษาในรายละเอียดของโครงการย่อยๆ เป็นรายโครงการต่อไปตามหลักและขั้นตอนที่ถูกต้องตามหลักวิชาการ ซึ่งประกอบด้วยลําดับต่างๆ ดังนี้

การศึกษาแผนแม่บท (MP) และการประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์ (SEA) แผนงานบริหารจัดการน้ำโดยไม่ใช้สิ่งก่อสร้าง แผนงานบริหารจัดการน้ำโดยใช้สิ่งก่อสร้าง การจัดทําขอบเขตงาน (TOR) สำหรับการศึกษาความเหมาะสมและผลกระทบสิ่งแวดล้อม การออกแบบรายละเอียดโครงการ (DD) การก่อสร้างโครงการ และการเปิดเวทีให้ประชาชนผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและผู้สนใจทั่วไปเข้าร่วมรับฟังข้อมูลและแสดงความคิดเห็นอย่างกว้างขวาง

วสท. ต้องการเห็นการดําเนินการแก้ไขปัญหาเดินหน้าต่อไปได้อย่างเป็นรูปธรรม และสามารถคาดการณ์ถึงผลสําเร็จของการดําเนินโครงการได้อย่างแน่นอน ซึ่งการดําเนินงานตามหลักการและขั้นตอนที่ถูกต้องตามข้างต้นจะเป็นหลักประกันความสำเร็จของโครงการได้อย่างดี

วสท. จึงขอเรียกร้องให้รัฐบาลแยกแยะโครงการที่มีความพร้อมและไม่พร้อมออกจากกัน โดยแยกออกเป็นสัญญาย่อยๆ เพื่อสามารถดําเนินการได้ทันที ทั้งแผนในระยะเร่งด่วน ระยะกลาง และระยะยาว

สําหรับโครงการที่ยังไม่มีความพร้อม หรือยังไม่ได้มีการศึกษาความเหมาะสม ควรเร่งลงนามสัญญาเฉพาะในส่วนของการศึกษาความเหมาะสม และการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม โดยให้บริษัทวิศวกรที่ปรึกษาผู้มีความเชี่ยวชาญเป็นผู้ดําเนินการ


ตีพิมพ์ครั้งแรก: เว็บไซต์ไทยพับลิก้า วันที่ 15 มกราคม 2557 ในชื่อ โครงการ 3.5 แสนล้าน บทเรียนความล้มเหลว เวทีรับฟังความคิดเห็นการบริหารจัดการน้ำ