แลไปข้างหน้า: ชีวิต (ใหม่?) ของคนไทยหลัง 30 เมษา 63

ดร.วิโรจน์  ณ ระนอง แน่นอนว่าคนไทยจำนวนมากที่กักตัวอยู่ในบ้านในขณะนี้ จะคาดหวังที่จะได้กลับไปใช้ชีวิตที่ปกติหรือเกือบปกติหลังวันที่ 30 เมษายน 2563 ที่กำลังจะมาถึงในอีกไม่ถึงสามสัปดาห์ข้างหน้า  แม้ว่าหลายจังหวัดจะยังเพิ่มความเข้มข้นด้วยมาตรการปิดเมือง แต่จังหวัดเหล่านั้นต่างก็กำหนดเวลาปิดเมืองไว้ถึงแค่ 30 เมษายน แทบทั้งนั้น  ถึงแม้ว่าจะมีบางจังหวัดที่ระวังที่จะยังไม่ได้กำหนดเวลาเลิกปิดเมืองเอาไว้ แต่การที่คนไทยทั้งประเทศจะกลับไปใช้ชีวิตตามปกติ “แบบเดิมๆ” ในช่วงหนึ่งปีครึ่งถึงสองปีข้างหน้า คงจะไม่ใช่เรื่องง่าย  เพราะต่อให้ประเทศไทยจะประสบความสำเร็จในการลดจำนวนผู้ติดเชื้อใหม่ (ที่เราทราบ) ลงสู่ระดับที่รัฐบาลพอใจและมั่นใจว่าระบบรักษาพยาบาลของเราจะรับมือได้นั้น ประเทศเราก็จะยังอยู่ในสภาพที่ไม่สามารถกำจัดเชื้อหรือการระบาดให้หมดไปได้อย่างถาวร ไม่ว่าจะภายในสิ้นเดือนนี้ หรือในอนาคตที่เรายังจะต้องติดต่อกับโลกภายนอก  ตราบที่คนส่วนใหญ่ในประเทศไทยและในโลกยังไม่มี “ภูมิคุ้มกันหมู่” (herd immunity) ที่มากพอที่จะขัดขวางการระบาดของโรค COVID-19  คนไทยส่วนใหญ่ก็ยังจะต้องใช้ชีวิตภายใต้ความเสี่ยงที่จะติดเชื้อนี้โดยที่ร่างกายไม่มีภูมิคุ้มกันเมื่อใดก็ได้ และเมื่อมีการติดเชื้อ COVID-19 ในสภาวการณ์เช่นนี้ ผู้ที่ติดเชื้อก็อาจจะเสียชีวิตโดยเฉลี่ยร้อยละ 2 (ประมาณ 20 เท่าของอัตราการเสียชีวิตจากโรคไข้หวัดใหญ่ที่ระบาดตามปกติ) และอาจสูงถึงร้อยละ 15 สำหรับผู้สูงอายุและผู้ที่ป่วยด้วยโรคเรื้อรังอื่นๆ ด้วย  หรืออาจมากกว่านั้นถ้าระบบรักษาพยาบาลรับมือไม่ไหว  ซึ่งการเสียชีวิตเกิดได้ บางครั้งก็อย่างรวดเร็วกับคนที่ปกติมีร่างกายแข็งแรง แต่ทว่ายังไม่มีภูมิคุ้มกันต่อโรคนี้ และร่างกายไม่สามารถรับมือกับเชื้อได้ดีเหมือนคนส่วนใหญ่ การระบาดจะหยุดลงหรือควบคุมได้จริงๆ ก็ต่อเมื่อคนส่วนใหญ่มีภูมิคุ้มกัน หรือที่เรียกว่ามี “ภูมิคุ้มกันหมู่” (herd immunity) […]

อะไรคือแนวคิดที่อยู่เบื้องหลังโครงการจำนำข้าวของไทย

ดร. วิโรจน์  ณ ระนอง ผู้อำนวยการวิจัยด้านเศรษฐศาสตร์สาธารณสุขและการเกษตร สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI)  E-mail: viroj@tdri.or.th, virojtdri@yahoo.com   ในปัจจุบัน ซึ่งรัฐบาลใหม่ กำลังนำโครงการ “จำนำ(ข้าวใน)ยุ้งฉาง” กลับมาใช้  ภายใต้ชื่อที่เป็นทางการว่า  “โครงการสินเชื่อชลอการขายข้าวเปลือกนาปี” ท่ามกลางความงุนงงของคนจำนวนมาก เนื่องจากรัฐบาล โดยเฉพาะตัวนายกรัฐมนตรี ได้เคยแสดงท่าทีไว้อย่างแข็งขันหลายครั้งว่า รัฐบาลนี้จะแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบอย่างที่ไม่มีรัฐบาลไหนเคยทำมาก่อน  รวมทั้งมีเสียงโจมตีจากคนจำนวนหนึ่งว่าในที่สุดแล้วรัฐบาลก็หันกลับไปใช้โครงการจำนำข้าวหลังจากที่ผ่านมาคนในรัฐบาลหลายท่านได้โจมตีโครงการดังกล่าวอย่างรุนแรง บทความนี้จะพยายามอธิบายกระบวนการและแนวคิดที่อยู่เบื้องหลังโครงการจำนำข้าวของรัฐบาลนี้ ซึ่งถ้าจะว่าไปแล้ว ก็เป็นหนึ่งในแนวคิดและความเชื่อที่มีอายุยืนยาวพอๆ กับแนวคิดเรื่องการใช้มาตรการกำหนดพื้นที่ (หรือ “โซนนิ่ง”) เป็นเครื่องมือที่มาช่วยรักษาเสถียรภาพราคาสินค้าเกษตร และแนวคิดที่ว่าประเทศไทยสามารถจับมือกับประเทศผู้ผลิตรายอื่นๆ เพื่อกำหนดและยกราคาสินค้าเกษตรให้สูงขึ้น ก่อนอื่นขอทำความเข้าใจกับประเด็นเล็กๆ (แต่สำคัญสำหรับการอธิบายเรื่องนี้) ด้วยการตอบคำถามต่อไปนี้ Q. จริงหรือไม่ ที่การจำนำที่แท้จริงนั้น ราคารับจำนำจะต้องต่ำกว่าราคาตลาดเท่านั้น ไม่เช่นนั้นก็ถือไม่ได้ว่าเป็นการจำนำ A. ก่อนจะตอบคำถามนี้ ผมอยากให้ลองดูตัวอย่างจริงจาก “โครงการจำนำ(ข้าวใน)ยุ้งฉาง” ของรัฐบาลนี้เสียก่อน รัฐบาลนี้บอกว่าจะรับจำนำข้าวหอมมะลิในอัตรา 90% ของ “ราคาเป้าหมาย” (อีกข่าวใช้คำว่า 90% ของ “ราคาเป้าหมายตลาด”) ซึ่งตั้งไว้ที่ 16,000 […]

1 12 13 14