ทำไมราคาข้าวหอมมะลิลดฮวบ: ใครคือแพะ ???

นิพนธ์  พัวพงศกร สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย ตั้งแต่กลางตุลาคมเป็นต้นมา ราคาข้าวเปลือกหอมมะลิทรุดฮวบแบบที่ไม่เคยเป็นมาก่อน ราคาข้าวเปลือกที่เป็นข้าวเก่าลดลงจาก 12,090 บาทต่อตันในเดือนกันยายนเหลือ 10,500 บาทต่อตันในวันที่ 28 ตุลาคม 2559 หรือลดลง 13% เทียบกับช่วงเดือนมิถุนายน-กันยายนปีนี้ที่ลดลงเพียง 2% ราคาข้าวนี้เป็นราคาที่ต่ำที่สุดในรอบ 9 ปี สาเหตุสำคัญที่ราคาข้าวเปลือกลดลงอย่างรวดเร็ว เพราะราคาข้าวสารหอมมะลิส่งออกที่เป็น ราคา ล่วงหน้าในเดือนธันวาคม 2559 ลดฮวบมาเหลือเพียง 548 เหรียญสหรัฐฯ เมื่อวันที่ 28 ตุลาคม 2559 ต่ำกว่าราคาตลาด (spot price) 720 เหรียญเมื่อ 28 ตุลาคม 2559 ผลคือ  ราคาขายส่งข้าวสารหอมมะลิใหม่เดือนแรกของการเก็บเกี่ยว(พฤศจิกายน 2559) เฉลี่ยหาบละ 1,330 บาท เทียบกับราคาของปีที่แล้วหาบละ 1,750 บาท ลดลงไป 420 บาท เป็นการลดลงแบบผิดปรกติ ทำไมราคาข้าวเปลือกหอมมะลิจึงทรุดฮวบอย่างรวดเร็วทั้งๆที่ยังไม่ได้เกี่ยวข้าวในเดือนตุลาคม ก่อนอื่นขอทำความเข้าใจข้อเท็จ 3 […]

“อัมมาร” วิพากษ์จำนำข้าว มรดกพิษที่ “ยิ่งลักษณ์” ต้องรับผิดชอบ

เมื่อปลายทางของโครงการรับจำนำข้าวกำลังเดินทางเข้าสู่จุดจบที่ไม่สวยหรู และอาจสรุปได้ว่าจะเป็นจุดเสี่ยงต่ออุตสาหกรรมข้าวไทยทั้งระบบโดย เฉพาะ “ต้นทุน” ที่ถูกใช้จ่ายในโครงการตลอด 2 ปี เฉียด 800,000 ล้านบาท ส่อว่าจะเป็น “หนี้สิน” ที่ผูกพันยาวนานให้รัฐบาลอนาคตต้องชำระสะสาง ไม่นับรวมคำกล่าวหาที่ส่งต่อถึงรัฐบาลภายใต้การนำของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ที่สะท้อนให้เห็นความล้มเหลวต่อการบริหารจัดการโดยสิ้นเชิงทั้งการเปลี่ยนสถานะรัฐบาลให้กลายเป็น “ลูกหนี้” ฐานค้างชำระเจ้าหนี้-ชาวนาอีกหลายแสนล้านบาททั้งการระบายสต๊อกสินค้าที่ปะปนทั้ง “ข้าวเน่า-ข้าวดี” ที่คงค้างในสต๊อกไม่ต่ำกว่า 10 ล้านตัน ก่อนโครงการรับจำนำถึงกาลอวสาน “ประชาชาติธุรกิจ” สนทนากับ “ดร.อัมมาร สยามวาลา” นักวิชาการเกียรติคุณจากสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) สรุปบทเรียนความล้มเหลวต่อโครงการรับจำนำ ซึ่งเขาสรุปบทเรียนในบรรทัดแรกว่าเป็นความล้มเหลวมากที่สุดในประวัติศาสตร์ ! ทำไมการรับจำนำข้าวเป็นนโยบายที่ล้มเหลวมากที่สุดในประวัติศาสตร์  ถ้าคุณลองแยกโครงการรับจำนำข้าวออกมาเป็นบริษัทพิเศษที่ไม่เกี่ยวข้องกับส่วน ราชการอื่น จะพบว่าเวลานี้โครงการดังกล่าวกำลังตกอยู่ในสภาพที่ล้มละลาย มีหนี้สินมากกว่าทรัพย์สิน ดังนั้น เมื่อบริษัทพิเศษอันเป็นหน่วยงานย่อยของรัฐบาลตกอยู่ในสภาพล้มละลาย และรัฐบาลก็ไม่สามารถไปช่วยแก้ไขปัญหาได้ สุดท้ายก็จะกระทบถึงสถานภาพของรัฐบาลโดยภาพรวมโครงการนี้มันเริ่มล้มละลายตั้งแต่วันที่ตัดสินใจเริ่มต้นรับจำนำแล้ว เพราะคุณประกาศจะซื้อของราคา 15,000 บาท ทั้ง ๆที่ รู้ว่าขายไม่ได้ มีแต่คุณทักษิณ (ชินวัตร) คนเดียวที่บอกว่าวันหนึ่งจะขายได้ เมื่อข้าวในสต๊อกขายไม่ได้ โครงการก็ไม่มีเงิน เขาก็พยายามที่จะหยิบยืมกู้เงินจากสิบทิศเพื่อทำให้มีสภาพคล่อง สุดท้ายก็จะพบกับการขาดทุนต่อไปเรื่อย […]

ไทยพับลิก้ารายงาน: “เครือข่าย 2 เอา 2 ไม่เอา” รวมพลังกลุ่มต่างขั้ว หา “จุดร่วม” ทางออกประเทศไทย

เมื่อวันที่ 10 มกราคม 2557 ณ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ มีการแถลงเปิดตัวเครือข่าย “2 เอา 2 ไม่เอา” คัดค้านรัฐประหาร คัดค้านความรุนแรงทุกรูปแบบ เคารพการใช้สิทธิเลือกตั้งตามรัฐธรรมนูญ ปฏิรูปบนวิถีทางประชาธิปไตย ซึ่งเกิดจากการรวมตัวของภาคประชาสังคม นักวิชาการ ที่มีความคิดเห็น “ต่างขั้ว” และมี “จุดยืน” ทางการเมืองที่หลากหลาย แต่มี “จุดร่วม” ที่เหมือนกัน รวมพลังระดมความคิดร่วมกันหาทางออกให้สังคมไทย เพื่อเป็นอีกหนึ่งทางเลือก และอีกหนึ่งความหวัง ไม่เอา “รัฐประหาร-ความรุนแรง” เอา “เลือกตั้ง-ปฏิรูปวิถีประชาธิปไตย” โดยตัวแทนเครือข่าย “2 เอา 2 ไม่เอา” ประกาศแถลงการณ์จุดยืนร่วมกันว่า ท่ามกลางภาวะวิกฤติการเมืองที่มีแนวโน้มจะนำไปสู่ความรุนแรงระหว่างกลุ่มต่างๆ และการรัฐประหาร รวมทั้งทำลายโอกาสในการปฏิรูปประเทศบนวิถีทางประชาธิปไตย พวกเรา “เครือข่าย 2 เอา 2 ไม่เอา” ซึ่งเกิดจากการรวมตัวของกลุ่มองค์กรและบุคคลต่างๆ วิตกกังวลอย่างยิ่งต่อสถานการณ์ที่กำลังดำเนินอยู่ในขณะนี้ จึงมีจุดยืนและข้อคิดเห็นต่อประชาชนทุกฝ่ายดังต่อไปนี้ ที่มาภาพ: เฟซบุ๊กเครือข่าย 2 เอา 2 […]

ทำไมชาวนาจะยังไม่ได้เงินค่าจำนำข้าวครบตามที่รัฐบาลสัญญา: ใครต้องรับผิดชอบ?

นิพนธ์  พัวพงศกร ณ วันที่ 8 มกราคม 2557 ชาวนาได้นำข้าวมาขายให้โครงการรับจำนำในปีการผลิต 2556/57 เป็นมูลค่าตามใบประทวนประมาณ 1.6 แสนล้านบาท ได้รับเงินไปแล้ว 0.35 แสนล้านบาท ชาวนาจึงยังไม่ได้รับเงินอีก 1.246 แสนล้านบาท[1] มาแรมเดือนแล้ว นี่เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ที่ชาวนาทั่วประเทศขายข้าวแล้วไม่ได้เงิน ปัญหานี้ทำให้นายนิวัฒน์ธำรง  บุญทรงไพศาล ปฏิบัติหน้าที่รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีกระทรวงพาณิชย์ให้สัมภาษณ์แก่ผู้สื่อข่าวว่าขณะนี้กำลังเร่งดำเนินการหาเงินเพิ่มเติมมาจ่ายให้ชาวนาที่ได้นำข้าวมาเข้าโครงการจำนำแล้ว และคาดว่าชาวนาจะได้รับเงินครบภายในวันที่ 25 มกราคม 2557 เพื่อมิให้สูญเสียฐานเสียงของชาวนาฝ่ายการเมืองจึงต้องหันมากดดันให้เจ้าหน้าที่กระทรวงการคลังและธกส. หาเงินมาจ่ายให้ชาวนาก่อนที่จะมีการเลือกตั้ง หนังสือพิมพ์และแหล่งข่าวจากกระทรวงการคลังรายงานว่ามีความพยายามที่จะหาเงินมาจ่ายให้ชาวนาหลายวิธี อาทิเช่น การใช้สภาพคล่องของธกส. (แต่ถูกสหภาพแรงงานธกส. สตง. และนักวิชาการคัดค้าน) การบังคับให้ธกส.ปรับโครงสร้างหนี้ที่จะถึงกำหนดในปี 2558-2560 การขอให้กองทุนของหน่วยงานรัฐโยกเงินฝากมาฝากกับธกส. ตลอดจนการให้ธกส.กู้เงินเพิ่มขึ้นโดยลดวงเงินกู้ของโครงการลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐาน ฯลฯ วิธีการเหล่านี้ล้วนแต่สุ่มเสี่ยงต่อการผิดกฎหมายรัฐธรรมนูญ ทำลายวินัยทางการคลัง และกระทบความมั่นคงทางการเงินของธกส. แม้กระทรวงการคลังจะพยายามทุกวิถีทางที่จะหาเงินมาจ่ายให้ชาวนา แต่ผมคิดว่ารัฐบาลคงไม่สามารถจ่ายเงินให้ชาวนาได้ตามสัญญา ยกเว้นว่ารัฐบาลจะกล้าเสี่ยงทำผิดกฎหมายรัฐธรรมนูญ ผมจึงขออนุญาตใช้พื้นที่สื่อมวลชนอธิบายให้พี่น้องชาวนาได้รับรู้เหตุผลแท้จริงที่ชาวนาอาจจะได้เงินค่าขายข้าวไม่ครบภายในวันที่รัฐบาลสัญญา และให้ข้อมูลเพิ่มเติมเรื่องผู้ที่ต้องรับผิดชอบต่อปัญหาดังกล่าวเพื่อให้ท่านใช้ประกอบการตัดสินใจในการเลือกตั้ง ว่านโยบายที่พรรคการเมืองหาเสียงจะมีผลดีผลเสียอย่างไรต่อตัวท่านและต่อประเทศอย่างไร ก่อนอื่น ผมขอบอกพี่น้องชาวนาก่อนว่า ผมต้องการให้ท่านได้รับเงินค่าขายข้าวจากรัฐบาลโดยเร็วที่สุด และด้วยวิธีที่ถูกกฎหมาย โดยเฉพาะกฎหมายรัฐธรรมนูญ รัฐบาลบอกว่าจะหาเงินมาจาก […]

จดหมายเปิดผนึกถึง กกต. และ ปปช. เรื่องการกู้เงิน 1.3 แสนล้านบาทเพื่อโปะการรับจำนำข้าว

นิพนธ์  พัวพงศกร ไทยพับบลิก้า รายงานว่าเมื่อวันที่ 3 มกราคม 2557คณะกรรมการนโยบายและกำกับบริหารหนี้สาธารณะ ได้ทบทวนแผนการกู้เงินของรัฐบาลประจำปีงบประมาณ 2557 และได้พิจารณากรอบวงเงินรวมที่จะใช้ในโครงการรับจำนำข้าวเปลือกปีการผลิต 2556/57 มีวงเงินไม่เกิน 270,000 ล้านบาท แหล่งเงินที่จะใช้มาจาก 2 แหล่งใหญ่ คือ กระทรวงคลังจะจัดหาและค้ำประกันเงินกู้ให้ธกส. 130,000 ล้านบาท และเงินจากการระบายข้าวของกระทรวงพาณิชย์ รักษาการรมว.กระทรวงการคลังกล่าวว่า หลังจากนำมติของคณะกรรมการฯรายงานให้ที่ประชุมครม.ทราบ สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) จะเริ่มดำเนินการกู้เงินจำนวน 130,000 ล้านบาทให้ธกส.ทันที เพื่อนำไปจ่ายให้กับเกษตรกรที่ได้นำข้าวมาจำนำกับรัฐบาลในโครงการรับจำนำข้าวรอบที่ 1 ปี 2556/57 แต่ยังไม่ได้รับเงินกว่า 1 แสนล้านบาท รักษาการรมว.คลังให้สัมภาษณ์ว่าวงเงินกู้ 130,000 ล้านบาทนี้อยู่ในแผนการบริหารหนี้สาธารณะ จึงไม่ขัดหลักเกณฑ์ของคณะกรรมการเลือกตั้ง เพราะ ถือเป็นนโยบายต่อเนื่องที่เคยผ่านการอนุมัติจากครม.มาแล้วเมื่อวันที่ 3 กันยายน 2556 ประเด็นสำคัญ คือ วงเงินกู้จำนวน 130,000 ล้านบาทนี้ถือเป็นนโยบายต่อเนื่องหรือไม่ ผู้อำนวยการสบน.กล่าวว่ากรอบวงเงินการจำนำข้าวปี 2556/57 จำนวน 270,000 ล้านบาทถือเป็นกรอบวงเงินใหม่ […]

ปัญหาจากการล่มสลายของโครงการรับจำนำข้าว

นิพนธ์  พัวพงศกร สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย ไม่มีใครคาดคิดว่ารัฐบาลจะกล้าตัดสินใจลดราคาจำนำข้าวและจำกัดวงเงินรับจำนำ อย่างกระทันหัน (ซึ่งเท่ากับเป็นการยกเลิกนโยบายการจำนำข้าวทุกเม็ดโดยปริยาย) เพราะตลอดเวลารัฐบาลมักจะอ้างเสมอว่าโครงการนี้เป็นนโยบายที่ดี สามารถเพิ่มรายได้ให้ชาวนา ช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจ และรัฐบาลสามารถขายข้าวให้รัฐบาลต่างประเทศได้เป็นจำนวนมาก สาเหตุสำคัญที่ทำให้รัฐบาลต้องลดราคาจำนำข้าว น่าจะเกิดจากรายงานของมูดดี้ส์ที่แสดงความกังวลต่อการขาดทุนในโครงการรับจำนำข้าวกว่า 2 แสนล้านบาท และมีแนวโน้มว่ารัฐบาลต้องใช้เงินเพิ่มเติมอีกจำนวนมากในการรับจำนำทำให้รัฐบาลอาจไม่สามารถบรรลุเป้าหมายงบประมาณสมดุลในปี 2560 ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อการลดเครดิตของประเทศไทย การตัดสินใจครั้งนี้น่าจะเป็นครั้งแรกที่รัฐบาลเพื่อไทยยอมรับฟังคำเตือนของฝรั่งหัวแดง ต่างจากในสมัยรัฐบาลทักษิณที่เคยแสดงความไม่พอใจว่า “ยูเอ็นไม่ใช่ พ่อ” ยิ่งกว่านั้นการที่รัฐบาลยอมผิดสัญญาตามที่เคยหาเสียงไว้กับชาวนา ก็แสดงว่ารัฐบาลยอมรับว่าการจำนำข้าวมีปัญหาการคลังอย่างรุนแรง นี่คือ บทเรียนสำคัญว่าในการเลือกตั้งครั้งต่อไปประชาชนต้องใช้สติในการพิจารณาว่า “นโยบาย” ที่พรรคการเมืองต่างๆ นำเสนอนั้นจะมีผลเสียหายอย่างไร ไม่ใช่มองแต่ประโยชน์ที่ตนจะได้เพียงอย่างเดียว พรรคการเมืองเองก็ควรมีความรับผิดชอบที่จะต้องวิเคราะห์ผลดีผลเสียของนโยบายต่างๆก่อนที่นำนโยบายออกมาเสนอขายต่อประชาชน ผู้บริหารพรรคการเมืองต่างก็เป็นผู้หลักผู้ใหญ่ และมีนักวิชาการที่มีความรู้สูง สังคมไทยคงไม่ต้องออกกฎกติกาบังคับเรื่องนโยบายหาเสียง หรือให้องค์กรอิสระมาตามตรวจสอบนโยบายหาเสียง นักการเมืองต่างคนต่างก็โตเป็นผู้ใหญ่แล้วไม่ใช่เด็กๆ การตัดสินใจลดราคาจำนำลงอย่างรวดเร็วดูเหมือนจะเน้นเฉพาะการเฉือนรายได้ชาวนาเพื่อแก้ปัญหาการขาดทุนจากราคาจำนำที่สูงลิบลิ่วเท่านั้น แต่ภาวะขาดทุนในโครงการจำนำข้าวมิได้เกิดจากราคาจำนำเพียงอย่างเดียว การขาดทุนยังเกิดจากการอุดหนุนผู้บริโภค ค่าใช้จ่ายของโครงการ ตลอดจนการขาดทุนที่เกิดจากการระบายข้าวไม่โปร่งใสและการทุจริตในโครงการ นอกจากนั้นการยกเลิกโครงการรับจำนำข้าวอย่างกระทันหันอาจส่งผลให้ราคาข้าวเปลือกลดลงอย่างฮวบฮาบ ทำให้ชาวนาที่อยู่นอกโครงการจำนำอาจประสบภาวะขาดทุนจากการขายข้าว คณะกรรมการนโยบายข้าวแห่งชาติต้องนำประเด็นเหล่านี้มาพิจารณาโดยเร่งด่วน 1. การลดภาระขาดทุนจากการจำนำข้าว ประเด็นแรก ถ้ารัฐบาลต้องการลดภาระการขาดทุนจากโครงการจำนำข้าว รัฐบาลควรลดการขาดทุนจากการระบายข้าวและการอุดหนุนผู้บริโภคด้วย การขาดทุนในโครงการรับจำนำข้าว นอกจากจะเกิดจากการตั้งราคารับจำนำข้าวเปลือกที่ 15,000 บาทต่อตัน (โดยชาวนาไม่ได้เป็นฝ่ายเรียกร้องแต่แรก) การขาดทุนอีกส่วนหนึ่งยังเกิดจากการระบายข้าวในราคาต่ำกว่าราคาตลาด และค่าใช้จ่ายในการดำเนินการ […]

1 21 22 23