ปี 2556 “โมเดลใหม่ในการพัฒนา: สู่การเติบโตอย่างมีคุณภาพโดยการเพิ่มผลิตภาพ”

งานสัมมนาวิชาการทีดีอาร์ไอ ประจำปี 2556 “โมเดลใหม่ในการพัฒนา: สู่การเติบโตอย่างมีคุณภาพโดยการเพิ่มผลิตภาพ” (New Development Model: Towards Quality Growth Based on Productivity Improvement) เปิดการสัมมนา โดย นายโฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์  ประธานสภาสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย บทความที่ 1:    โฉมหน้าและแนวทางสู่โมเดลใหม่ในการพัฒนาประเทศ (Features and Paths Towards a New Development Model) ประธาน:  ดร.อัมมาร  สยามวาลา  นักวิชาการเกียรติคุณ สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย ผู้เสนอ:    ดร.สมชัย  จิตสุชน  ผู้อำนวยการวิจัย สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย ดร.นณริฏ  พิศลยบุตร  นักวิชาการ สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย ผู้นำอภิปราย: ดร. ทนง พิทยะ  อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง บทความที่ 2: การสร้างนวัตกรรมและการพัฒนาเทคโนโลยีของภาคการผลิต (Strategies to Create Innovation and Technology […]

คิดใหม่ระบบหลักประกันสุขภาพของไทย

เอกสารประกอบการเสวนา 1. เหลียวหลังแลหน้า เส้นทางเดินของระบบหลักประกันสุขภาพของไทย โดย ดร. วิโรจน์ ณ ระนอง ทีดีอาร์ไอ   2. กลไกอภิบาลระบบหลักประกันสุขภาพเพื่อลดความเหลื่อมล้ำ โดย ดร. เดือนเด่น  นิคมบริรักษ์ ทีดีอาร์ไอ   3. ประเด็นสำหรับการเสวนาสาธารณะ “คิดใหม่ระบบหลักประกันสุขภาพของไทย” โดย นพ. ภูษิต ประคองสาย สำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ (IHPP)    

กรณีการแจกมือถือ ไอโฟน 4s กับมาตรฐานจริยธรรมของหน่วยงานภาครัฐ

เดือนเด่น  นิคมบริรักษ์ สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา  มีข่าวคราวเกี่ยวกับการที่บริษัทเอกชนรายหนึ่งเสนอโทรศัพท์มือถือไอโฟนรุ่น 4s แก่กรรมการในคณะกรรมการกำกับกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และ กิจการโทรคมนาคม (กสทช.) เป็นของขวัญวันปีใหม่ พร้อมทั้งให้เป็นของจับสลากในงานปีใหม่ของพนักงาน กสทช. อีกด้วย   ผู้เขียนเองก็มีประสบการณ์โดยตรงเนื่องจากมีผู้ที่รู้จักเสนอว่าสามารถหา ไอโฟน 4s จากญาติที่เป็นพนักงาน กสทช. มาให้ได้ในราคาที่ต่ำกว่าราคาตลาด  ซึ่ง ณ เวลานั้น  โทรศัพท์มือถือดังกล่าวไม่มีจำหน่ายในตลาดต้องจองคิวกับผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือ  ซึ่งคิวก็เต็มหมดทุกราย  ผู้เขียนมิได้สอบถามรายละเอียดข้อเท็จจริงเพราะได้ตอบปฏิเสธไปตั้งแต่แรกเพราะเห็นว่า  การได้มาซึ่งสิ่งของที่มีมูลค่าสูงภายใต้เงื่อนไขที่ดีกว่าที่ประชาชนทั่วไปได้รับโดยใช้สายสัมพันธ์ส่วนตัวกับผู้ที่ปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้กำกับดูแลนั้นไม่น่าจะเหมาะสม  ผู้เขียนเห็นว่า  การไม่ปฏิเสธผลประโยชน์ในรูปแบบของสิทธิพิเศษที่ธุรกิจภายใต้การกำกับโดยตรงหยิบยื่นให้  ไม่ว่าจะเป็นสิทธิในการลองใช้สินค้า (แบบถาวร หรือ ชั่วคราวก็ตาม)  สิทธิในการซื้อสินค้าในราคาที่ต่ำกว่าที่ประชาชนทั่วไปต้องซื้อ หรือ สิทธิในการได้มาซึ่งสินค้าในขณะที่ประชาชนทั่วไปไม่สามารถหาซื้อได้นั้นแม้อาจไม่ขัดกับกฎหมายที่มีอยู่ แต่ก็ขัดกับหลักจริยธรรมที่ผู้ที่ปฎิบัติหน้าที่กำกับดูแลพึงมี อนึ่ง หน่วยงานกำกับดูแลด้านกิจการโทรคมนาคมของสหรัฐอเมริกา หรือ FCC  มีข้อห้ามมิให้กรรมการและพนักงานขององค์กรรับผลประโยชน์ใดๆ จากบุคคลที่มิใช่ญาติ หรือ มิตรสหาย ยกเว้นในกรณีที่ผลประโยชน์ดังกล่าวมีมูลค่าต่ำกว่า 20 เหรียญ สรอ. หรือ 600 บาท    นอกจากนี้  การรับของกำนัลหรือผลประโยชน์ในรูปแบบอื่นใดแต่ละครั้งจะต้องมีการแจ้งรายละเอียดเพื่อลงบันทึกเป็นทางการด้วย  […]

มองไปข้างหน้า ทีดีอาร์ไอ: เปิดใจ สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ ประธานทีดีอาร์ไอคนใหม่

1 ตุลาคม 2555 ดร.สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ ก้าวขึ้นดำรงตำแหน่งประธานสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทยหรือ ‘ทีดีอาร์ไอ’ แทนที่ รศ.ดร.นิพนธ์ พัวพงศกร ที่หมดวาระลง 28 ปีของทีดีอาร์ไอ ในฐานะสถาบันวิจัยเชิงนโยบาย ประสบความสำเร็จสมดังเจตนารมณ์แรกตั้งเพียงใด ทีดีอาร์ไอยุคใหม่จะก้าวเดินต่อไปอย่างไร  สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ จะประเมินบทบาทที่ผ่านมา และมองไปข้างหน้าถึงทิศทางใหม่ของสถาบัน ผ่านบทสัมภาษณ์เปิดใจชิ้นนี้ ทีดีอาร์ไอตั้งขึ้นมาตั้งแต่ปี 2527 ตอนนี้ก็มีอายุ 28 ปีแล้ว เราสะสมทุนทางปัญญาความรู้มาอย่างต่อเนื่อง ช่วงที่ผ่านมาก็มีตั้งแต่ช่วงที่ก่อร่างสร้างตัว ถ้าเปรียบเป็นคนก็เป็นเด็ก ถึงวันนี้ทีดีอาร์ไออายุเกินเบญจเพสแล้ว อยู่ในวัยที่น่าจะมีกำลังวังชามากที่สุด ด้วยชื่อเสียงและความเข้มแข็งขององค์กรที่สะสมมาเกือบสามสิบปีจากผู้บริหารหลายรุ่นก่อนหน้า ทำให้เรามีความพร้อมที่จะก้าวต่อไปอีกขั้นหนึ่ง ก้าวต่อไปที่ว่านี้ก็คือ การทำให้ทีดีอาร์ไอมีส่วนช่วยสังคมมากขึ้นในการวิเคราะห์ ในการผลักดันนโยบายสาธารณะ ที่จะเป็นประโยชน์กับประชาชนจริงๆ มากขึ้น ที่ผ่านมาเราเน้นการทำวิจัยมาก การวิจัยถือว่าเป็นหน้าที่หลักอยู่แล้ว แต่การทำวิจัยในยุคที่สภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจการเมืองในการกำหนดนโยบายเปลี่ยนไป การทำวิจัยเชิงนโยบายที่จะให้เกิดการนำไปใช้ประโยชน์ได้จริง มันก็ต้องเปลี่ยนไปด้วย เปลี่ยนตั้งแต่วิธีตั้งโจทย์ กระบวนการตั้งโจทย์วิจัยควรดึงผู้มีส่วนได้เสียและผู้ที่มีพลังต้องการปฏิรูปกลุ่มต่างๆ เข้ามามีส่วนร่วมด้วยกันมากขึ้น ในการทำวิจัย เรายังต้องคงคุณภาพของการวิจัยไว้ เพราะเป็นหัวใจของความเป็นนักวิชาการ แต่หลังจากทำวิจัยเสร็จแล้ว ต้องมีกระบวนการทำงานร่วมกับสังคมในการสื่อสารความคิด ทำงานกับผู้กำหนดนโยบายและผลักดันให้นโยบายที่ควรจะเป็นเกิดขึ้นได้จริง ทีดีอาร์ไอยุคต่อไปจะให้น้ำหนักกับการตั้งโจทย์วิจัยที่มีความหมายกับสังคมและดึงผู้มีส่วนได้เสียเข้ามามีส่วนร่วมในการตั้งโจทย์วิจัย รวมถึงการจัดการความรู้และสื่อสารสาธารณะ โดยทำงานร่วมกับสังคมเพิ่มมากขึ้น […]

1 20 21 22