ปี 2550 “จะแก้ปัญหาความยากจนกันอย่างไร: แข่งขัน แจกจ่าย หรือสวัสดิการ”

การนำเสนอบทความเรื่อง “จะแก้ปัญหาความยากจนกันอย่างไร: แข่งขัน แจกจ่าย หรือสวัสดิการ”   โดย ดร. อัมมาร สยามวาลา รักษาการประธานสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย ดร. สมชัย จิตสุชน ผู้อำนวยการวิจัย การพัฒนาเศรษฐกิจส่วนรวมและการกระจายรายได้ กลุ่มที่ 1 การให้สินเชื่อเพื่อแก้ปัญหาเศรษฐกิจของคนจน ประธานกลุ่ม: ดร. อัมมาร สยามวาลา รักษาการประธานสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย ผู้นำเสนอบทความ: 1. หัวข้อ “สินเชื่อและปัญหาเศรษฐกิจของคนจน” ดร. กอบศักดิ์ ภูตระกูล ผู้บริหารสถาบันวิจัยเพื่อตลาดทุน ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย 2. หัวข้อ “โอกาสการเข้าถึงแหล่งเงินทุนกับการลดปัญหาความยากจน” ดร. ชัยสิทธิ์ อนุชิตวรวงศ์ ผู้เชี่ยวชาญ สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย 3. หัวข้อ “ประเมินผลกระทบของกองทุนหมู่บ้านต่อความยากจน” คุณบวรพรรณ อัชกุล นักวิจัยสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย กลุ่มที่ 2 การให้การศึกษาเพื่อยกฐานะของคนจน ประธานกลุ่ม: ศาสตราจารย์ รังสรรค์ ธนะพรพันธุ์ อาจารย์คณะเศรษฐศาสตร์ […]

การสัมมนาวิชาการประจำปี 2546 เรื่อง “ความมั่นคงของมนุษย์”

1. คุณภาพแห่งชีวิต ปฏิทินแห่งความหวัง : จากครรภ์มารดาถึงเชิงตะกอน  2. โครงร่างรายงานคณะกรรมการความมั่นคงของมนุษย์  3. อะไรนะ…”ความมั่นคงของมนุษย์”   โดย ไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม 4. รายงานการสัมมนาวิชาการประจำปี 2546 เรื่อง ความมั่นคงของมนุษย์  กลุ่ม 1 ผลกระทบต่อความมั่นคงของคนไทยจากสภาพแวดล้อมภายนอกประเทศ 1. การก่อการร้าย : อาชญากรรมข้ามชาติที่กระทบต่อความมั่นคงของไทย  โดย ปณิธาน วัฒนายากร 2. มาตรการในการแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์เฉพาะสตรีและเด็ก  โดย สรรพสิทธิ์ คุมพ์ประพันธ์ และ พยงค์ศรี ขันธิกุล 3. ยาเสพติดกับความมั่นคงของคนไทย  โดย นวลน้อย ตรีรัตน์ 4. การจ้างแรงงานต่างด้าวกับความมั่นคงของมนุษย์  โดย ยงยุทธ แฉล้มวงษ์, จักรกฤษณ์ จิระราชวโร และ กันยารัตน์ กิตติสารวุฒิเวทย์ กลุ่ม 2 สภาพแวดล้อมทางสังคมกับความมั่นคงของมนุษย์ 1. […]

การสัมมนาวิชาการประจำปี 2542 เรื่อง “เศรษฐกิจพอเพียง”

กลุ่มที่ 1 และกลุ่มที่ 2 ความหมายของเศรษฐกิจพอเพียงในเชิงเศรษฐศาสตร์ และสังคม เศรษฐกิจพอเพียงของในหลวงกับการวิเคราะห์ความหมายของนักเศรษฐศาสตร์   โดย อภิชัย พันธเสน กลุ่มที่ 3 แนวทางปฏิบัติทางด้านการตัดสินใจที่พอประมาณและมีเหตุผล 1. พฤติกรรมที่ไม่พอเพียงกับผลกระทบทางเศรษฐกิจ   โดย สมชัย จิตสุชน 2. บทบาทของข้อมูลเศรษฐกิจและสังคมกับเศรษฐกิจพอเพียง   โดย สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ กลุ่มที่ 4 แนวทางปฏิบัติทางด้านการพัฒนาการเกษตรและชุมชน 1. ความเสี่ยงและภูมิคุ้มกันในภาคเกษตรกรรมของไทย   โดย วิโรจน์ ณ ระนอง 2. ทฤษฎีใหม่: มุมมองทางเศรษฐศาสตร์   โดย อดิศร์ อิศรางกูร ณ อยุธยา 3. บทสำรวจความคิดความเข้าใจและการปฏิบัติตามแนวทฤษฎีใหม่   โดย ชนิกา เจริญวงษ์ กลุ่มที่ 5 แนวทางปฏิบัติทางด้านการพัฒนาอุตสาหกรรมและบริการ 1. การพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมของไทยตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง […]

ปัญหาขยะหน้ากากอนามัย

ความต้องการใช้หน้ากากอนามัยในช่วงโควิด-19 เพื่อขึ้นเกือบเท่าตัว  หน้ากากอนามัยจัดเป็นวัสดุอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่ใช้สำหรับการป้องกันสิ่งปนเปื้อนทั้งอนุภาคขนาดใหญ่และขนาดเล็กเข้าสู่ร่างกายของแพทย์และคนไข้ผ่านทางระบบทางเดินหายใจ โดยส่วนใหญ่ หน้ากากอนามัยจะถูกใช้โดยศัลยแพทย์ ทันตแพทย์ และสัตวแพทย์ ระหว่างการผ่าตัดหรือเมื่อจำเป็นต้องรักษาผู้ป่วยอย่างใกล้ชิด ทั้งนี้เพื่อป้องกันการติดต่อของเชื้อโรคทั้งในรูปแบบของเหลว เช่น น้ำลาย น้ำเหลือง และเลือด หรือละอองปนเปื้อนเชื้อซึ่งสามารถแพร่กระจายเข้าสู่ร่างกายผ่านทางปากและจมูก   อย่างไรก็ดี ท่ามกลางการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 จะเห็นได้ว่า ความต้องการใช้หน้ากากอนามัยเพิ่มขึ้นเกือบเท่าตัว เพราะนอกจากหน้ากากอนามัยจะถูกใช้ทางการแพทย์ในปริมาณที่มากขึ้นเพื่อรักษาผู้ป่วยที่ติดเชื้อโควิด-19 แล้ว ประชาชนทั่วไปยังมีความต้องการใช้หน้ากากอนามัยมากขึ้นเพื่อป้องกันเชื้อไว้รัสโควิด-19 อีกด้วย โดยหากใช้วิธีการประมาณการแบบหยาบๆ โดยกำหนดให้ปริมาณการผลิตหน้ากากอนามัยในประเทศอยู่ที่ 1.56 ล้านชิ้น/วัน2 ทั้งในช่วงก่อนและหลังมีการระบาดของโรคโควิด-19 (ซึ่งไม่นับรวมการเพิ่มกำลังการผลิตของโรงงานที่ผลิตหน้ากากอนามัยเพื่อแก้ปัญหาการขาดแคลนหน้ากากอนามัยในช่วงที่มีการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19) ซึ่งจากจำนวนนี้ มีการจัดสรรหน้ากากอนามัยจำนวน 0.8 ล้านชิ้น/วัน ให้กับสถานพยาบาลและบุคลากรทางการแพทย และที่เหลืออีก 0.76 ล้านชิ้น/วัน ให้กับประชาชนทั่วไป ถ้าตั้งสมมติฐานว่าในช่วงก่อนที่จะมีการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ประชาชนทั่วไปไม่มีความต้องการใช้หน้ากากอนามัย มีแต่บุคลากรทางการแพทย์ที่ใช้ ดังนั้น ปริมาณความต้องการใช้หน้ากากอนามัยในช่วงก่อนมีโควิด-19 อยู่ที่ประมาณ 0.8 ล้านชิ้น/วัน ในขณะที่ ปริมาณความต้องการใช้หน้ากากอนามัยในช่วงหลังมีโควิด-19 อยู่ที่ 1.56 ล้านชิ้น/วัน3 เนื่องจากประชาชนหันมาสวมใส่หน้ากากอนามัยเพิ่มขึ้น เนื่องจากหวาดกลัวการระบาดของโรคโควิด-19 จะเห็นว่าความต้องการใช้หน้ากากอนามัยเพิ่มขึ้นเกือบเท่าตัว นั่นหมายความว่าในแต่ละวันปริมาณขยะที่เกิดจากหน้ากากอนามัยที่ใช้ครั้งเดียวทิ้งมีจำนวนมากขึ้นด้วยเช่นกัน   หน้ากากอนามัยเป็นขยะติดเชื้อ ถ้าทิ้งและกำจัดไม่ถูกต้องอาจรั่วไหลสู่สิ่งแวดล้อมได้  หน้ากากอนามัยที่ใช้แล้วจัดได้ว่าเป็นขยะติดเชื้อ ซึ่งจำเป็นต้องได้รับการกำจัดอย่างถูกวิธีเพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนและสิ่งแวดล้อม เนื่องจากหน้ากากอนามัยที่ใช้แล้วปนเปื้อนด้วยเสมหะ น้ำลาย น้ำมูกของบุคคลผู้ใช้ และอาจยังปนเปื้อนเชื้อโรคจากบุคคลที่ป่วยหรือผู้เป็นพาหะนำโรคได้ ถ้าหากหน้ากากอนามัยเหล่านี้ไม่ได้รับการคัดแยกอย่างถูกวิธี ถูกทิ้งปะปนกับขยะชุมชน จะส่งผลให้พนักงานที่ทำหน้าที่เก็บขนขยะมีความเสี่ยงสูงที่จะติดเชื้อโควิด-19 และเมื่อขยะถูกนำไปกำจัดด้วยวิธีที่ไม่ถูกต้อง เช่น เทกองกลางแจ้ง ก็อาจเพิ่มโอกาสที่เชื้อไวรัสโควิด-19 จะแพร่กระจายไปยังคนในชุมชนทั้งทางน้ำและทางอากาศ นอกจากหน้ากากอนามัยที่ใช้แล้วจะก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อสุขภาพของพนักงานเก็บขยะและคนในชุมชนแล้ว ปริมาณขยะหน้ากากอนามัยแบบใช้ครั้งเดียวทิ้งที่จัดการไม่ถูกต้องยังส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศและสิ่งแวดล้อมได้ เนื่องจากหน้ากากอนามัยมีองค์ประกอบที่ผลิตจากวัสดุที่ย่อยสลายยาก เช่น พอลิโพรไพลีน (Polypropylene : PP) ซึ่งเป็นพลาสติกชนิดหนึ่ง ที่นำมาขึ้นรูปให้เป็นเส้นใยสังเคราะห์ แล้วทอให้เป็นแผ่น […]

1 5 6 7