ทีดีอาร์ไอ เสนอโมเดลการพัฒนา แก้โจทย์ยากของประเทศในยุคแห่งความปั่นป่วนทางเทคโนโลยี

สัมมนาประจำปี ทีดีอาร์ไอ ระดมทีมนักวิจัยพร้อมเครือข่าย แก้โจทย์ยากของประเทศว่า ไทยจะรับมือและทำมาหากินอย่างไรในยุคแห่งความปั่นป่วนทางเทคโนโลยี สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) จัดสัมมนาสาธารณะ ประจำปี 2561  “ปรับทิศทางเศรษฐกิจไทยให้พร้อมสู่ยุคแห่งความปั่นป่วนทางเทคโนโลยี” (Reorienting the Thai Economy to Prepare for the Age of Technological Disruptions) ณ เซ็นทาราแกรนด์ เซ็นทรัลเวิลด์ เพื่อเป็นเวทีนำเสนอผลการศึกษา ให้ข้อเสนอแนะภาครัฐ ธุรกิจและประชาชน ในการปรับตัวของทุกภาคส่วน และกำหนดนโยบายสาธารณะให้สอดคล้องกับยุคแห่งความปั่นป่วนทางเทคโนโลยี ซึ่งจะส่งผลกระทบอย่างถอนรากถอนโคนต่อเศรษฐกิจหลายด้าน ทั้งเกษตร อุตสาหกรรมและบริการ ตลอดจนคนทำงานอาชีพต่างๆ ดร.สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ ประธานทีดีอาร์ไอ เปิดประเด็นเสนอว่า เทคโนโลยีดิจิทัลป่วนโลก โดยเฉพาะปัญญาประดิษฐ์ (AI) และออโตเมชั่นกำลังพัฒนาไปอย่างก้าวกระโดด จนมีความสามารถทัดเทียมหรือเกินกว่ามนุษย์ไปแล้วในหลายด้าน ธุรกิจและประเทศที่นำเทคโนโลยีดังกล่าวมาใช้จึงมีความได้เปรียบเหนือคู่แข่ง  รัฐบาลของประเทศต่างๆ โดยเฉพาะในเอเชียตะวันออก เช่น จีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และไต้หวัน จึงแข่งกันกำหนดยุทธศาสตร์และลงทุนพัฒนาเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ ในขณะที่ประเทศไทยยังไม่มีการกำหนดยุทธศาสตร์ดังกล่าวเลย ซึ่งเป็นเรื่องที่น่ากังวล […]

TDRI Annual Public Conference 2018: ปรับทิศทางเศรษฐกิจไทยให้พร้อมสู่ยุคแห่งความปั่นป่วนทางเทคโนโลยี

เทปบันทึกการนำเสนอ สไลด์ประกอบการนำเสนอ เปิดเรื่อง “อนาคตประเทศไทยในยุคแห่งความปั่นป่วนทางเทคโนโลยี” โดย ดร.สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ ทีดีอาร์ไอ “ปรับโมเดลการพัฒนาประเทศให้โตได้ในความปั่นป่วน”   โดย ดร.สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ ทีดีอาร์ไอ แขกรับเชิญ คุณธนา เธียรอัจฉริยะ “ปรับการเรียนรู้เพื่อสร้างทักษะใหม่” โดย คุณณัฐสิฎ รักษ์เกียรติวงศ์ และคุณศุภณัฏฐ์ ศศิวุฒิวัฒน์ ทีดีอาร์ไอ แขกรับเชิญ คุณเทียนธันย์ ณีศะนันท์ “ปรับระบบสวัสดิการสังคมพร้อมรับโลกใหม่ที่ผันผวน” โดย ดร.วรวรรณ ชาญด้วยวิทย์ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ดร.บุญวรา สุมะโน เจนพึ่งพร และ ดร. วิชสิณี วิบุลผลประเสริฐ ทีดีอาร์ไอ แขกรับเชิญ คุณสุทธิพงศ์ กนกากร “ปรับทัศนคติภาครัฐเพื่อรับความเปลี่ยนแปลงแห่งอนาคต” โดย ดร.เดือนเด่น นิคมบริรักษ์ และ คุณเทียนสว่าง ธรรมวณิช ทีดีอาร์ไอ แขกรับเชิญ คุณรพี สุจริตกุล สรุปเนื้อหาการนำเสนอ “อนาคตประเทศไทยในยุคแห่งความปั่นป่วนทางเทคโนโลยี” สรุปโดย กิตติพัฒน์ บัวอุบล […]

พัฒนาครูไทย เริ่มตั้งแต่ปรับหลักสูตร ถึงกระบวนการพัฒนาต่อเนื่อง

นอกจากการปรับปรุงหลักสูตรและกระบวนการเรียนการสอน เพื่อให้นักเรียนมีทักษะการเรียนรู้ที่ดีแล้ว ประเด็นเรื่องของการพัฒนาคุณภาพ และประสิทธิภาพของครู ถือว่าเป็นอีกประเด็นหนึ่งที่สำคัญต่อการปฏิรูปการศึกษาของประเทศ ซึ่งไม่ใช่เฉพาะแต่ประเทศไทยเท่านั้น หากในต่างประเทศ การพัฒนาคุณภาพครูถูกทำควบคู่ไปกับการปฏิรูปการศึกษาเช่นกัน ดังนั้น หากย้อนมองประเทศที่ประสบความสำเร็จ ทั้งเรื่องวิธีการ การดำเนินการ และนโยบาย โดยใช้คะแนนสอบ PISA (Programmed for International Student) มาเป็นเกณฑ์ในการวัด ผ่านงานวิจัยของ “พรพิไล เลิศวิชา” เมธีวิจัยอาวุโส สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) จะพบว่าการพัฒนาครูในประเทศจีนมีการคัดเลือกครูคุณภาพสูง รวมถึงผู้บริหารโรงเรียน มีการจับคู่โรงเรียนที่พัฒนาแล้ว และจับคู่โรงเรียนที่ประสบความสำเร็จกับอีก 5 โรงเรียนเพื่อพัฒนาร่วมกันไป “อีกทั้งมีการย้ายโอนครูจากเมืองสู่ชนบท ชนบทสู่เมือง เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้การยกระดับคุณภาพครู และโรงเรียน รวมถึงการเปลี่ยนแปลงระบบบริหารใหม่ โดยนำโรงเรียนที่ประสบความสำเร็จเข้ามาบริหาร โดยมีการกำหนด Blueprint 2010 ที่จะพัฒนาเซี่ยงไฮ้ให้เป็นศูนย์กลางทางด้านการศึกษาของประเทศจีน โดยมีการสร้าง Web Based Platform ให้กับครูเพื่อใช้เป็นแนวทางในการสอน ซึ่งเว็บนี้ไม่ใช่ทางเลือก แต่คือการบังคับใช้ เพื่อเป็นประกันคุณภาพการศึกษาที่มีวิธีการเหมือนกัน แต่ลดการเรียนการสอนลง” ส่วนประเทศสิงคโปร์เริ่มจากการพัฒนาสถาบันฝึกหัดครู โดยนำนักเรียนเก่ง จำนวน 30% […]

ข้อคิดเห็นบางประการ ต่อนโยบายการคัดเลือกครูสอนดี

ศุภณัฏฐ์ ศศิวุฒิวัฒน์ จากการที่กระทรวงศึกษาธิการประกาศการสอบแข่งขันบรรจุข้าราชการครูปี 2560 โดยเปิดรับสมัครผู้จบการศึกษาจากสาขาอื่นที่ไม่ใช่ศึกษาศาสตร์ ได้เกิดข้อถกเถียงว่านโยบายนี้เป็นทางเลือกที่ดีกว่าการเปิดรับสมัครเฉพาะผู้จบสาขาศึกษาศาสตร์หรือไม่ ผู้เขียนเห็นว่าระบบการศึกษาควรมีการเปิดรับทั้งสองวิธีการควบคู่กัน โดยการเปิดรับสมัครผู้จบสาขาศึกษาศาสตร์เป็นวิธีการหลัก ส่วนการเปิดรับสมัครบุคคลทั่วไปเป็นวิธีเสริมสำหรับพื้นที่ที่มีความขาดแคลนครูในสาขาขาดแคลนและการสรรหาครูอาชีวศึกษาซึ่งต้องการการบริหารที่แตกต่างจากครูสายสามัญ หากไม่มีความขาดแคลนครู การเปิดรับสมัครบุคคลทั่วไปจะเป็นการสิ้นเปลือง เพราะต้องเพิ่มงบประมาณในการคัดเลือกและการฝึกอบรมเพิ่มเติม ทั้งนี้ การวัดความขาดแคลนครูควรพิจารณาจากจำนวนผู้สอบผ่านรายสาขาเปรียบเทียบกับความต้องการในแต่ละเขตพื้นที่ ซึ่งกระทรวงศึกษาธิการควรเปิดเผยต่อสาธารณะ ศุภณัฏฐ์ ศศิวุฒิวัฒน์ นักวิจัยอาวุโส ทีดีอาร์ไอ ผู้เขียนยังเห็นว่าการเปิดรับสมัครบุคคลทั่วไปอาจช่วยเพิ่มโอกาสในการคัดเลือกคนเก่งและลดความขาดแคลนครูบางสาขา แต่ไม่สามารถรับประกันว่าจะได้ครูสอนดี ซึ่งหมายถึงครูที่มีความรู้ความสามารถด้านการสอนทั่วไปและการสอนในวิชาเฉพาะ เช่น ครูคณิตศาสตร์ควรสามารถวิเคราะห์สาเหตุได้ว่า ทำไมนักเรียนเข้าใจผิดว่า “0.2 x 6 มากกว่า 6/0.2” หรือหาตัวอย่างในชีวิตประจำวันที่ช่วยให้นักเรียนใจความหมายของ “1¼ หารด้วย ½”  ได้ การสอบแข่งขันบรรจุข้าราชการในปัจจุบันยังเป็นการคัดเลือกคนเก่งเนื้อหาวิชามากกว่าครูสอนดี เพราะข้อสอบวัดเฉพาะเนื้อหาความรู้วิชาเอก ความรู้รอบตัวและความรู้เรื่องกฎหมายการศึกษา  ไม่มีการทดสอบความสามารถด้านการสอนในวิชาเอก  นอกจากนี้ ผู้สอบผ่านบางคนจะได้สอนนักเรียน ทั้งที่ไม่เคยมีประสบการณ์ด้านการสอน  โดยปัจจุบัน คุรุสภาอนุญาตให้ผู้ที่ไม่มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพเข้าสอนได้ชั่วคราวเป็นเวลา 2 ปี และกำหนดเพียงว่าผู้นั้นต้องพัฒนาตนเองจนได้รับใบอนุญาตฯ ภายในระยะเวลาดังกล่าว หากกระทรวงศึกษาธิการต้องการที่จะเปิดรับสมัครบุคคลทั่วไป  ก็ควรเร่งปรับปรุงการคัดเลือก โดยเพิ่มการทดสอบความสามารถด้านการสอนด้วย และควรต้องจัดหลักสูตรเตรียมความพร้อมด้านการสอนอย่างเข้มข้น ดังกรณีตัวอย่างโครงการ Boston Teacher […]

บทเรียนการควบรวมโรงเรียนขนาดเล็กในญี่ปุ่นต่อประเทศไทย

ศุภณัฏฐ์ ศศิวุฒิวัฒน์ ประเทศไทยกำลังเข้าสู่สังคมผู้สูงวัยและมีจำนวนประชากรวัยเรียนลดลง ส่งผลให้โรงเรียนมีขนาดเล็กลงและเกิดข้อถกเถียงเกี่ยวกับนโยบายการควบรวมโรงเรียนขนาดเล็ก แต่ในการถกเถียงหลายครั้ง มิติของนโยบายกลับถูกลดทอน เช่น การควบรวมมักถูกมองเป็นนโยบายการลดต้นทุนเพียงอย่างเดียว ละเลยการพัฒนาคุณภาพการศึกษาและสิทธิชุมชนซึ่งเป็นเจ้าของโรงเรียน และข้อถกเถียงมักถูกจำกัดเพียงประเด็นว่า “เราควรควบรวมโรงเรียนขนาดเล็กหรือไม่” ซึ่งบางครั้งทำให้เข้าใจว่ามีทางเลือกเพียงควบรวม รร. ขนาดเล็กทั้งหมดหรือไม่ควบรวมทั้งหมดเท่านั้น โดยไม่คำนึงถึงสภาพของแต่ละพื้นที่ ศุภณัฏฐ์ ศศิวุฒิวัฒน์ นักวิจัยอาวุโส การเรียนรู้บทเรียนจากต่างประเทศจะช่วยเพิ่มมุมมองและมิติการถกเถียงเชิงนโยบายได้ หนึ่งในกรณีศึกษาที่น่าสนใจคือประเทศญี่ปุ่นซึ่งได้เข้าสู่สังคมผู้สูงวัยและเผชิญหน้ากับการควบรวมโรงเรียนขนาดเล็กก่อนไทย ในช่วงปี 1990-2000 ญี่ปุ่นมีจำนวนนักเรียนประถมลดลงจาก 9.3 ล้านเหลือ 7.3 ล้านคนหรือประมาณร้อยละ 21 ทำให้โรงเรียนประถมขนาดเล็ก (จำนวนนักเรียนน้อยกว่า 150 คน) เพิ่มขึ้นจาก 7.4 พันแห่งเป็น 8 พันแห่ง แต่หลังจากนั้น การควบรวมทำให้จำนวนโรงเรียนขนาดเล็กลดลงเหลือ 6.8 พันแห่งหรือร้อยละ 32 ของโรงเรียนทั้งหมดในปี 2012 ทั้งที่จำนวนนักเรียนประถมยังคงลดลงอย่างต่อเนื่อง การควบรวมนี้เกิดจากความยินยอมของประชาชนส่วนใหญ่ในพื้นที่ ซึ่งมองว่าการควบรวมเป็นการลดต้นทุนการศึกษาบางประการที่ไม่คุ้มค่า เพื่อนำงบประมาณที่ประหยัดได้ไปพัฒนาบริการสาธารณะต่างๆ ตามความต้องการ การควบรวมโรงเรียนขนาดเล็กในญี่ปุ่นเกิดขึ้นได้สำเร็จจากการที่ ญี่ปุ่นมีการกระจายอำนาจให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมในการตัดสินใจจัดสรรงบประมาณ  ประชาชนได้เลือกตั้งรัฐบาลและสภาท้องถิ่นทั้งในระดับจังหวัดและเทศบาล ซึ่งทำหน้าที่ให้บริการสาธารณะต่างๆ ในด้านการศึกษา รัฐบาลท้องถิ่นรับผิดชอบจ้างครูและดูแลการดำเนินงานของโรงเรียน […]

ข้อคิดเห็นต่อการปรับโครงสร้างกระทรวงศึกษาธิการ

ศุภณัฏฐ์ ศศิวุฒิวัฒน์ เมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2559 คณะรักษาความสงบแห่งชาติได้ออกคำสั่งที่ 10/2559 และ 11/2559 ให้มีการปรับโครงสร้างการบริหารของกระทรวงศึกษาธิการ เพื่อเพิ่มเอกภาพในการบริหารและกระชับสายบังคับบัญชา การปรับโครงสร้างนี้มุ่งแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นจากการที่แต่ละหน่วยงานต่างคนต่างทำ ซึ่งเป็นปัญหาที่มีอยู่จริง แต่ในอีกด้านหนึ่งก็เป็นที่น่ากังวล เพราะอาจยึดหลักการสั่งการมากกว่าการมีส่วนร่วมและการกระจายอำนาจซึ่งเป็นแนวทางที่จะทำให้การปฏิรูปการศึกษาประสบผลสำเร็จอย่างยั่งยืนมากกว่า ศุภณัฏฐ์ ศศิวุฒิวัฒน์ นักวิจัยอาวุโส ทีดีอาร์ไอ ในการปรับปรุงโครงสร้างการบริหาร ได้มีการจัดตั้ง “คณะกรรมการขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการในภูมิภาค” ซึ่งประกอบไปด้วยรัฐมนตรี รัฐมนตรีช่วยและเลขาธิการของกรมทั้ง 5 ในกระทรวงฯ และได้มีการตั้ง “คณะกรรมการศึกษาธิการจังหวัด” (กศจ.) และสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดทำหน้าที่วางแผนการศึกษาจังหวัด โดยดูแลกำกับทั้งสถานศึกษาทุกสังกัด ในระดับปฐมวัยจนถึงมัธยมปลายและอาชีวศึกษา และทำหน้าที่ทั้งวางแผนนโยบาย วิชาการและบุคลากร แทนที่คณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษาและคณะอนุกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (อ.ก.ค.ศ.) ในเขตพื้นที่การศึกษา 225 เขต หากคณะกรรมการที่ตั้งขึ้นสามารถทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ การบริหารการศึกษาของประเทศก็น่าจะมีเอกภาพมากขึ้น โดยหน่วยงานต่างๆ มองปัญหากว้างขึ้นและประสานงานกัน ซึ่งจะแก้ปัญหาสำคัญหลายประการได้ เช่น ในปัจจุบัน มีนักเรียนจำนวนมากที่หลุดออกจากระบบในช่วงรอยต่อของ ป. 6 และ ม. 1 และ ม. […]

‘บทเรียน’ การควบรวมโรงเรียนขนาดเล็กในญี่ปุ่น

ศุภณัฏฐ์ ศศิวุฒิวัฒน์ ประเทศไทยกำลังเข้าสู่สังคมผู้สูงวัยและมีจำนวนประชากรวัยเรียนลดลง ส่งผลให้โรงเรียนมีขนาดเล็กลงและเกิดข้อถกเถียงเกี่ยวกับนโยบายการควบรวมโรงเรียนขนาดเล็ก แต่ในการถกเถียงหลายครั้งมิติของนโยบายกลับถูกลดทอน เช่น การควบรวมมักถูกมองเป็นนโยบายการลดต้นทุนเพียงอย่างเดียว ละเลยการพัฒนาคุณภาพการศึกษาและสิทธิชุมชนซึ่งเป็นเจ้าของโรงเรียน และข้อถกเถียงมักถูกจำกัดเพียงประเด็นว่า “เราควรควบรวมโรงเรียนขนาดเล็กหรือไม่” ซึ่งบางครั้งทำให้เข้าใจว่ามีทางเลือกเพียงควบรวมโรงเรียนขนาดเล็กทั้งหมดหรือไม่ควบรวมทั้งหมดเท่านั้น โดยไม่คำนึงถึงสภาพของแต่ละพื้นที่ การเรียนรู้บทเรียนจากต่างประเทศจะช่วยเพิ่มมุมมองและมิติการถกเถียงเชิงนโยบายได้ หนึ่งในกรณีศึกษาที่น่าสนใจคือประเทศญี่ปุ่น ซึ่งได้เข้าสู่สังคมผู้สูงวัยและเผชิญหน้ากับการควบรวมโรงเรียนขนาดเล็กก่อนไทย ในช่วงปี 1990-2000 ญี่ปุ่นมีจำนวนนักเรียนประถมลดลงจาก 9.3 ล้านคน เหลือ 7.3 ล้านคนหรือประมาณร้อยละ 21 ทำให้โรงเรียนประถมขนาดเล็ก (จำนวนนักเรียนน้อยกว่า 150 คน) เพิ่มขึ้นจาก 7,400 แห่งเป็น 8,000 แห่ง แต่หลังจากนั้น การควบรวมทำให้จำนวนโรงเรียนขนาดเล็กลดลงเหลือ 6,800 แห่งหรือ ร้อยละ 32 ของโรงเรียนทั้งหมดในปี 2012 ทั้งที่จำนวนนักเรียนประถมยังคงลดลงอย่างต่อเนื่อง การควบรวมนี้เกิดจากความยินยอมของประชาชนส่วนใหญ่ในพื้นที่ ซึ่งมองว่าการควบรวมเป็นการลดต้นทุนการศึกษาบางประการที่ไม่คุ้มค่า เพื่อนำงบประมาณที่ประหยัดได้ไปพัฒนาบริการสาธารณะต่างๆ ตามความต้องการ การควบรวมโรงเรียนขนาดเล็กในญี่ปุ่นเกิดขึ้นได้สำเร็จจากการที่ญี่ปุ่นมีการกระจายอำนาจให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมในการตัดสินใจจัดสรรงบประมาณ ประชาชนได้เลือกตั้งรัฐบาลและสภาท้องถิ่นทั้งในระดับจังหวัดและเทศบาล ซึ่งทำหน้าที่ให้บริการสาธารณะต่างๆ ในด้านการศึกษา รัฐบาลท้องถิ่นรับผิดชอบจ้างครูและดูแลการดำเนินงานของโรงเรียน โดยยึดมาตรฐานคุณภาพที่กำหนดโดยกระทรวงศึกษา เช่น ต้องมีครูอย่างน้อย 1 […]

‘บทเรียน’ การควบรวมโรงเรียนขนาดเล็กในญี่ปุ่น

ศุภณัฏฐ์ ศศิวุฒิวัฒน์ ประเทศไทยกำลังเข้าสู่สังคมผู้สูงวัยและมีจำนวนประชากรวัยเรียนลดลง ส่งผลให้โรงเรียนมีขนาดเล็กลงและเกิดข้อถกเถียงเกี่ยวกับนโยบายการควบรวมโรงเรียนขนาดเล็ก แต่ในการถกเถียงหลายครั้งมิติของนโยบายกลับถูกลดทอน เช่น การควบรวมมักถูกมองเป็นนโยบายการลดต้นทุนเพียงอย่างเดียว ละเลยการพัฒนาคุณภาพการศึกษาและสิทธิชุมชนซึ่งเป็นเจ้าของโรงเรียน และข้อถกเถียงมักถูกจำกัดเพียงประเด็นว่า “เราควรควบรวมโรงเรียนขนาดเล็กหรือไม่” ซึ่งบางครั้งทำให้เข้าใจว่ามีทางเลือกเพียงควบรวมโรงเรียนขนาดเล็กทั้งหมดหรือไม่ควบรวมทั้งหมดเท่านั้น โดยไม่คำนึงถึงสภาพของแต่ละพื้นที่ การเรียนรู้บทเรียนจากต่างประเทศจะช่วยเพิ่มมุมมองและมิติการถกเถียงเชิงนโยบายได้ หนึ่งในกรณีศึกษาที่น่าสนใจคือประเทศญี่ปุ่น ซึ่งได้เข้าสู่สังคมผู้สูงวัยและเผชิญหน้ากับการควบรวมโรงเรียนขนาดเล็กก่อนไทย ในช่วงปี 1990-2000 ญี่ปุ่นมีจำนวนนักเรียนประถมลดลงจาก 9.3 ล้านคน เหลือ 7.3 ล้านคนหรือประมาณร้อยละ 21 ทำให้โรงเรียนประถมขนาดเล็ก (จำนวนนักเรียนน้อยกว่า 150 คน) เพิ่มขึ้นจาก 7,400 แห่งเป็น 8,000 แห่ง แต่หลังจากนั้น การควบรวมทำให้จำนวนโรงเรียนขนาดเล็กลดลงเหลือ 6,800 แห่งหรือ ร้อยละ 32 ของโรงเรียนทั้งหมดในปี 2012 ทั้งที่จำนวนนักเรียนประถมยังคงลดลงอย่างต่อเนื่อง การควบรวมนี้เกิดจากความยินยอมของประชาชนส่วนใหญ่ในพื้นที่ ซึ่งมองว่าการควบรวมเป็นการลดต้นทุนการศึกษาบางประการที่ไม่คุ้มค่า เพื่อนำงบประมาณที่ประหยัดได้ไปพัฒนาบริการสาธารณะต่างๆ ตามความต้องการ การควบรวมโรงเรียนขนาดเล็กในญี่ปุ่นเกิดขึ้นได้สำเร็จจากการที่ญี่ปุ่นมีการกระจายอำนาจให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมในการตัดสินใจจัดสรรงบประมาณ ประชาชนได้เลือกตั้งรัฐบาลและสภาท้องถิ่นทั้งในระดับจังหวัดและเทศบาล ซึ่งทำหน้าที่ให้บริการสาธารณะต่างๆ ในด้านการศึกษา รัฐบาลท้องถิ่นรับผิดชอบจ้างครูและดูแลการดำเนินงานของโรงเรียน โดยยึดมาตรฐานคุณภาพที่กำหนดโดยกระทรวงศึกษา เช่น ต้องมีครูอย่างน้อย 1 […]

ให้โรงเรียนเป็นอิสระถึงเวลาสังคมร่วมจัดการศึกษา

หนึ่งในประเด็นปฏิรูปที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) สนใจเป็นพิเศษก็คือการ “ปฏิรูปการศึกษา” เพื่อแก้ปัญหาเรื้อรังของการศึกษาไทย ทั้งผลการเรียนที่ตกต่ำและความเหลื่อมล้ำของคุณภาพโรงเรียน ทั้งที่งบประมาณด้านการศึกษาสูงขึ้นทุกปี โพสต์ทูเดย์นัดคุยกับ ศุภณัฏฐ์ ศศิวุฒิวัฒน์ นักวิจัยอาวุโส สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) ซึ่งเสนอว่า ปัญหาหลักการศึกษาไทยไม่ใช่เรื่องขาดแคลนทรัพยากร แต่เป็นเรื่องการใช้และบริหารจัดการทรัพยากร ซึ่งหนึ่งในโจทย์หลักคือการทำให้การจัดการศึกษาและโรงเรียนตอบสนองต่อปัญหาที่แตกต่างกันไปของนักเรียน ศุภณัฏฐ์ กล่าวว่า ทางออกหนึ่งคือให้อิสระการบริหารทรัพยากรกับโรงเรียนรัฐมากขึ้น ซึ่งที่ผ่านมายังถือว่าค่อนข้างจำกัด แม้จะมีความพยายามกระจายอำนาจให้โรงเรียน “จริงอยู่ปัจจุบันโรงเรียนได้รับเงินอุดหนุนรายหัวและบริหารจัดการส่วนนี้ได้เอง แต่งบส่วนนี้ค่อนข้างน้อย โรงเรียนบางแห่งใช้จ่ายค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าดำเนินการประจำก็หมดแล้ว ไม่เหลือส่วนที่ไว้พัฒนา ขณะที่งบโครงการพัฒนาต่างๆ ส่วนใหญ่ยังกำหนดจากส่วนกลาง เขตพื้นที่มาคอยติดตามการดำเนินงานในโรงเรียน โรงเรียนไม่ค่อยได้คิดหรือเลือกโครงการเองว่าอะไรเหมาะกับทิศทางโรงเรียน” “อีกส่วนคือ การบริหารบุคลากรซึ่งมีงบสูงถึง 70-80% ของงบประมาณ สพฐ.ปัจจุบัน โรงเรียนไม่ได้ร่วมในการคัดเลือกครู ครูสอบผ่านการสอบของเขตพื้นที่หรือส่วนกลางมา คนมีคะแนนสูงสุดได้เลือกโรงเรียนก่อน โรงเรียนรู้จักครูวันแรกคือครูได้รับบรรจุแล้ว” ดังนั้น เขาจึงเสนอว่า ต้องให้งบพัฒนากับโรงเรียน แล้วให้โรงเรียนวางแผนพัฒนาและตัดสินว่าจะเข้าร่วมโครงการใด ส่วนการคัดเลือกครู โรงเรียนควรได้มีส่วนร่วมในการคัดเลือกด้วย ออกแบบการคัดเลือกครูได้เอง โดยผู้ที่จะมาสมัครกับโรงเรียนต้องสอบผ่านการสอบมาตรฐานกลางก่อน ซึ่งตรงนี้ก็ช่วยลดปัญหาเส้นสายได้ ส่วนโรงเรียนที่ยังไม่มีศักยภาพอาจขอให้เขตพื้นที่ช่วยเหลือ หรือรวมตัวกับโรงเรียนอื่น อีกแนวทางหนึ่งซึ่งจะช่วยเพิ่มอิสระและความหลากหลายให้กับโรงเรียนได้คือ การให้ภาคส่วนต่างๆ ที่ไม่ใช่ภาครัฐส่วนกลางเข้ามาจัดการศึกษา […]

สัมมนาทีดีอาร์ไอ 2016 “ให้รัฐปรับบทบาทตนเอง”(ตอนที่1): ลดทับซ้อน แยกบทบาท “ผู้เล่น-ผู้กำกับ-ผู้วางนโยบาย”

เมื่อวันที่ 29 มีนาคม 2559 สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) จัดงานสัมมนาประจำปี 2559 ภายใต้หัวข้อ “ปรับบทบาทภาครัฐไทย…ให้ประชาชนได้รับบริการที่ดี” ซึ่งมีนักวิจัยนำเสนอในหลายหัวข้อ สำหรับ ดร.เดือนเด่น นิคมบริรักษ์ ผู้อำนวยการวิจัยทีดีอาร์ไอ ได้นำเสนอประเด็น “ให้รัฐปรับบทบาทตนเอง” โดยเล่าเปิดเรื่องไปถึงฉากวิ่งแข่งในภาพยนตร์เรื่อง The Dictator ซึ่งผู้ปกครองที่ลงแข่งนั้นอีกทางหนึ่งกลับทำหน้าที่เป็นกรรมผู้ถือปืนยิง ปล่อยตัวการแข่งขัน สุดท้ายจึงชนะไปอย่างง่ายดายคล้ายกับรัฐไทยในปัจจุบันที่มีบทบาทยังไม่เหมาะสมว่า “วีดีโอจากหนังเรื่อง The Dictator ที่ล้อเลียนระบอบการปกครองแบบเผด็จการ แต่วันนี้ดิฉันมิบังอาจมาล้อเลียนระบอบการปกครองของประเทศเรา แต่เพียงอยากให้เห็นภาพว่า ถ้าให้กรรมการผู้ที่คุมกฎระเบียบทั้งหลายมาวิ่งแข่งเองด้วยจะเกิดอะไรขึ้น จะเห็นว่าคนที่ใส่เสื้อส้มๆ เป็นคนยิงปืนแล้วก็ไปวิ่งแข่งด้วย เอาปืนยิงคนอื่นตายหมด สุดท้ายคนที่ถือเส้นชัยก็วิ่งเข้ามาหาให้เขาชนะไปโดยไม่ต้องเหนื่อย ก็ชนะไปอย่างง่ายๆ คนอื่นไม่มีสิทธิไม่มีโอกาส ฉันใดฉันนั้น ในการบริการสาธารณะ ถ้ารัฐเป็นผู้ให้บริการเองจะเหมือนเป็นผู้แข่งเองและกำกับกฎกติกาเอง คงจะเกิดอาการคล้ายๆ กับที่ยกตัวอย่างให้ฟังภาคเอกชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) หรือคู่แข่งคนอื่นคงจะแข่งได้ยาก เพราะคนคุมกฎเป็นผู้แข่งด้วย ปรับบทบาท “ลดทับซ้อน-ปรับปรุงให้ทันสมัย” วันนี้จึงมาพูดถึงเรื่องการปรับบทบาทของภาครัฐว่าเราจำเป็นจะต้องปรับบทบาทอย่างไร เพราะที่ผ่านมาเราเห็นแล้วว่าทั้งเรื่องของการกระจายอำนาจหรือเรื่องของการส่งเสริมภาคเอกชนไปได้ยาก ปรับยาก ถามว่าทำไมปรับยาก เพราะข้อแรก ตัวกระทรวงเองเขามีส่วนได้ส่วนเสีย เขาไม่อยากให้เอกชนมาแข่งกับเขา เขาไม่อยากถ่ายโอนออกไปให้ […]

ข้อคิดเห็นต่อการปรับโครงสร้างกระทรวงศึกษาธิการ

ศุภณัฏฐ์ ศศิวุฒิวัฒน์ เมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2559 คณะรักษาความสงบแห่งชาติได้ออกคำสั่งที่ 10/2559 และ 11/2559 ให้มีการปรับโครงสร้างการบริหารของกระทรวงศึกษาธิการ เพื่อเพิ่มเอกภาพในการบริหารและกระชับสายบังคับบัญชา การปรับโครงสร้างนี้มุ่งแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นจากการที่แต่ละหน่วยงานต่างคนต่างทำ ซึ่งเป็นปัญหาที่มีอยู่จริง แต่ในอีกด้านหนึ่งก็เป็นที่น่ากังวล เพราะอาจยึดหลักการสั่งการมากกว่าการมีส่วนร่วมและการกระจายอำนาจซึ่งเป็นแนวทางที่จะทำให้การปฏิรูปการศึกษาประสบผลสำเร็จอย่างยั่งยืนมากกว่า ในการปรับปรุงโครงสร้างการบริหาร ได้มีการจัดตั้ง “คณะกรรมการขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการในภูมิภาค” ซึ่งประกอบไปด้วยรัฐมนตรี รัฐมนตรีช่วยและเลขาธิการของกรมทั้ง 5 ในกระทรวงฯ และได้มีการตั้ง “คณะกรรมการศึกษาธิการจังหวัด” (กศจ.) และสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดทำหน้าที่วางแผนการศึกษาจังหวัด โดยดูแลกำกับทั้งสถานศึกษาทุกสังกัด ในระดับปฐมวัยจนถึงมัธยมปลายและอาชีวศึกษา และทำหน้าที่ทั้งวางแผนนโยบาย วิชาการและบุคลากร แทนที่คณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษาและคณะอนุกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (อ.ก.ค.ศ.) ในเขตพื้นที่การศึกษา 225 เขต หากคณะกรรมการที่ตั้งขึ้นสามารถทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ การบริหารการศึกษาของประเทศก็น่าจะมีเอกภาพมากขึ้น โดยหน่วยงานต่างๆ มองปัญหากว้างขึ้นและประสานงานกัน ซึ่งจะแก้ปัญหาสำคัญหลายประการได้ เช่น ในปัจจุบัน มีนักเรียนจำนวนมากที่หลุดออกจากระบบในช่วงรอยต่อของ ป. 6 และ ม. 1 และ ม. 3 ขึ้น ม. 4 […]

บทเรียนการควบรวมโรงเรียนขนาดเล็กในญี่ปุ่นต่อประเทศไทย

ศุภณัฏฐ์ ศศิวุฒิวัฒน์ ประเทศไทยกำลังเข้าสู่สังคมผู้สูงวัยและมีจำนวนประชากรวัยเรียนลดลง ส่งผลให้โรงเรียนมีขนาดเล็กลงและเกิดข้อถกเถียงเกี่ยวกับนโยบายการควบรวมโรงเรียนขนาดเล็ก แต่ในการถกเถียงหลายครั้ง มิติของนโยบายกลับถูกลดทอน เช่น การควบรวมมักถูกมองเป็นนโยบายการลดต้นทุนเพียงอย่างเดียว ละเลยการพัฒนาคุณภาพการศึกษาและสิทธิชุมชนซึ่งเป็นเจ้าของโรงเรียน และข้อถกเถียงมักถูกจำกัดเพียงประเด็นว่า “เราควรควบรวมโรงเรียนขนาดเล็กหรือไม่” ซึ่งบางครั้งทำให้เข้าใจว่ามีทางเลือกเพียงควบรวม รร. ขนาดเล็กทั้งหมดหรือไม่ควบรวมทั้งหมดเท่านั้น โดยไม่คำนึงถึงสภาพของแต่ละพื้นที่ การเรียนรู้บทเรียนจากต่างประเทศจะช่วยเพิ่มมุมมองและมิติการถกเถียงเชิงนโยบายได้ หนึ่งในกรณีศึกษาที่น่าสนใจคือประเทศญี่ปุ่นซึ่งได้เข้าสู่สังคมผู้สูงวัยและเผชิญหน้ากับการควบรวมโรงเรียนขนาดเล็กก่อนไทย ในช่วงปี 1990-2000 ญี่ปุ่นมีจำนวนนักเรียนประถมลดลงจาก 9.3 ล้านเหลือ 7.3 ล้านคนหรือประมาณร้อยละ 21 ทำให้โรงเรียนประถมขนาดเล็ก (จำนวนนักเรียนน้อยกว่า 150 คน) เพิ่มขึ้นจาก 7.4 พันแห่งเป็น 8 พันแห่ง แต่หลังจากนั้น การควบรวมทำให้จำนวนโรงเรียนขนาดเล็กลดลงเหลือ 6.8 พันแห่งหรือร้อยละ 32 ของโรงเรียนทั้งหมดในปี 2012 ทั้งที่จำนวนนักเรียนประถมยังคงลดลงอย่างต่อเนื่อง การควบรวมนี้เกิดจากความยินยอมของประชาชนส่วนใหญ่ในพื้นที่ ซึ่งมองว่าการควบรวมเป็นการลดต้นทุนการศึกษาบางประการที่ไม่คุ้มค่า เพื่อนำงบประมาณที่ประหยัดได้ไปพัฒนาบริการสาธารณะต่างๆ ตามความต้องการ การควบรวมโรงเรียนขนาดเล็กในญี่ปุ่นเกิดขึ้นได้สำเร็จจากการที่ ญี่ปุ่นมีการกระจายอำนาจให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมในการตัดสินใจจัดสรรงบประมาณ  ประชาชนได้เลือกตั้งรัฐบาลและสภาท้องถิ่นทั้งในระดับจังหวัดและเทศบาล ซึ่งทำหน้าที่ให้บริการสาธารณะต่างๆ ในด้านการศึกษา รัฐบาลท้องถิ่นรับผิดชอบจ้างครูและดูแลการดำเนินงานของโรงเรียน โดยยึดมาตรฐานคุณภาพที่กำหนดโดยกระทรวงศึกษา เช่น ต้องมีครูอย่างน้อย […]

1 2 3 4