TDRI Factsheet 07: ค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาท: ผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจโดยรวม

ถึงแม้ว่าการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำเป็น 300 บาททั่วประเทศของรัฐบาลตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2556 ที่ผ่านมาจะส่งผลดีต่อแรงงานไทยให้มีรายได้เพิ่มขึ้น นโยบายดังกล่าวจะส่งผลกระทบโดยตรงต่อระบบเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ งานวิจัย ผลกระทบของการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ: การวิเคราะห์โดยใช้แบบจำลอง ของ ดร. เชษฐา อินทรวิทักษ์ ได้ทำการวิเคราะห์ถึงผลกระทบของการเพิ่มค่าแรงขั้นต่ำโดยทำการจำลองสถานการณ์ทางเศรษฐศาสตร์ในกรณีต่าง ๆ ที่มีผลจากนโยบายค่าแรงขั้นต่ำดังกล่าว ผลการศึกษาพบว่า การเพิ่มค่าจ้างเป็น 300 บาทจะช่วยเพิ่มรายได้ที่แท้จริงให้แก่แรงงานโดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มแรงงานทักษะต่ำได้ถึงร้อยละ 11.24 แต่หากผู้ประกอบการและแรงงานไม่มีการปรับตัวใด ๆ เลย ต้นทุนในการผลิตสินค้าที่สูงขึ้น การหดตัวของการผลิต การลงทุน และการบริโภคจะส่งผลให้ผลผลิตมวลรวมในประเทศ (จีดีพี) จะลดลงร้อยละ 2.55 และการส่งออกลดลงร้อยละ 2.35 โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมสิ่งทอ เครื่องนุ่งห่มและเครื่องหนัง ไม้และเฟอร์นิเจอร์จะได้รับผลกระทบค่อนข้างมาก กราฟข้างบนแสดงให้เห็นว่า การส่งออกภาคอุตสาหกรรมที่ใช้แรงงานทักษะต่ำเช่น สิ่งทอ เครื่องนุ่งห่ม เครื่องหนังและไม้จะมีสัดส่วนลดลงมาก เนื่องจากราคาสินค้าเหล่านี้สูงขึ้น ส่วนอุตสาหกรรมที่ใช้เทคโนโลยีสูงเช่น เคมี ไฟฟ้า เครื่องจักรกลและยานยนต์ มีการส่งออกลดลงบ้างแต่ไม่มากนักหากเทียบกับอุตสาหกรรมที่ใช้แรงงานทักษะต่ำ ไทยอาจจะถูกแย่งตลาดส่งออกสินค้าในกลุ่มที่ใช้แรงงานทักษะต่ำจากประเทศคู่แข่งในเอเซียตะวันออก เอเซียตะวันออกเฉียงใต้และเอเซียใต้

TDRI Factsheet 06: ผลประโยชน์จากการส่งเสริมการค้าและการขนส่งระหว่างประเทศ

การค้าระหว่างประเทศมักเผชิญกับการปิดกั้นและอุปสรรคที่แต่ละประเทศสร้างขึ้นมาเพื่อกีดกันคู่แข่งถึงแม้ว่าในปัจจุบันหลายประเทศจะมีการร่วมมือกันทางเศรษฐกิจเพื่อลดอุปสรรคดังกล่าวและเพิ่มความสะดวกในการค้าและการขนส่งระหว่างกันให้มากขึ้น ในส่วนของอาเซียนเอง ถึงแม้จะมีการทยอยลดภาษีอากรลงเหลือร้อยละ 0 หรืออยู่ในระดับที่ประเทศสมาชิกพอใจ ผู้ประกอบการในประเทศไทยและอาเซียนยังเผชิญหน้ากับอุปสรรคทางการค้าที่เพิ่มต้นทุนการดำเนินธุรกิจ งานวิจัย การค้าสินค้าและการอำนวยความสะดวกทางการค้า โดย ดร.เชษฐา อินทรวิทักษ์ ดร.สุเมธ องกิตติกุล และณัฐวุฒิ ลักษณาปัญญากุล นำเสนอบทวิเคราะห์ถึงอุปสรรคทางการค้าประเภทต่าง ๆ และประโยชน์ที่ประเทศไทยและเหล่าประเทศอาเซียนจะได้รับหากมีการเปิดเสรีการค้าอย่างแท้จริง จากกราฟข้างต้น หากมีการเปลี่ยนแปลงใน 3 สถานการณ์ได้แก่ 1) ลดอัตราภาษีอาการเป็นศูนย์ระหว่างประเทศอาเซียนใหม่ 2) ปรับปรุงระบบขนส่งในภูมิภาค และ 3) มีการใช้ระบบอิเล็กทรอนิกส์ ณ จุดเดียวในทุกประเทศ ไทยจะมีประโยชน์ในรูปตัวเงินถึงกว่า 4,500 ล้านดอลลาห์สหรัฐและมีการเติบโตของ GDP กว่าร้อยละ 1.5 ในขณะที่ประเทศลาว กัมพูชาและเวียดนาม (CLV) จะได้รับประโยชน์ในรูปตัวเงินกว่า 3,000 ล้านดอลลาห์สหรัฐและมีการเติบโตของ GDP กว่าร้อยละ 3.5 หากมีการลดอุปสรรคทางการค้าในอาเซียนในรูปแบบต่าง ๆ อุปสรรคทางการค้าในอาเซียน 1) การใช้ประโยชน์จากการลดภาษีศุลกากรยังไม่เต็มที่ เนื่องจากกระบวนการยุ่งยากและไม่แน่นอนขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของเจ้าหน้าที่รัฐ 2) อุปสรรคทางการค้าที่ไม่ใช่ภาษี (Non-tariff […]

นักวิชาการ ชี้ผู้ประกอบการไทยใช้สิทธิภาษีศุลกากรการค้าอาเซียนเพียงครึ่ง

ทีดีอาร์ไอเผย ผู้ประกอบการไทยใช้สิทธิประโยชน์จากมาตรการภาษีศุลกากร การค้ากับอาเซียนเพียงครึ่ง เหตุขอใช้สิทธิติดขัด ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจ จนท.-รอนาน วันที่ 26 พฤศจิกายน ดร.เชษฐา อินทรวิทักษ์ นักวิชาการ สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) นำเสนอผลการศึกษาเรื่อง “การค้าสินค้าและการอำนวยความสะดวกทางการค้า (Trade in Goods and Trade Facilitation) ภายในอาเซียน ในปี 2558” ในงานสัมมนาวิชาการประจำปี 2555 ของทีดีอาร์ไอ ณ โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์และบางกอกคอนเวนชั่นเซ็นเตอร์ เซ็นทรัลเวิลด์ โดยนำเสนอใน 3 ประเด็นหลัก ดังนี้ ประเด็นแรก การเคลื่อนย้ายสินค้าระหว่างประเทศอาเซียน จากมาตรการลดภาษีศุลกากร พบว่า อัตราภาษีศุลกากรสำหรับสินค้าส่วนใหญ่ในประเทศสมาชิกอาเซียนได้ปรับลดลงเหลือร้อยละ 0 ตั้งแต่ 2 ปีที่แล้ว ทำให้ผลกระทบหรือผลประโยชน์ต่างๆ ที่ประเทศไทยจะได้รับเกิดขึ้นไปแล้ว แต่สิ่งที่พบคือ ผู้ประกอบการส่วนใหญ่ของไทยยังใช้สิทธิประโยชน์จากมาตรการลดภาษีศุลกากรในการค้ากับอาเซียนน้อยมาก อยู่ที่ร้อยละ 40-50 เท่านั้น “ปี 2554 ผู้ส่งออกไทยใช้สิทธิประโยชน์จากการลดภาษีศุลกากรในการค้ากับอาเซียน มูลค่าเพียง […]

ปี 2555 “ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน: มายาคติ ความเป็นจริง โอกาสและความท้าทาย”

การสัมมนาวิชาการประจำปี 2555 จัดโดย มูลนิธิชัยพัฒนา สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และมูลนิธิสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย

1 2