นิพนธ์ พัวพงศกร นำทัพรับวิจัยปฏิรูประบบจัดการน้ำ เน้นการใช้ที่ดิน

ทีดีอาร์ไอ เปิดตัวโครงการปฏิรูประบบบริหารจัดการน้ำประเทศ “นิพนธ์” เผยใช้เวลา 3 ปี วิจัยเน้นส่วนที่ไม่ใช่โครงสร้าง หนุนแผนแม่บทรบ. ด้านอาณัติ ชี้จัดองคาพยพระบบน้ำ คู่ขัดแย้้งต้องหาจุดยืนร่วมกันให้ได้ วันที่ 29 พฤศจิกายน สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทยและ International Development Research Centre (IDRC) เปิดตัวโครงการศึกษา “Adaptation Options to Improve Thailand’s Flood Management Plan” ศึกษาการปฏิรูปการจัดการน้ำของประเทศไทย : การวิเคราะห์เชิงสถาบัน และรูปแบบการปรับตัว โดยมี ดร.นิพนธ์ พัวพงศกร นักวิชาการกิตติคุณทีดีอาร์ไอ เป็นหัวหน้าโครงการวิจัย โดยทีมวิจัยประกอบด้วย ดร.เดือนเด่น นิคมบริรักษ์ ดร.อดิศร์ อิศรางกูร ณ อยุธยา ดร.สมชัย จิตสุชน และ ดร.อภิวัฒน์ รัตนวิรุฬห์ ดร.นิพนธ์ กล่าวว่า ภายหลังน้ำท่วมใหญ่ปี 2554 ที่ก่อความเสียหายต่อประเทศเป็นมูลค่ากว่า […]

ตอบโจทย์: นโยบายจำนำข้าว… เจ๋ง เจ๊า เจ๊ง? กับ นิพนธ์ พัวพงศกร

ตอน 1/3 ออกอากาศ วันที่ 19 พฤศจิกายน 2555 ตอน 2/3 ออกอากาศ วันที่ 20 พฤศจิกายน 2555 ตอน 3/3 ออกอากาศ วันที่ 21 พฤศจิกายน 2555

เปลี่ยนประเทศไทยด้วยการรับจำนำข้าว: ข้อเท็จจริงสำหรับ อ.นิธิ และประชาชน โดย นิพนธ์ พัวพงศกรและอัมมาร สยามวาลา

ดร.นิพนธ์ พัวพงศกร ดร.อัมมาร สยามวาลา สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย 24 พฤศจิกายน 2555 อนุสนธิจากบทความของ อ.นิธิ เอียวศรีวงศ์ เรื่อง “เปลี่ยนประเทศไทยด้วยการรับจำนำข้าว” ในมติชนออนไลน์ เมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน 2555 ผู้เขียนทั้งสองคนขอให้ข้อเท็จจริงทั้งจากตัวเลขของหน่วยงานราชการ และจากการวิจัยของผู้เขียน เราทั้งสองเชื่อว่าการมีข้อเท็จจริงที่ถูกต้องจะนำไปสู่การกำหนดนโยบายสาธารณะที่เป็นประโยชน์ต่อชาวนาส่วนใหญ่ ประชาชนผู้เสียภาษีและภาคธุรกิจส่วนใหญ่ เรายังไม่กล้าหาญพอจะเสนอนโยบายที่นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงประเทศไทยแบบอาจารย์นิธิ เพราะหากข้อเสนอให้เปลี่ยนประเทศเกิดผิดพลาดและสร้างความเสียหายใหญ่หลวงต่อประเทศ เราไม่มีปัญญาและทรัพยากรพอจะแบกรับความเสียหายดังกล่าว ก่อนอื่นขอชี้แจงจุดยืนส่วนตัวก่อนว่า เราทั้งสองต้องการให้มีนโนบายข้าวที่ประโยชน์ตกกับชาวนา “ทุกคน” โดยเฉพาะชาวนาที่ยากจนจริงๆ โดยไม่สร้างความเสียหายใหญ่โตกับคนอื่นๆ ในสังคม หรือถ้าเกิดต้นทุนต่อผู้เสียภาษีก็ต้องหาหนทางจำกัดต้นทุนดังกล่าว เราเคารพกระบวนการทางการเมืองของระบบประชาธิปไตย ในเรื่องการใช้คะแนนเสียงเลือกตั้งกำหนดนโยบาย แต่เราต้องการประชาธิปไตยที่ดี บทความของ อ.นิธิ มีหลายประเด็น แต่เราขอตอบเพียง 3 ประเด็น คือ เรื่องแรกเป็นเรื่องข้อมูลอาจารย์นิธิข้องใจฝ่ายคัดค้านโครงการจำนำข้าวที่ระบุว่าเงินจากโครงการจำนำข้าวไม่ตกถึงมือชาวนาเล็กที่ยากจน เรื่องที่สองเกี่ยวข้องกับการให้รัฐเข้ามาแทรกแซงตลาดข้าวแทนกลไกตลาด อาจารย์นิธิเห็นว่าการขาดทุนจากโครงการจำนำเป็นเรื่องเล็กน้อย เพราะรัฐบาลตั้งใจขาดทุน เพื่อปฏิรูปสังคมอ.นิธิจึงเสนอให้รัฐบาลต้องวางแผนระบายข้าวให้ดี โดยการระบายข้าวตามจังหวะเพื่อรักษาตลาดข้าวไทย และจำกัดการขาดทุนให้น้อยที่สุด รวมทั้งการเสนอให้รัฐบาลลงทุนเพิ่มมูลค่า เช่น การแพคเกจจิ๊ง เป็นต้น เรื่องสุดท้ายซึ่งเป็นประเด็นหลัก คือ […]

นิพนธ์ พัวพงศกร: ถกนโยบายรับจำนำข้าว วงเสวนาชี้โครงการ “เจ๋ง” แต่ประเทศ “เจ๊ง”

วันที่ 19 พฤศจิกายน 2555 สถาบันอิศราฯ ร่วมกับสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาแห่งประเทศไทย (TDRI) ได้จัดอภิปราย “นโยบายจำนำข้าว เจ๋ง เจ๊า เจ๊ง?” โดยมีผู้เข้าร่วมงานเสวนาคือ ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล อดีตรองนายกรัฐมนตรี และอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ดร.นิพนธ์ พัวพงศกร นักวิชาการเกียรติคุณ TDRI และ ดร.สิริลักษณา คอมันตร์ ที่ปรึกษาคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ในช่วงต้นการเสวนา ดร.นิพนธ์ได้เปิดประเด็นว่า โครงการรับจำนำข้าว ดูเหมือนจะมีข้อดีที่ทำให้ราคาข้าวเปลือกแพง แต่ราคาข้าวสารถูก ทำให้ผู้บริโภคไม่เดือดร้อน โรงสีได้ประโยชน์ และนักการเมืองได้คะแนน แต่ในความเป็นจริงโครงการนี้จะทำให้เกิดความเสียหายต่อภาษีของประชาชน และเป็นผลเสียต่ออุตสาหกรรมข้าวไทย แผนภาพจากหนังสือ “รู้ลึก รู้จริง จำนำข้าว” โดยคณะกรรมการนโยบายข้าวแห่งชาติ (กขช.) ดร.นิพนธ์ได้วิพากษ์แผนภาพจากหนังสือ “รู้ลึก รู้จริง จำนำข้าว” ซึ่งจัดทำโดยคณะกรรมการนโยบายข้าวแห่งชาติ (กขช.) เพื่ออธิบายภาพรวมโครงการรับจำนำข้าว และชี้แจงกรณีความไม่โปร่งใสของนโยบายต่อประชาชนทั่วไป โดยได้ชี้ให้เห็นถึงช่องโหว่และความเสียหายจากนโยบายนี้ เริ่มตั้งแต่การทุจริตในการจดทะเบียน ที่พบว่ามีการนำพื้นที่พืชอื่นๆ เช่น อ้อย […]

นิพนธ์ พัวพงศกร แจกแจงข้อมูลโครงการรับจำนำข้าว ใน ThaiPublica Forum “ข้าว ชาวนา นักการเมือง และประเทศชาติ ใครได้ใครเสีย?”

การประกาศเดินหน้า นโยบาย “จำนำข้าว” ของรัฐบาล “ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร” จะช่วยแก้ไขปัญหาชาวนาได้จริงหรือ และผลประโยชน์ที่เกิดขึ้นจากนโยบายนี้ตกอยู่กับชาวนาจำนวนมากจริงหรือ ที่สำคัญ ชาวนาทุกคนเป็นคนจนทั้งหมดหรือไม่ และการยอมขาดทุนเพื่อช่วยชาวนาตามที่รัฐบาลบอก เชื่อได้หรือไม่ และเงินที่จ่ายไปในโครงการนี้คุ้มหรือไม่เมื่อเทียบกับผลประโยชน์ส่วนรวมของประเทศ การดำเนินงานของรัฐบาลรอบคอบและเชื่อได้แค่ไหน นโยบายนี้จะเป็นการโกหกอีกหรือไม่ คำถามเหล่านี้สามารถถกเถียงและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันได้บนข้อมูลที่ถูกต้อง และเพื่อหาคำตอบเหล่านั้น สำนักข่าวไทยพับลิก้า ได้จัดเสวนา ThaiPublica Forum ครั้งที่ 4 หัวข้อ “ข้าว ชาวนา นักการเมือง และประเทศชาติ ใครได้ใครเสีย?” ในวันจันทร์ที่ 12 พฤศจิกายน 2555 ณ โรงแรม VIC 3 พหลโยธิน ซอย 3 โดยวิทยากรที่มาแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ได้แก่ดร.นิพนธ์ พัวพงศกร นักวิชาการเกียรติคุณ สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) นายเดชา ศิริภัทร ประธานมูลนิธิข้าวขวัญ นายชูเกียรติ โอภาสวงศ์ นายกกิตติมศักดิ์ สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย และ ม.ร.ว.ปรีดิยาธร […]

ดร. นิพนธ์ พัวพงศกร

  รศ. ดร. นิพนธ์ พัวพงศกร ดำรงตำแหน่งนักวิชาการเกียรติคุณ สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) ในอดีตเคยดำรงตำแหน่งประธานสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย และคณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ มธ. อาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ มธ. ผู้บรรยายโครงการ X-MBA คณะพาณิชย์ศาสตร์ฯ มธ.รุ่นที่ 1-33 และ East West Center Research fellow ปัจจุบัน เน้นการวิจัยด้านนโยบายเทคโนโลยีการเกษตร นโยบายการจัดการน้ำการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างภาคเกษตรและอาหาร อนาคตของเกษตรกรไทยขนาดเล็กและนโยบายแข่งขันทางการค้า ในอดีตเคยทำงานวิจัยหลายด้าน ผลงานสำคัญได้แก่ นโยบายราคาตลาดและห่วงโซ่มูลค่าของสินค้าเกษตรสำคัญ ตลาดสินเชื่อและการเงินชนบท นโยบายแรงงาน ผลตอบแทนของการลงทุนด้านการศึกษาระดับและการลงทุนด้านการฝึกอบรมพนักงานของภาคอุตสาหกรรม ผลกระทบของข้อตกลงการเปิดเสรีการค้าแบบพหุภาคีและทวิภาคีต่อภาคเกษตร นโยบายการบริหารจัดการน้ำและสถาบันการจัดการน้ำชลประทานที่เหมาะสมกับประเทศไทย การปรับตัวของกลุ่มผู้ใช้น้ำและสถาบันการจัดการน้ำภายใต้การการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างภาคเกษตร (agricultural transformation) นโยบายภาษีศุลกากรและภาษีสุรา นโยบายการเปิดเสรีอุตสาหกรรมที่มีการคุ้มครองสูงและพลังงาน กฎหมายแข่งขันทางการค้า การป้องกันการทุจริต และความขัดแย้งระหว่างประโยชน์ส่วนตัวและประโยชน์ส่วนรวม ผลงานทั้งที่ตีพิมพ์ในรูปบทความวิชาการ รายงานวิจัยและตำรากว่า 200 เรื่อง ในจำนวนนี้ได้รับรางวัลผลงานวิจัยดีเด่น 2 เรื่องจาก สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย และเป็นศิษย์เก่าดีเด่นของโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ […]

1 2 3 4 5 23