เมนูคอร์รัปชันและการแสวงหาผลประโยชน์

หนังสือ “เมนูคอร์รัปชันและการแสวงหาผลประโยชน์” เรียบเรียงจากโครงการวิจัย “คู่มือประชาชนรู้ทันคอร์รัปชันและการแสวงหาผลประโยชน์” โดย สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์, ปกป้อง จันวิทย์, อิสร์กุล อุณหเกตุ, ศุภณัฏฐ์ ศศิวุฒิวัฒน์, กิตติพงศ์ สนธิสัมพันธ์ และสาโรช ศรีใส สนับสนุนการวิจัยโดย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) อินโฟกราฟิก: เทวฤทธิ์ นาวารัตน์ บริษัท ไบรท์ไซด์ จำกัด ที่ปรึกษาด้านอินโฟกราฟิก: ประชา สุวีรานนท์ และธนาพล อิ๋วสกุล ผลิตเป็นหนังสือเล่มโดย สำนักพิมพ์ Way of Book บรรณาธิการสำนักพิมพ์: อธิคม คุณาวุฒิ บรรณาธิการเล่ม: อาทิตย์ เคนมี บรรณาธิการศิลปกรรม: ณขวัญ ศรีอรุโณทัย พิสูจน์อักษร: คีรีบูน วงษ์ชื่น จัดพิมพ์และเผยแพร่: มูลนิธิสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย, สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย, องค์กรต่อต้านคอร์รัปชั่น (ประเทศไทย), มูลนิธิองค์กรเพื่อความโปร่่งใสในประเทศไทย, ศูนย์สาธารณประโยชน์และประชาสังคม […]

ปัญหาขาดแคลนครูในโรงเรียนขนาดเล็ก แก้ไขอย่างไรดี

ศุภณัฏฐ์ ศศิวุฒิวัฒน์ โครงการสถาบันวิจัยการเรียนรู้ สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย รายงานวิจัยของธนาคารโลก (2558)[1] ชี้ให้เห็นว่า การลดความขาดแคลนครูเป็นหนึ่งในโจทย์สำคัญสำหรับการยกระดับคุณภาพและการลดความเหลื่อมล้ำในระบบการศึกษาไทย โดยหากโรงเรียนในกลุ่มที่มีผลการเรียนต่ำที่สุดและมีครูไม่ครบชั้นเรียนได้รับจัดสรรครูเพิ่ม 1 คนต่อ 1 ห้อง ผลการเรียนของนักเรียนจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 15 ซึ่งจะลดช่องว่างผลการเรียนระหว่างนักเรียนและโรงเรียนลงด้วย ปัญหาความขาดแคลนครูกระจุกตัวอยู่ในกลุ่มโรงเรียนขนาดเล็กหรือโรงเรียนที่มีจำนวนนักเรียนต่ำกว่า 120 คน ในปี 2557 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน หรือ สพฐ. มีโรงเรียนขนาดเล็กประมาณ 1.5 หมื่นแห่งหรือประมาณร้อยละ 50 ของ รร. ทั้งหมด โดย 1.4 หมื่นแห่งเป็นโรงเรียนที่สอนเฉพาะระดับอนุบาลหรือระดับประถมศึกษาหรือสอนทั้งสองระดับ (รร.อนุบาล-ประถม) โรงเรียนขนาดเล็กกลุ่มนี้สอนนักเรียน 9 แสนกว่าคนหรือร้อยละ 22 ของนักเรียนอนุบาลและประถมศึกษาทั้งหมดใน รร. สังกัดสพฐ. ดังนั้น การลดความขาดแคลนครูน่าจะช่วยยกระดับผลการเรียนให้กับนักเรียนจำนวนถึง 1 ใน 5 ในระดับชั้นอนุบาล-ประถมศึกษา ซึ่งเป็นฐานสำคัญของการเรียนรู้ในอนาคต เพื่อลดความขาดแคลนครูดังกล่าว กระทรวงศึกษาธิการควรต้องดำเนินโยบาย 4 ประการ ดังนี้ ประการแรก ปรับเกณฑ์จำนวนครูที่เหมาะสมในโรงเรียนให้เพียงพอกับภาระงานและเหมาะสมกับสภาพความเป็นจริง สาเหตุสำคัญประการหนึ่งของความขาดแคลนครู […]

สร้าง “คนเก่ง” ให้เป็น “ครูสอนดี”

ศุภณัฏฐ์ ศศิวุฒิวัฒน์ โครงการสถาบันวิจัยระบบการเรียนรู้ สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย ในโครงการทดสอบความรู้ของนักศึกษาคณะศึกษาศาสตร์ วิชาเอกคณิตศาสตร์ปีสุดท้าย ปี 2551 (Teacher Educational Development Study-Mathematics หรือ TEDS-M 2008)[1] พบว่ามีนักศึกษาไทยร้อยละ 57 สอบไม่ผ่านเกณฑ์คะแนนขั้นต่ำในด้านเนื้อหาคณิตศาสตร์ระดับมัธยมศึกษาต้น และมีถึงร้อยละ 70 สอบไม่ผ่านเกณฑ์คะแนนขั้นต่ำในด้านการสอนคณิตศาสตร์ระดับมัธยมศึกษาต้น โดยผู้ที่สอบไม่ผ่านเกณฑ์คะแนนขั้นต่ำถือว่ายังมีความรู้เนื้อหาวิชาไม่เพียงพอที่ใช้สอนและยังไม่สามารถวางแผนการสอนและวิเคราะห์ความเข้าใจผิดของนักเรียนได้ ในปี 2554 ผลสำรวจของโครงการทดสอบนานาชาติ TIMSS (The Trends in International Mathematics and Science Study) พบว่าในกลุ่มนักเรียนไทย ม.2 ที่เรียนกับครูรุ่นใหม่ที่มีประสบการณ์การสอนน้อยกว่า 5 ปี มีเพียงร้อยละ 20 ได้เรียนกับครูที่มีความมั่นใจในการออกแบบโจทย์คณิตศาสตร์ที่ชวนให้นักเรียนคิด ขณะที่ร้อยละ 55 ได้เรียนกับครูที่ให้นักเรียนจำสูตรและวิธีการทำในทุกคาบเรียน ซึ่งมากกว่าในประเทศที่ประสบความสำเร็จด้านการศึกษา หลักฐานเชิงประจักษ์ข้างต้นชี้ไปในทางที่ว่าครูไทยรุ่นใหม่ยังไม่มีความพร้อมด้านความรู้เนื้อหาและทักษะการสอน การปฏิรูปการศึกษาในรอบทศวรรษที่ผ่านมาพยายามยกระดับคุณภาพครูรุ่นใหม่ โดยการยกระดับสถานะอาชีพครูเพื่อดึงดูดคนเก่งเข้าสู่วิชาชีพครู เช่น ยกระดับเงินเดือนของข้าราชการครูให้ทัดเทียมกับอาชีพอื่น และสร้างตำแหน่งวิทยฐานะซึ่งคล้ายกับตำแหน่งวิชาการของอาจารย์มหาวิทยาลัย เพื่อให้ครูมีความก้าวหน้าทางอาชีพ จนปัจจุบัน คณะศึกษาศาสตร์เป็นที่นิยมมากขึ้นและมีคนที่เก่งขึ้นเข้ามาเรียน […]

3 ข้อเสนอปฏิรูปคุณภาพครูและการสอน ในช่วงการเกษียณอายุราชการของครูขนานใหญ่ 10 ปีข้างหน้า

ศุภณัฏฐ์ ศศิวุฒิวัฒน์ โครงการสถาบันวิจัยการเรียนรู้ สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย ในช่วงปี 2556-2567 ครูในโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) จำนวนไม่น้อยกว่า 1.9 แสนคน หรือครึ่งหนึ่งของครูทั้งหมดจะเกษียณอายุราชการ โรงเรียนจะต้องคัดเลือกครูใหม่ประมาณ 1.56 แสนคนซึ่งคิดเป็นร้อยละ 47 ของจำนวนครูทั้งหมดในปี 2568 (ภาพด้านล่าง) เพื่อให้เพียงพอกับจำนวนนักเรียนในโรงเรียน สพฐ.  ซึ่งคาดการณ์ว่าจะลดลงเป็น 6.2 ล้านคน  ความหวังในการปฏิรูปการเรียนรู้ขึ้นอยู่กับคุณภาพการสอนของครูรุ่นใหม่นี้ ภาครัฐจึงควรวางแผนรองรับการเกษียณขนานใหญ่นี้ โดยเร่งดำเนินนโยบายด้านบุคลากรครูตามข้อเสนอ 3 ประการ ดังนี้ ที่มา: 1. จำนวนความต้องการ คำนวณโดยใช้สูตรอัตรากำลังข้าราชการครู ตาม เกณฑ์ของสำนักงาน คณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) 2. จำนวนครูที่เหลือ คำนวณโดยใช้ข้อมูลการเกษียณปี 2556-2560 จากกลุ่มสารสนเทศ สำนักนโยบายและแผนการศึกษาขั้นพื้นฐาน สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.)  ข้อมูลการเกษียณปี ปี 2561-2567 จากกลุ่มงานทะเบียนประวัติ สำนักพัฒนาระบบบริหารงานบุคคลและนิติการ สพฐ. ข้อเสนอที่ 1 ปรับปรุงระบบการคัดเลือกเพื่อเลือกสรรครูเก่งตรงกับความต้องการของโรงเรียน […]

ปัญหาขาดแคลนครูในโรงเรียนขนาดเล็ก แก้ไขอย่างไรดี

ศุภณัฏฐ์ ศศิวุฒิวัฒน์ โครงการสถาบันวิจัยการเรียนรู้ สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย รายงานวิจัยของธนาคารโลก (2558)[1] ชี้ให้เห็นว่า การลดความขาดแคลนครูเป็นหนึ่งในโจทย์สำคัญสำหรับการยกระดับคุณภาพและการลดความเหลื่อมล้ำในระบบการศึกษาไทย โดยหากโรงเรียนในกลุ่มที่มีผลการเรียนต่ำที่สุดและมีครูไม่ครบชั้นเรียนได้รับจัดสรรครูเพิ่ม 1 คนต่อ 1 ห้อง ผลการเรียนของนักเรียนจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 15 ซึ่งจะลดช่องว่างผลการเรียนระหว่างนักเรียนและโรงเรียนลงด้วย ปัญหาความขาดแคลนครูกระจุกตัวอยู่ในกลุ่มโรงเรียนขนาดเล็กหรือโรงเรียนที่มีจำนวนนักเรียนต่ำกว่า 120 คน ในปี 2557 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน หรือ สพฐ. มีโรงเรียนขนาดเล็กประมาณ 1.5 หมื่นแห่งหรือประมาณร้อยละ 50 ของ รร. ทั้งหมด โดย 1.4 หมื่นแห่งเป็นโรงเรียนที่สอนเฉพาะระดับอนุบาลหรือระดับประถมศึกษาหรือสอนทั้งสองระดับ (รร.อนุบาล-ประถม) โรงเรียนขนาดเล็กกลุ่มนี้สอนนักเรียน 9 แสนกว่าคนหรือร้อยละ 22 ของนักเรียนอนุบาลและประถมศึกษาทั้งหมดใน รร. สังกัดสพฐ. ดังนั้น การลดความขาดแคลนครูน่าจะช่วยยกระดับผลการเรียนให้กับนักเรียนจำนวนถึง 1 ใน 5 ในระดับชั้นอนุบาล-ประถมศึกษา ซึ่งเป็นฐานสำคัญของการเรียนรู้ในอนาคต เพื่อลดความขาดแคลนครูดังกล่าว กระทรวงศึกษาธิการควรต้องดำเนินโยบาย 4 ประการ ดังนี้ ประการแรก ปรับเกณฑ์จำนวนครูที่เหมาะสมในโรงเรียนให้เพียงพอกับภาระงานและเหมาะสมกับสภาพความเป็นจริง สาเหตุสำคัญประการหนึ่งของความขาดแคลนครู […]

สร้าง “คนเก่ง” ให้เป็น “ครูสอนดี”

ศุภณัฏฐ์ ศศิวุฒิวัฒน์ โครงการสถาบันวิจัยระบบการเรียนรู้ สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย ในโครงการทดสอบความรู้ของนักศึกษาคณะศึกษาศาสตร์ วิชาเอกคณิตศาสตร์ปีสุดท้าย ปี 2551 (Teacher Educational Development Study-Mathematics หรือ TEDS-M 2008)[1] พบว่ามีนักศึกษาไทยร้อยละ 57 สอบไม่ผ่านเกณฑ์คะแนนขั้นต่ำในด้านเนื้อหาคณิตศาสตร์ระดับมัธยมศึกษาต้น และมีถึงร้อยละ 70 สอบไม่ผ่านเกณฑ์คะแนนขั้นต่ำในด้านการสอนคณิตศาสตร์ระดับมัธยมศึกษาต้น โดยผู้ที่สอบไม่ผ่านเกณฑ์คะแนนขั้นต่ำถือว่ายังมีความรู้เนื้อหาวิชาไม่เพียงพอที่ใช้สอนและยังไม่สามารถวางแผนการสอนและวิเคราะห์ความเข้าใจผิดของนักเรียนได้ ในปี 2554 ผลสำรวจของโครงการทดสอบนานาชาติ TIMSS (The Trends in International Mathematics and Science Study) พบว่าในกลุ่มนักเรียนไทย ม.2 ที่เรียนกับครูรุ่นใหม่ที่มีประสบการณ์การสอนน้อยกว่า 5 ปี มีเพียงร้อยละ 20 ได้เรียนกับครูที่มีความมั่นใจในการออกแบบโจทย์คณิตศาสตร์ที่ชวนให้นักเรียนคิด ขณะที่ร้อยละ 55 ได้เรียนกับครูที่ให้นักเรียนจำสูตรและวิธีการทำในทุกคาบเรียน ซึ่งมากกว่าในประเทศที่ประสบความสำเร็จด้านการศึกษา หลักฐานเชิงประจักษ์ข้างต้นชี้ไปในทางที่ว่าครูไทยรุ่นใหม่ยังไม่มีความพร้อมด้านความรู้เนื้อหาและทักษะการสอน การปฏิรูปการศึกษาในรอบทศวรรษที่ผ่านมาพยายามยกระดับคุณภาพครูรุ่นใหม่ โดยการยกระดับสถานะอาชีพครูเพื่อดึงดูดคนเก่งเข้าสู่วิชาชีพครู เช่น ยกระดับเงินเดือนของข้าราชการครูให้ทัดเทียมกับอาชีพอื่น และสร้างตำแหน่งวิทยฐานะซึ่งคล้ายกับตำแหน่งวิชาการของอาจารย์มหาวิทยาลัย เพื่อให้ครูมีความก้าวหน้าทางอาชีพ จนปัจจุบัน คณะศึกษาศาสตร์เป็นที่นิยมมากขึ้นและมีคนที่เก่งขึ้นเข้ามาเรียน […]

3 ข้อ ปฏิรูป สพฐ. ภายในปี 2567

นายศุภณัฏฐ์ ศศิวุฒิวัฒน์ จากโครงการสถาบันวิจัยการเรียนรู้ สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย เปิดเผยว่า ในช่วงปี 2556-2567 ครูในโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) จำนวนไม่น้อยกว่า 1.9 แสนคน หรือครึ่งหนึ่งของครูทั้งหมดจะเกษียณอายุราชการ ดังนั้นโรงเรียนจะต้องคัดเลือกครูใหม่ประมาณ 1.56 แสนคนเพื่อให้เพียงพอกับจำนวนนักเรียนในอนาคต ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 47 ของจำนวนครูทั้งหมดในปี 2568 ดังนั้น ความหวังในการปฏิรูปการเรียนรู้จึงขึ้นอยู่กับคุณภาพการสอนของครูรุ่นใหม่นี้ โดยเร่งดำเนินนโยบายด้านบุคลากรครูตามข้อเสนอ 3 ประการ ดังนี้ ข้อเสนอที่ 1 ปรับปรุงระบบการคัดเลือกเพื่อเลือกสรรครูเก่งตรงกับความต้องการของโรงเรียน ซึ่งปัจจุบัน สพฐ. มีโอกาสสูงที่จะได้คนเก่งมาเป็นครูจากการสอบคัดเลือก โดยในปี 2557 มีผู้สมัครสอบบรรจุข้าราชการครูประมาณ 1 แสนคน ขณะที่มีตำแหน่งบรรจุเพียง 1,880 คน จึงเป็นการคัดเลือกครู 2 คน จาก 100 คน แต่โรงเรียนกลับไม่มีบทบาทในการคัดเลือกสรรหาครูที่มีคุณสมบัติตามที่ต้องการ เนื่องจากเขตพื้นที่การศึกษาเป็นผู้คัดเลือกครู เมื่อผู้สมัครสอบผ่านข้อเขียนและการสัมภาษณ์แล้วจะได้ขึ้นบัญชี ผู้สอบผ่านและผู้สอบที่ได้อันดับดีกว่าจะได้เลือกโรงเรียนก่อน นอกจากนี้ ข้อสอบยังน่าสงสัยว่าไม่มีมาตรฐานคุณภาพ เขตพื้นที่การศึกษาบางแห่งใช้เวลาออกข้อสอบเพียง 1-2 วัน […]

3 ข้อเสนอปฏิรูปคุณภาพครูและการสอน ในช่วงการเกษียณอายุราชการของครูขนานใหญ่ 10 ปีข้างหน้า

ศุภณัฏฐ์ ศศิวุฒิวัฒน์ โครงการสถาบันวิจัยการเรียนรู้ สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย ในช่วงปี 2556-2567 ครูในโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) จำนวนไม่น้อยกว่า 1.9 แสนคน หรือครึ่งหนึ่งของครูทั้งหมดจะเกษียณอายุราชการ โรงเรียนจะต้องคัดเลือกครูใหม่ประมาณ 1.56 แสนคนซึ่งคิดเป็นร้อยละ 47 ของจำนวนครูทั้งหมดในปี 2568 (ภาพด้านล่าง) เพื่อให้เพียงพอกับจำนวนนักเรียนในโรงเรียน สพฐ.  ซึ่งคาดการณ์ว่าจะลดลงเป็น 6.2 ล้านคน  ความหวังในการปฏิรูปการเรียนรู้ขึ้นอยู่กับคุณภาพการสอนของครูรุ่นใหม่นี้ ภาครัฐจึงควรวางแผนรองรับการเกษียณขนานใหญ่นี้ โดยเร่งดำเนินนโยบายด้านบุคลากรครูตามข้อเสนอ 3 ประการ ดังนี้ ที่มา: 1. จำนวนความต้องการ คำนวณโดยใช้สูตรอัตรากำลังข้าราชการครู ตาม เกณฑ์ของสำนักงาน คณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) 2. จำนวนครูที่เหลือ คำนวณโดยใช้ข้อมูลการเกษียณปี 2556-2560 จากกลุ่มสารสนเทศ สำนักนโยบายและแผนการศึกษาขั้นพื้นฐาน สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.)  ข้อมูลการเกษียณปี ปี 2561-2567 จากกลุ่มงานทะเบียนประวัติ สำนักพัฒนาระบบบริหารงานบุคคลและนิติการ สพฐ. ข้อเสนอที่ 1 ปรับปรุงระบบการคัดเลือกเพื่อเลือกสรรครูเก่งตรงกับความต้องการของโรงเรียน […]

โมเดลใหม่การพัฒนา: ยกระดับการศึกษาเพื่อเติมเต็มศักยภาพของมนุษย์

การสร้างทางเลือกคุณภาพ โดยการปฏิรูประบบการศึกษาให้มีคุณภาพ เพื่อสร้างทางเลือกที่ดี มีคุณภาพ ให้นักเรียนได้เลือกอย่างหลากหลาย และเป็นระบบการศึกษาที่มีความรับผิดชอบ (accountability) ต่อนักเรียน การสร้างระบบข้อมูลเพื่อการตัดสินใจอย่างมีคุณภาพ โดยการพัฒนาระบบข้อมูล ระบบสื่อสารข้อมูล และระบบแนะแนวที่ดี เพื่อเป็นพื้นฐานในการตัดสินใจเลือกอย่างมีคุณภาพของนักเรียน การสร้างการมีส่วนร่วม โดยเปิดโอกาสให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียมีส่วนร่วมในการพัฒนาศักยภาพของนักเรียนตลอดกระบวนการเรียนรู้ แนวทาง “4 สร้าง” มีรายละเอียดอย่างไร และปัญหามากมายในระบบการศึกษาไทย ควรจะได้รับการสะสางแบบไหน ร่วมหาคำตอบได้ในงานสัมมนาทางวิชาการประจำปี 2556 ของสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย ในวันที่ 18 พฤศจิกายน 2556 ณ ห้องบางกอกคอนเวนชันเซ็นเตอร์ บี ชั้น 22 โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์และบางกอกคอนเวนชันเซ็นเตอร์ เซ็นทรัลเวิลด์ นำเสนอผลการศึกษาหัวข้อ “การพัฒนาทุนมนุษย์เพื่อผลิตภาพ” (Human Capital Development for Better Productivity) โดย ผศ. ปกป้อง จันวิทย์ และคุณศุภณัฏฐ์ ศศิวุฒิวัฒน์ ทีดีอาร์ไอเชิญชวนผู้สนใจและประชาชนติดตามการเสนอผลงานศึกษาแบบเต็มๆ ผ่านการถ่ายทอดสดทางเว็บไซต์ www.tdri.or.th  และร่วมแสดงความคิดเห็นผ่านทางเฟสบุ๊ก facebook: tdri.thailand หรือทวิตเตอร์ twitter: @tdri_thailand  

‘เมนูคอร์รัปชัน’ หนังสือดีที่ทุกสีต้องอ่าน

ชำนาญ จันทร์เรือง หนึ่งในประเด็นข้อพิพาทระหว่างสี ที่ต่างฝ่ายต่างยกมาโจมตีกันในขณะนี้ ก็คือการทุจริตคอร์รัปชัน โดยฝ่าย กปปส. ก็โจมตีว่ารัฐบาลภายใต้อิทธิพลของระบอบทักษิณเป็นภัยร้ายที่กินบ้านกินเมือง ทุจริตคอร์รัปชัน จำเป็นต้องกำจัดไปให้สิ้นซาก และอีกฝ่ายตีโต้กลับว่าคุณสุเทพภายใต้เงาของพรรคประชาธิปัตย์ก็ทุจริตคอร์รัปชันอย่าง เลวร้ายเช่นกัน โดยต่างฝ่ายต่างยกคดีหรือ กรณีต่างๆ มาแฉต่อสาธารณะ แต่ด้วยเหตุที่สื่อ ส่วนใหญ่ได้เลือกข้างไปเสียแล้ว สื่อจึงเลือกเสนอแต่เพียงด้านใดด้านหนึ่งที่ตนเองเลือกข้างเท่านั้น และฝ่ายที่เลือกข้างใดก็เลือกที่จะเลือกเชื่อข้อมูลของฝ่ายตนเท่านั้น นับว่าเป็นโอกาสอันดีที่มูลนิธิสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทยหรือเป็นที่รู้จักกันโดยทั่วไปว่า “TDRI” ซึ่งบางครั้งก็ถูกมองว่าเอียงไปทางเหลือง (กรณีจำนำข้าว) บางครั้งก็ถูกมองว่าเอียงไปทางแดง (กรณีสองเอาสองไม่เอา) ได้จัดพิมพ์หนังสือ “เมนูคอร์รัปชันและการแสวงหาผลประโยชน์” ซึ่งเรียบเรียงจากโครงการ “คู่มือประชาชนรู้ทันคอร์รัปชันและการแสวงหาผลประโยชน์” ขึ้น โดยเป็นการนำเสนอข้อมูลของการคอร์รัปชันตั้งแต่เบาไปหาหนัก ซึ่งทำให้เรารู้ว่าคดีหรือกรณีต่างๆ นั้นเกิดในสมัยใดและใครเป็นผู้รับผิดชอบบ้าง การนำเสนอเป็นการนำเสนอในลักษณะของกรณีศึกษาจำนวน 35 กรณี ซึ่งมาจากการรวบรวมการนำเสนอข่าวโดยสื่อมวลชนและกระบวนการสืบสวนสอบสวนของเจ้าหน้าที่หรือหน่วยงานของรัฐ และจากการตรวจสอบข้อเท็จจริงต่างๆ โดยมีคณะผู้จัดทำซึ่งประกอบไปด้วยสมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ / ปกป้อง จันวิทย์ / อิสร์กุล อุณหเกตุ / ศุภณัฏฐ์ ศศิวุฒิวัฒน์ / กิตติพงศ์ สนธิสัมพันธ์ และสาโรช ศรีใส เนื้อหาของหนังสือเริ่มจาก […]

เมนูคอร์รัปชั่นและการแสวงหาผลประโยชน์

หนังสือ “เมนูคอร์รัปชั่นและการแสวงหาผลประโยชน์” เรียบเรียงจากโครงการวิจัย “คู่มือประชาชนรู้ทันคอร์รัปชั่นและการแสวงหาผลประโยชน์” โดย สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์, ปกป้อง จันวิทย์, อิสร์กุล อุณหเกตุ, ศุภณัฏฐ์ ศศิวุฒิวัฒน์, กิตติพงศ์ สนธิสัมพันธ์ และสาโรช ศรีใส สนับสนุนการวิจัยโดย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) อินโฟกราฟิก: เทวฤทธิ์ นาวารัตน์ บริษัท ไบรท์ไซด์ จำกัด ที่ปรึกษาด้านอินโฟกราฟิก: ประชา สุวีรานนท์ และธนาพล อิ๋วสกุล ผลิตเป็นหนังสือเล่มโดย สำนักพิมพ์ Way of Book บรรณาธิการสำนักพิมพ์: อธิคม คุณาวุฒิ บรรณาธิการเล่ม: อาทิตย์ เคนมี บรรณาธิการศิลปกรรม: ณขวัญ ศรีอรุโณทัย พิสูจน์อักษร: คีรีบูน วงษ์ชื่น จัดพิมพ์และเผยแพร่: มูลนิธิสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย, สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย, องค์กรต่อต้านคอร์รัปชั่น (ประเทศไทย), มูลนิธิองค์กรเพื่อความโปร่่งใสในประเทศไทย, ศูนย์สาธารณประโยชน์และประชาสังคม […]

โมเดลใหม่การพัฒนา: ยกระดับการศึกษาเพื่อเติมเต็มศักยภาพของมนุษย์

สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย ทีดีอาร์ไอห่วงประสิทธิภาพแรงงานไทยตามไม่ท้นการเติบโตของประเทศ กระทบเป็นห่วงโซ่ ผลพวงจากการปัญหาคุณภาพการศึกษาที่ยังต้องแก้ไข เสนอโมเดลใหม่การพัฒนา ต้องยกระดับการศึกษาเติมเต็มส่วนขาด และการพัฒนาอาชีวศึกษาให้เป็นทางเลือกที่จริง ด้วยข้อเสนอ 4 สร้าง ฟังรายละเอียดทั้งหมดได้ในงานสัมมนาวิชาการทีดีอาร์ไอประจำปี 2556 ในวันที่ 18 พ.ย.นี้ บนเส้นทางสู่ “เศรษฐกิจแห่งวันพรุ่งนี้” ที่ให้ความสำคัญกับการเติบโตอย่างมีคุณภาพ ยั่งยืน มีนวัตกรรม และนำพาชีวิตที่ดีให้แก่สมาชิกทุกระดับในสังคม  การศึกษาจึงไม่ควรเป็นแค่ “เครื่องมือ” ของการพัฒนา “แรงงาน” ในฐานะปัจจัยการผลิต เพื่อผลักดันการเติบโตทางเศรษฐกิจเชิงปริมาณ แต่การศึกษาควรมีคุณค่าความหมายในตัวเอง เป็นจุดหมายปลายทางในตัวเอง และเป็นไปเพื่อพัฒนา “มนุษย์” แต่ละคน ซึ่งต่างมีคุณค่าและศักดิ์ศรีในตัวเอง อีกทั้งมีความปรารถนาในการเรียนรู้ที่แตกต่างหลากหลาย โจทย์หลักของการศึกษาจึงมิใช่การตอบสนองต่อตลาดแรงงาน “อย่าง” ไร้คุณภาพ หรือตอบสนองต่อตลาดแรงงาน “ที่” ไร้คุณภาพ  ในทางตรงกันข้าม การศึกษาควรมีพันธกิจในการพัฒนา “ผลิตภาพ” ของมนุษย์ ด้วยการส่งเสริมให้มนุษย์แต่ละคนสามารถพัฒนาและบรรลุศักยภาพสูงสุดของตนในทางที่ตนเลือก อย่างไรก็ตาม เป็นที่ทราบกันดีว่าระบบการศึกษาของไทยมีปัญหามากมาย โดยเฉพาะการใช้ทรัพยากรอย่างไม่มีประสิทธิภาพ กล่าวคือ ใช้ทรัพยากรมาก แต่ผลสัมฤทธิ์ต่ำ โดยในช่วงปี 2546-2556 งบประมาณของกระทรวงศึกษาธิการเพิ่มขึ้นจาก 1.6 แสนล้านบาทเป็น […]

1 2 3 4