ปัญหาการคอร์รัปชั่นในประเทศไทย

ในปัจจุบัน การคอร์รัปชั่นเป็นภัยคุกคามอย่างหนึ่งของมนุษย์ มันไม่เพียงทำลายทั้งชีวิตความเป็นอยู่และชุมชนของผู้คน แต่มันยังทำให้ประชาชนเกิดความเจ็บแค้น ซึ่งจะนำไปสู่สังคมที่ไม่มีเสถียรภาพและเต็มไปด้วยความขัดแย้งรุนแรง จากการจัดทำดัชนีภาพลักษณ์การคอร์รัปชั่น (Corruption Perception Index) ไม่มีประเทศใดในโลกที่ขาวสะอาดหมดจด และสองในสามของประเทศในโลกได้คะแนนความโปร่งใสน้อยกว่า 50 (จากคะแนนเต็ม 100) อันบ่งชี้ว่าการคอร์รัปชั่นกำลังเป็นปัญหาร้ายแรง ประเทศไทยก็หนีปัญหาดังกล่าวไม่พ้น และดูเหมือนว่าสภาพปัญหาจะหนักหน่วงรุนแรงขึ้นทุกวัน โดยจากการสำรวจ Global Corruption Barometer 2013 พบว่านักลงทุนจากต่างประเทศกังวลกับปัญหาคอร์รัปชั่นในประเทศไทยมากที่สุด ขณะที่คนไทยหนึ่งในหกคนยอมรับว่าเคยจ่ายสินบน[1] ขณะเดียวกัน การคอร์รัปชั่นก็ส่งผลเสียต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของไทย โดยมีการคาดการณ์ว่าการคอร์รัปชั่นสร้างความเสียหายให้กับประเทศราว 1 แสนล้านบาทต่อปี และมันยังเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ประเทศสูญเสียการลงทุนจากต่างประเทศราว 6,000 ล้านบาทในช่วงปี 2550-2555[2]   สถานการณ์การคอร์รัปชั่นในประเทศไทย การคอร์รัปชั่นเป็นปัญหาเรื้อรังในระบบเศรษฐกิจและสังคมไทย แม้จะมีความพยายามลดความรุนแรงของปัญหา แต่ก็ยังไม่มีมาตรการใดที่แก้ไขปัญหาได้จริง  จากการจัดทำดัชนีภาพลักษณ์การคอร์รัปชั่น (Corruption Perception Index) โดยองค์กรเพื่อความโปร่งใสระหว่างประเทศ (Transparency International) เมื่อปี 2555 ประเทศไทยได้คะแนนความโปร่งใสเพียง 37 จากคะแนนเต็ม 100 ซึ่งอยู่ในลำดับที่ 88 จาก 174 […]

นักวิชาการห่วงเด็กไทยใช้ “แทบเล็ต” ผลการเรียนไม่ขยับ

นักวิชาการยังคงมีความกังวลต่ออนาคตการศึกษาของเด็กไทย จากนโยบายการแจก”แทบเล็ต”ป.1 ทว่าผ่านมาหนึ่งปียังไม่เห็นพัฒนาที่ชัดเจน จึงถูกมองว่าอาจจะกลายเป็นดาบสองคม แทนที่เด็กจะเรียนรู้เพิ่มขึ้น กลับกลายเป็นถูกปลูกฝังให้เสพติดเทคโนโลยีมากเกินไป ไม่มีความเป็นจิตอาสา อยู่ในโลกส่วนตัวสูง แนะรัฐควรพัฒนาคุณภาพครู และรื้อระบบประเมินผลการศึกษาให้สอดคล้องกับผลการเรียนเด็ก นายสมพงษ์ จิตระดับ อาจารย์ประจำคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประเมินว่าขณะนี้อนาคตเด็กไทยมีความน่าเป็นห่วงมาก โดยเฉพาะการมีความคิดแต่เรื่องของตัวเอง มีโลกส่วนตัวสูง ให้ความสำคัญกับตัวเองมากกว่าส่วนรวม และความเป็นจิตอาสาต่ำลงมาก สาเหตุมาจากพฤติกรรมในแต่ละวันมักจะอยู่กับเทคโนโลยีเครื่องมือสื่อสาร โทรศัพท์มือถือที่สามารถเข้าอินเทอร์เน็ตได้ หรือแม้แต่เครื่องแทบเล็ต จึงมีความกังวลว่าหากเด็กใช้เครื่องแทบเล็ตตั้งแต่เล็กๆ เด็กอาจจะติดเครื่องมือเหล่านี้ได้ โดยไม่สนใจคนรอบข้าง ทั้งนี้ เชื่อว่าในเจเนอเรชั่นต่อไปก็จะอยู่ในสังคมที่เรียกว่าสังคมเสมือน “เชื่อว่าเด็กในเจเนอเรชั่นที่ใช้เครื่องแทบเล็ตตั้งแต่เริ่มต้นในวัยเรียนรู้ จะมีคุณภาพชีวิตในองค์รวมด้อยกว่ามาตรฐาน และเด็กจะไม่สนใจเรื่องอื่นๆ ที่ไม่เกี่ยวกับตัวเอง แม้ว่าจะเป็นเรื่องของการทุจริตคอร์รัปชัน เด็กเจเนอเรชั่นนี้กลับสามารถยอมรับได้ เพราะเห็นจากข่าวสารให้แต่ละวัน เช่น การทุจริตครูผู้ช่วย ทำให้เรื่องของการทุจริตมันซึมซับเข้าไปอยู่ในจิตใต้สำนึก จนพวกเขายอมรับได้”นายสมพงษ์กล่าว นอกจากนี้สิ่งที่น่าเป็นห่วงในสังคมไทย คือเด็กนักเรียนในปัจจุบันเรียนเยอะเกินไป ส่งผลให้เกิดการแข่งขันสูง ซึ่งไม่เพียงคิดแต่เรื่องของตัวเองเท่านั้น การแข่งขันของเด็กสมัยนี้ยังเน้นไปที่เรื่องปัจจัยภายนอกด้วย เช่น อยากสวยอยากเด่นเหมือนดารา หรืออยากมีของแบรนด์เนมใช้ แต่ไม่ค่อยได้คิดเรื่องของเป้าหมายในชีวิต และนี่คือคุณลักษณะแบบที่เรียกว่า เด็กไทยเกิดน้อยแถมด้อยคุณภาพ นายสงพงษ์เสนอว่าหากวันนี้ประเทศไทยยังไม่เร่งทำระบบการเรียนรู้ ไม่เปลี่ยนแปลง ไม่ปฏิรูปการศึกษา ไม่ต้องรอถึงอนาคตก็จะเห็นว่า มีแต่เด็กที่อยู่ในเจเนอเรชั่นที่อ่อนแอต่อสังคม ขณะที่ในสังคมมีปัญหาหลายเรื่องทั้งเรื่องยาเสพติด […]

สถานีทีดีอาร์ไอ: เสวนาสาธารณะ “ข้อเสนอว่าด้วยการปฏิรูปการศึกษาขั้นพื้นฐานเพื่อสร้างความรับผิดชอบ”

เสวนาสาธารณะทีดีอาร์ไอ: ข้อเสนอว่าด้วยการปฏิรูปการศึกษาขั้นพื้นฐานเพื่อสร้างความรับผิดชอบ (Accountability) วัน/เวลา: วันพุธที่ 20 มีนาคม 2556 เวลา 13.30 – 16.00 น. สถานที่: ห้องประชุมชั้น 2 สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย ช่วงที่ 1: นำเสนอผลการศึกษา โครงการจัดทำยุทธศาสตร์การปฏิรูปการศึกษาขั้นพื้นฐานให้เกิดความรับผิดชอบ โดย ดร. สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ ช่วงที่ 2: สนทนากับคณะผู้วิจัย โดยมีประเด็นการสนทนาดังนี้ – การปฏิรูประบบการทดสอบ – การปฏิรูปหลักสูตร – การปฏิรูประบบพัฒนาคุณภาพครู – การปฏิรูประบบประเมินสถานศึกษา – การปฏิรูประบบการคลังเพื่อการศึกษา คณะผู้วิจัย: ดร. สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ ผศ.ปกป้อง จันวิทย์ ดร.ภูมิศรัณย์ ทองเลี่ยมนาค ดร.ภาวิน ศิริประภานุกูล ดร.ดิลกะ ลัทธพิพัฒน์ คุณวรพจน์ วงศ์กิจรุ่งเรือง คุณศุภณัฏฐ์ ศศิวุฒิวัฒน์ […]

ทีดีอาร์ไอเสนอแผนปฏิรูปการศึกษาครบวงจร

ในงานเสวนาสาธารณะทีดีอาร์ไอเรื่อง “ข้อเสนอเพื่อการปฏิรูปการศึกษาขั้นพื้นฐานเพื่อสร้างความรับผิดชอบ (accountability)” เมื่อวันที่ 20 มีนาคม 2556  ดร.สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ ประธานสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) นำทีมแถลงผลการศึกษาโครงการวิจัยยุทธศาสตร์การปฏิรูปการศึกษาขั้นพื้นฐานเพื่อสร้างความรับผิดชอบ ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ดร.สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ หัวหน้าคณะนักวิจัย ชี้ว่า ปัญหาของระบบศึกษาไทยไม่ได้เกิดจากการขาดทรัพยากรอีกต่อไป แต่เป็นปัญหาการใช้ทรัพยากรอย่างไม่มีประสิทธิภาพ กล่าวคือ ใช้ทรัพยากรมากแต่ผลสัมฤทธิ์ต่ำ ดังที่ข้อมูลชี้ว่าในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา งบประมาณกระทรวงศึกษาธิการเพิ่มขึ้นกว่า 2 เท่า และไม่น้อยกว่าประเทศอื่นในภูมิภาคเอเชีย ขณะที่รายได้ต่อเดือนของครูที่มีวุฒิการศึกษาปริญญาตรีและสอนในโรงเรียนรัฐก็เพิ่มสูงขึ้นจากประมาณ 1.5 หมื่นบาทในปี 2544 เป็นประมาณ 2.4-2.5 หมื่นบาทในปี 2553 และครูมีรายได้ไม่น้อยกว่าอาชีพอื่นอีกต่อไป แต่ในทางตรงกันข้าม ผลคะแนนการทดสอบมาตรฐานของนักเรียนไทยทั้งในระดับประเทศและระดับนานาชาติกลับมีแนวโน้มลดต่ำลง งานศึกษาของทีดีอาร์ไอตอบโจทย์ระบบการศึกษาไทยว่า ใจกลางของปัญหาคือการขาดความรับผิดชอบ (accountability) ของระบบการศึกษาตลอดทุกขั้นตอน นอกจากนั้น ระบบการศึกษาของไทยยังมีความเหลื่อมล้ำของคุณภาพการศึกษาในระดับสูง และระบบการเรียนการสอนไม่เหมาะกับบริบทของศตวรรษที่ 21 ดังนั้น หัวใจสำคัญของการปฏิรูประบบการศึกษาจึงอยู่ที่ (1) การสร้างระบบความรับผิดชอบ (accountability) เพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา โดยให้โรงเรียนมีความรับผิดชอบโดยตรงต่อผู้ปกครองและนักเรียนมากขึ้น […]

ปี 2556 “โมเดลใหม่ในการพัฒนา: สู่การเติบโตอย่างมีคุณภาพโดยการเพิ่มผลิตภาพ”

งานสัมมนาวิชาการทีดีอาร์ไอ ประจำปี 2556 “โมเดลใหม่ในการพัฒนา: สู่การเติบโตอย่างมีคุณภาพโดยการเพิ่มผลิตภาพ” (New Development Model: Towards Quality Growth Based on Productivity Improvement) เปิดการสัมมนา โดย นายโฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์  ประธานสภาสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย บทความที่ 1:    โฉมหน้าและแนวทางสู่โมเดลใหม่ในการพัฒนาประเทศ (Features and Paths Towards a New Development Model) ประธาน:  ดร.อัมมาร  สยามวาลา  นักวิชาการเกียรติคุณ สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย ผู้เสนอ:    ดร.สมชัย  จิตสุชน  ผู้อำนวยการวิจัย สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย ดร.นณริฏ  พิศลยบุตร  นักวิชาการ สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย ผู้นำอภิปราย: ดร. ทนง พิทยะ  อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง บทความที่ 2: การสร้างนวัตกรรมและการพัฒนาเทคโนโลยีของภาคการผลิต (Strategies to Create Innovation and Technology […]

1 2 3 4