เดือนเด่นชี้ จุดอ่อนกลไกคุมงบซื้อสื่อไทย กก.ระดับชาติไม่มีบทบาท แถมระเบียบจัดจ้างมีช่องโหว่ เปิดช่องตั้งราคากลางสูงเกินต้นทุนหลายเท่า

ในที่สุดร่าง พ.ร.บ.การโฆษณาประชาสัมพันธ์ของภาครัฐ พ.ศ. …. ที่คณะกรรมาธิการ(กมธ.) กรรมาธิการปฏิรูปการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ ของสภาปฏิรูปแห่งชาติ(สปช.) ที่มีนายประมนต์ สุธีวงศ์ เป็นประธาน ให้ความเห็นชอบอยู่ระหว่างประสานงานเพื่อส่งให้ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.) พิจารณา ในช่วงที่ผ่านมามีการนำเสนอข่าวการใช้งบประมาณเพื่อการประชาสัมพันธ์ของภาครัฐ และมีหลายฝ่ายพยายามผลักดันให้มีการออกกฎหรือระเบียบมาควบคุมเรื่องการประชาสัมพันธ์ภาครัฐ ตลอดจนเรื่องการเปิดเผยข้อมูลเหมือนอย่าง Government Advertising Act รวมทั้งรายงานการศึกษาหัวข้อ “การแทรกแซงสื่อสาธารณะโดยฝ่ายการเมือง” ของ ดร.เดือนเด่น นิคมบริรักษ์ และนายธิปไตร แสละวงศ์ คณะผู้วิจัยจากสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) ที่ชี้ให้เห็นถึงปัญหาการใช้งบประชาสัมพันธ์ของภาครัฐ ซึ่งมีมูลค่าตกปีละกว่า 8,000 ล้านบาท ที่ขาดความโปร่งใส ไม่มีประสิทธิภาพ และอาจนำไปสู่แทรกแซงการทำหน้าที่ของสื่อ ในรายงานชิ้นนี้ได้เปรียบเทียบโมเดลการกำกับดูแลการใช้งบประชาสัมพันธ์ของภาครัฐของไทย กับของต่างประเทศอีก 5 ประเทศ ได้แก่ ออสเตรเลีย แคนาดา สหราชอาณาจักร ฝรั่งเศส และสหรัฐอเมริกา ซึ่งพบว่า แม้ไทยจะมีกลไกกำกับดูแลการใช้งบประชาสัมพันธ์ของภาครัฐอยู่ระดับหนึ่ง แต่ยังไม่เพียงพอ และไม่ถูกนำมาบังคับใช้อย่างจริงจัง ปัญหาการใช้งบประชาสัมพันธ์ของภาครัฐไทย – แม้จะมีการออกระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการประชาสัมพันธ์แห่งชาติ พ.ศ. 2529 (แก้ไขล่าสุดในปี พ.ศ. […]

ดร.เดือนเด่น เผยรพ.เอกชน 5 ดาว คิดค่าบริการสูงกว่ารัฐ 2.5-7 เท่า

นักวิชาการทีดีอาร์ไอชี้ค่ารักษาพยาบาล รพ.เอกชนสูงกว่ารัฐเป็นไปตามกลไกตลาด ระบุสิ่งที่รัฐต้องเข้ามากำกับดูแล คือ ค่าใช้จ่ายที่สูงเกินจริง-ราคายา ขณะที่นายกสมาคมรพ.เอกชนย้ำชัดค่ารักษาไม่แพงเป็นไปตามต้นทุนและศักยภาพในการให้บริการ 23 มิถุนายน 2558 คณะกรรมาธิการการสาธารณสุข สภานิติบัญญัติแห่งชาติ ร่วมกับคณะอนุกรรมาธิการศึกษามาตรฐานค่ารักษาพยาบาลของสถานพยาบาล จัดสัมมนาเรื่อง “มาตรฐานค่ารักษาพยาบาลในโรงพยาบาลเอกชน” ณ ห้องรับรอง1-2 ชั้น 3 อาคารรัฐสภา 2 ดร.เดือนเด่น นิคมบริรักษ์ ผู้อำนวยการด้านนโยบายการแข่งขันทางการค้าและคุ้มครองผู้บริโภค ฝ่ายวิจัยเศรษฐกิจรายสาขา สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) กล่าวถึงผลการศึกษาอัตราค่าบริการของโรงพยาบาลเอกชนในปี 2552 ว่า โรงพยาบาลเอกชนคิดอัตราค่าบริการต่างกันหลายเท่าตัว โดยเอกชน 5 ดาวจะคิดค่าบริการสูงกว่าของรัฐ 2.5-7 เท่า และเอกชนแสวงหากำไร 1.4-4 เท่า จากผลการศึกษาความแตกต่างระหว่างสถานพยาบาลของรัฐและเอกชน ในปี 2557 เปรียบเทียบเฉพาะโรคต้อกระจกและไส้ติ่ง ค่ารักษาพยาบาลจะมีความห่างกันค่อนข้างมาก คือ มีอัตราค่าบริการสูงในโรคต้อกระจกมากกว่าของรัฐ 11.7 เท่า ส่วนไส้ติ่งสูงกว่าของรัฐ 8.3 เท่า ดร.เดือนเด่น กล่าวอีกว่า จากการศึกษาที่ผ่านมาสรุปได้ว่า สถานพยาบาลเอกชน 5 […]

‘ดร.เดือนเด่น’ แนะแยก รพ.รัฐสังกัดสธ. เป็นนิติบุคคล บริหารจัดการอิสระ

‘ดร.เดือนเด่น นิคมบริรักษ์’ แนะสร้างสมดุลอภิบาลระบบสุขภาพ นำกลไกตลาดมาใช้ หวังปริมาณ-คุณภาพตอบโจทย์ความต้องการ ระบุต้องแยก รพ.รัฐสังกัดกระทรวงสาธารณสุขเป็นนิติบุคคล บริหารจัดการอิสระ ถ่ายโอนศูนย์อนามัยขนาดเล็กให้ท้องถิ่นดูแล วันที่ 11 มิถุนายน 2558 สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) จัดประชุมวิชาการ ‘ปฏิรูประบบสุขภาพและชีวิต ปฏิรูปจิตสำนึกประชาธิปไตย ในโอกาส 9 ปี สช.’ เป็นวันที่ 2 ณ อิมแพค ฟอรั่ม เมืองทองธานี ดร.เดือนเด่น นิคมบริรักษ์ ผู้อำนวยการวิจัยด้านการบริหารจัดการระบบเศรษฐกิจ สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) กล่าวในเวทีเสวนาเรื่อง ‘สมดุลของการอภิบาลระบบสุขภาพ’ ตอนหนึ่งระบุถึงระบบตลาดสาธารณสุข คือ ผู้ใช้บริการเป็นผู้เลือกบริการ ดังนั้นผู้ให้บริการต้องตอบสนองต่อผู้ใช้บริการ ซึ่งหากขับเคลื่อนกลไกได้ก็จะได้รับการบริการอย่างมีประสิทธิภาพ แต่ต้องทำให้ผู้ให้บริการเกิดการแข่งขันกันเพื่อให้เกิดความหลากหลาย ทั้งนี้ ที่ผ่านมาระบบบริการสาธารณสุขภาครัฐในหลายประเทศมักพบปริมาณและคุณภาพไม่สอดคล้องกับความต้องการของผู้ใช้บริการ ยกตัวอย่าง กว่าผู้ใช้บริการผ่าตัดใหญ่ต้องรอเวลาหลายเดือน แต่ในระบบตลาดเมื่อมีบริการไม่เพียงพอ ราคาจะปรับตัวสูงขึ้น และจะนำเงินที่ได้ไปเพิ่มการบริการให้เข้าถึงคนได้ กลไกตลาดจะช่วยแก้ไขปัญหา หากไม่มีกลไกเหล่านี้ปริมาณและคุณภาพจะเท่าเดิม “แม้ระบบตลาดจะมีความหลากหลาย มีคุณภาพ แต่ไม่สามารถนำมาใช้กับระบบสาธารณสุขได้ทั้งหมด เพราะทุกอย่างทำไปเพื่อเงิน หากไม่มีเงินก็จะไม่ได้รับการบริการที่ดี […]

“เดือนเด่น” ชี้ ซีพีออลล์ซื้อแมคโคร ไม่ได้มีอำนาจเหนือตลาด จับตาต่างชาติถอนตัว

วันที่ 26 เม.ย. ดร.เดือนเด่น นิคมบริรักษ์ ผู้อำนวยการวิจัย ด้านการบริหารจัดการระบบเศรษฐกิจ ฝ่ายการวิจัยแผนงานเศรษฐกิจรายสาขา มูลนิธิสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย หรือ ทีดีอาร์ไอ กล่าวถึง กรณีที่ ซีพีออลล์ เข้าไปซื้อกิจการของห้างแมคโคร กับ “มติชนทีวี” ว่า เรื่องนี้ จริงๆ แล้วต้องถามว่าทำไมต่างชาติหรือกลุ่มของเนเธอร์แลนด์ถอนตัวออกไปมากกว่า หรืออาจจะต้องหาใครมาถือหุ้นแทน และการที่ต่างชาติถอนตัวออกไป ไม่ใช่เฉพาะในประเทศไทย ทั้งนี้ อาจจะเป็นเพราะความจำเป็นในภาวะวิกฤตทางเศรษฐกิจในยุโรป บริษัทแม่จึงต้องถอนตัวออกไป และเมื่อมีถอนตัวออกไป ก็ต้องมีคนมาเทคโอเวอร์ ซึ่งซีพีก็เป็นคู่ค้าตั้งแต่เริ่มแรกแล้ว ดังนั้น เรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องแปลกที่คู่ค้าตั้งแต่การก่อตั้งและเป็นผู้จัดการมาตลอด จะมาเทคโอเวอร์ ดังนั้น การที่ซีพีออลล์ เอาทุนเข้าไปอุดตรงนั้นเป็นเรื่องที่คาดหมายได้ และรู้สึกว่าจะมีข้อตกลงว่า ถ้าเกิดมีการขายหุ้นกันซีพีออลล์ ก็เป็นเจ้าแรก เมื่อถามว่าจะเป็นการผูกขาดด้านการค้าปลีกหรือไม่ ดร.เดือนเด่น กล่าวว่า ถ้าเกิดผูกขาดก็ผูกขาดมานานแล้ว ถามว่าซีพี เอาทุนไปลงมากขึ้นทำให้ผูกขาดมากขึ้นหรือไม่ ก็คงไม่ใช่ และเชื่อว่า เดิมกลุ่มซีพีเป็นผู้บริหารอยู่แล้ว โดยมีกลุ่มต่างชาติเป็นผู้ลงทุน และคิดว่าการบริหารจัดการคงอยู่ที่ซีพีเป็นหลัก เพราะซีพีมีความรู้เรื่องค้าปลีก แต่การที่ซีพี เป็นเจ้าของเต็มตัว อาจจะมีนัยยะสำคัญว่าการขยายกิจการ ขณะเดียวกัน […]

‘เดือนเด่น’ชี้ถือหุ้นชินคอร์ปเป็นเงินต่างชาติ

คำต่อคำ : “ดร.เดือนเด่น” ถือหุ้นชินคอร์ปหลายๆชั้นผ่านซีดาร์โฮลดิ้งส์ เงินลงทุนเป็นต่างชาติ คนไทยเป็นแค่นอมินี กรุงเทพธุรกิจทีวี สัมภาษณ์ ดร.เดือนเด่น นิคมบริรักษ์ ผู้อำนวยการวิจัย ด้านการบริหารจัดการระบบเศรษฐกิจ ทีดีอาร์ไอ วิเคราะห์กรณี “เทมาเส็ก” ขายอินทัชออกมา10.3% ถาม ปรากฏการณ์ทางด้านซีดาร์ โฮลดิ้งส์ ขายหุ้นบิ๊กล็อตออกมาในอินทัช ซึ่งก็ถือว่าไม่ใช่ครั้งแรกการขายออกมาล่าสุด 10 .3 % มองหลายทางไม่ว่าจะเป็น การเพิ่มฟรีโฟลตหรือที่ลดข้อกังวลในเรื่องของการเป็นนอมินี อาจารย์มองอย่างไร ตอบ คงทราบดีว่าคสตช.เองก็มีเกณฑ์ เรื่องของการครอบงำของกิจการคนต่างด้าวซึ่งค่อนข้างเข้มงวด ไม่ได้ดูเฉพาะการถือหุ้นโดยตรงของผู้ถือหุ้นเป็นดูถึง ถือหุ้นทางอ้อม ดูถึงกรรมการ ถึงสัญชาติ น่าลงนามอะไรเยอะแยะไปหมด ส่วนหนึ่งอาจเป็นเพราะเหตุนั้นต้องการที่่จะแสดงให้เห็นว่าเป็นบริษัทไทยโดยแท้จริง ส่วนหนึ่ง แต่ในเรื่องของสภาพคล่องก็มีความเป็นไปได้ เป็นเรื่องทางธุรกิจของเราของเขาแหละ ถาม ถ้าจะเตรียมตัว เพื่อที่จะบริหารจัดการตัวเองให้พร้อมลดปัญหาเรื่องการเป็นนอมินีเพื่อที่จะเข้าประมูลธุรกิจทีวีดิทัล หรือธุรกิจที่มีโอกาสมหาศาลใน อนาคตนั้นจะเป็นไปได้มากน้อยแค่ไหน ตอบ คือเรื่องนอมินีก็คงเป็นไปได้ เพราะว่าคงทราบดีว่าในอดีตก็มีการเกี่ยวเนื่องของการถือหุ้นของตลาด ของกระทรวงพาณิชย์ก็พบว่าเป็นนอมินีจริง ก็คง ไม่ลืมกัน อีกครั้งหนึ่งก็เช่นกัน ถ้าเพื่อมีการสืบสาวเรื่องของเส้นทางของเงินแล้วเงินทุนจริงๆ ว่ามาจากไหน อย่างไร เป็นทุนของคนไทยที่แน่นอนหรือเปล่า […]

“ดร.เดือนเด่น” ระบุไทยปิดกั้นการลงทุนต่างชาติ กระทบภาคบริการล้าหลัง

ดร.เดือนเด่น เผยข้อเสนอเปิดเสรีการค้าไทยไม่สอดคล้องวิสัยทัศน์อาเซียน แนะเปิดเสรีการเงิน-พลังงาน-โทรคมนาคม ทางหลุดพ้นกับดักประเทศรายได้ปานกลาง วันที่ 26 พฤศจิกายน ในเวทีสัมมนาวิชาการประจำปี 2555 ที่จัดโดย สถาบันวิจัยเพื่อพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) ร่วมกับมูลนิธิชัยพัฒนา คณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สภาหอการค้าแห่งประเทศไทยและสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ดร.เดือนเด่น นิคมบริรักษ์ ผอ.การวิจัย ทีดีอาร์ไอ นำเสนอบทความวิจัย ในหัวข้อ AEC กับการปฏิรูปสาขาบริการ (AEC and Service Sector Reform) ดร.เดือนเด่นกล่าวถึงเป้าหมายของการเปิดเสรีภายใต้ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ยังมีข้อจำกัด ไม่เหมือนสหภาพยุโรป เนื่องจากยังมีการยกเว้นในเรื่องการเคลื่อนย้ายแรงงาน และกฎกติกาภายในประเทศที่ยังเป็นอุปสรรคใหญ่ กรอบการเปิดเสรีจำกัดเฉพาะการเพิ่มสัดส่วนการถือหุ้นของนักลงทุนอาเซียนในธุรกิจบริการ ไม่รวมกฎ กติกาภายในประเทศที่อาจเป็นอุปสรรคกีดกันการแข่งขัน อีกทั้ง กรอบแนวทางการเปิดเสรีให้ความยืดหยุ่นแก่ประเทศสมาชิกที่ไม่พร้อมที่จะดำเนินการตามโรดแมปที่กำหนดไว้ ทำให้การเปิดเสรีไม่เป็นไปตามเป้าหมาย ข้อผูกพันการเปิดตลาดการค้าบริการที่ประเทศไทยเสนอ ให้ถือหุ้นได้ 70% ซึ่งจะเป็นกรอบที่เกิดขึ้นในปี 2558 ประกอบไปด้วย 4 ด้านได้แก่ 1.ด้านโทรคมนาคม ได้แก่ บริการเทเลกซ์ โทรเลข และโทรสาร ซึ่งแทบไม่มีผู้ใช้แล้ว 2.ภาคการท่องเที่ยว บริการโรงแรม […]

การส่งเสริมการแข่งขันทางการค้าเพื่อระบบเศรษฐกิจแบบเสรีและเป็นธรรม

สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทยโดย ดร.เดือนเด่น นิคมบริรักษ์ และคณะ เสนอรายงาน “โครงการการส่งเสริมการแข่งขันทางการค้า” เมื่อต้นปี 2555 รายงานฉบับดังกล่าวเสนอสภาพปัญหาเกี่ยวกับการแข่งขันทางการค้าที่รัฐวิสาหกิจบางแห่งประกอบธุรกิจแข่งขันกับเอกชน และมีพฤติกรรมที่เข้าข่ายการฝ่าฝืนพระราชบัญญัติการแข่งขันทางการค้า พ.ศ. 2542 แต่กลับได้รับการยกเว้นไม่ต้องอยู่ภายใต้การกำกับดูแลภายใต้มาตรา 4(2) แห่งพระราชบัญญัติฯ

ความท้าทายของธุรกิจบริการการกำจัดกากอุตสาหกรรมในประเทศไทย

ที่มา : บทที่ 11 ธุรกิจบริการการกำจัดกากอุตสาหกรรมอันตราย ในรายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาธุรกิจบัญชีท้ายพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ. 2542 โดย เดือนเด่น นิคมบริรักษ์ และคณะ เสนอต่อกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ เมื่อเดือนกันยายน 2561

การวิเคราะห์ทบทวนกฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับและกระบวนงานที่เกี่ยวกับการอนุญาต เพื่อลดขั้นตอนการดำเนินการและการอนุญาตที่ไม่จำเป็นหรือเป็นอุปสรรคต่อการประกอบอาชีพและการดำเนินธุรกิจของประชาชน

ที่มา : บทสรุปสำหรับผู้บริหาร และประสบการณ์ของต่างประเทศในการทบทวนการอนุญาต โครงการศึกษาวิเคราะห์ทบทวนกฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับและกระบวนงานที่เกี่ยวกับการอนุญาต เพื่อลดขั้นตอนการดำเนินการและการอนุญาตที่ไม่จำเป็นหรือเป็นอุปสรรคต่อการประกอบอาชีพและการดำเนินธุรกิจของประชาชน เสนอต่อสำนักงานขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศยุทธศาสตร์ชาติและการสร้างความสามัคคีปรองดอง (สำนักงาน ป.ย.ป.) เมื่อเดือนธันวาคม 2562 โดย ดร.เดือนเด่น นิคมบริรักษ์ และคณะ ร่วมสนับสนุนโดย คณะกรรมการร่วม สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย สมาคมธนาคารไทย (The Joint Standing Committee on Commerce,Industry and Banking)

1 2 3 4 5 6 22